‘เบิร์ด ธงไชย’ ซึ้ง! เผยความในใจผูกพันหอประชุมใหญ่ศูนย์วัฒนธรรม จัดคอนเสิร์ตแบบเบิร์ดเบิร์ด 130 รอบ

ความรู้สึกเหมือนได้กลับมาบ้านหลังใหญ่อันอบอุ่นและสถานที่ที่คุ้นเคย เพราะชื่อของเบิร์ด ธงไชย แมคอินไตย์ ในคอนเสิร์ตแบบเบิร์ดเบิร์ดอยู่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทยมายาวนานกว่า 16 ปี ด้วยการสร้างปรากฎกาาณ์รอบการแสดงกว่า 130 รอบ เป็นความในใจของ เบิร์ด ธงไชย แมคอินไตย์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทยสากล-ขับร้อง) พ.ศ. 2565 ในโอกาสมาชมนิทรรศการเผยแพร่ประวัติและผลงานศิลปินแห่งชาติ พุทธศักราช 2565

งานนี้ พี่เบิร์ด ธงไชย เชิญชวนแฟนคลับและประชาชนเข้าชมนิทรรศการ ฯ ศิลปินแห่งชาติ ณ อาคารอเนกประสงค์ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม ระหว่างวันที่ 24 กุมภาพันธ์ - 9 มีนาคม 2567 ตั้งแต่เวลา 08.30 – 16.30 น. เว้นวันอาทิตย์

นายโกวิท ผกามาศ อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กล่าวว่า เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2567 พี่เบิร์ด ธงไชย แมคอินไตย์  พร้อมกับพี่นกน้อยผู้จัดการส่วนตัว เดินทางมาชมนิทรรศการเผยแพร่ประวัติและผลงานศิลปินแห่งชาติ พุทธศักราช 2565 ที่กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรมได้จัดขึ้น เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ผู้ทรงเป็นพระปฐมบรมศิลปินแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพ ในวันที่ 24 กุมภาพันธ์  ที่ผ่านมา และเพื่อให้ประชาชนเกิดการรับรู้และให้ความสำคัญกับวันศิลปินแห่งชาติ เพราะศิลปินแห่งชาติถือเป็นปราชญ์แห่งแผ่นดิน เป็นผู้มีความรู้ความสามารถเป็นเลิศในศิลปะแขนงต่าง ๆ ที่ได้อุทิศตนสร้างสรรค์ ถ่ายทอดผลงานด้านศิลปะ เป็นประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติ

กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) มีนโยบายส่งเสริม สนับสนุน และสร้างขวัญกำลังใจแก่ศิลปินแห่งชาติ มาอย่างต่อเนื่อง และได้มีการประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติศิลปินแห่งชาติ ประจำปีพุทธศักราช 2565 จำนวน 12 ราย ประกอบด้วย สาขาทัศนศิลป์ ได้แก่ ศาสตราจารย์เกียรติคุณพิษณุ ศุภนิมิตร (ภาพพิมพ์), นายเจตกำจร พรหมโยธี (สถาปัตยกรรมผังเมือง), นายดิเรก สิทธิการ (งานสลักดุนเครื่องเงินและโลหะ), นายฤกษ์ฤทธิ์ แก้ววิเชียร (สถาปัตยกรรมภายในและมัณฑนศิลป์) สาขาวรรณศิลป์ ได้แก่ ศาสตราจารย์เกริก ยุ้นพันธ์, นายบุญเตือน ศรีวรพจน์ สาขาศิลปะการแสดง ได้แก่ นางนพรัตน์ศุภาการ หวังในธรรม (ละครรำ), นายสมชาย ทับพร (ดนตรีไทย - ขับร้อง), นางราตรีศรีวิไล บงสิทธิพร (หมอลำประยุกต์), นายธงไชย แมคอินไตย์ (ดนตรีไทยสากล - ขับร้อง), นายสมเถา สุจริตกุล (ดนตรีสากล - ประพันธ์เพลงร่วมสมัย) และ นายประดิษฐ ประสาททอง (ละครร่วมสมัย)    โดยนิทรรศการเผยแพร่ประวัติและผลงานศิลปินแห่งชาติ พุทธศักราช 2565 ที่กรมส่งเสริมวัฒนธรรมจัดขึ้นในนี้ เพื่อเผยแพร่ผลงานอันทรงคุณค่าของศิลปินแห่งชาติให้เป็นที่ประจักษ์อย่างกว้างขวาง อันจะเป็นประโยชน์ และสร้างแรงบันดาลใจในการศึกษาเรียนรู้ และสืบสานศิลปวัฒนธรรมของชาติ สืบไป

เสียงจากทีมงานที่ได้มีโอกาสทำงานร่วมกับพี่เบิร์ด เล่าให้ฟังว่า พี่เบิร์ดมีความคุ้นเคยและผูกพันกับหอประชุมใหญ่แห่งนี้ เพราะพี่เบิร์ดจะได้แสดงและรับรางวัลที่เวทีนี้มาหลายปี โดยตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา เป็นที่ประจักษ์แก่สาธารณชนแล้วว่า พี่เบิร์ดได้สร้างผลงานอันทรงคุณค่าและสร้างความสุขให้กับผู้ชมอย่างนับครั้งไม่ถ้วน” นายโกวิทเผย

