“พิพัฒน์” แจงยิบ แผนงานกู้ชีพ กองทุนประกันสังคม เพิ่มดอกผล-เก็บเงินเพิ่ม-รัฐสมทบเพิ่ม เผย กระทรวงแรงงาน เตรียมส่งเทียบเชิญทุกพรรคการเมือง หารือ ยืดชีวิตกองทุนประกันสังคมออกไปจนไม่มีคําว่าสิ้นสุด ชี้ช่อง เงินไม่สมดุล เฉพาะปี 2597 หลังจากนั้นการใช้เงินจะน้อยลง ลั่น ไม่ใช่พระเอก แต่จะไม่เป็นผู้ร้าย ที่ทําให้กองทุนประกันสังคมล้มละลาย
นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ตอบกระทู้ถามสดด้วยวาจา ของ นายวรภพ วิริยะโรจน์ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล เรื่อง ปัญหาของกองทุนประกันสังคม เสี่ยงที่จะล้มละลายหรือไม่ ว่า ขอปฏิเสธ ถ้าหากว่าไม่มีการแก้ไข ไม่มีการแก้ปัญหา ในสิ่งต่างๆ ตามที่ทีดีอาร์ไอ หรือ ไอแอลโอ ทําการศึกษาในปี พ.ศ. 2597 จะไม่เข้าสู่จุดสมดุล จะเป็นแนวโน้มที่จะบอกว่าถ้าเป็นบัญชีก็คือขาดดุล เราจะต้องมีการขาดทุนในทุกๆ ปี วันนี้เรายังมั่นใจว่ากองทุนประกันสังคม ยังไม่มีความเสี่ยง ขอให้เข้าไปดูในเว็บไซต์ของสํานักงานประกันสังคม ซึ่งจะมีรายละเอียดอยู่ในนั้น
.
นายพิพัฒน์ ชี้แจงว่า สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ทุกท่านคงจะไม่ค่อยสบายใจ คือมีการออกมาว่าจะมีการยกเลิกการเลือกตั้งบอร์ดประกันสังคม ขอยืนยัน และได้แถลงข่าวเป็นที่เรียบร้อย แล้วว่า การเลือกตั้งของประกันสังคม แล้วสิ่งที่นําเข้าไปสู่คณะรัฐมนตรี เป็นผลการศึกษาเมื่อปี 2564 นั้น หมายความว่าอยู่ภาวะของช่วงของการแพร่ระบาดของโควิด-19 ถ้าหากถอนเรื่องไปทําการศึกษาใหม่ คงจะใช้เวลาที่จะนําเข้าครม.อีกไม่น้อยกว่าหนึ่งปี เพราะฉะนั้น มีความจําเป็นต้องเอาร่างเดิม เพื่อเข้าไปสู่ ครม. และให้ ครม.พิจารณา และนําเข้าสู่สภาอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งตรงนั้น ใน 45 มาตรา เราจะมีส่วนที่เกี่ยวเนื่อง และเป็นข้อกังขา คือเปลี่ยนจาก มาตรา 8 เป็นมาตรา 3 ถ้าหากมีการผ่านครม. และเข้าสู่สภา จะขอแก้ไขถ้อยคำ ในชั้นกรรมาธิการว่า ในเหตุสุดวิสัย หากว่าไม่สามารถมีการเลือกตั้งได้ ขอให้คณะรัฐมนตรีในขณะนั้น ตั้งคณะกรรมการเพื่อทําการสรรหา คณะกรรมการประกันสังคมเป็นการชั่วคราว ก่อนที่จะมีการเลือกตั้ง เช่นกรณีเกิดภัยสงคราม หรือกรณีของการแพร่ระบาดของโควิด-19 เหมือนที่ผ่านมาไม่สามารถเลือกตั้งได้
.
