กทม.ทวีความรุนแรง เมืองจมฝุ่น การจราจรติดขัด ขาดแหล่งอาหาร สำรวจคนกรุงเผชิญรถติดเฉลี่ยวันละ 2 ชั่วโมง หรือใน 1 ปีชีวิตติดหนึบอยู่บนรถเท่ากับ 1 เดือน 3 วัน ในรอบ 12 ปีเด็กโตวันโตคืนในรถ เกิดปัญหาอ้วนลงพุง มีแนวโน้มเกิดโรค NCDs ในเด็ก ...
เป็นข้อมูลที่ได้จากงานประชุมวิชาการโภชนาการแห่งชาติ ครั้งที่ 17 โภชนาการเพื่อความเสมอภาคและยั่งยืน “Nutrition for Equality and Sustainability” เมื่อต้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพฯ
นายอดิศักดิ์ กันทะเมืองลี้ ผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชี้แจงว่าสภาวะแวดล้อมทางกายภาพ และสังคมการใช้ชีวิตใน กทม.จากการสำรวจผังเมืองรวมในช่วง 10 ปี พบว่าคน กทม.ใช้ชีวิตอยู่ในรถยนต์ 800 ชั่วโมง/ปี หรือ 1 ปีใช้ชีวิตอยู่บนรถยนต์ 1 เดือน 3 วัน เมื่อคำนวณแล้วในรอบ 12 ปี เด็กใน กทม.เติบโตอยู่ในรถยนต์ มีปัญหาอ้วนลงพุงไขมันพอก มีโอกาสที่จะเกิดโรค NCDs เพราะแต่ละวันเด็กต้องเผชิญกับรถติดบนท้องถนนวันละ 2 ชั่วโมง ไม่ได้กินอาหารดีๆ ออกกำลังกายได้น้อย กายภาพของเมืองเกี่ยวข้องกับตัวเรามากกว่าที่เราคิด
“เด็กบางคนบ้านอยู่รังสิตมาเรียนสาทร ตื่นนอนตั้งแต่ตี 3 เพื่อออกจากบ้านตี 5 กินข้าวเหนียวหมูปิ้งบนรถยนต์ เด็กจะมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้อย่างไร ต้องเลือกอาหารที่มีสุขอนามัยที่ดีด้วย ทุกวันนี้เรายังต้องใช้หน้ากากอนามัยเพราะปัญหาฝุ่นควัน PM2.5 ผมเป็นคนเชียงใหม่ ตอนนี้เรามองไม่เห็นดอยสุเทพเพราะฝุ่นควัน PM2.5” นายอดิศักดิ์ชี้แจง
คำถามก็คือ ข้อแนะนำให้กินอาหารที่หลากหลาย เรามีความมั่นคงทางอาหารและความปลอดภัยทางอาหารมากน้อยแค่ไหน? เราใช้รถขนส่งสาธารณะ รถไฟฟ้า รถยนต์ส่วนตัวเดินทางกันวันละกี่ชั่วโมงกว่าจะถึงบ้าน “ผมสอนนิสิตนักศึกษาเมืองคืออะไร? ที่อยู่อาศัยในเมืองส่งผลต่อคุณภาพชีวิต สุขอนามัย เรามีพื้นที่ที่ 3 เพื่อการพักผ่อน เป็นพื้นที่สาธารณะ เป็นห้างสรรพสินค้า พิพิธภัณฑ์ ห้องสมุด โรงเรียน เพื่อใช้กิจกรรมทางกาย ออกกำลังกายบนพื้นที่สาธารณะ” การไป fitness ก็ต้องใช้เงิน มีต้นทุนที่เราใช้ชีวิตอยู่ในเมือง สภาพแวดล้อมของเมืองเราเลือกได้ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี การปลูกสวนผัก ปลูกต้นกล้วยบนตึกสูง ข้อจำกัดพื้นที่สาธารณะในเมือง บางพื้นที่เป็นแหล่งงานซอยตันก็ต้องใช้รถมอเตอร์ไซค์เพื่อไปสถานีรถไฟฟ้า บางย่านไม่มีแหล่งอาหาร จำเป็นต้องสร้างสรรค์เพื่อให้เกิดสุขภาวะทางกาย จิต สังคม
สมัยก่อนโรคอหิวาต์เป็นโรคระบาดที่มาจากน้ำบริโภคที่เป็นพิษ สุขอนามัยในเมืองเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย Orientical Health Environmental Health การตรวจวัดจำนวนแบคทีเรียใน subway ของรถใต้ดินในนิวยอร์กมีมากน้อยเพียงใด เมืองที่เราอยู่อาศัยมีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต กิน อยู่ พฤติกรรมการใช้ชีวิต ในช่วงโควิดระบาดเมือง 15 นาทีเป็นจริงได้ เราใช้ชีวิตโดยไม่ต้องใช้รถยนต์ เดินไปทำงาน เดินไปสวนสาธารณะ เดินไปติดต่อหน่วยงานภาครัฐ แม้จะมีความเหลื่อมล้ำในเชิงพื้นที่ ก็ต้องทำแผนที่เดินได้ เพื่อเข้าถึงแหล่งสาธารณูปโภคด้วยเส้นทาง 800 เมตร บ้านเราอากาศร้อนเด็กต้องรีบเดินเพื่อหลบแสงแดด การจัดการด้านผังเมืองออกแบบถนนทางเท้า ทำงานร่วมกับ กทม. 7 โซน พื้นที่ชั้นใน 17 เขต มีการเปลี่ยนแปลงพัฒนาเมือง ส่งเสริมการเดินเท้าเชื่อมฝั่งธนฯ และฝั่งพระนคร ขณะนี้ทางเดินริมน้ำบริเวณชุมชนกุฎีจีน-คลองสานเสร็จแล้ว
