วิจัยพบสังคมไทยเหลื่อมล้ำทุกมิติ สื่อสารในครอบครัวลดช่องว่างได้

ผลสำรวจเด็กและเยาวชนไทยปลอดภัยจากความรุนแรงออนไลน์ รั้งท้ายโลกเป็นอันดับที่ 29 เหนือกว่าอุรุกวัยเพียงประเทศเดียวเท่านั้น เมื่อเปรียบเทียบ 30 ประเทศทั่วโลกเมื่อปี 2022 เด็กและเยาวชนไทยอายุ 9-18 ปี ร้อยละ 26 เคยถูกกลั่นแกล้งทางออนไลน์ และร้อยละ 11 เคยถูกคุกคามทางเพศทางออนไลน์ เด็กประถมศึกษาตอนปลายร้อยละ 12 เคยมีประสบการณ์ถูกตีสนิทโดยมีเจตนาเพื่อละเมิดทางเพศ (ผลสำรวจมูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทยปี 2022)

นอกจากนั้น ผลสำรวจมูลนิธิเพื่อยุติการแสวงหาประโยชน์ทางเพศจากเด็ก องค์การตำรวจอาชญากรรมระหว่างประเทศ และกองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ พบว่าเด็กและเยาวชนอายุ 12-17 ปี ร้อยละ 9 เคยถูกแสวงประโยชน์และละเมิดทางเพศออนไลน์ ได้รับข้อความภาพทางเพศโดยไม่ยินยอม และถูกข่มขู่เพื่อให้มีกิจกรรมทางเพศ  ผู้ถูกละเมิดทั้งหมดมีเพียงร้อยละ 1-3 เท่านั้นที่แจ้งเรื่องต่อตำรวจ กว่าครึ่งหนึ่งไม่เล่าเรื่องการถูกละเมิดให้คนอื่นได้รับทราบ และกลุ่มนี้ร้อยละ 47 ไม่ทราบว่าจะขอความช่วยเหลือได้จากที่ใด อีกทั้งผู้ละเมิดเป็นบุคคลใกล้ชิด เด็กและเยาวชนเผชิญความท้าทายในการรับมือและเปราะบางต่อภัยคุกคามอย่างยิ่ง

ปัญหาความวุ่นวายของโลกออนไลน์ ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาวะของคนในสังคมไทย จึงเป็นเรื่องที่มองข้ามไม่ได้อีกต่อไป

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ Data Hatch จัดกิจกรรมThaiHealth WATCH The Series  2024 เล่นให้เป็นเรื่อง ครั้งที่ 1 ตอน “เล่นเรื่องรุ่น” :  ความวุ่นของโลกหลายใบบนโจทย์ของคนต่างรุ่น เพื่อต่อยอดขยายผลการรับรู้ต่อผู้นำการสื่อสาร ในประเด็นครอบครัวข้ามรุ่น ปัญหาเด็กและครอบครัวไทยในสองแพร่ง เด็กและเยาวชนเติบโตในครัวเรือนเปราะบางทับซ้อนและยังไม่ฟื้นตัวจากวิกฤต ครอบครัวที่รายได้น้อย เงินออมต่ำ หนี้สินท่วม บั่นทอนขีดความสามารถของเด็กและเยาวชนที่จะเติบโตและเติมเต็มความฝันท่ามกลางโลกที่ท้าทายได้ เงินไม่เพียงพอเป็นอุปสรรคสำคัญที่จะจบการศึกษา เยาวชนมีงานที่ดีและสอดคล้องกับความฝันได้ยากขึ้น เด็กและเยาวชนไม่ได้รับการฟื้นฟูภาวะการเรียนรู้ถดถอย ปิดโอกาสทางการศึกษาและเผชิญปัญหาความเครียดและซึมเศร้า เข้าถึงบริการสุขภาพจิตได้ไม่ทั่วถึง อีกทั้งเผชิญความรุนแรงในชีวิตประจำวันในรูปแบบซ่อนเร้นมากขึ้น

นางเบญจมาภรณ์ ลิมปิษเฐียร รองผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ และ รักษาการผู้อำนวยการศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สสส. เปิดเผยเรื่องของคนต่างรุ่นกับความวุ่นวายของโลกหลายใบว่า “แม้คนต่างรุ่นจะใช้เครือข่ายทางสังคมที่แตกต่างกันและมีความไม่เข้าใจกัน แต่จุดร่วมสำคัญของคนต่างรุ่นมีปัญหาเดียวกันคือ การประเมินความน่าเชื่อถือของข่าวสาร ทางออกคือเราต้องพยายามสร้างพื้นที่ในโลกออนไลน์ให้เกิดการโต้เถียงด้วยเหตุผลมากขึ้น ลดข้อความเสียดสี ล้อเลียน หรือตำหนิด้วยถ้อยคำรุนแรง เพื่อให้บรรยากาศในการถกเถียงเอื้อต่อการเรียนรู้สำหรับทุกคนในกลุ่ม”

