ชีวิตดีเริ่มต้นที่ตัวเรา สสส.เชิญชวนกำลังพล 1,300 นาย สังกัด สป.กลาโหม เชิงรุกสร้างองค์กรแห่งความสุขต้นแบบ ลด ละ เลิกเหล้า บุหรี่ รวมทั้งลดพุงลดโรค สิ่งแวดล้อมเอื้อสุขภาพดี พร้อมพัฒนา 5 นวัตกรรมสุขภาพ “รองปลัด สป.กลาโหม” เตรียมขยายผลทหาร 3 เหล่าทัพ คนต้นแบบผู้นำสุขภาพภายในปี 2568
พล.อ.ธนภัทร ณิยกูล รองปลัดกระทรวงกลาโหม ประกาศก้องโครงการ “สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมแห่งความสุข” กลางศาลาว่าการกลาโหม ท่ามกลางกำลังพลกรมเสมียนตราสู่องค์กรแห่งความสุขต้นแบบภายในปี 2568 ด้วยการตระหนักและเฝ้าระวังให้กำลังพลและครอบครัวหมั่นดูแลตัวเอง ให้ความรู้เรื่องการมีสุขภาพที่ดี เมื่อวันที่ 5 ก.พ.2567 ที่ศาลาว่าการกลาโหม กรุงเทพฯ ท่ามกลางคีย์แมนของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม และหน่วยงานสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) มหาวิทยาลัยมหิดล มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ ฯลฯ
รองปลัดกระทรวงกลาโหมชี้แจงว่า ม.มหิดลและ สสส.สำรวจความสุขของหน่วยงาน ผลการตรวจสุขภาพปี 2563-2565 พบกลุ่มแนวโน้มป่วยเป็นโรคไม่ติดต่อ (NCDs) เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง กลุ่มเสี่ยงจากโรค NCDs 83.1% สาเหตุส่วนใหญ่มาจากภาวะพฤติกรรมเนือยนิ่ง มีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ เนื่องจากส่วนใหญ่เป็นการทำงานบริหารหรืองานประจำสำนักงาน บางส่วนสูบบุหรี่และรับประทานอาหารไม่ถูกหลักตามโภชนาการ จึงต้องทำโครงการลดพุงลดโรค มีการลงนาม MOU สำรวจคุณภาพชีวิต สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมจึงเห็นถึงความสำคัญของการสร้างเสริมสุขภาวะ เพื่อความอยู่ดีมีสุขของกำลังพลที่มีกว่า 1,300 คน ตามนโยบายพัฒนาคุณภาพชีวิตและการสวัสดิการด้านกำลังพล ปี 2566 จึงได้เร่งสานพลังสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) พัฒนาโครงการ “สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมแห่งความสุข" มุ่งเน้นการป้องกันและแก้ไขปัญหาโรค NCDs ในระยะยาว
“โครงการมียุทธศาสตร์การสร้างเสริมสุขภาวะ 2 ยุทธศาสตร์ 1.การสร้างเสริมสุขภาวะและความอยู่ดีมีสุขกำลังพล สมดุลระหว่างชีวิตกับการทำงาน นำไปสู่การกำหนดเป็นนโยบายแก่หน่วยงานสังกัด 23 หน่วย 2.