กรมพัฒน์ จับมือไทย สมายล์ บัส และ รร.สอนขับรถ 3 เค โซลูชั่น พัฒนาทักษะการบริการรถเมล์ EV

วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2567 นางสาวบุปผา เรืองสุด อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงานมอบหมายให้นายพิเชษฐ์ ทองพันธ์ รองอธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือว่าด้วยการพัฒนาฝีมือแรงงานการให้บริการขนส่งสาธารณะ ระหว่าง กรมพัฒนาฝีมือแรงงานกับนางสาวกุลพรภัสร์ วงศ์มาจารภิญญา ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ไทย สมายล์ บัส จำกัด กับนายธัญญ์นิธิ ฉัตรวัฒนพัฒน์ ผู้อำนวยการโรงเรียนสอนขับรถ 3 เค โซลูชั่น เมเนจเมนท์ โดยมี นางสาวอาภากร ว่องเขตกร ผู้ตรวจราชการกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน และนางสาวกัญภัสร มณีโชติ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน บริษัท ไทย สมายล์ บัส จำกัด เป็นพยานลงนาม ณ สำนักงานใหญ่ (ชั่วคราว) บริษัท ไทย สมายล์บัส จำกัด สาขาบุคคโล กรุงเทพฯ เพื่อส่งเสริมการมีงานทำและการพัฒนาบุคลากรด้านการขับรถไฟฟ้าให้มีความเชี่ยวชาญ การปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รองรับเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมบริการ

นายพิเชษฐ์ ทองพันธ์ รองอธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน เปิดเผยหลังการลงนามดังกล่าวว่า การลงนามความร่วมมือในครั้งนี้เป็นไปตามนโยบายนายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ที่ต้องการส่งเสริมให้หน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงานได้สร้างความร่วมมือกับภาครัฐ เอกชน และสถาบันการศึกษา เพื่อพัฒนาศักยภาพกำลังแรงงานด้านอุตสาหกรรมบริการให้มีผลิตภาพสูง แรงงานมีคุณภาพซึ่งกรมพัฒนาฝีมือแรงงานร่วมกับบริษัท ไทย สมายล์บัส จำกัด และโรงเรียนสอนขับรถ 3 เค โซลูชั่น เมเนจเมนท์ ในการพัฒนาภาคบริการซึ่งจะดำเนินการบริบทต่างๆ ประกอบด้วย 1) จัดฝึกอบรมนำร่องหลักสูตรมาตรฐานการปฏิบัติงานของพนักงานขับรถโดยสารไฟฟ้า ระยะเวลาการฝึก 18 ชั่วโมง ให้แก่แรงงานทั่วไปที่สนใจ จำนวน 20 คน โดยกรมสนับสนุนสถานที่ฝึกอบรม ดำเนินการฝึก และออกวุฒิบัตร บริษัทสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการจัดฝึกอบรม และ โรงเรียนสนับสนุนวิทยากร 2) จัดทำหลักสูตรพนักงานขับรถ (กัปตันเมล์) สำหรับผู้มีใบอนุญาตขับรถประเภท 2 ขึ้นไป และสนใจจะเข้าทำงานกับบริษัท 3) อบรมให้แก่ครูฝึกของกรม หลักสูตรเทคโนโลยีรถโดยสารไฟฟ้าหรือหลักสูตรใกล้เคียง เพื่อเป็นวิทยากรขยายผลการฝึก 4) จัดทำมาตรฐานฝีมือแรงงานของผู้ประกอบอาชีพให้แก่บริษัท จำนวน 3 สาขาอาชีพ ได้แก่ พนักงานขับรถ พนักงานขับเรือ และพนักงานเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาเลื่อนระดับตำแหน่ง ค่าจ้างหรือเงินเดือน 5) ส่งเสริมให้บริษัทและโรงเรียนจัดฝึกอบรมให้แก่พนักงานตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๕ สามารถยื่นเอกสารขอรับรองหลักสูตร และค่าใช้จ่ายการฝึกอบรมกับกรม เพื่อได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆ

