เครือข่าย “ชุมชนล้อมรักษ์” ต้นแบบช่วยผู้ติดยามีความหวัง

ปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาองค์รวม  การแก้ไขไม่ใช่แค่เพียงด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้น แต่ถือเป็นปัญหาสุขภาพความเจ็บป่วย เมื่อเป็นแล้วก็เป็นใหม่ได้อีก  ...

การดำเนินงานบำบัดรักษาผู้ป่วยยาเสพติดของมินิธัญญารักษ์ โรงพยาบาลอุทัย ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อวันที่19เม.ย.2567 นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) รวมทั้งคณะผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข ลงพื้นที่ดันกระบวนการทำงานเพื่อแก้ปัญหาผู้ติดยาเสพติดของมินิธัญญารักษ์ โรงพยาบาลอุทัย ซึ่งเป็นต้นแบบที่น่าสนใจ เพราะเป็นไปตามหลักการ “เปลี่ยนผู้เสพเป็นผู้ป่วย ชีวิตมีความหวังต้องรักษา”

สำหรับมินิธัญญารักษ์ โรงพยาบาลอุทัยเปิดบริการเมื่อเดือนมกราคม2567  รับเฉพาะผู้ป่วยชาย จำนวน8เตียงให้การบำบัดระยะยาว (Long Term Care) ใช้ระยะเวลาประมาณ 90-120 วัน และติดตามต่อเนื่องเป็นระยะเวลา1ปีมีผู้ป่วยเข้ารับการบำบัดรวม 11 ราย ผู้ป่วยกลับสู่ชุมชนแล้ว 5 ราย ทุกรายสามารถประกอบอาชีพ มีรายได้300-500บาท/วัน โดยจากการติดตาม พบว่าผู้ป่วยไม่กลับไปเสพซ้ำ3ราย ส่วนอีก2รายที่กลับยุ่งเกี่ยวยาเสพติดได้ติดตามดูแลเรื่องการลดอันตรายจากการใช้ยาเสพติดไปพร้อมกับการบำบัดรักษา เพื่อให้สามารถเลิกยาเสพติดได้อย่างเด็ดขาด โดยผู้ป่วยสีแดงที่มีภาวะวิกฤติด้านจิตเวชและยาเสพติด มีหอผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติดในโรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไปรวม2แห่งผู้ป่วยสีส้มที่พ้นภาวะวิกฤติแล้ว มีมินิธัญญารักษ์ โรงพยาบาลวังน้อย ให้การบำบัดระยะกลาง(Intermediate care) ผู้ป่วยสีเหลืองที่ไม่มีปัญหาซับซ้อน จะมีมินิธัญญารักษ์ โรงพยาบาลอุทัย ให้การบำบัดระยะยาว (Long Term Care) ส่วนผู้ป่วยสีเขียว ที่เป็นผู้ใช้ยาเสพติด จะบำบัดโดย “ชุมชนล้อมรักษ์" ที่เป็นกระบวนการบำบัดโดยชุมชนมีส่วนร่วม (CBTx) ซึ่งมีครบทุกอำเภอ รวม 43 แห่ง นอกจากนี้ ยังจัดตั้งศูนย์คัดกรองผู้ติดยาเสพติ213แห่ง ครอบคลุมทุกตำบลตั้งแต่ปี2566-ปัจจุบัน คัดกรองผู้ป่วยทั้งหมด4,380 ราย พบเป็นกลุ่มสีแดง 120 ราย สีส้ม 1,314 ราย สีเหลือง 2,185 ราย และสีเขียว 761 ราย

การทำงานของชุมชนล้อมรักษ์ โดยเครือข่าย 5 เสือ คือ ทหาร ตำรวจ นายอำเภอ  นายก อบต. และสาธารณสุข ของพระนครศรีอยุธยา ปี 2566 มีผู้ป่วยสีเขียวสมัครใจบำบัดถึง 699รายซึ่งมากเป็นอันดับ 7 ของประเทศ ล่าสุด กำลังจะขยายชุมชนล้อมรักษ์เพิ่มขึ้นอีก 23 แห่ง รวมเป็น 66 แห่ง ซึ่งจะช่วยให้คืนคนสู่สังคมอย่างปลอดภัยได้มากขึ้น หากจะมีการเปลี่ยนแปลงรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุข นโยบายการแก้ไขปัญหายาเสพติดก็ไม่เปลี่ยนแปลง ยังเดินหน้าให้ได้ตามป้าหมาย”

นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ผู้จัดการ สสส. กล่าวถึงการสนับสนุนการดำเนินงานของเครือข่ายภาคประชาชนสร้างพื้นที่ปลอดภัยจากยาเสพติด และเสริมสร้างชุมชนสุขภาวะ ขับเคลื่อนงานป้องกันระดับพื้นที่หมู่บ้านชุมชนว่า สสส. ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง เกิดพื้นที่ต้นแบบ 25 แห่ง ใน 48 จังหวัด ป้องกันเด็ก และเยาวชนไม่ให้เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับวงจรยาเสพติด เกิดแกนนำเป็นกลไกขับเคลื่อนงานป้องกันในเครือข่าย 5 ภูมิภาค  2,683 คนรวม 1,527 หมู่บ้าน/ชุมชน สู่การพัฒนาองค์ความรู้การจัดการปัญหายาเสพติดขยายผลสู่พื้นที่ชุมชนอื่นทั่วประเทศ โดย สสส. ได้ลงพื้นที่เยี่ยมชม มินิธัญญารักษ์ รพ.อุทัย จ.พระนครศรีอยุธยา ของกระทรวงสาธารณสุข เป็นหนึ่งในเครือข่าย “ชุมชนล้อมรักษ์” (CBTx) บำบัดผู้ที่ติดยาเสพติด โดยชุมชนดำเนินการรักษา ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงบริการได้ง่าย ไม่ต้องเดินทางไกล ดูแลทางการแพทย์ จิตสังคม การศึกษา และฟื้นฟู ปัจจุบันมีเครือข่ายกว่า 146แห่งรองรับผู้ป่วยยาเสพติดได้1,957เตียง ช่วยเหลือผู้ติดยาเสพติดให้กลับสู่สังคม ซึ่งการลดปัญหาสิ่งเสพติดทุกประเภทเป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญของสสส.ในการลดปัจจัยทำลายสุขภาพ สร้างสุขภาวะที่ดีให้กับทุกคนในสังคม

นโยบายของรัฐบาลวางไว้อย่างชัดเจนที่จะสร้างศักยภาพในการบริหารจัดการอย่างมีบูรณาการทุกภาคส่วนต่างๆนับตั้งแต่ผู้ว่าราชการจังหวัด สาธารณสุขจังหวัด เชื่อมโยงการทำงานกับนายอำเภอ ผู้กำกับ สถานีตำรวจภูธร กำนันผู้ใหญ่บ้าน เป็นความสวยงามเพื่อเชื่อมโยงรอยต่อ ได้รับความร่วมมือจากชาวบ้านชุมชนส่งต่อการบำบัดรักษา ไม่ใช่การจับติดคุก ส่วนสำคัญให้คนบำบัดมากขึ้น ชุมชนมีความเชื่อมั่นมีส่วนร่วมที่ดีทำให้รพ.อุทัยเป็นต้นแบบในการแก้ไขปัญหายาเสพติดในระยะยาวและยั่งยืนได้อย่างต่อเนื่อง  ทั้งนี้เป็นการทำงานเป็นทีมเพื่อให้ผู้ป่วยมีศักดิ์ศรีมีงานทำด้วยความภาคภูมิใจ รู้จักคุณค่าของตัวเอง

นพ.เศกสรรค์ ชวนะดีเลิศ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลอุทัย  ตั้งข้อสังเกตว่าการสมัครใจเพื่อรักษาของผู้ติดยาเสพติดเป็นเรื่องสำคัญ บางคนไม่หายเพราะส่วนลึกแล้วไม่อยากรักษาส่งผลต่อปัจจัยไม่หาย สังคมจะต้องปฏิบัติดีต่อผู้ป่วย มินิธัญญารักษ์ใช้ยาบำบัด ครอบครัว สังคม ชุมชนมีส่วนร่วมในการบำบัดรักษาผู้ป่วยเพื่อให้เขารู้สึกว่ามีความสุข มีคุณค่า โดยมีทีมบุคลากรทางด้านสาธารณสุขหมอ1พยาบาล1นักจิตวิทยา นักวิชาการด้านสาธารณสุข และคนในชุมชน3คน รวมทั้งทีม7คนทำหน้าที่พี่เลี้ยงหมุนเวียนจัดตารางเวลาตลอด24ชั่วโมง มีกิจกรรมให้ผู้ป่วย ไม่ใช้คำพูดตำหนิติเตือน แต่เป็นการพูดส่งเสริมให้กำลังใจโดยนักจิตวิทยาชุมชน การดีไซน์หลักสูตรนี้มาจากรพ.ธัญญารักษ์ซึ่งใช้เวลา90-120วัน

