รัฐมนตรี “ศุภมาส” ให้ความสำคัญนำวิทยาศาสตร์พัฒนาข้าวไทย ให้ วศ.อว. สร้างความร่วมมือกรมการข้าวเพื่อยกระดับการแข่งขันในเวทีโลก

วันที่ 1 มีนาคม 2567 นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กล่าวว่า ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาประเทศไทยมีผลผลิตข้าวเปลือกเฉลี่ยปีละ 32 ล้านตัน ซึ่งนำไปสีเป็นข้าวสารได้ประมาณ 22 ล้านตัน ประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกวัตถุดิบ “ข้าว” เป็นหลัก เพื่อพัฒนาประเทศให้เติบโตอย่างมีคุณภาพ มีความจำเป็นที่จะต้องปรับความสามารถของประเทศให้สามารถผลิตและส่งออกสินค้าอาหารมูลค่าสูง การพัฒนานวัตกรรมอาหารจากข้าวที่ได้รับการรับรองมาตรฐานคุณภาพและความปลอดภัย เป็นการพัฒนาตลาดสินค้าอาหารคุณภาพให้เข้มแข็งเติบโต จึงได้มอบหมายให้ กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวง อว. สร้างความร่วมมือกับกรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อยกระดับการแข่งขันในเวทีโลก

นายแพทย์รุ่งเรือง กิจผาติ อธิบดี วศ.อว. กล่าวว่า ตามแนวนโยบายของท่านรัฐมนตรี อว. ที่ให้ความสำคัญกับการนำวิทยาศาสตร์ไปพัฒนาต่อยอดคุณภาพและมาตรฐานของข้าวไทย กรม วศ. ได้หารือร่วมกับนานณัฏฐกิตติ์ ของทิพย์ อธิบดีกรมการข้าว ในการนำองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ไปพัฒนาอาหารจากข้าวและการตรวจสอบรับรองสินค้าให้มีคุณภาพและความปลอดภัย ซึ่งได้รับความร่วมมือจากกรมการข้าวเป็นอย่างดี วศ. ได้ดำเนินงานวิจัยและพัฒนานวัตกรรมข้าวและตรวจสอบคุณภาพข้าวอย่างต่อเนื่อง เช่น การตรวจหาสารที่ให้กลิ่นหอมวานิลลินในข้าว การตรวจสารพิษตกค้างปนเปื้อนในข้าว กาตรวจคุณค่าทางโภชนาการข้าว การตรวจสอบลักษณะเนื้อสัมผัสข้าว การตรวจสอบคุณลักษณะทางประสาทสัมผัสข้าวหรือการทดสอบชิมข้าว ตลอดจนการแปรรูปข้าวและส่วนเหลือของข้าวเป็นผลิตภัณฑ์อาหาร อาทิ เส้นพ้าสต้าจากข้าวหอมมะลิ ขนมขบเคี้ยวกรอบพองข้าวหอมมะลิ ขนมมาเดอลีนจากข้าวทับทิมชุมแพ ข้าวเกรียบจากข้าวทับทิมชุมแพ ขนมอาลัวจากข้าวทับทิมชุมแพ ซึ่งทางกรมการข้าวและกรมวิทยาศาสตร์บริการ มีการดำเนินงานร่วมกันมาตลอดเป็นอย่างดี และขยายความร่วมมือไปยังภาคส่วนอื่นๆ

นพ.รุ่งเรืองฯ กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า ปัจจุบัน วศ. มีห้องปฏิบัติการทดสอบรสชาติอาหารไทย ซึ่งได้รับการรับรองมาตรฐานสากล ISO/IEC 17025 ในด้านการทดสอบทางประสาทสัมผัสอาหาร ทำให้การทดสอบชิมอาหารมีความถูกต้อง น่าเชื่อถือและได้ร่วมมือกับสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทยในการทดสอบชิมข้าวพันธุ์ใหม่ที่เข้าประกวดเพื่อการพาณิชย์ ซึ่งการทดสอบชิมข้าวหุงสุกเป็นการตัดสินที่สำคัญในการสรรหาข้าวพันธุ์ใหม่ๆ เพื่อยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันข้าวไทยในตลาดโลก โดยการทำงานร่วมระหว่าง วศ.อว. และกรมการข้าว ได้มีการประชุมหารือและเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการแปรรูปอาหาร ห้องปฏิบัติการทดสอบรสชาติอาหารไทย ห้องปฏิบัติการตรวจสอบวัตถุเจือปนข้าว การตรวจสอบหาสารสำคัญในข้าว เพื่อสร้างความร่วมมือด้านการพัฒนานวัตกรรมข้าวไทย ให้เป็นผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง สร้างคุณค่าให้กับข้าวไทยสู่ตลาดภายในประเทศและตลาดโลก เป็นการสร้างความเข้มแข็งให้กับภาคการเกษตร ภาคการผลิตและภาคธุรกิจต่อไป

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

“ศุภมาส” ลงพื้นที่ จ.ชัยภูมิ ก่อนประชุม ครม.สัญจรโคราช ชูนโยบาย “โดรนแก้จนเพื่อการเกษตร” ลดการสัมผัสสารเคมี ลดต้นทุนให้เกษตรกร ประหยัดทั้งเวลาและแรงงาน

เมื่อวันที่ 30 มิ.ย. 2567 น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ลงพื้นที่ก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) สัญจร กลุ่มพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 ที่วัดบางอำพันธ์ อ.บำเหน็จณรงค์ จ.ชัยภูมิ

“อว.แฟร์” โชว์พลัง อววน. ปักหมุดภาคเหนือ 27-29 มิ.ย. นี้ ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ จ.เชียงใหม่

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เดินหน้าจัดงาน “อว.แฟร์ ระดับภูมิภาค” ภาคเหนือ ระหว่างวันที่ 27-29 มิถุนายน 2567

กระทรวง อว. – กระทรวงอุตฯ จับมือพัฒนายกระดับมาตรฐานยานยนต์ไฟฟ้า (EV)

เมื่อวันที่ 26 มิ.ย. 67 น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.) และ น.ส.พิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รมว.อุตสาหกรรม (อก.) และ น.ส.หวัง ซือ ซือ เลขานุการ เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย

จุดพลังเพิ่มศักยภาพข้าวไทย เป็นที่ 1 บนเส้นทางพัฒนามาตรฐานข้าว “Best Quality Rice Expo 2024 : Inspire Rice Standard

จุดพลังเพิ่มศักยภาพข้าวไทย เป็นที่ 1 บนเส้นทางพัฒนามาตรฐานข้าว “Best Quality Rice Expo 2024 : Inspire Rice Standard @ EM Market Hall ชั้น G ศูนย์การค้า EMSPHERE สุขุมวิท 22

อว. เปิดฉากยิ่งใหญ่ “อว.แฟร์ SCI POWER FOR FUTURE THALAND ระดับภูมิภาคพร้อมโชว์ศักยภาพของไทยในการพัฒนาเศรษฐกิจด้วยการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม  

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จัดใหญ่ “อว.แฟร์ SCI POWER FOR FUTURE THALAND ระดับภูมิภาค” ประเดิมที่แรกอีสาน 20-22 มิถุนายน2567 ที่อุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.นครราชสีมา