กรุงเทพมหานคร / วันนี้ 29 เมษายน 2567 ระหว่างเวลา 14.00 – 16.00 น. ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) นำโดย รศ นพ.สุริยเดว ทรีปราตีผู้อำนวยการศูนย์คุณธรรม ลงนามบันทึกความร่วมมือ 2 หน่วยงาน ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ นำโดย นพ.สุเทพ เพชรมาก เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ และสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) นายวิริยะ แต้มแก้ว ผู้ช่วยผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) เพื่อขับเคลื่อนคุณธรรมของเครือข่ายทางสังคมด้วยระแบบเครดิตทางสังคม โดยในงานมีผู้เข้าร่วมกว่า 40 คน ณ ห้องประชุม Honey Bee ชั้น 16 ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน)
รศ.นพ.สุริยเดว ทรีปาตี ผู้อำนวยการศูนย์คุณธรรม กล่าวถึงเจตนารมณ์และที่มาที่ไป ของการร่วมลงนามความร่วมมือในครั้งนี้ โดยกล่าวว่า การทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือฉบับนี้อยู่บนพื้นฐานของความร่วมมือของทั้งสามหน่วยงานที่ มุ่งมั่นจะร่วมกันขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการด้านการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ ระยะที่ 2 (พ.ศ.2566-2570) และยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ และด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม โดยการส่งเสริมและสนับสนุนการขับเคลื่อนการพัฒนาคุณธรรมและธรรมาภิบาลของเครือข่ายภาคประชาสังคม และชุมชน ให้เกิด “สังคมคุณธรรม” ที่ประชากรมีสำนึกพลเมือง และชุมชนท้องถิ่นมีความสามารถจัดการตนเองได้ บนฐานคุณธรรมและธรรมาภิบาล
นายแพทย์ สุเทพ เพชรมาก เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ กล่าวว่า เวลาพูดถึงคุณธรรมหรือความดี ผมว่ามันทำคนมีพลังบวกหัวใจพองโต สมองก็แจ่มใส เราตื่นเช้ามาเราก็ต้องคิดวันนี้เราจะทําดีอะไร ? เพราะว่าโดยมนุษย์จริงๆ เขาเรียกมีเมล็ดพันธุ์แห่งความดีอยู่ในตัวทุกคนอยู่ในตัวทุกคน ศูนย์คุณธรรมสามารถที่จะช่วยบ่มเพาะให้เมล็ดพันธุ์แห่งความดีเกิดขึ้นงอกงามในทั่วทั้งประเทศผมคิดว่าอันนี้เป็นสิ่งที่จะช่วยทําให้ประเทศเราสามารถพัฒนาแล้วก็น่าอยู่แล้วก็ไปได้อีกไกล แล้วก็ตัวงานที่ไม่ว่า สช. หรือ พอช. ทำก็เป็นในทิศทางเดียวกันเพราะฉะนั้นตรงนี้ถ้าได้สร้างพลังร่วมกัน เชื่อว่าในการบ่มเพาะเมล็ดพันธุ์แห่งความดีต่างๆก็จะได้เติบโตงอกงามได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้นแล้วก็ทั่วถึงมากขึ้นอ ต้องขอขอบคุณทั้งทางศูนย์คุณธรรมแล้วก็ทางสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน ที่ได้มาร่วมงานกัน ถ้าอาจารย์ไพบูลย์ท่านทราบได้ด้วยวิธีใดๆท่านน่าจะดีใจและก็ภาคภูมิใจที่เห็นพวกเราร่วมกันทํางาน และเพื่อประโยชน์ของของประชาชนและก็เพื่อสร้างความเข้มแข็งของชุมชนอันนั้นเป็นเป้าหมายของการพัฒนาของประเทศเราครับ