พี่เบิร์ดเล่าถึงความประทับใจในการจัดคอนเสิร์ตแบบเบิร์ดเบิร์ด ตั้งแต่ปี พ.ศ 2529 โดยครั้งที่ 2 – 8 ได้จัดแสดงคอนเสิร์ตบนเวทีหอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย เมื่อ พ.ศ. 2529-2546 รวมรอบการแสดง 129 รอบ รวมผู้ชมกว่า 200,000 คน ซึ่งก่อนที่จะเริ่มแสดงพี่เบิร์ดจะเข้าไปไหว้พ่อแก่เพื่อความเป็นสิริมงคล ซึ่งเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย และการแสดงแต่ละครั้งมีผู้เข้าชมเป็นจำนวนมาก โดยการแสดงครั้งที่ 5 (พ.ศ. 2534) ซึ่งเป็นรอบที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด รวมจำนวน 29 รอบ มีผู้เข้าชมกว่า 46,000 คน พี่เบิร์ดทำการแสดงที่เวทีหอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทยครั้งล่าสุดเมื่อปี พ.ศ.2566 จัดโดยกองทัพเรือ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเงินรายได้ทูลเกล้าฯถวายสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

ทั้งนี้ พี่เบิร์ด ธงไชยได้เชิญชวนน้องๆ นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป เข้าชมนิทรรศการเผยแพร่ประวัติและผลงานศิลปินแห่งชาติ พุทธศักราช 2565 ระหว่างวันที่ 24 กุมภาพันธ์ - 9 มีนาคม 2567 ตั้งแต่เวลา 08.30 – 16.30 น. เว้นวันอาทิตย์ ณ อาคารอเนกประสงค์ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สวธ.จัดเวที’รวมศิลป์ แผ่นดินสยาม’ที่อีสาน เฟ้นคนรุ่นใหม่-ศิลปิน สืบทอดการแสดงพื้นบ้าน

หลังจากเปิดประชันดนตรีและการแสดงพื้นบ้าน “รวมศิลป์ แผ่นดินสยาม” เฟ้นหาแชมป์ไปแล้ว 2 ภาค ภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่ และภาคกลาง จังหวัดนนทบุรี

สิ้นศิลปินแห่งชาติ ฤกษ์ฤทธิ์ แก้ววิเชียร

6 มิ.ย. 2567 - นายโกวิท ผกามาศ อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) เปิดเผยว่า ตนได้รับรายงานว่า นายฤกษ์ฤทธิ์ แก้ววิเชียร ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (สถาปัตยกรรมภายใน และมัณฑนศิลป์) พ.ศ. 2565 ได้ถึงแก่กรรมอย่างสงบ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 6 มิถุนายน 2567

วธ.จัดการแสดงเทิดพระเกียรติสถาบันกษัตริย์

5 มิ.ย. 2567 ที่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) จัดแถลงข่าวกิจกรรมเทิดพระเกียรติสถาบันพระมหากษัตริย์ ประจำปี 2567 เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567

ศิลปินนักร้องชื่อดังหลากรุ่น ร่วมเชิดชู 'สมาน กาญจนะผลิน'

จบลงอย่างสวยงาม กับคอนเสิร์ต เชิดชูครูเพลง 103 ปี ชาตกาล "เพลงคู่...ครูสมาน กาญจนะผลิน" เมื่อวันนี้ บ่ายวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ณ โรงมหรสพหลวงศาลาเฉลิมกรุง เปิดงานช่วงแรกด้วย 2 พิธีกร โกมุท คงเทศ และ ขวัญรวี กาญจนะผลิน ที่ชวน จิรวุฒิ กาญจนะผลิน ทายาทครูสมาน มาเล่าเรื่องราว การประพันธ์เพลงของครูสมาน กาญจนะผลิน ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง(เพลงไทยสากล) ปี 2531ให้ฟังกัน

ศิลปินแห่งชาติ แพร่บทความเรื่องการใช้เงินให้เป็น กรณีสกายวอล์กแยกปทุมวัน

นายวินทร์ เลียววาริณ ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ โพสต์เฟซบุ๊กว่า สองวันนี้มีหลายคนถามผมว่าคิดอย่างไรกับงานออกแบบอัตลักษณ์เมือง (พวกเขาใช้คำฝรั่งว่า City Branding) ของกทม. ผมจะไม่แสดงความคิดเห็นในเรื่องการออกแบบ เพราะมันเป็นเรื่อง subjective บางคนชอบ บางคนไม่ชอบ เป็นเรื่องธรรมดา

ปั้นคนรุ่นใหม่คุณภาพ สานเพลงลูกทุ่ง-ลูกกรุง

จัดคอนเสิร์ตลูกทุ่งและลูกกรุงที่ตลาดทรัพย์สินฯ (ท่าไข่) จ.ฉะเชิงเทรา ให้ชาวแปดริ้ว และคอเพลงลูกทุ่งได้ฟัง ในโอกาสสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ร่วมกับโรงมหรสพหลวงศาลาเฉลิมกรุง แถลงข่าวจัดการประกวดร้องเพลงลูกทุ่งและลูกกรุง โครงการ “เยาวชนสืบสานรักษ์เพลงไทย