'พิพัฒน์' เริ่มแล้ว สางปัญหา กองทุนประกันสังคม เยือนญี่ปุ่น หาข้อมูล 3 บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน หวังเพิ่มผลกำไร จาก 2.4% เป็น 5% หรือ 1.2 แสนล้านบาท เพื่อแก้ปัญหาไม่ให้ถึงจุดล้มละลาย ในปี พ.ศ.2597 ย้ำฝ่ายวิเคราะห์ กองทุนประกันสังคม ต้องศึกษาความเป็นไปได้ พร้อมขีดเส้น ต้องมีความน่าเชื่อถือ ระดับ Triple B

นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงงาน กล่าวถึงการเดินทางไปราชการที่ประเทศญี่ปุ่นระหว่างวันที่ 5-13 เมษายนที่ผ่านมา ว่า ผู้บริหารกระทรวงแรงงาน และเลขาธิการสำนักงานประกันสังคม ได้ไปเข้าพบและศึกษาดูงาน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนของประเทศญี่ปุ่น 3 แห่ง โดยหารือถึงการที่กองทุนประกันสังคม จะหารายได้เพิ่ม จาก 2.5 % เป็น 5 % โดยไปดูรูปแบบการลงทุนในประเทศญี่ปุ่น

โดยในครั้งนี้ได้เข้าหารือกับกลุ่มบริษัท Mitsubishi UFJ Financial Group สถาบันการเงินที่ใหญ่ที่สุดในประเทศญี่ปุ่น ศึกษาความเป็นไปได้ในการหาลู่ทางการลงทุน โดยทางกองทุนประกันสังคม จะนำเงินบางส่วนไปลงทุน ซึ่งเป็นการหารือและเก็บข้อมูลว่าเมื่อไปลงทุนแล้วจะมีผลตอบแทนอย่างไร ส่วนบริษัทที่สองคือ Sumitomo Mitsui Trust Bank เป็นบริษัทที่ทำเรื่องอสังหาริมทรัพย์ในประเทศญี่ปุ่น มีการซื้อตึกหรือสร้างตึกเพื่อขายหรือปล่อยเช่า และบริษัทสุดท้าย Affirma Capital Managers Korea Limited เป็นบริษัท ร้านขายสินค้าปลอดภาษี อันดับ1 ของญี่ปุ่น

นายพิพัฒน์ กล่าวว่า ทั้ง 3 บริษัทมีความไม่เหมือนกัน แต่สิ่งสำคัญที่สุดคือ ทำอย่างไรให้ได้ตามเป้าหมาย ที่ประกาศเป็นโยบายว่าต้องมีผลตอบแทนไม่น้อยกว่า 5% หรือปีละ 1,200,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นดอกผลจากเงินกองทุนประกันสังคม ทั้งหมดประมาณ 2.4 ล้านล้านบาท โดยในปี 2566 ที่ผ่านมา กองทุนประกันสังคม ทำรายได้เกือบ 6 หมื่นล้านบาท เพราะฉะนั้นเป้าหมายของปี 2567 จากที่เคยได้ 2.4% ก็จะขยับไปที่ประมาณ 3-4 % ถ้าเป็นไปได้ในปี 2568 เราจะมีดอกผลไม่น้อยกว่า 5% เข้าสู่เป้าหมาย ของการมีดอกผล 1.2 แสนล้าน เมื่อกองทุนมีโอกาสเติบโต เชื่อว่าในปี 2567 อาจจะมีเงินต้น กองทุนประกันสังคม เพิ่มจาก 2.4 เป็น 2.6 ล้านล้านบาท และในปี 2568 ควรจะมี 2.7 ล้านล้านบาท ถ้าเราสามารถปฏิบัติได้ตามเงื่อนไขผลกำไร ไม่น้อยกว่า 5 % กองทุนจะไม่ถึงจุดล้มละลายในปี 2597 และเชื่อว่าถ้าเราเดินถึงตรงนั้นได้ก็จะขยายระยะเวลาไปเรื่อยๆ