รมว.แรงงาน กล่าวว่า ในส่วนคณะกรรมการประกันสังคม ที่เราได้มีการเลือกตั้งไปเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม ที่ผ่านมา แล้วผมได้มีการเซ็นรับรองไปเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2567 ที่ผ่านมา เพราะฉะนั้นผลของคณะกรรมการประกันสังคม ทั้งฝ่ายนายจ้าง ลูกจ้าง ฝ่ายละ 7 คน มีผลบังคับใช้เรียบร้อย แต่ตามมาตรา 3 ตามมาตรา 8 ซึ่งการเขียนในขณะนั้นเป็นช่วงของการร่าง เป็นช่วงของการแพร่ระบาดของโควิด-19 เพราะฉะนั้นเขาไม่ได้เติมถ้อยคำ เพราะฉะนั้นตรงนี้ ขอยืนยัน ขณะนี้คณะกรรมการประกันสังคม ชุดที่มีการเลือกตั้งวันที่ 24 ธันวาคม 2566 ขณะนี้ได้มีการทําหน้าที่เรียบร้อย
.
“ในเรื่องของ กองทุนประกันสังคม ถ้าหากว่าไม่ทําอะไรแล้วเราเก็บตามปกติ ในเพดานที่เงิน 15,000 บาท ผู้ประกันตนจ่าย 5% เจ้าของสถานประกอบการ 5% รัฐจ่าย 2.75% แน่นอน หลังจากปี 2597 จะออกตามในกราฟ แต่ผลตอบแทนในขณะนี้ ผมคิดว่าอยู่ที่ประมาณสัก 3% หรือ 2% กว่า เกือบ 3% เพราะในปี 2566 เรามีดอกผลจากกองทุน ได้ถึงประมาณ 59,000 กว่าเกือบๆ 60,000 ล้าน ซึ่งไม่ถึง 3% แต่นโยบายของผม หลังจากที่ได้รับมอบหมายจากท่านนายกรัฐมนตรี เข้ามารับหน้าที่ในฐานะควบคุมดูแลกระทรวงแรงงาน ตัวผมเองที่ตั้งสมมติฐาน และเป็นนโยบายว่า หลังจากนี้ไปเราจะต้องเอาเงินกองทุนไปหาดอกผล ให้ได้ไม่น้อยกว่า 5% ในปีนี้ เรามั่นใจว่าเราน่าจะทําได้อยู่ในช่วง 3% ถึง 4% ในปี 2567 และหลังจากปี 2568 ไปแล้ว เราน่าจะทําให้ได้ถึง 5% นั่นคือเงื่อนไขข้อแรกที่จะเป็นการยืดชีวิตของประกันสังคม” นายพิพัฒน์ กล่าว
.
นายพิพัฒน์ กล่าวด้วยว่า ในส่วนที่สองการที่จะต้องยืดเพดานของการเก็บเงินเข้ากองทุนจาก 15,000 บาท ในปี 2568 มีความตั้งใจว่าจะนําเสนอขยายเพดานไปที่ 17,500 นั่นก็หมายความว่าเป็นอีกส่วนหนึ่ง ที่พวกเราจะต้องหารือกัน อยากจะให้ท่านสมาชิก ช่วยกันอภิปรายว่าวันนี้ รัฐส่งแค่ 2.75 เป็นไปได้ไหม ถ้าจะทําให้ชีวิตกองทุนประกันสังคมได้ยืดชีวิตออกไปจนไม่มีคําว่าสิ้นสุด รัฐควรจะสมทบได้แล้วที่ 5% ซึ่งเงื่อนไขของเวลา ที่จะนําเงินเข้ามาสมทบเมื่อไหร่ เราคงจะต้องหารือกันอีกครั้งหนึ่ง
.