การสร้างเสริมสุขภาวะกำลังพลเพื่อสนับสนุนการพัฒนาสุขภาวะ มุ่งเป้าปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลดเสี่ยง NCDs ลง 50% โดยเน้นการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางสุขภาพ เพื่อให้กำลังพลสามารถดูแลตนเองได้ เกิดความรอบรู้ด้านสุขภาวะ นำไปสู่การเป็นแกนนำสร้างกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนรวม ปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมการทำงานที่เอื้อต่อสุขภาพดี สร้างความสมดุลระหว่างชีวิตครอบครัวกับการทำงาน สู่การยกระดับสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมแห่งความสุข พัฒนาเป็น “กระทรวงกลาโหมแห่งความสุข” ครอบคลุมทั้ง 3 เหล่าทัพ ภายในปี 2568” พล.อ.ธนภัทรกล่าวชี้แจง
นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ให้ข้อมูลว่า สสส.ดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาวะกลุ่มองค์กรตั้งแต่ปี 2547 สานพลัง 80 ภาคีองค์กรสุขภาวะกว่า 80 องค์กร พัฒนานวัตกรรมองค์กรแห่งความสุข (Happy Workplace) นำชุดความรู้ สื่อ และเครื่องมือสร้างเสริมความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ ปรับทัศนคติ เปลี่ยนพฤติกรรมคนในองค์กร ลดเสี่ยง NCDs ครอบคลุมการรู้เท่าทันทางสุขภาพ 7 ประเด็นที่สำคัญ เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ บุหรี่ อุบัติเหตุ สุขภาพจิต มลพิษทางสิ่งแวดล้อม อาหาร และกิจกรรมทางกาย เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดี ทั้งนี้ สามารถเสริมสร้างศักยภาพองค์กรแห่งความสุขที่ตระหนักต่อการสร้างเสริมสุขภาวะในองค์กรกว่า 10,000 แห่ง
“สสส.เห็นความสำคัญของคนทำงานในกองทัพ ในฐานะทุนสำคัญทางสังคมที่สำคัญของประเทศ ที่เชื่อมโยงงานสร้างเสริมสุขภาพสู่วิถีชีวิตทุกคน สามารถส่งต่อความรู้ด้านสุขภาพได้ สสส. ได้พัฒนานวัตกรรมสร้างเสริมการเรียนรู้ด้านสุขภาพที่สอดคล้องกับบริบทของสำนักงานปลัดกลาโหม 5 นวัตกรรม 1.เว็บแอปพลิเคชันระบบฐานข้อมูลสุขภาพกำลังพล 2.หลักสูตรทหารฟิตเท่ ชุดความรู้สุขภาพรูปแบบ E-learning 3.หลักสูตรต้นแบบและเทคนิคการปรับเปลี่ยนสุขภาพแบบองค์รวมโดยการมีส่วนร่วมของผู้ป่วย NCDs 4.โรงเรียนเตรียมเกษียณสุข 5.กิจกรรมลดพุง ลดโรค ทั้งหมดนี้ ถือเป็นแนวทางการป้องกันการเกิดโรค NCDs ของ สสส. โดยเฉพาะกลุ่มวัยแรงงาน สอดคล้องกับเป้าหมายของสหประชาชาติ ที่มุ่งลดอัตราการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรจากโรค NCDs ลง 1 ใน 3 ภายในปี 2573