"ในฐานะที่ได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรี มากำกับดูแลกระทรวงแรงงาน ผมมีหน้าที่ที่จะคิดว่าทำอย่างไรให้กระทรวงแรงงานเราพัฒนา เป็นกระทรวงเศรษฐกิจในระดับหนึ่ง และที่สำคัญที่สุด เงินกองทุนประกันสังคม ของผู้ประกันตนตามมาตรา 33,39 และ 40 จะต้องไม่มีคำว่า ล้มละลาย และไม่ใช่ว่าเก็บเงินวันนี้เพื่อไปชดเชยคนที่เกษียณอายุที่ผ่านมา เราจะไม่รอถึงเวลานั้น เพราะฉะนั้นผมต้องพยายามที่จะไปช้อปปิ้ง ไปดูว่าประเทศไหนมีการลงทุนที่ได้ผลตอบแทนที่ดี และอยู่ภายใต้เงื่อนไขความแข็งแรงของบริษัท ต้องไม่น้อยกว่า Triple B หรือ BBB ซึ่งการลงทุนของเราในระยะเวลา 3 ปีเราควรจะได้ผลตอบแทนไม่น้อยกว่า 5% และจากการพูดคุยทั้ง 3 บริษัท มีแนวโน้มว่าเราจะได้ผลตอบแทนมากกว่า 5 %” นายพิพัฒน์ กล่าว

นายพิพัฒน์ กล่าวว่า เมื่อไปรับฟังข้อมูลแล้ว ฝ่ายวิเคราะห์ของกองทุนประกันสังคม จะไปพิจารณาว่าใน 3 บริษัท นี้ หรือที่อื่นใด มีบริษัทไหนควรจะไปลงทุน จากนั้นตนจึงจะไปเป็นพยานในการเจรจาร่วมทุน พวกเราต้องการทำให้กองทุนประกันสังคมเป็นกองทุนที่มีความแข็งแรง และจะทำในสิ่งที่ดีที่สุดให้กับผู้ใช้แรงงานในระบบประกันสังคม
//////

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

พรรคร่วมรุมทึ้งเลือกตั้งซ่อม ‘ภท.’ แชมป์เก่า แพ้ไม่ได้

สนามเลือกตั้งซ่อม สส.นครศรีธรรมราช เคยมีประเด็นระหว่างพรรคร่วมรัฐบาลมาแล้วครึ่งหนึ่ง สมัยรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา

“พิพัฒน์” ลงพื้นที่ตั้งศูนย์ประสานและช่วยเหลือแรงงานผู้ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว

วันที่ 31 มีนาคม 2568 — นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ลงพื้นที่ กองอำนวยการร่วม อาคารสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (หลังใหม่)

'พิพัฒน์' พร้อมนัดถกประกันสังคม เร่งเยียวยาแรงงานถูกแผ่นดินไหว

นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รมว.แรงงาน กล่าวว่า กระทรวงแรงงาน เตรียมนัดหน่วยงานในสังกัด โดยพาะสำนักงานประกันสังคมหารือร่วมกัน เพื่ออัพเดทสถานการณ์การช่วยเหลือเยียวยาแรงงานที่ได้รับผลกระทบจากเหตุแผ่นดินไหวในประเทศไทย ในวันนี้ หรือวันพรุ่งนี้ โดยต้องการรับทราบข้อมูลล่าสุดของจำนวนผู้ที่ได้รับผลกระทบ และแนวทางการช่วยเหลือเยียวยาตามกฎหมายต่อไป

ภูมิปัญญาโบราณล้านนา อาวุธลับของ Soft Power เปรียบเทียบ เมืองเชียงใหม่ กับ เมืองเกียวโต

Soft Power หรือ “อำนาจละมุน” คือความสามารถในการดึงดูดและโน้นน้าวผู้คนโดยไม่ต้องใช้อำนาจหรือกำลังในการบังคับ แต่มีพลังเหลือล้นด้วยการใช้วัฒนธรรม ค่านิยม ซึ่งถือได้ว่า Soft Power เป็นเครื่องมือสร้างอิทธิพล ตามแนวคิด Joseph Nye นักรัฐศาสตร์ชาวอเมริกันที่ได้นำเสนอไว้ เมื่อกล่าวถึงวัฒนธรรม ค่านิยม ทำให้ภาพของ “เชียงใหม่” ปรากฏขึ้นมาในความคิด  เชียงใหม่มีวัฒนธรรมที่งดงาม มีการสืบสานประเพณีที่ส่งต่อมาจากรุ่นสู่รุ่นอย่างมิเคยเลือนหาย วัฒนธรรมทางด้านศิลปะล้านนา ประเพณี วัดวาอาราม สถานที่ทางวัฒนธรรมต่างๆ ล้วนแล้วแต่เป็น อำนาจละมุน ทั้งสิ้น และยังคงทรงพลังอยู่เสมอมา  เชียงใหม่จึงเป็นเมืองที่มีศักยภาพ ที่อบอวลไปด้วยกลิ่นอายของวัฒนธรรมล้านนา ภูมิปัญญาท้องถิ่น ธรรมชาติที่งดงาม มีวิถีชีวิตที่มีความเรียบง่ายกับความลึกซึ้งได้อย่างลงตัว