กยท. เดินหน้าสร้างความมั่งคั่งให้เกษตรกรชาวสวนยาง จับมือ กนอ. เซ็น MOU ลุยสร้างฐานวิจัยพัฒนา บริการวิชาการ ธุรกิจยางและเกี่ยวเนื่อง รับโอกาสทองจากระบบ EUDR

2 รัฐวิสาหกิจ กยท. และ กนอ. จับมือลงนามบันทึกความเข้าใจ วิจัยพัฒนา การบริการวิชาการ และความเป็นไปได้ของการดำเนินธุรกิจยางพารา และธุรกิจเกี่ยวเนื่องที่มีศักยภาพในนิคมอุตสาหกรรม รองรับการลงทุนอีกมหาศาลจากระบบตรวจสอบย้อนกลับ EUDR สร้างโอกาสทองให้เกษตรกรสู่ความมั่งคั่ง

วันนี้ ( 11 มี.ค. 67 ) การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) โดย นายณกรณ์ ตรรกวิรพัท ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย  และการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) โดย รศ.ดร.วีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจ  (MOU) “การวิจัยพัฒนา การบริการวิชาการ และความเป็นไปได้ของการดำเนินธุรกิจยางพารา และธุรกิจเกี่ยวเนื่องที่มีศักยภาพในนิคมอุตสาหกรรม” โดยมี ดร.เพิก เลิศวังพง ประธานกรรมการการยางแห่งประเทศไทย และ นายยุทธศักดิ์ สุภสร ประธานกรรมการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ร่วมเป็นสักขีพยาน ณ ห้องประชุม 115 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ถนนราชดำเนินกลาง พระนคร กรุงเทพฯ

นายณกรณ์ ตรรกวิรพัท ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การลงนามในครั้งนี้ ถือเป็นครั้งแรกของการสร้างความร่วมมือระหว่าง 2 รัฐวิสาหกิจ ที่นำไปสู่การสร้างตัวเชื่อมทำให้ ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ กลายเป็นสายพานในการเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร และขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศตามเป้าหมายของรัฐบาลต่อไปด้วย โดยทาง กนอ. จะใช้ความเชี่ยวชาญในการบริหารงานนิคมอุตสาหกรรมมาร่วมสร้างประโยชน์ และที่สำคัญอีกประการ คือ เป็นจุดเริ่มต้นของการเข้าไปสู่ระบบตรวจสอบย้อนกลับถึงแหล่งกำเนิดของสินค้าและผลิตภัณฑ์ยางพารา  เพื่อรองรับการบังคับใช้กฎหมาย EU Deforestation-free Products Regulation (EUDR) ของสหภาพยุโรป (EU) ที่จะเป็นส่วนสำคัญในการทำให้ราคายางพาราเพิ่มสูงขึ้นอีก โดยยางพาราที่ตรวจสอบย้อนกลับได้ จะมีราคาจำหน่ายได้สูงกว่ายางพาราทั่วไป ซึ่งขณะนี้ กยท. ได้เร่งดำเนินการเพื่อให้ไปถึงเป้าหมายที่กำหนดไว้ ภายในปี 2568 ต้องได้ 4 ล้านตัน และก้าวสู่การเป็นผู้นำกำหนดราคายางโลก 

ด้าน ดร.เพิก เลิศวังพง ประธานกรรมการการยางแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ยุคของเกษตรอุตสาหกรรมที่ทำให้เกษตรกรมั่งคั่งได้เกิดขึ้นแล้ว  ระบบตรวจสอบย้อนกลับ EUDR เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ เพราะในปัจจุบันประเทศผู้ผลิตยางธรรมชาติ ที่สามารถปฏิบัติตามระบบตรวจสอบย้อนกลับ EUDR มีเพียงประเทศไทย และประเทศในแอฟริกาเท่านั้น โดยมีผลผลิตรวมกันไม่ถึง 4 ล้านตัน แต่ความต้องการของโลกเกิน 4 ล้านตันไปแล้ว ทำให้เชื่อมั่นได้ว่า ผู้ประกอบการอุตสาหกรรม ต้องขยายกิจการตั้งโรงงานอุตสาหกรรมในประเทศไทยมากขึ้นอย่างแน่นอน เพราะวัตถุดิบยางพาราจากประเทศผู้ผลิตอื่น จะไม่สามารถผลิตและส่งขายในสหภาพยุโรปได้