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ ประธานมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ เล่าถึงประสบการณ์ 40 ปี ในงานรณรงค์คนไทยไม่สูบบุหรี่ และในฐานะเป็นหมอรักษาโรคปอด ชี้แจงว่า เด็กไทยที่ติดบุหรี่ธรรมดา 10 คน 7 คนจะติดบุหรี่จนตาย ส่วนอีก 3 คนจะเลิกได้ต้องใช้เวลาถึง 20 ปี เด็กที่ติดบุหรี่อายุ 17 ปีกว่าจะเลิกได้เมื่ออายุ 41 ปี เพราะร่างกายทนไม่ไหวแล้ว ถ้าเด็กติดบุหรี่ไฟฟ้าจะเลิกได้ยากกว่าบุหรี่ธรรมดา คือติดง่ายและเลิกได้ยากมาก อีกทั้งเด็กกำลังเติบโตสมองก็ไม่พัฒนา หรือพัฒนาช้ากว่าระดับ
ถ้าเด็กที่ไม่เคยสูบบุหรี่จนอายุ 20 ปีขึ้นไปก็จะไม่สูบบุหรี่ แต่ผู้หญิงไทยจะเริ่มสูบบุหรี่เมื่ออายุ 20-25 ปี เพราะเหม็นบุหรี่ที่แฟนสูบ จึงสูบบุหรี่ด้วย เมื่อติดบุหรี่แล้วจะหายเหม็น คนไทยส่วนใหญ่สูบบุหรี่ในบ้านคนที่สูดดมสารก่อมะเร็ง สารเคมีสังเคราะห์เป็นไอระเหย คือลูกเมียซึ่งต้องใช้เวลาระยะหนึ่งจึงเกิดโรคมะเร็ง โรคหัวใจ ในสหรัฐแต่ละปีคน 5,000 คนป่วยมะเร็งจากควันบุหรี่มือ 2 คนไทยป่วยปีละ 1,300 คน
ผลงานวิจัยของนักศึกษา วปอ.ปี 2562 ค้นคว้างานวิจัยจากทั่วโลก 190 ชีวิต พบว่าควันบุหรี่ไฟฟ้าเข้าไปในช่องปาก ทำปฏิกิริยาที่แยกไม่ออกที่เกิดจากบุหรี่ มีการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ เพียงแต่ไม่เกิดโรค 2 ปีต่อมางานวิจัยกว่า 100 ชิ้นสรุปว่าการเกิดโรคจากบุหรี่ต้องใช้เวลา 30 ปีกว่าจะแสดงออก ด้วยสารปรุงแต่งที่ทำให้เกิดโรค องค์การอาหารและยา FDA ให้ใช้เป็นสารปรุงแต่งในอาหาร แต่เมื่อนำมาเผาในบุหรี่ไฟฟ้าเกิดสารเคมีใหม่ เมื่อเผาไหม้เป็นไอระเหยสารทำให้เกิดกลิ่นหอมเป็นสารเคมีตัวใหม่ ส่งผลให้เกิดอันตรายทำให้เกิดเป็นสารก่อมะเร็ง คนที่เป็นโรคหัวใจ กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด และปอดอายุ 35-40 ปี อายุมากกว่า 50 ปี เกิดโรคมะเร็ง คนที่ตายในสหรัฐอายุเฉลี่ย 24 ปี
“หมอบ้านเรางานยุ่งเมื่อเทียบกับจำนวนประชากร หมอไทย 1 คน ทำงานเทียบเท่ากับหมอญี่ปุ่น 5 คน ลูกศิษย์ที่เป็นหมอรุ่นลูกไม่ได้ออกมาพูดเรื่องคนไข้ปอดแตก ปอดบวม แต่คนไข้เป็นคนออกมาพูดเอง บุหรี่ไฟฟ้าทำให้ภูมิต้านทานในปอดลดลง คนที่สูบบุหรี่จึงมีโอกาสติดโควิดได้มากกว่า 5 เท่าของคนไม่สูบบุหรี่ เพราะภูมิต้านทานคนสูบบุหรี่ลดลง สารนิโคตินทำให้คนติดบุหรี่ นิโคตินเสพติดได้ง่ายกว่าเฮโรอีน อีกทั้งยังเลิกยากกว่าเฮโรอีนอีก ถ้าจะเลิกบุหรี่ต้องเลิกบุหรี่ไฟฟ้าก่อนเลิกบุหรี่ธรรมดา บางคนสูบบุหรี่ทั้งสองอย่าง (จำนวน 60%) ทั้งที่กฎหมายบล็อกการซื้อขายบุหรี่ไฟฟ้าเป็นสิ่งผิดกฎหมาย และยังห้ามสูบในพื้นที่สาธารณะ แต่ก็ยังมีการฝ่าฝืน เป็นเรื่องที่จะต้องถามกลับไปยังผู้ใหญ่ในบ้านเมือง นายกรัฐมนตรี สำนักงานตำรวจแห่งชาติ”
