“รมช.สุรศักดิ์” ร่วมถก การพัฒนาการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ ฯ

“รมช.สุรศักดิ์” ร่วมถก การพัฒนาการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ ฯ ลั่น เตรียมขยายผลจัดงานมหกรรมประวัติศาสตร์ 4 ภูมิภาค ในปี 2567 ชู เรียนประวัติศาสตร์วิถีใหม่ พร้อมสร้างจิตสำนึกความเป็นไทย

เมื่อวันศุกร์ ที่ 5 เมษายน 2567 นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการพัฒนาการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมือง และสร้างจิตสำนึกในความเป็นไทย ครั้งที่ 1/2567 ที่ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยมี นายกมล รอดคล้าย ประธานคณะทำงาน รมช.ศธ.ในฐานะรองประธานกรรมการ ฯ นางเกศทิพย์ ศุภวานิช รองเลขาธิการ กพฐ. เป็นกรรมการและเลขานุการ พร้อมคณะกรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้แทนจากหน่วยงานในสังกัด สกศ. สอศ. สกร. สช. เข้าร่วมประชุม

นายสุรศักดิ์ กล่าวภายหลังการประชุมว่า สาระสำคัญของการประชุมในวันนี้ จะเป็นการรายงานการดำเนินการขับเคลื่อนการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ของ สพฐ. ที่ผ่านมาได้แก่ ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การบริหารจัดการโครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ และ 1 รายวิชาพื้นฐานประวัติศาสตร์ ,แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ นอกจากนี้ สพฐ. ได้ดำเนินการ Kick Off : การขับเคลื่อนการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ชาติไทย 7 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดสุโขทัย จังหวัดนครพนม จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดนครศรีธรรมราช และจังหวัดปัตตานี ซึ่งกิจกรรมประกอบด้วย การสร้างความตระหนักความภาคภูมิใจ เสวนาวิชาการ การนำเสนอรูปแบบการเรียนการสอนประวัติศาสตร์วิถีใหม่ของโรงเรียนต้นแบบการเรียนการสอนประวัติศาสตร์

“ทั้งยังมีการทำบันทึกข้อตกลง แนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศไทย สร้างจิตสำนึกความเป็นไทย เมื่อวันที่ 17 พ.ย. 2566 ที่ ศธ. โดยเป็นการลงนามบันทึกข้อตกลง 4 กระทรวง ได้แก่ กระทรวงมหาดไทย ศธ. กระทรวงแรงงาน และกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ,หนังสือแจ้งสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เรื่องซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศไทย สร้างจิตสำนึกความเป็นไทย พร้อมทั้งแนวทางการขับเคลื่อนการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศไทย สร้างจิตสำนึกความเป็นไทยของ สพฐ. ปีงบประมาณ 2567-2568 , สพฐ. ได้ดำเนินการ Kick Off : การขับเคลื่อนการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ และหน้าที่พลเมือง ประจำปีงบประมาณ 2567 เมื่อวันที่ 15 ธ.ค. 2566 ณ โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย , สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา รายงานเกี่ยวกับ เวทีเสนาวิชาการ “เปิดโฉมหน้าวิชาประวัติศาสตร์ไทย : คน Gen ใหม่ เรียนเรื่องเก่าแบบไหนในยุค AI ครองเมือง” เมื่อวันที่ 6 ม.ค. 2567 ณ TK Park” รมช.ศึกษาธิการ กล่าว

นายสุรศักดิ์ กล่าวต่อว่า สำหรับแผนการดำเนินการขับเคลื่อนการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ปี 2567 ของ สพฐ. ประกอบด้วย 2 กิจกรรมหลัก ได้แก่ การพัฒนาครูต้นแบบเทิดทูนสถาบันสำคัญของชาติ,การจัดมหกรรมการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ และหน้าที่พลเมือง ใน 4 ภูมิภาค ร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย, การจัดการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ที่แสดงถึงคุณูปการของสถาบันพระมหากษัตริย์ ในราชวงศ์จักรีที่มีต่อสังคมไทย , การประกวดสื่อวิดีทัศน์ ภาพยนตร์สั้น เกี่ยวกับประวัติศาสตร์และ Roadshow รูปแบบการจัดการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ 77 จังหวัด ที่สำคัญในปี 2567 จะมีการขยายผลจัดงานมหกรรมประวัติศาสตร์ 4 ภูมิภาคด้วย

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

รัฐบาลชวน 'ครู-นร.' ลงทะเบียน 'ซิมพร้อมเรียน' ใช้เน็ตฟรี

นายคารม พลพรกลาง รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า รัฐบาล โดยกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ได้ร่วมมือกับคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)

กระทรวงศึกษาธิการ เร่งผลักดันการเรียนรู้แบบ Active Learning

กระทรวงศึกษาธิการ สั่ง สพฐ. เร่งผลักดันการเรียนรู้แบบ Active Learning ให้ครอบคลุมทุกภาค ทุกโรงเรียน หวัง ส่งเสริมให้นักเรียนตั้งคำถามและหาคำตอบเอง แทนการท่องจำแบบเดิม

"พล.ต.อ.เพิ่มพูน" จับมือครูเงาะ นำหลักสูตรอินเนอร์พาวเวอร์ช่วยพัฒนาครูฟรี ผ่านระบบออนไลน์ หวังใช้จิตวิทยาลดภาวะซึมเศร้าของเด็กและเยาวชน

พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) เป็นประธานการแถลงข่าวโครงการพัฒนาศักยภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา

'เศรษฐา' สั่ง ศธ.เร่งแก้ไขปัญหาเด็กหลุดระบบการศึกษา

นายกฯ ประชุมหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวงฯ ย้ำเดินหน้าแก้ไขปัญหาเด็กหลุดระบบการศึกษา ช่วยกันปลูกฝังให้เกลียดชังยาเสพติด แนะแบ่งเงินรางวัลนำจับเป็น 2 ส่วน เพื่อสร้างแรงจูงใจการทำงานของเจ้าหน้าที่