“ผู้ป่วยบางคนมีหน้าที่การงานมีอาชีพรับเหมาต้องตัดสินใจมารักษา เหมือนกับทหารเกณฑ์ที่จะต้องจูนความคิดบุคลากรในโรงพยาบาล คนไข้ไม่คิดหนี ถ้าอยากกลับให้บอกกับพี่เลี้ยง เราไม่ให้ใช้โทรศัพท์มือถือ ทุกสัปดาห์ให้ญาติเข้ามาเยี่ยมได้ เราต้องเปลี่ยนนิสัยจากการใช้ยาไม่ใช่เป็นเรื่องง่ายๆ เพราะยาส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม เพราะบางคนกินยาบ้า10เม็ด/วัน บางคนเสพยาบ้า2เม็ด/วัน  ดังนั้นเรื่องการเสพยาบ้า5เม็ด/วันจึงเป็นข้อถกเถียงกันอยู่ในสังคม เป็นที่น่าสังเกตว่าการรักษาครั้งนี้ยังไม่มีผู้หญิงมิฉะนั้นเราต้องแยกทีมดูแล ถ้าจะจัดรักษารวมก็ไม่เหมาะสมแต่อย่างใด  ผู้ชายมีโอกาสติดยาเสพติดมากถึง80% ในขณะที่ผู้หญิงติดยาเสพติดเพียง20%หากวิเคราะห์แล้วผู้หญิงมีความอดทนต่อแรงกดดันได้มากกว่าผู้ชาย และไม่พึ่งพายาเสพติด”นพ.เศกสรรค์ชี้แจง

ทั้งนี้ผู้ป่วยที่เข้ามารักษาแบบค้างคืน90วันที่มินิธัญญรักษ์รพ.อุทัยสามารถออกไปซื้อของยังร้านค้า ทำบุญตักบาตร เรียนรู้ในการซ่อมแซมรถจักรยานยนต์ เมื่อออกไปใช้ชิวิตปกติสามารถยึดเป็นอาชีพได้อย่างดี จากการรักษาผู้ป่วยผ่านไปแล้ว2รุ่น ยังไม่พบปัญหาความเครียดเรื้อรังจนหมดพลังแต่อย่างใด

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

"สิทธิในอาหาร..เพื่อชีวิตที่ดี" ทุกภาคส่วนต้องร่วมผลักดัน

องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) กำหนดให้วันที่ 16 ต.ค.ของทุกปี เป็นวันอาหารโลก (World Food Day) เพื่อให้ทุกคนตระหนักถึงสิทธิในอาหาร

สสส. ทำถึง กวาด 14 รางวัลสื่อสาร จากแอด พีเพิล อวอร์ส 2567 ผ่าน 5 ผลงาน สื่อสารการตลาดเพื่อสังคม “Walk Stadium” “หมวกกันน็อกคืนชีพ” “แอร์ล้างได้ปอดล้างไม่ได้” “พวงเครื่องปรุงจิ๋ว” “การเดินทางของบุหรี่”

น.ส.สุพัฒนุช สอนดำริห์ ผู้อำนวยการสำนักอาวุโส สำนักสื่อสารการตลาดเพื่อสังคม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า ผลงานโฆษณาและการสื่อสารการตลาดเพื่อสังคม สสส. ได้รับรางวัลแอด พีเพิล อวอร์ส 2567

“ThaiHealth Watch 2025” เปิด 7 เทรนด์สุขภาพ ปี 2568 ความเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ/เทคโนโลยี กระทบสุขภาพกาย-ใจคนทุกกลุ่ม

นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวเปิดงานจับตาทิศทางสุขภาพคนไทย 2568

ต่อยอด! ติดอาวุธสมองป้องกัน ความเสี่ยงภัยบนโลกไซเบอร์

ผลสำรวจปี 2567 คนไทยใช้อินเทอร์เน็ตมากถึง 88% ของประชากรทั้งหมด และส่วนใหญ่ใช้งานนานเกือบ 8 ชั่วโมงต่อวัน แสดงให้เห็นว่าเราใช้เวลาเกือบ 1 ใน 3 ท่องโลกอินเทอร์เน็ต

โชว์ต้นแบบรถยนต์ไฟฟ้าดัดแปลง ลดฝุ่นอากาศสะอาดทุกลมหายใจ

"อากาศบริสุทธิ์ใน กทม.เป็นจริงได้ ด้วยจุดเปลี่ยนร่วมมือร่วมใจ ให้เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ทุกคนต้องได้" ด้วยแนวคิดข้างต้น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)