“นภินทร“ หนุน ASEAN BAC ไทย ขับเคลื่อนการค้าดิจิทัล ยกระดับอาเซียนรับการค้ารูปแบบใหม่ ย้ำ

“นภินทร“ หนุน ASEAN BAC ไทย ขับเคลื่อนการค้าดิจิทัล ยกระดับอาเซียนรับการค้ารูปแบบใหม่ ย้ำ MSMEs ต้องเข้าถึง ตลาด-เงินทุน-เทคโนโลยี ในเวทีความร่วมมือรัฐ-เอกชน ASEAN BAC เพื่อลดความเหลื่อล้ำและสร้างความเข้มแข็งให้ผู้ประกอบการ MSMEs ในอาเซียนอย่างยั่งยืน

เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2567 นายนภินทร ศรีสรรพางค์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เข้าร่วมการหารือของรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนกับสภาที่ปรึกษาธุรกิจอาเซียน ASEAN BAC ก่อนมีการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน AEM Retreat ณ แขวงหลวงพระบาง สปป.ลาว

นายนภินทร กล่าวว่า “ขอขอบคุณสภาที่ปรึกษาธุรกิจอาเซียนที่จัดทำโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของภูมิภาคโดยเฉพาะได้ให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงห่วงโซ่อุปทานในประเด็นการพัฒนาภูมิภาคผ่านระเบียงโลจิสติกส์ของอาเซียนและการแสวงหาตลาดใหม่ตลอดจนโครงการสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการเชื่อมโยงการค้าดิจิทัลในระดับภูมิภาคซึ่งจะช่วยยกระดับการค้าของอาเซียนและมาตรฐาน กฎระเบียบให้สอดรับกับรูปแบบการค้าใหม่อีกทั้งการนำเสนอประเด็นขับเคลื่อนของภาคเอกชนในปีนี้ที่เน้นการเปลี่ยนผ่านด้านดิจิทัล การเข้าถึงพลังงานสะอาดการอำนวยความสะดวกทางการค้า และความเชื่อมโยงห่วงโซ่อุปทาน ซึ่งสอดคล้องกับประเด็นผลักดันเศรษฐกิจของอาเซียน ซึ่งถือเป็นสัญญาณที่ดีในการทำงานร่วมกันระหว่างรัฐและเอกชน เพื่อเชื่อมโยงเศรษฐกิจภายในภูมิภาคอย่างไร้รอยต่อและเป็นประโยชน์ต่อภาคเอกชนในภาพรวม และสร้างรากฐานที่แข็งแกร่งเพื่ออุตสาหกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อเพิ่มศักยภาพในการปรับตัวของอาเซียน และยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนในภูมิภาค”

“ท้ายนี้ ไทยขอเน้นย้ำ การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของ MSMEs ให้เข้าถึงตลาด เงินทุน และเทคโนโลยีเพื่อยกระดับความสามารถทางการแข่งขันสู่การค้าสมัยใหม่ ซึ่งจะช่วยลดความเหลื่อมล้ำและสร้างความเข้มแข็งให้กับผู้ประกอบการ MSMEsในอาเซียนอย่างยั่งยืน” นายนภินทร กล่าวทิ้งท้าย

โดยในปีนี้ 2024 ASEAN-BAC ของ สปป.ลาว ได้เสนอประเด็นที่ผลักดันในปี 2024 โดยมุ่งเน้นดำเนินการภายใต้ประเด็นหลัก (Priorities) 6 ประเด็น ซึ่งประกอบด้วย

1. การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล (Digital Transformation) เพื่อขยายการเติบโตของอาเซียน ยกระดับ MSMEs และส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี

2. การพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development) ให้ความสำคัญกับการเข้าถึงพลังงานสะอาด พลังงานหมุนเวียน และเงินทุนอย่างเท่าเทียม เพื่อนำไปสู่การบรรลุการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ของภูมิภาค

3. ความยืดหยุ่นทางด้านสาธารณสุข (Health Resilience) ให้ความสำคัญกับประเด็นที่เกี่ยวข้องด้านสาธารณสุข อาทิ การวิจัยและพัฒนา (R&D) และการลดความเสี่ยงของภาคเอกชนในการลงทุนด้านสาธารณสุข

4. ความมั่นคงอาหาร (Food Security) ส่งเสริมการผลิตที่ยั่งยืนและพัฒนากลไกเพื่อสร้างระบบอาหารที่ยั่งยืน