ความสำคัญของครอบครัวข้ามรุ่นในสังคมต่างวัย นิยามครอบครัวแตกต่างกันไป เมื่อสังคมไทยเปลี่ยนแปลงหลังโควิด พ่อแม่ที่เคยทำงานนอกบ้านต้องเปลี่ยนเป็น Work  from home ทำให้มีเวลาอยู่กับครอบครัวมากขึ้น ได้พูดคุยและมีกิจกรรมร่วมกัน ส่งผลให้วิธีคิดเปลี่ยนไป ไม่อยากทำงานนอกบ้าน อยากทำงานออนไลน์มีเวลาให้คนในครอบครัวมากขึ้น

นายฉัตร คำแสง ผู้อำนวยการ 101 PUB และศูนย์ความรู้นโยบายเด็กและครอบครัว (คิด for คิดส์) เปิดเผยว่า 101 PUB ทำงานกับสำนักสนับสนุนสุขภาวะเด็ก เยาวชนและครอบครัว (สำนัก 4) สสส.มากว่า 2  ปี ในการแก้ไขปัญหาพ่อแม่และเด็กในเบื้องต้นเพื่อการปรับตัวไปพร้อมกัน พบปัญหาสังคมไทยเหลื่อมล้ำในทุกมิติติดอันดับTop 10 ของโลก ไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีความเหลื่อมล้ำทางความมั่งคั่งสูงสุดในโลก ถ้าเปรียบเทียบกับกลุ่มประเทศอาเซียน ไทยติดอันดับเกือบรั้งท้ายความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง รองจากประเทศกัมพูชา โดยเฉพาะนโยบายเศรษฐกิจการซื้อสินค้าเป็นการกระจายให้กลุ่มที่ร่ำรวยยิ่งขึ้นไปอีก เงินต่อเงินส่งผลให้เศรษฐกิจเหลื่อมล้ำมากขึ้นอีก ความเหลื่อมล้ำทางด้านการศึกษาของไทย ไม่ใช่ทุกคนจะเลือกเรียนได้ตามความต้องการ สังคมไทยยังไม่เอื้ออำนวยในการสร้างเด็กที่มีคุณภาพเพื่อแข่งขันบนโลกไร้พรมแดน คนไทยที่มีฐานะที่ดีจะส่งบุตรหลานไปเรียนต่างประเทศตั้งแต่ยังเป็นเด็กเพื่อสร้างโอกาสที่ดีสำหรับอนาคต

“อำนาจไม่เท่ากันนำไปสู่ความขัดแย้ง คนมีอำนาจต่อรองไม่เท่ากัน รู้สึกว่าถูกกีดกันในทุกมิติ เมื่อสังคมเหลื่อมล้ำ  ความมั่งคั่งกระจุกตัว กลุ่มคน 1% ครองความมั่งคั่งมากกว่าครึ่งหนึ่งของประเทศ (ร้อยละ 44.4) ขณะที่กลุ่มยากจนที่สุดร้อยละ 50 ถือครองรวมกันเพียงร้อยละ 1.5 เท่านั้น เกิดเป็นคำถามจากคน 40% ว่ามีคนอีกกลุ่มที่รวยกว่าเรา 10% เขาร่ำรวยมาจากไหน? คน 1% มีความมั่งคั่งเหลื่อมล้ำ ทำให้สังคมไม่ตอบโจทย์ นำไปสู่ปัญหาคนอีกกลุ่มหนึ่งเข้าไม่ถึงปัจจัยสี่” 

การเปิดเวทีนำเสนอข้อมูล “ช่องว่างระหว่างวัย ภาพสะท้อนความห่างกันทางอำนาจของคนต่างรุ่น” เป็นการมองที่แตกต่างกันไม่ใช่เป็นเรื่องแปลก แต่จะทำอย่างไรให้ผู้คนทำความเข้าใจในบริบทของความแตกต่าง และสร้างสังคมที่อยู่ร่วมกันได้ท่ามกลางความหลากหลาย ทำช่องว่างระหว่างวัยให้เป็นพื้นที่ของการพูดคุย ยอมรับความแตกต่างทางสังคมให้ทุกคนมีโอกาส.