ด้านนาย วิริยะ แต้มแก้ว ผู้ช่วยผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน กล่าวว่า 3 องค์กรนี้เปรียบเหมือนพี่กับน้องฝาแฝด ดีใจที่ได้ทํางานกับคนตัวเล็กตัวน้อยและทําให้เขามีที่ยืนทางสังคม อันนี้ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทั้งสององค์กรนี้ก็เป็นพันธมิตรหนึ่งที่จะช่วยกันสร้างงานแบบนี้ขึ้นมา เป็นโจทย์ที่แอบปลื้มใจแทนอาจารย์ไพบูลย์ ทั้งสองท่านก็เอ่ยถึงอาจารย์ตลอด พวกเราก็ฟูมฟักวิถีคิดจากอาจารย์มา 20 กว่าปี ทําให้เราตระหนักอยู่ในใจตลอดเวลาประชาชนที่ฐานรากของโครงสร้างสังคม พอช.ก็มุ่งไปสู่เรื่องการสร้างที่ยืนของประชาชนในจังหวัดซึ่งทั้งศูนย์คุณธรรม และ สช. ก็สร้างงานที่พื้นที่กลางจังหวัดมันคืออันเดียวกัน แต่เราเรียกภาษาตามองค์กร ผมว่านี่มันเป็นการมัดมือทําให้ตัวองค์กรมีพลังมากขึ้น พอช. ก็ใช้ตัวสะพานมวลชนเป็นตัวหลักผ่านปัญหาศูนย์นโยบายซึ่งผ่านกลไกรัฐมนตรี ซึ่ง สช. ก็ใช้พื้นที่แบบนี้ ศูนย์คุณธรรมก็เช่นเดียวกัน ถ้า 3 องค์กรนี้มัดกันได้แล้วผูกไปด้วยกันทําให้ข้างล่างแข็งแรงมากขึ้นจะอุดช่องว่างข้อจํากัดได้ อันนี้เป็นพลังบวกเราใช้คําว่า “สามประสานไปด้วยกัน”
สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน ยินดีสนับสนุนเรื่องธรรมาภิบาลของเครือข่ายภาคประชาสังคมอย่างเต็มที่ ด้าน พอช. จะช่วยกำหนดพื้นที่เป้าหมาย ร่วมกับ“ศูนย์คุณธรรม” และ“ภาคีความร่วมมือ” ในการส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนา “สังคมคุณธรรม” ที่เหมาะสมกับสังคมไทย มีรูปธรรม หลากหลายตามบริบทพื้นที่ และการจัดการความรู้เพื่อการขยายผลให้กับเครือข่าย องค์กร ชุมชนในพื้นที่ และส่งเสริมการ พัฒนาระบบเครดิตสังคม (Social Credit) ใช้เป็นมาตรการส่งเสริม เสริมพลังการทำความดีในสังคม
- บูรณาการแผนงานโครงการ เพื่อการเสริมสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายองค์กรชุมชนใน
การจัดการตนเองในมิติสุขภาพ เศรษฐกิจ สังคมและสภาพแวดล้อม บนฐานคุณธรรมและธรรมาภิบาล
- สื่อสารสร้างความเข้าใจและสนับสนุนให้เกิดกลไกร่วม เพื่อการขับเคลื่อนงานในเครือข่าย
องค์กรเชิงประเด็นและพื้นที่เป้าหมายร่วม ให้บรรลุตามวัตถุประสงค์บันทึกความร่วมมือ ครั้งนี้
“ทาง พอช. ยินดีร่วมเต็มที่ กอดคอเต็มที่ กอดคอกันไปแบบนี้จนกว่าบ้านประชาชนจะตั้งหลักได้ โดยเฉพาะคนที่อยู่ล่างสุดของสังคมขยับขึ้นตัวเองได้ก็จะเป็นสิ่งที่มีความสุขด้วยกัน”
โดยวัตถุประสงค์ของการบันทึกความร่วมมือในครั้งนี้ มีดังนี้
- เพื่อส่งเสริมให้เกิด “สังคมคุณธรรม” ที่เหมาะสมกับสังคมไทย มีรูปธรรม หลากหลายตามบริทบ พื้นที่ โดย“ภาคีความร่วมมือ”มีส่วนร่วมในการส่งเสริมพัฒนาคุณธรรมและธรรมาภิบาลของเครือข่ายภาคประชาสังคม ชุมชน พื้นที่ในเครือข่ายทางสังคมของตนเอง
- เพื่อส่งเสริมให้เกิด “ระบบเครดิตสังคม”(Social Credit) เป็นมาตรการส่งเสริม จูงใจ กระตุ้นให้เกิดการทำความดี ที่เป็นรูปธรรมจับต้องได้ โดย“ภาคีความร่วมมือ”มีส่วนร่วมและบูรณาการสวัสดิการ สิทธิประโยชน์เสริมพลังเครือข่าย องค์กร และพื้นที่ในประเด็นงานต่างๆ ที่จะเป็นประโยชน์ในการพัฒนาเครือข่ายทางสังคมร่วมกัน