ตลาดใหม่ของ บ.บุหรี่ไฟฟ้าคือกลุ่มเด็ก มีถึงพันกลิ่นทดลองได้ไม่ซ้ำกัน ส่งผลให้เด็กติดบุหรี่ได้ง่าย ในสหรัฐบุหรี่ไฟฟ้าขายดีมาก รัฐต่างๆ ฟ้องร้อง บ.บุหรี่ไฟฟ้าที่พุ่งเป้าการตลาดมาที่เด็ก ด้วยข้อมูลว่าสูบบุหรี่ไฟฟ้าอันตรายน้อยกว่าคนที่สูบบุหรี่ธรรมดา โอกาสหัวใจวาย 2.7 เท่าของคนที่ไม่สูบบุหรี่ ในขณะที่คนสูบบุหรี่ไฟฟ้าโอกาสเกิดหัวใจวาย 2.6 เท่า ตัวเลขไม่ต่างกัน
เป็นเรื่องแปลกที่คนไทย 10 ล้านคนหนี PM 2.5 ในอากาศ แต่เติม PM 2.5 ให้ตัวเองทุกวัน บุหรี่ไฟฟ้ามี PM 2.5 สูงกว่าบุหรี่ธรรมดา เวลาคนสูบบุหรี่ ทั้งสุนัขและแมวหนีควันบุหรี่โดยธรรมชาติ มีการทดลองรมควันบุหรี่ในหนู พบว่า 22.5% เป็นมะเร็งปอด หนู 23 ตัว เยื่อบุกระเพาะปัสสาวะอักเสบเป็นมะเร็งระยะแรก ในเลือดมีสารก่อมะเร็งขับออกมาทางปัสสาวะ ผู้หญิงในวัยหมดประจำเดือนมีความเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านมมากขึ้น
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ ตั้งข้อสังเกตว่า กม.ห้ามขายบุหรี่ไฟฟ้า แต่ทำไมทุกวันนี้ยังขายบุหรี่ไฟฟ้าทางออนไลน์ ประเทศไทยติดอันดับ 108 ที่มีคอร์รัปชันของโลก ถ้าประเทศไทยไม่จัดการปัญหา ฝันที่จะให้เมืองไทยแข่งขันกับประเทศอื่นๆ ได้นั้นทำได้ยาก แม้แต่เรื่องหลักสูตรการศึกษาคะแนนสอบ PISA ประเทศไทยถอยหลัง เชื่อแน่ว่าอีก 3 ปีข้างหน้า PISA จะถอยห่างออกไปอีก ขณะนี้เด็กอายุ 15 ปี จำนวน 1 ใน 5 เริ่มสูบบุหรี่ไฟฟ้า ตัวเลขที่น่าตกใจยิ่งกว่าผู้หญิงไทย 15% สูบบุหรี่ไฟฟ้า เรากำลังแพ้สงครามนิโคติน นิโคตินในบุหรี่ทำให้สมองคลายเครียดในเริ่มต้น แต่ทำให้อวัยวะทั้งหมดเครียด ตับไตไส้พุงต้องเผชิญกับสารพิษ
อนึ่ง ภายในงานมีการออกบูธ ม.มหิดล สสส. MONO29 มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ เล่นเกมสนุกเกี่ยวกับอาหารและสุขภาพ ถ่ายภาพกับกรอบรูปพระบรมฉายาลักษณ์เพื่อเข้าร่วมกิจกรรมในวันที่ 28 ก.ค.2567 วันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 10) พร้อมรับของที่ระลึก อีกทั้งมีการถ่ายทำรายการเลิกบุหรี่ดีต่อใจ โดยมีหมอดอน ชัชวาล เผ่าสวัสดิ์ ประธานชมรมเยาวชนรุ่นใหม่ไม่ใส่ใจบุหรี่ และ พ.อ.หญิง บัวบุษบา ยุคลอดิศัย เป็นพิธีกร ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 5.
จ่าโทนาลิ้ม ชวลิตากุล (วัย 33 ปี)
ทำงานกรมการเงิน สำนักปลัดกระทรวงกลาโหม ที่ศรีสมาน
เริ่มเข้าโครงการลดพุง ลดโรค กำลังพล ม.ค.2566-ม.ค.2567 (เดิม นน. 95 กก. ลดลงเหลือ 71 กก.) สูง 179 ซม.
