จบทริปเยือนเกาหลีใต้ ได้สวย ! "พิพัฒน์" หารือ รมว.แรงงานเกาหลี เพิ่มโควตารัฐจัดส่งแรงงานอีก 15% เปิดตลาดแรงงานเพิ่ม ภาคบริการ และท่องเที่ยว ทำงานในโรงแรม รีสอร์ท ร้านอาหาร โอกาสทองของ แรงงานเพศหญิง
วันที่ 14 มีนาคม 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วยนายสมชาย มรกตศรีวรรณ อธิบดีกรมการจัดหางาน และนายสมาสภ์ ปัทมะสุคนธ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน เข้าเยี่ยมคารวะ นายลี จอง ชิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและการจ้างงาน แห่งสาธารณรัฐเกาหลี ณ กระทรวงแรงงานและการจ้างงานแห่งสาธารณรัฐเกาหลี เพื่อหารือข้อราชการ ประเด็นการเพิ่มโควตาจัดส่งแรงงานไทย ภายใต้ระบบแรงงานต่างชาติ EPS และการแก้ปัญหาแรงงานผิดกฎหมาย โดยมีนายบัญชา ยืนยงจงเจริญ อุปทูต ณ กรุงโซล นายนิธิพัฒน์ วัฒนสุวกุล อัครราชทูตที่ปรึกษา (ฝ่ายแรงงาน) เข้าร่วมในครั้งนี้ด้วย
.
นายพิพัฒน์ กล่าวว่า สาธารณรัฐเกาหลีมีนโยบายกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำในอัตราสูงตามภาวะการครองชีพ และมีกฎหมายมาตรฐานแรงงานที่ส่งเสริมคุณภาพชีวิตการทำงาน ทำให้เกาหลีใต้กลายเป็นจุดหมายสำคัญในการเดินทางไปทำงานของแรงงานต่างชาติทุกชาติ ไม่เว้นแรงงานชาวไทย ประกอบกับเกาหลีใต้ขาดแคลนแรงงานทักษะต่ำ โดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรมการผลิตขนาดกลางและขนาดย่อม งานภาคเกษตรกรรม และงานบริการ ซึ่งฝ่ายไทยได้เจรจาขอเพิ่มโควตานำเข้าแรงงานต่างชาติ (EPS) ในปี 2567 สำเร็จ โดยเกาหลีใต้เพิ่มโควตางานภาคอุตสาหกรรม เป็น 5,500 อัตรา หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 15 จากปี 2566 และยังชื่นชมกระบวนการจัดส่งแรงงานโดยกรมการจัดหางานว่าเป็นไปอย่างโปร่งใส มีประสิทธิภาพ จึงให้ประเทศไทยจัดส่งแรงงานภาคบริการ และท่องเที่ยว เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งประเภทกิจการ เพื่อไปทำงานในโรงแรม รีสอร์ท ร้านอาหาร ซึ่งถือเป็นโอกาสดีของแรงงานเพศหญิง
.
นอกจากนี้ ยังเสนอการประชาสัมพันธ์เชิงรุก ตามโครงการเปลี่ยนวีซ่าแรงงานไร้ฝีมือ E-9 เป็นแรงงานฝีมือ วีซ่า E-7-4 เพื่อแก้ไขปัญหาขาดแคลนแรงงานทักษะให้เกาหลี พร้อมกับช่วยให้แรงงานไทยมีรายได้ สวัสดิการ และเงื่อนไขการพำนักในเกาหลีที่ดีขึ้น โดยฝ่ายไทยยังเสนอให้พิจารณาโควตาทักษะฝีมือ (E-7) ให้แรงงานไทย ซึ่งฝ่ายเกาหลีจะรวบรวมข้อเสนอจากประเทศผู้ส่งให้กระทรวงยุติธรรมพิจารณาต่อไป นอกจากนี้ฝ่ายไทยเสนอให้กระทรวงยุติธรรมพิจารณาขยายระยะเวลาโครงการนิรโทษกรรม เพื่อเดินทางกลับประเทศโดยสมัครใจ ทางการเกาหลีแจ้งว่าไม่สามารถดำเนินการได้ แต่การแก้ไขปัญหาแรงงาน ผิด กฎหมายของฝ่ายไทย จะส่งผลดีต่อการพิจารณาโควตาแรงงานไทยในปีต่อๆไป
.