- เพื่อยกย่อง ชื่นชม “ความดี” ในสังคม รณรงค์สื่อสารเผยแพร่ขยายผล ให้เกิดการรับรู้ เป็นที่ยอมรับในสังคมไทยให้มากขึ้น โดย“ภาคีความร่วมมือ”มีส่วนร่วมกันค้นหา ขยายผล บุคคล องค์กร ชุมชน พื้นที่ที่มีรูปธรรมความดี มีการใช้ระบบเครดิตสังคม(Social Credit) เป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณธรรมและธรรมาภิบาลรวมถึงการพัฒนายกระดับเป็นต้นแบบในการขยายผลการพัฒนาสังคมต่อไป
ทั้งนี้ ภายใต้เจตนารมณ์ความร่วมมือครั้งนี้ ทั้งสามหน่วยงานจะร่วมมือผลักดันให้เกิดการพัฒนาสังคมคุณธรรมเชิงพื้นที่ ที่ผู้คนมีจิตสำนึกพลเมืองและชุมชนท้องถิ่นมีความเข้มแข็ง สามารถจัดการตนเองได้บนพื้นฐาน ด้านความดีความสามารถและความสุขที่ยั่งยืน พร้อมทั้งจะมีการพัฒนา “ระบบเครดิตสังคม (Social Credit)” เป็นมาตรการส่งเสริม จูงใจ กระตุ้นให้เกิดการทำความดี ที่เป็นรูปธรรมจับต้องได้ และจะร่วมมือยกย่องชื่นชม “แบบอย่างความดี” ในเครือข่ายทางสังคมภายใต้ภารกิจ ให้เกิดการรับรู้ เป็นที่ยอมรับในสังคมไทยมากขึ้น
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
สุราษฎร์ธานี จัดงานวันที่อยู่อาศัยโลกปี67 ย้ำชุมชนต้องเป็นแกนหลักในการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยคนจน
UN – HABITAT หรือ ‘โครงการตั้งถิ่นฐานมนุษย์แห่งสหประชาชาติ’ กำหนดให้วันจันทร์แรกของเดือนตุลาคมทุกปีเป็น ‘วันที่อยู่อาศัยโลก’ หรือ ‘World Habitat Day’
รวมพลังคนจนแก้ปัญหาที่ดิน-ที่อยู่อาศัยทั่วประเทศ วันที่อยู่อาศัยโลก ปี 2567
ปัญหาการขาดแคลนที่อยู่อาศัยหรือมีที่อยู่อาศัยไม่เหมาะสมเป็นปัญหาที่สำคัญของผู้คนทั่วโลก UN-Habitat หรือ ‘โครงการตั้งถิ่นฐานมนุษย์แห่งสหประชาชาติ’
‘21 ปีบ้านมั่นคง’ พอช. แก้ปัญหาที่อยู่อาศัยคนจนทั่วประเทศ กว่า 3 แสนครัวเรือน
รัฐบาลได้มีนโยบายที่จะแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยของผู้มีรายได้น้อย และสร้างความมั่นคงในการอยู่อาศัยแก่คนจนในเมืองที่ ยังไม่มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง โดยเฉพาะกลุ่มผู้อยู่อาศัยในชุมชนแออัด
เสียงจากคลองเปรมประชากร…บ้านหลังใหม่ชีวิตใหม่ “คืนสายน้ำให้คนคลอง คืนสายคลองให้คนเมือง”
คลองเปรมประชากร มีประวัติศาสตร์อันยาวนานและมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาชุมชนและเศรษฐกิจของกรุงเทพมหานคร ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา คลองนี้ได้ประสบปัญหามากมาย
บอร์ด พอช. มีมติ พักชำระหนี้องค์กรผู้ใช้สินเชื่อในพื้นที่ประสบอุทกภัยทั่วประเทศ
สถานการณ์การเกิดอุทกภัยจากอิทธิพลของพายุยางิ ในระหว่างวันที่ 7 - 8 กันยายน 2567 ส่งผลกระทบต่อประชาชนในจังหวัดเชียงราย จำนวน 7 อำเภอ
รมว.พม. แจ้งตั้งศูนย์พักพิงชั่วคราว 34 แห่ง ใน 13 จว. ช่วยกลุ่มเปราะบาง-ผู้ประสบภัยน้ำท่วมริมแม่น้ำโขง ด้าน พอช. พร้อมอนุมัติงบช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบภัยพิบัติภาคเหนือและอีสาน
จากสถานการณ์น้ำท่วมในหลายพื้นที่ภาคเหนือ ส่งผลกระทบในพื้นที่ 8 จังหวัด 47 อำเภอ 207 ตำบล 22,817 ครัวเรือน โดยเฉพาะในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา