วันที่ 12 เมษายน 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายสมชาย มรกตศรีวรรณ อธิบดีกรมการจัดหางาน นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม และนายสุรศักดิ์ จันทรัตน์ ผู้อำนวยการกองบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ หารือขยายตลาดแรงงาน ร่วมกับ Mr. Shingo Amemiya ผู้บริหารบริษัท East Japan Railway Company (JR East) และ Mr. Hideto Ikeda ประธานองค์กร IPM พร้อมเยี่ยมให้กำลังใจแรงงานไทย ณ Omiya General Rolling Stock Center จังหวัดไซตามะ
นายพิพัฒน์ เปิดเผยว่า บริษัท East Japan Railway Company (JR East) ถือเป็นผู้ให้บริการด้านระบบ
ขนส่งทางรางยักษ์ใหญ่ที่มีชื่อเสียงโด่งดังและได้รับความน่าเชื่อถือระดับโลก ปัจจุบันมีการรับผู้ฝึกปฏิบัติงานด้านเทคนิคจากประเทศไทย มาฝึกงานตามโครงการ "JR East Technical Intern Training" ในตำแหน่งสาขา Maintenance of Bogie System (งานบำรุงรักษาระบบแคร่และเพลาล้อ) นำร่องจำนวน 6 คน ผ่านองค์กรผู้รับ International Personnel Management (IPM) และบริษัทจัดหางานที่ได้รับอนุญาตจากกรมการจัดหางานถูกต้องตามกฎหมาย ในโอกาสนี้ผมจึงตั้งใจสานต่อโครงการความร่วมมือกับ JR East โดยหารือถึงการพิจารณารับแรงงานไทยในรุ่นต่อ ๆ ไป รวมถึงในสาขาอื่น ๆ และแรงงานทักษะสูง เช่น วิศวกร จากการหารือยังทราบข่าวดีว่ารัฐบาลญี่ปุ่นอยู่ระหว่างการพิจารณาเพิ่มสาขางานรถไฟเป็นสาขาอาชีพในระบบแรงงานทักษะเฉพาะ ทำให้ ผู้ฝึกงานผ่านโครงการ "JR East Technical Intern Training" มีโอกาสเปลี่ยนสถานภาพเป็นแรงงานทักษะเฉพาะที่มีสวัสดิการและรายได้ดีขึ้นด้วย
จากนั้นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานได้ให้กำลังใจและมอบโอวาทแก่แรงงานไทย ความว่า “ฝากทีมแรงงานจากไทยทุกคนให้ตั้งใจทำงาน ปฏิบัติตามระเบียบอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะเรื่องความปลอดภัยในการทำงาน รักษาความเป็นไทย มีน้ำใจต่อเพื่อนร่วมงานและหัวหน้างาน เพื่อประโยชน์ต่อตัวเองและแบบอย่างที่ดี เป็นที่ชื่นชมของนายจ้าง เพื่อแนวทางและโอกาสการทำงานของแรงงานรุ่นใหม่ต่อ ไป”
ด้านนายสมชาย มรกตศรีวรรณ อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวว่า ประเทศไทยมีแรงงานทักษะฝีมือ และมีความพร้อมในการจัดส่งแรงงานไทยไปทำงานในประเทศญี่ปุ่น โดยเฉพาะตำแหน่งวิศวกร ที่จบหลักสูตรเกี่ยวกับระบบรางรถไฟ ฝ่ายไทยสามารถสนับสนุนบริษัทฯ ด้วยการประสานงานกับมหาวิทยาลัยและสถาบัน ที่ผลิตบัณฑิตเกี่ยวกับระบบรางรถไฟ ตั้งแต่ระดับอาชีวศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะ และระดับปริญญาตรีที่ใกล้จบการศึกษาและมีความพร้อมในการทำงาน เพื่อนำไปสู่ความร่วมมือด้านแรงงานระหว่าง 2 ประเทศ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
"พิพัฒน์” ลุยเพื่อแรงงาน ถกประกันสังคมเอสโตเนีย ยกระดับบริการให้สิทธิประโยชน์ผู้ประกันตน
เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน นางมารศรี ใจรังษี
"พิพัฒน์“ รุก! เพื่อแรงงาน เพิ่มรายได้กองทุนฯ พบบริษัทจัดการสินทรัพย์สวีเดน กางแผนผลตอบแทนระยะยาวเฉลี่ย 8 -10% ต่อปี เพื่อกองทุนยืน
เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน นางมารศรี ใจรังษี
‘พิพัฒน์’ห่วงแรงงานไทย นำคณะ ถก ! ระบบบำนาญสวีเดน สร้างมาตรฐาน พัฒนาบริการผู้ประกันตน รองรับสังคมสูงอายุ
มื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน นางมารศรี ใจรังษี ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน รักษาราชการแทน เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม คณะกรรมการประกันสังคม และที่ปรึกษา (ชุดที่ 14) รวมถึงผู้บริหาร
'พิพัฒน์' ย้ำสิทธิประโยชน์อาชีพอิสระ มอบทุนซื้อบ้าน เงินทดแทนเจ็บป่วย เงินทุพพลภาพตลอดชีวิต บำเหน็จชราภาพ ด้วยประกันสังคมมาตรา 40
นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า จังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นรุ่นแรก เป็นจังหวัดซึ่งมีประชากรจำนวนมากที่สุดในภาคใต้ ประกอบอาชีพอิสระกว่า 500,000 คน
‘พิพัฒน์’ นำกระทรวงแรงงานสัญจร แม่สอด หนุนฝึกอาชีพเสริมรายได้ ร่วมเอกชนรับสมัครงาน พร้อมส่งเสริมความปลอดภัย สวัสดิการสิทธิประกันสังคม
วันที่ 13 พฤศจิกายน 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานเปิดโครงการกระทรวงแรงงานพบประชาชน อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก
“พิพัฒน์” กำชับเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย ร่วมสร้างเกราะป้องกันในสถานประกอบการ ดูแลคนทำงาน ลดการสูญเสีย มุ่งเป้าลดอันตรายร้ายแรง 1:1,000 คน
วันที่ 12 พฤศจิกายน 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานในพิธีเปิดงาน “12 พฤศจิกายน วันเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ประจำปี พ.ศ.2567” ณ ห้องประชุมกระทรวงแรงงาน ชั้น 5 .