สทนช. หนุนประปาภูมิภาค สาขาบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา ขยายเขตท่อเข้าช่วยพื้นที่ 6 ตำบลที่ขาดแคลนน้ำสะอาดเพื่ออุปโภคบริโภค มุ่งทุกครัวเรือนไม่ขาดแคลนน้ำสะอาด พร้อมร่วมหารือรักษาคุณภาพน้ำประปาให้ได้เกณฑ์มาตรฐานจนสิ้นฤดูแล้งสอดรับแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี
นายไพฑูรย์ เก่งการช่าง รองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) พร้อมด้วย นายยามาลุดดีน นิลงาม นายกองค์การบริหารส่วนตำบลคลองเปรง อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา และ นายสุรวัฒน์ พลมณี ผู้ช่วยผู้อำนวยการการประปาส่วนภูมิภาค(กปภ.)เขต 1 (วิชาการ) ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำประปาเพื่อการอุปโภคบริโภคจังหวัดฉะเชิงเทรา พบว่า พื้นที่ทางฝั่งขวาของแม่น้ำบางปะกง จำนวน 6 ตำบลในเขตอำเภอเมืองฉะเชิงเทรามีน้ำประปาไม่ได้คุณภาพและไม่ถูกหลักสุขอนามัย ซึ่งอยู่ในความดูแลของท้องถิ่นจึงเร่งประสานกับการประปาส่วนภูมิภาคร่วมหารือแนวทางบริหารจัดการน้ำ และแก้ไขปัญหาคุณภาพน้ำประปาให้มีประสิทธิภาพและเพียงพอต่อความต้องการของประชาชนในพื้นที่
รองเลขาธิการ สทนช.กล่าวว่า กปภ. ได้วางมาตรการการบริหารจัดการน้ำประปาพื้นที่ฝั่งขวาและฝั่งซ้ายของแม่น้ำบางปะกง ช่วงฤดูแล้ง 2567 โดยทางฝั่งขวา มีการรับส่งน้ำจากการประปานครหลวง 4.60 ล้านลูกบาศก์เมตร (ล้าน ลบ.ม.) รับน้ำประปาจาก กปภ. สาขาข้างเคียง 2.12 ล้าน ลบ.ม. รับน้ำดิบจากเอกชน 9 ล้าน ลบ.ม. และรับน้ำประปาจากเอกชน 1.25 ล้าน ลบ.ม. รวมปริมาณน้ำ 16.97 ล้าน ลบ.ม. และทางฝั่งซ้าย มีการรับน้ำประปาจากเอกชน 1.17 ล้าน ลบ.ม. สูบน้ำดิบ ณ จุดสูบฝายท่าลาด 29 - 32 ล้าน ลบ.ม. และรับน้ำประปาจาก กปภ. สาขาข้างเคียง 0.61 ล้าน ลบ.ม. รวมปริมาณน้ำ 33.78 ล้าน ลบ.ม. โดยมีปริมาณน้ำรวมทั้งสองฝั่งของลำน้ำ 50.75 ล้าน ลบ.ม. สามารถรองรับความต้องการใช้น้ำโดยรวมของจังหวัดประมาณ 20 ล้าน ลบ.ม. ได้เป็นอย่างดี”
สำหรับพื้นที่ที่ประสบปัญหา ได้แก่ ต.คลองเปรง ต.บางเตย ต.บางขวัญ ต.คลองหลวงแพ่ง ต.คลองอุดมชลจร และ ต.เกาะไร่ ตรวจสอบพบว่าระบบประปาหมู่บ้านที่ใช้ในการจ่ายน้ำ ขาดเสถียรภาพและสุขอนามัยที่ดี รวมถึงระบบการผลิตไม่สอดรับกับการเติบโตของชุมชน โดยทาง กปภ. ได้มีการวางแผนจัดเตรียมโครงข่ายวางท่อขยายเขตประปาที่ ต.คลองเปรง แล้ว ซึ่งจะทำให้ชุมชนมีน้ำสะอาดใช้อย่างเพียงพอ ในราคาเป็นธรรม สามารถแก้ไขบรรเทาภัยด้านน้ำที่ชุมชนประสบได้ และในอนาคตจะขยายโครงการฯ ไปในพื้นที่ ต.คลองเตย ต.เกาะไร่ และพื้นที่อื่น ๆ ต่อไป ทาง สทนช. ได้แนะแนวทางดำเนินการด้านงบประมาณ จัดหาแหล่งน้ำต้นทุนในการผลิตน้ำประปาเพื่อสนับสนุนให้ กปภ. เกิดการขยายตัวในพื้นที่ดังกล่าว และพื้นที่ประสบปัญหาประปาหมู่บ้านอื่น ๆ อีกกว่า 700 แห่งทั่วประเทศ หรือหากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใดมีความประสงค์จะโอนกิจการประปาให้กับ กปภ. สามารถแจ้งความประสงค์ผ่าน กปภ. ในพื้นที่เพื่อรับโอนกิจการได้” นายไพฑูรย์ กล่าว