5. การอำนวยความสะดวกทางการค้าและการลงทุน (Trade and Investment Facilitation) ลดอุปสรรคทางการค้าเพื่อส่งเสริมการค้าภายในภูมิภาค สร้างความสมดุลทางการค้ากับแต่ละประเทศคู่ค้า รวมถึงยกระดับความตกลง FTA กับคู่เจรจาที่มีอยู่

6. ความเชื่อมโยงและห่วงโซ่อุปทาน (Connectivity and Supply Chain) – ซึ่งจะมุ่งเน้นสร้างความเชื่อมโยงของประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล



นอกจากนี้ ASEAN-BAC ได้มีข้อเสนอแนะเพื่อแก้ปัญหาด้านการเชื่อมโยงและห่วงโซ่อุปทาน (Connectivity and Supply Chain) ได้แก่ (๑) การกระชับความร่วมมือระหว่างโครงการ “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (Belt and Road Initiative: BRI)” กับ ASEAN เพื่อพัฒนาความเชื่อมโยงด้านโลจิสติกส์ร่วมกัน (๒) การสร้างความร่วมมือระหว่างแผนแม่บทว่าด้วยความเชื่อมโยงของอาเซียน กับโครงการ Connecting Europe Facility (CEF) ของสหภาพยุโรป (EU) ซึ่งเป็นโครงการด้านการขนส่ง ดิจิทัล และพลังงาน และ (๓) การส่งเสริมความเชื่อมโยงในภูมิภาค โดยการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก (East-West Economic Corridor) ซึ่งเชื่อมโยงเวียดนาม ลาว ไทย และเมียนมา รวมถึงพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ (Southern Economic Corridor) ซึ่งเชื่อมโยงระหว่างสิงคโปร์ มาเลเซีย และกัมพูชา

โดยไทยพร้อมให้การสนับสนุนการดำเนินการของ ASEAN BAC โดยเฉพาะโครงการต่อเนื่องจากปีที่ไทยเป็นเจ้าภาพ คือ โครงการ Digital Trade Transformation and Connectivity ซึ่งเน้นการปรับเปลี่ยนสู่การเป็นเศรษฐกิจดิจิทัล โดยการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลมาช่วยอำนวยความสะดวกทางการค้า การเชื่อมโยงมาตรฐานและกฎระเบียบด้านการค้าดิจิทัลในภูมิภาค และการเข้าถึงแหล่งเงินทุนสำหรับ MSMEs เป็นต้น ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำธุรกิจ ซึ่งจะนำไปสู่การเติบโตของภูมิภาคอาเซียนอย่างยั่งยืน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'พาณิชย์' ชี้เป้าส่งออกอาหารเสริมเจาะตลาดสหรัฐฯ

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) ชี้เป้าส่งออกอาหารเสริมเจาะตลาดผู้บริโภคสหรัฐฯ เน้นกลุ่มคนรักสุขภาพ และคนออกกำลังกาย เน้นสินค้าที่ช่วยฟื้นฟูสุขภาพ ขายส่วนผสมจากสมุนไพรไทย มั่นใจมีโอกาสเติบโต

'ภูมิธรรม' รับลูก 'เศรษฐา' ดึงเจ้าสัวช่วยซื้อผลผลิตทางการเกษตรไปจำหน่าย

“ภูมิธรรม”รับลูก “เศรษฐา” ดึงเจ้าสัว ปตท. ซีพี ไทยเบฟ ห้าง ปั๊มน้ำมัน ช่วยซื้อผลผลิตทางการเกษตรไปจำหน่ายหรือนำไปทำตลาด เพื่อดูแลเกษตรกร 

ตั้ง“จ.อ.ยศสิงห์”เป็นผู้ช่วยเลขานุการ รมว.พาณิชย์ ปฏิบัติหน้าที่เลขานุการ รมช.สุชาติ ช่วยดูแลปากท้องประชาชน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตามที่มีการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคมที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติ/เห็นชอบแต่งตั้ง ข้าราชการและข้าราชการการเมืองหลายตำแหน่ง หลายกระทรวงนั้น

พาณิชย์ ยอมรับภาพรวมค่าบริการขนส่งสินค้าทางถนน ปรับเพิ่มสูงขึ้น

นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ เผยว่า ภาพรวมดัชนีค่าบริการขนส่งสินค้าทางถนน ไตรมาสที่ 2 ปี 2567 ปรับตัวเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2566 หลังจากที่ชะลอตัวตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 ปี 2566 และปรับตัวลดลงตั้งแต่ไตรมาสที่ 4 ปี 2566