ด้านนางสาวกุลพรภัสร์ วงศ์มาจารภิญญา ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ไทย สมายล์ บัส จำกัด กล่าวว่า บริษัทได้ร่วมกับกรมพัฒนาฝีมือแรงงานในการจัดทำหลักสูตรมาตรฐานการปฏิบัติงานของพนักงานขับรถโดยสารไฟฟ้าและจัดฝึกอบรมหลักสูตรเทคนิคการสอนงาน มีผู้ผ่านการฝึกอบรม จำนวน 21 คน ซึ่งบริษัทมีนโยบายจะเปลี่ยนรถโดยสารระบบเชื้อเพลิง NGV เป็นรถโดยสารไฟฟ้า พร้อมให้บริการ จำนวน 2,800 คัน ทั้งนี้ ต้องการแรงงานประมาณ 6,000 คน โดยแบ่งออกเป็นพนักงานขับรถ (กัปตันเมล์) มีรายได้ประมาณ 25,340 บาท (720 บาทต่อวันและค่าดูแลรถ 9,500 บาท) และพนักงานเก็บตั๋วโดยสาร (บัสโฮสเตส) รายได้ประมาณ 16,820 บาท (560 บาทต่อวันและเงินพิเศษ 4,500 บาท)

ในส่วนของนายธัญญ์นิธิ ฉัตรวัฒนพัฒน์ ผู้อำนวยการโรงเรียนสอนขับรถ 3 เค โซลูชั่น เมเนจเมนท์ กล่าวเสริมว่า การจะเป็นพนักงานขับรถโดยสารสาธารณะได้นั้น จำเป็นต้องได้รับการอบรมความรู้ทั้งทฤษฎี ปฏิบัติ เช่น ทักษะในการขับรถ ความรู้เกี่ยวกับข้อกฎหมาย กฎจราจรต่างๆ เพื่อความปลอดภัยต่อผู้โดยสาร ประชาชนใช้รถใช้ถนน ซึ่งผู้ขับต้องทราบและปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ทั้งนี้ ทางโรงเรียนมีความพร้อมที่จะให้ความรู้และเพิ่มทักษะให้แก่ผู้เข้าอบรมและร่วมสนับสนุนในการร่วมมือกันครั้งนี้

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

พิพัฒน์ เดินหน้า นำแรงงาน สู่อุตสาหกรรมยุคใหม่ อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ - ปัญญาประดิษฐ์ AI ปลื้มกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ร่วม บริษัทสยามออโตแบคส์ อบรมแรงงานยานยนต์ EV รับสถานการณ์ แรงงานยานยนต์สันดาปที่ถูกเลิกจ้าง

นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวถึงการพัฒนาทักษะฝีมือแรงงาน ว่า ปัจจุบันนี้ ประเทศไทยเข้าสู่เทคโนโลยียุคใหม่ที่เรียกว่า 4.0

ศาลอาญาคดีทุจริตฯ พิพากษาฎีกา จำคุก 50 ปี อดีตรองอธิบดีฯฮั้วปรับปรุงตึกกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน

ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง อ่านคำพิพากษาศาลฎีกา คดีที่ 5234-5238/2566 ระหว่าง พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการสูงสุด โจทก์ กับ น.ส.ประไพศรี เผ่าพันธุ์ หรือภคภร เรขะกมลพร

ไม่แผ่ว! ดีอี เผยข่าวปลอม ‘กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน’ ถูกปล่อยไม่หยุด

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) สรุปข่าวปลอมประจำสัปดาห์ที่ประชาชนให้ความสนใจสูงสุดเป็นอันดับ 1 พบว่าเป็นเรื่องเพจปลอม “กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน” รับสมัครพนักงาน แพ็กของ รายได้เฉลี่ย 450 บาท/ต่อวัน รองลงมาเป็นข่าวปลอม “สินเชื่ออเนกประสงค์กรุงไทย 5 พลัส วงเงินสูงสุด 2 ล้านบาท ผ่านเพจ Loan Versatile 5 Plus” ยังระบาดหนัก เตือนเช็กข้อมูลทุกด้านให้ดีก่อนหลงเชื่อ หรือแชร์ข้อมูล

กพร. ร่วม พระดาบส พัฒนากำลังแรงงานสร้างอาชีพ เพิ่มรายได้เลี้ยงดูครอบครัว

เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2567 กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการพัฒนาฝีมือแรงงาน กับมูลนิธิพระดาบส ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา มูลนิธิพระดาบส จังหวัดสมุทรปราการ โดยมี