ด้านนายสมชาย มรกตศรีวรรณ อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวว่า การเดินทางเยือนสาธารณรัฐเกาหลีในครั้งนี้ มีเป้าหมายสำคัญคือการเพิ่มโอกาสการจัดส่งแรงงานไทยไปทำงานต่างประเทศ ตามนโยบายที่นายพิพัฒน์ มอบไว้ให้กรมการจัดหางาน ซึ่งการจะบรรลุวัตถุประสงค์ได้ต้องอาศัยความร่วมมือจากรัฐบาลเกาหลีใต้ ในการแสวงหาโอกาส ลดข้อจำกัด และสร้างสรรค์แนวทางแก้ไขปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ความต้องการของประเทศผู้รับ และประเทศผู้ส่งแรงงานสอดคล้อง เกิดประโยชน์ร่วมกันทุกฝ่าย สามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจเกาหลีใต้ ไปพร้อมกับส่งเสริมแรงงานไทยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
รมว. พิพัฒน์ มอบ เลขา อารี ลงพื้นที่ จ.ระยอง เปิดอาคาร สปส. สาขาปลวกแดง สร้างความเชื่อมั่น พร้อมยกระดับการให้บริการ
ในวันที่ 22 ธันวาคม 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน มอบหมายให้ นายอารี ไกรนรา เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
”พิพัฒน์“ เปลี่ยนกระทรวงสู่ยุคAI สร้างทักษะการใช้ AI บริการหางาน พัฒนาฝีมือ แจ้งข้อร้องเรียน รับสิทธิประกันสังคม ให้สะดวก รวดเร็วขึ้น .
วันที่ 23 ธันวาคม 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานในงานการประชาสัมพันธ์ด้านปัญญาประดิษฐ์และการนำไปใช้สำหรับบุคลากรภาครัฐ (Kick off Artificial Intelligence Literacy for Government officer)
"พิพัฒน์" รมว. แรงงาน มอบ "มารศรี" เลขาธิการ สปส. รุดตรวจสอบ พร้อมให้การช่วยเหลือลูกจ้างประสบเหตุถังแก๊สระเบิดโรงงานเหล็ก จังหวัดระยอง
เมื่อวันที่ 18 ธ.ค. 67 เวลาประมาณ 09.40 น. เกิดเหตุการณ์ถังแก๊สระเบิด และเกิดเพลิงไหม้โรงงานผลิตเหล็ก ของบริษัท ซิน เคอ หยวน สตีล จำกัด ตำบลหนองละลอก อำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง เป็นเหตุให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 8 ราย
“พิพัฒน์” นำกระทรวงแรงงาน Roadshow Matching งานให้คนไทย เพิ่มโอกาสทำงานต่างประเทศ เปิดที่แรกกรุงโตเกียว
วันที่ 19 ธันวาคม 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน นายสมชาย มรกตศรีวรรณ อธิบดีกรมการจัดหางาน นายเดชา พฤกษ์พัฒนรักษ์ อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน เรือเอก สาโรจน์ คมคาย อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน นางมารศรี ใจรังษี เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม และคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทน
“พิพัฒน์” เยือนญี่ปุ่น ถกรัฐมนตรีแรงงาน นายจ้างญี่ปุ่นต้องการแรงงานทักษะ16 สาขา 820,000คน ที่แรกกรุงโตเกียว
วันที่ 19 ธันวาคม 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน ผู้บริหารกระทรวงแรงงานเข้าพบเข้าพบ Mr. Takamaro FUKUOKA
“พิพัฒน์” พบ รมว.แรงงาน ญี่ปุ่น ถกเพิ่มอัตราจ้างคนไทยดูแลผู้สูงอายุ พร้อมหนุนองค์กรรับส่งแรงงานไทย
เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน นายสมชาย มรกตศรีวรรณ อธิบดีกรมการจัดหางาน นายเดชา พฤกษ์พัฒนรักษ์ อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน เรือเอก สาโรจน์ คมคาย อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน นางมารศรี ใจรังษี