“ ที่สำคัญเกษตรกรจะมีรายได้เพิ่มมากขึ้น ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์โดย กยท. ได้กำหนดเป้าหมายที่จะประกาศราคายางพาราในช่วงเดือนมีนาคมที่จะถึง โดยแบ่งเป็น 2 ราคา คือ ราคายางพาราที่ตรวจสอบย้อนกลับได้ กับยางพาราที่ตรวจสอบย้อนกลับไม่ได้ โดยราคายางที่สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้จะมีราคาสูงกว่าราคายางพาราที่ไม่สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ถึง 4 บาทต่อกิโลกรัม และ ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จะเป็นประธานในการ Kick Off ระบบตรวจสอบย้อนกลับ EUDR ของประเทศไทยแบบ 100 เปอร์เซ็นต์ในช่วงต้นเดือนมีนาคมนี้เช่นกัน” ดร.เพิก กล่าว

ด้าน ดร.วีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการ กนอ. กล่าวว่า ปัจจุบันในนิคมอุตสาหกรรมได้มีการดำเนินธุรกิจธุรกิจยางพารา และธุรกิจเกี่ยวเนื่อง ทั้ง ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ อยู่แล้ว ซึ่งการลงนามในครั้งนี้ จะเป็นส่วนสำคัญของการเพิ่มนวัตกรรมต่าง ๆ เพื่อช่วยรองรับการลงทุนในนิคมอุตสาหกรรมให้มากขึ้น

ขณะที่ นายยุทธศักดิ์ สุภสร ประธานกรรมการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ในส่วนของ กนอ. และกระทรวงอุตสาหกรรม ได้มีการเตรียมพร้อมรับการลงทุนด้านยางพารา โดยปัจจุบันมีนิคมอุตสาหกรรมยางพารา หรือ รับเบอร์ซิตี้ ตั้งอยู่ที่จังหวัดสงขลา ซึ่งมีเป้าหมายที่จะต้องการขยายการลงทุนในนิคมแห่งนี้เพิ่มมากขึ้น การลงนามในครั้งนี้ ถือเป็นการเริ่มต้นที่ดีของการสร้างเกษตรอุตสาหกรรมที่นำความมั่งคั่งมาสู่เกษตรกรต่อไป

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

โรงเรียนดนตรีและศิลปะซิมโฟนี จับมือพันธมิตร คณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU) ความร่วมมือพัฒนาศาสตร์แห่งดนตรี

“ดนตรี” นับว่ามีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเยาวชนคนรุ่นใหม่ จังหวัดสุราษฏร์ธานี ที่พร้อมเปิดประตูดนตรีและศิลปะอย่างยิ่งใหญ่

“ธรรมนัส"ฟันธงราคายางครึ่งปีหลังสดใส กยท.เดินหน้ากำหนดราคาอ้างอิงของไทย

“ธรรมนัส" ฟันธงราคายางในช่วงครึ่งปีหลัง 2567 พุ่ง พร้อมเผย นโยบายด้านยางของรัฐบาลเริ่มเห็นผลเป็นรูปธรรม ผนวกความต้องการใช้ยางเพิ่มขึ้น และกฎเหล็ก EUDR

เอาแล้ว! ยื่นศาลรธน.เลิก 'MOU44' ยุคทักษิณ หวั่นเสียเกาะกูดให้กัมพูชา

ที่ศาลรัฐธรรมนูญ นายไพบูลย์ นิติตะวัน สมาชิกพรรคพลังประชารัฐ และในฐานะนักกฏหมาย ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ เลขรับที่ 251

'เสกสกล-ประธานกนอ.สัมพันธ์' หารือขับเคลื่อนศก.สงขลา เร่งปรับปรุงสวัสดิการพนักงานกนอ.

นายเสกสกล อัตถาวงศ์ คณะกรรมการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ในฐานะประธานกรรมการกิจการสัมพันธ์

“บีไอจี” จับมือ “กรมสรรพสามิต” ลงนาม MOU เพื่อสร้างความร่วมมือในการวัดปริมาณการปล่อย ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

บีไอจี จับมือ กรมสรรพสามิต ลงนามความร่วมมือในการจัดการตรวจสอบและวิเคราะห์ แนวทางการลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์จากการใช้งานและการบำรุงรักษาพลังงาน รวมถึงการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ นำไปสู่การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยใช้ Carbon Management Platform ที่พัฒนาโดยบีไอจี

พม. ร่วมลงนาม MOU ภาคประชาสังคม หนุนกลุ่มเปราะบางให้เข้าถึงบริการสาธารณะและการรับมือสภาวะโลกร้อน

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) ความร่วมมือว่าด้วยการพัฒนาศักยภาพองค์กรภาคประชาสังคมเพื่อหนุนเสริมกลุ่มคนชายขอบให้เข้าถึงบริการสาธารณะและรับมือกับสภาวะโลกร้อน