“ในเดือนพฤษภาคม จะขอเชิญพรรคการเมืองทุกๆ พรรคเข้าเสวนาในเรื่องของกองทุนประกันสังคม ว่า เราจะหาทางออกอย่างไร ให้เงินกองทุนประกันสังคม มีชีวิตที่ไม่มีวันสิ้นสุด ไม่ใช่เป็นหน้าที่ของกระทรวงแรงงาน ที่จะไปทําหน้าที่คิดเพียงกระทรวงเดียว หรือสํานักงานประกันสังคมเป็นผู้คิดเพียงอย่างเดียว คิดว่าพวกเราทุกคนต้องช่วยกันคิด ไม่ใช่เอาเงินอนาคตมาจ่ายให้กับปัจจุบันคือที่สมทบรุ่นใหม่มาจ่ายให้กับคนรุ่นเก่าที่เกษียณอายุไปแล้ว โดยเฉพาะที่สําคัญอีกประเด็นนึงเราก็คงจะต้องหาวิธีคิดว่า ที่ 60 ปี พอไหมหลังจากนี้ไปอีกสัก 5 ปีเป็นไปได้ไหมเราจะค่อยๆ ขยับการเกษียณจาก อายุ 60 เป็น อายุ 61 อายุ 62 อายุ 63 อายุ 64 และ อายุ 65 ปี นั่นหมายความว่าเราต้องคิดทุกวิถีทางในการสร้างกองทุนประกันสังคม”
.
“ผมได้ถกกับเจ้าหน้าที่ของประกันสังคม ว่า คุณคิดในปี พ.ศ. 2597 นั่นหมายความว่าถึงจุดพีคสุด และเริ่มดร็อปลง คุณคิดเฉพาะคนที่เกษียณอายุแต่เมื่อถึงปี 2597 แล้วคนที่เกษียณอายุไปแล้ว หลังจากนั้นคนเข้ามาเคลมประกันสังคมจะลดน้อยลง เพราะอีก 30 ปีข้างหน้า เราอย่าเอาฐานของช่วงพีคสุดมาเป็นตัวชดเชย เพราะอีก 30 ปี คนที่จ่ายเงินในขณะนี้ ที่อายุใกล้เคียงอายุ 55 อีก 30 ปี อายุ 85 ถ้าหากอายุเฉลี่ยของคนไทย คิดว่าคงไม่ได้รับเงินประกันสังคม หรือเบี้ยชรา หรือบําเหน็จแล้ว ถึงตอนนั้นคิดว่าเราคงจะเอาเงินก้อนสุดท้าย คืนเขาไปเป็นที่เรียบร้อยเมื่อเขาจากโลกใบนี้ไป”นายพิพัฒน์ กล่าว
.
นายพิพัฒน์ กล่าวอีกว่า อย่าต้องให้กระทรวงแรงงาน ต้องเป็นผู้รับผิดชอบ รับภาระ เพียงกระทรวงเดียว ย่าลืม ผู้ใช้แรงงานในประเทศไทยเราที่อยู่ในตามมาตรา 33 ประมาณ 12 ล้านคน มาตรา 39 ประมาณล้านกว่าคน และในมาตรา 40 อีกประมาณ 11 ล้านคน รวมเสร็จประมาณ 25 ล้านคน เพราะฉะนั้นอยากจะให้ช่วยกันพิจารณา ช่วยกันคิด แต่ก็ขอยืนยันว่าทั้งสิ้นทั้งปวง กองทุนประกันสังคม ไม่ใช่ว่าหมดในปี 2597 แต่ 2597 นั้น หมายความว่าผลของรายได้กับรายจ่ายจะไปเท่ากันพอดี หลังจากปี 2597 ตรงนั้นถึงจะลบขาดทุนของเงินที่เก็บเข้ามา แต่ในขณะนี้กองทุนประกันสังคมเรามีเงินทุนเมื่อสิ้นปี 2566 เรามีกองทุนอยู่ประมาณ 2.497 ล้านล้านบาท เรามีการใช้จ่ายในปี 2566 จ่ายออกประมาณ 1.413 ล้านล้านบาท เพราะฉะนั้นเมื่อหักล้างกัน เรายังมีเงินเข้ากองทุนอีก 1.569 ล้านบาท ในปี 2597 เราน่าจะมีเงินกองทุนเกือบเกือบ 6 ล้านล้านบาท แต่หลังจากนั้นไปอีก แน่นอนถ้าไม่มีการเปลี่ยนแปลงชัดเจน สิทธิประโยชน์ของประกันสังคมเราให้เพิ่มขึ้นทุกปี แต่การเก็บคงที่ ยังไงก็ถึงจุดล้มละลายอย่างชัดเจนเพราะฉะนั้นไม่อยากที่จะแก้ตัวหรืออะไรทั้งสิ้น
.
