เมื่อวันที่ 15 ก.พ. 2567 น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานเปิดการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 7 พร้อมทั้งกล่าวปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ “การขับเคลื่อนพลังทางสังคมด้วย BCG Model สู่การสร้างมูลค่าเศรษฐกิจสร้างสรรค์” โดยมี ดร.จันทร์เพ็ญ เมฆาอภิรักษ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวง อว. รศ.มาลิณี จุโฑปะมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ คณะผู้บริหาร คณาจารย์ และเจ้าหน้าที่เข้าร่วม นอกจากนี้ ภายในงานยังมีการบรรยายในเรื่อง “การขับเคลื่อน Soft Power ด้วยเศรษฐกิจสร้างสรรค์รองรับการส่งเสริมความเป็นไทยสู่สากล โดย ศ.ดร.สมปอง คล้ายหนองสรวง ผู้อำนวยการหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคนและทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.) ณ หอประชุมวิชชาอัตศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ จ.บุรีรัมย์
น.ส.ศุภมาส กล่าวว่า กระทรวง อว. มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงาน BCG ของประเทศ โดยมีสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือ สวทช. เป็นฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการขับเคลื่อน รวมทั้งหน่วยงานต่าง ๆ ของกระทรวง อว. ก็ได้ร่วมกันดำเนินการทั้งในเรื่องการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม การบ่มเพาะและพัฒนาผู้ประกอบการด้วยฐานนวัตกรรม การบริการโครงสร้างพื้นฐานและเครือข่าย การเพิ่มขีดความสามารถของกำลังคน ตลอดจนการปรับปรุงข้อกฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับต่าง ๆ เช่น โครงการยกระดับรายได้และความเป็นอยู่ของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวเหนียวด้วยเกษตรสมัยใหม่ บนเส้นทางสายวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขง ซึ่งเป็นการขับเคลื่อนในลักษณะกลุ่มสินค้าของ BCG จากความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน กลุ่มเกษตรกร และสถาบันการศึกษาในพื้นที่
รมว.อว.สำหรับพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ กระทรวง อว. ได้สนับสนุนการดำเนินงานในโครงการ U2T หรือโครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล ร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ อันนำไปสู่การเกิดผลิตภัณฑ์ สินค้าและบริการหลากหลาย และเป็นความภูมิใจของชาวบุรีรัมย์ อาทิ ผ้าทอภูอัคนี ผ้าเชียงนวน ผ้าฝ้าย ผ้ามัดหมี่ลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ เซรามิกของคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ผลิตภัณฑ์ที่กล่าวมาข้างต้นเป็นตัวอย่างของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ซึ่งมีการใช้ความคิดผลิตสินค้าและบริการ ให้น่าสนใจและมีมูลค่าเพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการยกระดับเทคโนโลยีและการออกแบบ ยกระดับการบริการด้วยการปรับปรุงระบบบริหารจัดการการสร้างเรื่องราวของสินค้าท่องเที่ยวที่เชื่อมโยงวัฒนธรรมและวิถีชีวิต หรือเพิ่มความชำนาญเฉพาะด้าน
“กระทรวง อว. จึงเป็นกำลังสำคัญในการนำองค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมมาบูรณาการร่วมกับ BCG Model สู่การต่อยอดให้เกิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เพื่อช่วยกันขับเคลื่อนเศรษฐกิจของไทย เพื่อให้เกิดการกระจายโอกาส ลดความเหลื่อมล้ำ และสามารถก้าวเป็นผู้นำของโลกได้” น.ส.ศุภมาส กล่าว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
“ศุภมาส” นั่งหัวโต๊ะประชุม ก.พ.อ. เตรียมชง ครม. เยียวยาข้าราชการพลเรือนมหาวิทยาลัยหลังข้าราชการครูปรับเงินเดือนขึ้น พร้อมปรับเงินเดือนชดเชยให้กับพนักงานมหาวิทยาลัยที่บรรจุก่อน 1 พ.ค. 2567 และก่อน 1 พ.ค. 2568
เมื่อวันที่ 30 ต.ค.67 น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
'ศุภมาส' ประกาศข่าวดี กระทรวง อว.จัดงบอุดหนุน ให้นักเรียนทั่วประเทศสมัครสอบ TGAT ในระบบ TCAS 68 ฟรี! พร้อมเปิดให้สมัครเลือกคณะได้ฟรี 7 อันดับ เผย เตรียมจัดเฉลยข้อสอบ A-level เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ สร้างโอกาสให้เยาวชนไทยเข้าถึงการศึกษาในระดับอุดมศึกษาอย่างเท่าเทียม
น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เปิดเผยว่า การสมัครคัดเลือกในระบบ TCAS 68 หรือระบบการคัดเลือกกลางเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา ประจําปี 2568 นั้น กระทรวง อว. และที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ได้ปรับเปลี่ยนนโยบายการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการสมัครสอบรายวิชาในระบบ TCAS
นายกฯ นั่งหัวโต๊ะ ถกสภานโยบายอุดมศึกษาฯ หวังพัฒนาองค์ความรู้ขั้นสูง
น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 3/2567 โดยมี น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
"ศุภมาส" ห่วงน้ำท่วมภาคเหนือ มอบ ม.ราชมงคลทั่วประเทศ ผนึกเทศบาลนครเชียงใหม่ สมาคมตอบโต้ภัยพิบัติแห่งชาติและภาคีเครือข่าย เปิดศูนย์ประสานงานส่วนหน้าช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม จ. เชียงใหม่
เมื่อวันที่ 5 ต.ค. 2567 น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เปิดเผยว่า จากสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ จ. เชียงใหม่ ได้ส่งผลกระทบต่อพี่น้องประชาชนชาวเชียงใหม่ในหลายพื้นที่ กระทรวง อว. โดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ทั้ง 9 แห่งทั่วประเทศ
เปิดหลักสูตร “วิศวกรรมเซมิคอนดักเตอร์” ครั้งแรกของประเทศไทย เริ่มเรียนปีการศึกษา 2568 นำร่อง 3 สถาบัน “จุฬาฯ - มจพ. - สจล.”
เมื่อวันที่ 3 ต.ค.67 น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานการแถลงข่าว “อว. For Semiconductor” การเปิดหลักสูตร “วิศวกรรมเซมิคอนดักเตอร์” ครั้งแรกของประเทศไทย โดยมี ศ.ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล
“ศุภมาส” รมว.กระทรวง อว. เปิดงาน “มหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2567”
17 สิงหาคม 2567 ที่ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)