นายยศพล บุญสม ภูมิสถาปนิกนักคิดพัฒนาเมือง และผู้บริหารบริษัท ฉมา จำกัด เปิดเผยถึงโครงการ We Park เปลี่ยนพื้นที่ร้างให้เป็นพื้นที่สุขภาวะ (คนเมือง) ใกล้บ้าน ได้รับงบสนับสนุนจาก สสส. เนื่องจาก Bangkok as unplanned city ไม่ได้มีการวางผังเมืองตั้งแต่ต้น จึงเป็นเมืองที่มีการซ่อมแซม การพัฒนาเมืองนำไปสู่คุณภาพชีวิต เน้นการทำงานใกล้บ้านเพื่อเป็นประโยชน์ต่อกลุ่มเปราะบาง ในการเข้าถึงสวนสาธารณะเพื่อได้รับอากาศที่ดี Abandoned area = opportunity พัฒนาความเจริญกระจายไปตามตรอกซอกซอยต่างๆ ที่ดินของรัฐที่อยู่ใต้ทางด่วน ริมคลอง ที่ดินเอกชนก่อให้เกิดรายได้ ทำเป็นพื้นที่เกษตร ภาษีที่ดินเป็นกลไกสำคัญที่เจ้าของที่ดินภาคเอกชนจะต้องใช้ที่ดินให้เกิดความคุ้มค่า
We Park คือกลยุทธ์ที่เราจะเปลี่ยนที่ร้างให้เป็นสวนสาธารณะให้ชุมชนเดินถึง ง่ายต่อการบริหารจัดการใช้ประโยชน์ร่วมกัน ทำให้ภาคีเครือข่ายเชื่อมโยงถึงกันได้ การใช้ Multi-stakeholders ด้วยการดึงภาคีลงทุนร่วมกันให้เกิดประโยชน์ ใครที่มีเงินทุน มีที่ดิน องค์ความรู้ มีทรัพยากรฯ เผยแพร่องค์ความรู้ด้วยการคิดวิเคราะห์ ด้วยการใช้ที่ดินมีส่วนร่วมกับชุมชน การจัดฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ 50 เขต ผลักดันสวนสาธารณะ 15 นาทีใกล้บ้าน สวนคือโครงสร้างพื้นฐานของสวนเกษตร พื้นที่รับน้ำ
ในช่วง 3 ปีที่ กทม.ดำเนินงาน We Park ร่วมกับ สสส.ขยายใน 24 พื้นที่ ใช้สวนสาธารณะหัวลำโพงเป็นพื้นที่ต้นแบบ จัดกิจกรรม ระดมทุนเพื่อให้เอกชนได้ใช้ประโยชน์ 12 ปี เพื่อการลดหย่อนภาษี เป็นการทำงานร่วมมือกับ UCDC โดยไม่ต้องรองบประมาณ ระดมทุนจากภาคเอกชนเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ การจัดระบบนิเวศในเมืองผ่านคอร์สฝึกอบรม ให้ความสำคัญกับที่ดินริมคลองขนาดเล็ก อาทิ ที่ดินริมคลองผดุงกรุงเกษม ที่ดินริมคลองแสนแสบ จัดที่ดินเป็น POP PARK BKK เปลี่ยนพื้นที่ร้างให้เป็นพื้นที่สุขภาวะได้จริง ร่วมมือกับภาคเอกชนพัฒนาพื้นที่สุขภาวะใกล้บ้านได้ด้วยตัวเอง เป็นการสร้างเมืองน่าอยู่อย่างที่เรียกว่า Empowering People to Empowering City
น.ส.วรางคนางค์ นิ้มหัตถา หัวหน้าโครงการสวนผักคนเมือง มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน (ประเทศไทย) เปิดเผยว่าเป็นเวลา 13 ปีแล้ว ที่ได้ผลักดันให้เกิดสวนผักในชุมชนเมือง ทำการเกษตร เพาะปลูกให้มีความแปลกแยกจากเมืองมีความสำคัญมาก พื้นที่จำนวน 70% เป็นเมืองที่เติบโตแบบไร้ทิศทาง มีการรุกล้ำพื้นที่อาหาร ผลการสำรวจพื้นที่ กทม.เมื่อปี 2556 เหลือพื้นที่การเกษตรเพียง 20% แต่ปัจจุบันพื้นที่การเกษตรเหลือเพียง 12% รวมพื้นที่ปลูกไม้ดอก กล้วยไม้