“แต่ในช่วงเดือนพฤษภาคม คงจะต้องขอเชิญชวน ในการที่พวกเราจะต้องมาหารือกันอย่างครบทุกพรรค ขอให้ท่านสมาชิกผู้ทรงเกียรติทุกๆ พรรค ช่วยนําเสนอเพื่อมาทําการหารือ โดยกระทรวงแรงงานเราจะเป็นเจ้าภาพ ในการจัดสัมมนา เพื่อหาทางออกให้กับประกันสังคม ผมเองไม่ใช่พระเอก แต่ผมเองไม่ยอมรับที่จะเป็นผู้ร้าย เป็นคนที่ทําให้กองทุนประกันสังคมล้มละลาย เพราะฉะนั้นในยุคนี้ สมัยนี้ พวกเราควรจะต้องหาทางออกร่วมกัน” นายพิพัฒน์ กล่าว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
‘พิพัฒน์’ ระดมแจกถุงยังชีพช่วยน้ำท่วมใต้ พร้อมแก้ปัญหาเดือดร้อนด้านอาชีพ ลดเงินสมทบประกันตน 6 เดือน ขี้นทะเบียนว่างงาน เร่งซ่อมแซมเครื่องใช้ไฟฟ้า มอเตอร์ไซด์หลังน้ำลด
วันที่ 2 ธันวาคม 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายสิรภพ ดวงสอดศรี ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงแรงงาน นายอารี ไกรนรา เลขานุการรัฐมนตรี นายธนัสถ์ ทวีเกื้อกูลกิจ ที่ปรึกษารัฐมนตรี นายภูมิพัฒน์ เหมือนจันทร์
"พิพัฒน์" ลงใต้ ปักหลัก 3 - 5 ธันวา ช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วมแรงงานเต็มที่
นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยถึงแนวทางการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดภาคใต้ว่า ได้สั่งการเร่งด่วนให้ 5 เสือแรงงานจัดส่งถุงยังชีพไปแล้วกว่า 3,000 ชุด
“พิพัฒน์” เน้นย้ำความปลอดภัยในสถานประกอบการ จัดประชุมวิชาการ เสวนาการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยฯ ภาคเหนือ
วันที่ 29 พฤศจิกายน 2567 เวลา 13.00 น. นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานเปิดงานประชุมวิชาการเสวนาการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
ข่าวดีผู้เกษียณ! เปิดตำแหน่งงานกว่า 4 พันอัตรา
'คารม' เผยรัฐบาลเดินหน้าสร้างโอกาสทำงานวัยเกษียณ จับมือ 16 ธุรกิจเอกชน เปิดตำแหน่งงานกว่า 4 พันอัตราทั่วประเทศ สมัครได้ที่เว็บไซต์ 'ไทยมีงานทำ.doe.go.th' หรือแอปพลิเคชัน 'ไทยมีงานทำ'
“พิพัฒน์" มุ่งสร้างสวัสดิการให้เงินทดแทนการขาดรายได้ แรงงานอิสระและอาสาสมัครแรงงาน ในพื้นที่ กทม. กว่า 1.72 ล้านคน
วันที่ 27 พฤศจิกายน 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดโครงการสื่อสารสร้างการรับรู้ประชาสัมพันธ์งานประกันสังคมให้กับแรงงานอิสระและอาสาสมัครแรงงานในพื้นที่ กทม. โดยมี นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน นางมารศรี
‘พิพัฒน์’ ห่วงน้ำท่วมใต้ สั่ง 5 เสือแรงงาน ระดมกำลังช่วยเหลือผู้ประสบภัย
นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ตามที่ได้เกิดสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลันน้ำป่าไหลหลากในพื้นที่หลายจังหวัดทางภาคใต้อยู่ในขณะนี้ ทำให้พี่น้องประชาชนได้รับผลกระทบเป็นวงกว้างนั้น ในส่วนของกระทรวงแรงงาน ผมและท่านปลัดกระทรวงแรงงาน