สอบเข้าทำงานเป็นเวลา 5 ปี เป็นคนไม่สูบบุหรี่และดื่มเหล้า แต่สนุกสนานกับการรับประทานอาหาร “ผมอ้วนเพราะกินไม่หยุด ชอบดื่มกาแฟดื่มน้ำอัดลม ตอนนั้นก็ไม่เคยมีความคิดว่าจะลดน้ำหนัก จุดเริ่มต้นของการเข้าโครงการลดน้ำหนักเพราะเพื่อนบ่นใน Social ว่าอยากลดน้ำหนัก ผมก็ตอบไปว่าทำไมไม่เล่นโยคะ ผมกลับมานอนคิดว่าเราน้ำหนักมากกว่าเพื่อนเยอะมากคือ 90 กก. ในขณะที่เพื่อนหนัก 60 กก. เราควรเป็นฝ่ายลดน้ำหนักมากกว่า อยากเอาชนะใจตัวเอง ตั้งใจว่าจะลดน้ำหนักให้เหลือ 71 กก.ก็พอใจแล้ว”
เมื่อเริ่มต้นน้ำหนักก็ต้องควบคุมตัวเอง รับประทานอาหารปกติ 3 มื้อ เพียงแต่เบรกระหว่างมื้อจะไม่รับประทาน อย่างวันนี้กินข้าวเช้ามาแล้วก็จะไม่รับประทานเบรก ไม่ดื่มน้ำอัดลม ดื่มน้ำเปล่าเป็นหลัก ที่ออฟฟิศมีสระว่ายน้ำ มีการเล่นโยคะ ก็จะใช้เวลา 1 ชั่วโมงเพื่อออกกำลังกาย เนื่องจากหน้าที่การงานจะนั่งหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นส่วนใหญ่ จัดเอกสาร แผนกควบคุมการเบิกจ่าย 2 (มี 2 แผนก) ระหว่างงานก็ต้องออกมายืดเส้นยืดสาย เพื่อนร่วมงานในแผนกเดียวกัน 6 คนไม่อ้วน.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ทอ.ปรับโครงสร้างใหญ่ เตรียมเปลี่ยนชื่อเป็น 'กองทัพอากาศและอวกาศ'
พล.อ.ท.ประภาส สอนใจดี โฆษกกองทัพอากาศ แถลงภายหลังประชุมผู้บัญชาการเหล่าทัพ ครั้งที่ 1 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2568 ถึงการปรับโครงสร้างกองทัพอากาศ ตามที่ พล.อ.ทรงวิทย์ หนุนภักดี ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ได้สั่งการ
ชวนนักดื่ม “ตรวจตับ-เลิกจับขวด” ฟื้นฟูสุขภาพคืนความสุขครอบครัว
"งดเหล้าเข้าพรรษา" ในระยะเวลา 3 เดือน ถือเป็นกิจกรรมหนึ่งในเทศกาลสำคัญ ที่มุ่งเน้นให้ชาวพุทธงดดื่มแอลกอฮอล์ ไม่เพียงเป็นการรักษาประเพณีและศีลธรรมเท่านั้น
“สุรศักดิ์” รมช.ศธ. เดินหน้าขับเคลื่อนรถรับส่งนักเรียนปลอดภัย ชูโมเดล “ศูนย์เรียนรู้รถรับส่งนักเรียนปลอดภัย จ.อยุธยา” ของสสส.
วันที่ 18 พ.ย. 2567 ที่ โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดศูนย์การเรียนรู้การจัดการรถรับส่งนักเรียนที่ปลอดภัย โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย ภายในงานเวทีสร้างความร่วมมือและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการพัฒนาศูนย์เรียนรู้รถรับส่งนั
สสส.สานพลังภาคี ขจัดความเหลื่อล้ำกิจกรรมทางกาย ดึงคนไทยสู่เวอร์ชั่นใหม่
กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ ศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย (ทีแพค) สถาบันวิจัยประชากรและสังคม
'ภูมิธรรม' ไม่ขีดเส้นตาย 'ทัพเรือ' ชี้แจงเปลี่ยนเครื่องยนต์เรือดำน้ำเป็นของจีน
นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกฯ และ รมว.กลาโหม กล่าวถึงความคืบหน้าโครงการเรือดำน้ำ หลังสั่งการให้กองทัพเรือไปจัดทำรายละเอียดเพิ่มเติม ในกรณีที่ต้องเปลี่ยนเป็นเครื่องยนต์ CHD620 ของจีน และการขยายสัญญา 1,217 วัน
สสส.-สคล. ผนึกภาครัฐ เอกชน จัดแข่งฟุตซอลเยาวชนไม่เกิน 15 ปี ชิงถ้วยกรมสมเด็จพระเทพฯ
สสส. โดยสมาคมเครือข่ายงดเหล้าและปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพ (สคล.) ร่วมกับ ภาคีเครือข่ายและภาคเอกชน รวม 7 องค์กร ลงนามความร่วมมือ พร้อมจัดแถลงข่าวเปิดตัวโครงการ