รัฐมนตรี “ศุภมาส” ชื่นชมความสำเร็จ วศ.อว. วิจัยพัฒนานวัตกรรมเซรามิก “แร่หินผุ” เพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจชุมชนกว่า 1 พันล้านบาท ทดแทนแร่ดินขาวที่กำลังจะหมดไป


เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2567 นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กล่าวว่า กระทรวง อว. ให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการผลิตตามยุทธศาสตร์ชาติ ด้านการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน การพัฒนาเศรษฐกิจและการกระจายรายได้โดยยกระดับศักยภาพของประเทศในทุกมิติ สร้างโอกาสและลดความเลื่อมล้ำทางสังคม ด้วยการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับชุมชน ล่าสุดขอชื่นชมความสำเร็จของกรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) ที่ได้วิจัยและพัฒนานวัตกรรมเซรามิกจากดินโปร่งแสง “แร่หินผุ” ช่วยเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจชุมชน ซึ่งจากเดิมอุตสาหกรรมเซรามิกของไทยมักใช้เป็นแร่ดินขาว ซึ่งขณะนี้ทรัพยากรกำลังจะหมดไปภายใน 10 ปีนี้ ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมเซรามิกของไทย ดังนั้น วศ.อว. ได้ศึกษาวิจัยนำแร่หินผุ ที่เดิมไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์และไม่มีมูลค่า นำมาพัฒนาเป็นวัตถุดิบสำหรับการผลิตเซรามิก โดยพบว่า แร่หินผุ นอกจากสามารถทดแทนดินขาวแล้ว ยังมีสมบัติโปร่งแสงและมีความพรุนตัวต่ำ ได้มีการนำมาพัฒนาเป็น โคมไฟและผลิตภัณฑ์เพื่อการตกแต่งอื่น ๆ ที่มีมูลค่าสูงขึ้น เป็นความต้องการของลูกค้าต่างชาติ หากมีการเพิ่มกำลังผลิตและพัฒนาเสริมมูลค่าผลิตภัณฑ์เพื่อการส่งออกจะมีมูลค่าสูงถึง 1,000 ล้านบาทต่อปี

นายแพทย์รุ่งเรือง กิจผาติ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กล่าวว่า วศ.อว. ได้เร่งดำเนินการตามนโยบายของ รมว.อว. ด้วยการถ่ายทอดองค์ความรู้วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีชุมชนด้วยการพัฒนานำแร่หินผุมาใช้ทดแทนวัตถุดิบดินขาว โดย วิจัยและพัฒนานวัตกรรมการผลิตจากแร่หินผุและด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อเตรียมการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้เกิดการใช้ประโยชน์ของแร่หินผุให้แก่ผู้ประกอบการและประชาชนในพื้นที่นำร่องจังหวัดลำปาง และขยายไปยังพื้นที่อื่น ๆ ทั่วประเทศ

ทั้งนี้ วศ.อว. เป็นหน่วยงานที่มีประสบการณ์ในการพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านเซรามิกให้มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานสากล และครบวงจรมากว่า 20 ปี ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ และ วศ. ได้นำองค์ความรู้ด้านกระบวนการผลิตเซรามิกจากแร่หินผุไปถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับสมาคมเครื่องปั้นดินเผาและในระดับชุมชม เพื่อสร้างความร่วมมือในการพัฒนาผลงานเซรามิกและคุณภาพชีวิตให้กับชุมชน ซึ่ง วศ.อว. ได้ศึกษาพัฒนาผลิตภัณฑ์ทั้งกระบวนการผลิต การพัฒนาฝีมือแรงงาน งานดีไซน์ที่เน้นทั้งความสวยงามคุณสมบัติพิเศษของวัตถุดิบและการตลาดควบคู่กัน เพื่อส่งเสริมให้แก่ผู้ประกอบการในชุมชน

นายแพทย์รุ่งเรือง กล่าวต่อว่า การขยายความร่วมมือของ วศ.อว. หลังจากที่วิจัยพัฒนาสำเร็จ กับสมาคมเครื่องปั้นดินเผา ทำให้เกิดการขับเคลื่อนวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม สู่การพัฒนาสังคม และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน อย่างมั่นคงและยั่งยืน ซึ่งจะมีการขยายผลสร้างความร่วมมือไปยังหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ให้เกิดความครอบคลุมเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตประชาชนในชุมชนต่าง ๆ ทั่วประเทศต่อไป

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

อว.หนุนเต็มที่ ! "ศุภชัย" เปิดประชุมนานาชาติด้านชีววิทยาสังเคราะห์ SynBio Consortium 2024

วันที่ 11 พฤศจิกายน 2567 ณ ห้องอีเทอร์นิตี้ บอลรูม โรงแรมพูลแมน คิง เพาเวอร์ กรุงเทพฯ นายศุภชัย ใจสมุทร ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้รับมอบหมายจาก นางสาวศุภมาส อิศรภักดี

ไปแอ่วหละปูนกันเต๊อะ ยลมหานครโคมโลก !

ประเด็น "การเจรจาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล" ในไหล่ทวีป 26,400 ตารางกิโลเมตร ระหว่างไทย-กัมพูชา กลับมาเป็นเรื่องร้อนๆ ที่ถูกพูดถึงทางการเมืองอีกครั้ง

"ศุภมาส" ห่วงน้ำท่วมภาคเหนือ มอบ ม.ราชมงคลทั่วประเทศ ผนึกเทศบาลนครเชียงใหม่ สมาคมตอบโต้ภัยพิบัติแห่งชาติและภาคีเครือข่าย เปิดศูนย์ประสานงานส่วนหน้าช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม จ. เชียงใหม่

เมื่อวันที่ 5 ต.ค. 2567 น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เปิดเผยว่า จากสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ จ. เชียงใหม่ ได้ส่งผลกระทบต่อพี่น้องประชาชนชาวเชียงใหม่ในหลายพื้นที่ กระทรวง อว. โดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ทั้ง 9 แห่งทั่วประเทศ