 คน 7 Gen ในบ้านหลังเดียวกัน

1.Gen Greatest (อายุ 100 ปีขึ้นไป) (เกิด พ.ศ. 2444-2467) เกิดในยุคก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 คนรุ่นนี้เป็นกำลังสำคัญในการฟื้นฟูเศรษฐกิจ

2.Gen Silent (เกิด พ.ศ. 2468-2488) (อายุ 79-99 ปี) กลุ่มคนที่เกิดในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2  มีชีวิตความเป็นอยู่ยากลำบาก ทำงานหนักหามรุ่งหามค่ำ  เคร่งครัดต่อระเบียบแบบแผนมาก จงรักภักดีต่อนายจ้างและประเทศชาติสูงมาก เคารพกฎหมาย

3.Gen B หรือ Baby Boomer (เกิด พ.ศ.  2486-2503) (อายุ 64-81 ปี) เป็นกลุ่มคนที่ได้รับอิทธิพลจากสงครามโลกครั้งที่ 2 เติบโตท่ามกลางความยากลำบาก จึงให้คุณค่ากับการทำงานหนัก อดทนเพื่อประสบความสำเร็จ มีชีวิตเรียบง่ายผสมผสานความอนุรักษนิยมและความทันสมัย รักครอบครัวและมีวิถีชีวิตที่ผูกพันกับครอบครัว

4.Gen X (เกิด พ.ศ. 2504-2524) (อายุ 43-63 ปี) ได้รับอิทธิพลจาก Gen B มีความมุ่งมั่นในการทำงาน อดทน ให้ความสำคัญกับ work-life-balance ทั้งเรื่องการทำงานและครอบครัว คน Gen นี้แต่งงานช้า รักอิสระ มีความต้องการเป็นนายตัวเองสูง

5.Gen Y (เกิด พ.ศ. 2525-2548) (อายุ 19-42 ปี) เติบโตท่ามกลางเศรษฐกิจเฟื่องฟูและเทคโนโลยีที่กำลังพัฒนา คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตมีบทบาทต่อชีวิตประจำวันอย่างสูง มีความมุ่งมั่นสามารถทำงานหลายสิ่งในเวลาเดียวกันได้ ไม่ค่อยอดทนและไม่ชอบเสี่ยง

6.Gen Z (เกิด พ.ศ. 2549-2552) (อายุ 18-15 ปี) เติบโตในยุคที่มีเทคโนโลยีอำนวยความสะดวก  รับข้อมูลข่าวสารอย่างรวดเร็วผ่านอินเทอร์เน็ตเป็นหลัก เปิดกว้างทางความคิดและยอมรับความแตกต่างได้เป็นอย่างดี    7.Gen Alpha (เกิด พ.ศ. 2553-ปัจจุบัน) (อายุ 14 ปี-วัยแรกเกิด) เป็นคนรุ่นลูกของ Gen Y และ Gen Z เกิดมาในยุคอินเทอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทในชีวิต  คิดและมีพฤติกรรมที่อยากประสบความสำเร็จตั้งแต่อายุยังน้อย นิยมความรวดเร็วทันใจ อยากมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงสังคมให้ดีขึ้น มีความคิดเชิงวัตถุนิยม.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ความเครียด..ภัยเงียบของสังคมไทย! ห้ามไม่ได้..แต่รู้เท่าทันอยู่ให้เป็นได้

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดเวทีการประชุม Forum สุขภาพคนไทย 2567 เมื่อวันที่ 14 มิ.ย. 2567 ที่อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ

ครั้งแรก!! สสส.สานพลังภาคีเครือข่าย สร้าง“สังคมปลอดคุกคามทางเพศ”

ปัญหาสังคมในสถานที่ทำงาน อย่างการคุกคามทางเพศ ไปจนถึงการบูลลี่ด้วยสายตาและวาจา เป็นเรื่องจริงที่หลายคนเลือกที่จะนิ่งเฉย และมองข้าม

เครือข่ายเป็นหูเป็นตาฯ ร่วมกับสสส. ระดมสมองกว่า 20 ภาคี ร่วมจัดทำแผนจัดการความปลอดภัยทางถนนปี 2568

เครือข่ายเป็นหูเป็นตาเพื่อสังคม เดินหน้าขับเคลื่อนสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยทางถนนในประเทศไทย ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

ปอด..คนไทยไม่ปลอดภัย "PM2.5-บุหรี่ไฟฟ้า"ตัวร้าย!!

อันตรายที่มองไม่เห็นอย่างฝุ่น PM2.5 กำลังคร่าชีวิตและบ่อนทำลายสุขภาพของคนในสังคมไทยอย่างเงียบเชียบ ด้วยตัวเลขที่มีการยืนยันว่า คนไทยกำลังเผชิญปัญหาฝุ่น PM2.5

ต้อนรับเทศกาลPride Month รู้ให้จริง..กม.รับรองเพศสภาพ

องค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศถอนภาวะการมีเพศสภาพไม่สอดคล้องกับเพศกำเนิด ออกจากหมวดความผิดปกติทางจิตและพฤติกรรมในบัญชีจำแนกโรคสากลฉบับที่ 10 (ICD-10)

โพลชี้เกือบ 1 ใน 4 เคยพบ/เห็นการคุกคามทางเพศในที่ทำงานอีก 126 คน เจอกับตัว กอด-จูบ-ลูบ-คลำ มีครบ ม

เมื่อวันที่ 4 มิ.ย. 2567 ที่อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สานพลัง ภาคีเครือข่าย ประกาศเจตนารมณ์การป้องกันการคุกคามทางเพศ โ