นอกจากนี้ สทนช. ได้มีการประสาน กปภ. จังหวัดฉะเชิงเทรา ในการบริหารจัดการความเสี่ยงคุณภาพน้ำช่วงน้ำทะเลหนุน บริเวณปากแม่น้ำบางปะกง โดยที่ผ่านมาหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กรมชลประทาน กปภ. สามารถควบคุมค่าความเค็มให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานได้ตลอดเดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์ 2567 จากนั้น เดือนมีนาคมถึงเมษายน 2567 จะดึงน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาผ่านคลองระพีพัฒน์ - บึงฝรั่ง - คลองท่าไข่ มายังจุดสูบ กปภ. สาขาฉะเชิงเทรา/บางปะกง รวมทั้งสูบรับน้ำดิบจากเอกชน มาช่วยสมทบเพื่อรักษาคุณภาพน้ำให้กับ กปภ. ทั้งสองสาขา ต่อไป
“สทนช. มุ่งมั่นยกระดับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำให้เพียงพอต่อทุกครัวเรือน และยกระดับการรักษาคุณภาพน้ำที่ประชาชนใช้ดื่มกินไปพร้อมกัน เพื่อรองรับแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี ด้านที่ 1 ในการจัดหาน้ำสะอาดเพื่อการอุปโภค บริโภคให้แก่ชุมชน ครบทุกครัวเรือน ชุมชนเมือง แหล่งท่องเที่ยวสำคัญ และพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษ รวมทั้งพัฒนาน้ำดื่มให้ได้มาตรฐานในราคาเหมาะสม” รองเลขาธิการ สทนช. กล่าวในตอนท้าย
--------------------
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
สทนช. เผย 18 จังหวัดยังจมบาดาล
สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ทำการสรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 29 ก.ย. 67 เวลา 7.00 น.
สทนช. อัปเดตสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ เตือนรับมือฝนตกหนัก 30 ก.ย.-1 ต.ค.
สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 26 ก.ย. 67 เวลา 7.00 น. 1.ปริมาณฝนสะสม 24 ชม. สูงสุด ได้แก่ ภาคเหนือ : จ.เชียงใหม่ (159 มม.) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : จ.ศรีสะเกษ (50 มม.) ภาคกลาง : จ.ลพบุรี (74 มม.)
เช็กเลย! 'สถานการณ์น้ำ' ภาพรวมทั้งประเทศ
สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ เวลา 7.00 น. ดังนี้ 1.ปริมาณฝนสะสม 24 ชม. สูงสุด
สทนช. อัปเดต 'สถานการณ์น้ำ' ภาพรวมทั้งประเทศ
สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 16 ก.ย.67 เวลา 7.00 น.
อีสานระทึก! ระดับน้ำโขงพุ่งพรวดเดียวเกือบเมตร เสี่ยงท่วมฉับพลัน
นครพนมลุ้นระทึกอีกครั้ง! ระดับน้ำโขงพรวดเดียวสูงขึ้นอีกเกือบเมตร ฝนกระหน่ำซ้ำทั้งคืน ท้องฟ้าปกคลุมด้วยเมฆ ลาวแจ้งด่วนเขื่อนจีนปล่อยน้ำ
กรุงเทพฯ รอด! ไม่ซ้ำรอยปี 54
สถานการณ์น้ำท่วมปี 2567 ยังต้องเฝ้าระวังและเตรียมพร้อมรับมือกับฝนระลอกใหม่เดือนกันยายนนี้ หลังจากช่วงเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา เกิดฝนตกหนัก น้ำป่าไหลหลาก น้ำล้นตลิ่งเข้าท่วมภาคเหนือ มีพื้นที่ประสบอุทกภัยถึง 12 จังหวัด ขณะที่รายงานกรมอุตุนิยมวิทยาและสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) ได้คาดการณ์ฝน One Map