เมื่อ กทม.ขยายตัวทำให้คนเมืองขาดแคลนแหล่งอาหาร สังคมเมืองมีความเป็นปัจเจกชนสูง การดูแลกันลดลง เกิดวิกฤตคนเมืองรอดได้ต้องรับความช่วยเหลือจากคนข้างนอก ในช่วงโควิดคนเมืองไม่สามารถเข้าถึงแหล่งอาหารได้ ต้องฝากปากท้องให้คนอื่นช่วยดูแล อนาคตเราจะอยู่กันแบบไหน รูปแบบการบริโภคเปลี่ยนแปลง พื้นที่เกษตรอาหารลดลงและอยู่ไกลมากขึ้น สินค้าแบรนด์ไทยตลาดอินทรีย์แบบ organic มีสารพิษตกค้างจะฝากไว้ที่กลุ่มคนที่มีรายได้น้อย 50% ไม่สามารถดูแลตัวเองได้ จำเป็นต้องปรับตัวเพื่อเตรียมความพร้อม ลุกขึ้นมาเป็นผู้ผลิตเองเพื่อดูแลตัวเองได้ "เมือง" ต้องเป็นทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคเพื่อความสมดุลของระบบอาหารอย่างแท้จริง
การสร้างระบบเกษตรในเมืองต้องมีความเชื่อมโยง อาหารดีมีคุณภาพย่อมส่งผลดีต่อสุขภาพด้วย เกษตรในเมืองสร้างอาหารในชุมชน ต้องค้นหาคนที่ใช่ ผู้สูงอายุอยู่ติดที่ในชุมชน ต้องมีวิธีการบริหารจัดการให้ผู้สูงอายุกลับมาทำงานด้วยกัน การเพิ่มพื้นที่อาหารยกระดับการพึ่งพาตัวเองในการสร้างแหล่งอาหารในชุมชน รวมถึงการจัดการขยะ มีการจดบันทึกข้อมูลผลผลิตจากสวนผักในการขับเคลื่อน การปลูกกะหล่ำปลี ดอกกะหล่ำ การเลี้ยงไก่ไข่ผลิตไข่ไก่.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
คน กทม. เกินครึ่งไม่เห็นด้วยมาตรการเก็บค่าธรรมเนียมรถติด
นย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจ ของประชาชน เรื่อง “สองมาตรการใหม่ คน กทม. จะเอาไง” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 27-29 พฤศจิกายน 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร กระจายระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ รวมจำนวนทั้งสิ้น 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับความคิดเห็นของคนกรุงเทพมหานคร หากมีการใช้มาตรการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการเก็บขยะและค่าธรรมเนียมรถติด
โชว์ต้นแบบรถยนต์ไฟฟ้าดัดแปลง ลดฝุ่นอากาศสะอาดทุกลมหายใจ
"อากาศบริสุทธิ์ใน กทม.เป็นจริงได้ ด้วยจุดเปลี่ยนร่วมมือร่วมใจ ให้เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ทุกคนต้องได้" ด้วยแนวคิดข้างต้น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
เช็กเลย! ค่าฝุ่น PM2.5 ทั่วประเทศ 'เหนือ-กทม.' ยังอ่วม
ศูนย์สื่อสารการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ รายงานการติดตามตรวจสอบคุณภาพอากาศประจำวันที่ 6 ธันวาคม 2567 ณ 07:00 น. สรุปดังนี้
ทำความรู้จัก “เชื้อดื้อยา” จากผลงานประกวดภาพวาดการ์ตูนคอมมิค
การสื่อสารในประเด็น “เชื้อดื้อยา”เพื่อให้คนส่วนใหญ่ รับรู้ เข้าใจ ถึงผลกระทบ และร่วมกันป้องกัน เป็นเรื่องที่องค์กรที่ทำงานด้านนี้ได้พยายามทำมาอย่างต่อเนื่อง
67 พื้นที่ กทม. พบค่าฝุ่นสูงกระทบสุขภาพ
ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร รายงานสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) ของสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศของกรุงเทพมหานคร
โฟกัสเชียงใหม่ต้นแบบความสำเร็จ งดขายเหล้าเทศกาลพร้อมเป็นตาสับปะรด
เชียงใหม่ต้นแบบความสำเร็จ ทุกเทศกาลประกาศงดขายงดดื่มเหล้า ทราบล่วงหน้า 15 วัน ประชุมหน่วยงานเกี่ยวข้องเตรียมพร้อมรับมือ ภาคประชาสังคมพร้อมใจเป็นตาสับปะรดร้องเรียน