“ศุภมาศ” รมว. อว. สั่งการ “ทีม DSS” ลงพื้นที่ตรวจสอบคุณภาพน้ำดื่มตู้หยอดเหรียญเพื่อสร้างมาตรการความปลอดภัยแก่ประชาชน

เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2567 นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) สั่งการให้ทีมปฏิบัติการเคลื่อนที่เร็ว (DSS Team)
กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) นำโดยนายแพทย์รุ่งเรือง กิจผาติ อธิบดี วศ. พร้อมด้วยทีมนักวิทยาศาสตร์ ลงพื้นที่ตรวจสอบปัญหาคุณภาพน้ำดื่มจากตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญอัตโนมัติ ในเขต กทม. ตามที่เป็นข่าวจากมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคว่า ตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญกว่า 90% ใน ‘กทม.’ อันตราย! ‘ไร้ใบอนุญาต-พบสารปนเปื้อน’ นั้น

ทีม DSS เร่งลงพื้นที่เพื่อตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำดื่มจากตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญอัตโนมัติเช่น ความกระด้าง สี กลิ่น จุลินทรีย์ และปริมาณสารปนเปื้อน รวมถึงความเหมาะสมของสถานที่ติดตั้งตู้น้ำดื่ม ตามประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่องน้ำบริโภคจากตู้น้ำดื่มอัตโนมัติเพื่อความปลอดภัยแก่ประชาชนในการเลือกซื้อน้ำดื่มจากตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญที่มีคุณภาพและได้มาตรฐาน

นายแพทย์รุ่งเรืองฯ กล่าวว่า ตามนโยบายท่านศุภมาสฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง อว. ที่เน้นย้ำให้ดูแลพี่น้องประชาชนในด้านคุณภาพชีวิต ความปลอดภัย และความเป็นอยู่ที่ดี วศ. ได้จัดตั้งทีมนักวิทยาศาสตร์เป็นหน่วยเคลื่อนที่เร็ว (DSS Team) ลงพื้นที่ในเขต กทม. พิกัดบ้านพักสวัสดิการกองทัพบก , ซอยมั่นสิน , ฝั่งสำนักงานนโยบายและแผนขนส่งจราจร ริมทางรถไฟอุรุพงษ์ , ชุมชนสระแก้ว ริมทางรถไฟอุรุพงษ์ และซอยบุญอยู่ เพื่อเก็บตัวอย่างน้ำดื่มจากตู้หยอดเหรียญอัตโนมัติ พบว่าน้ำดื่มบางตู้นั้นไม่ปลอดภัย มีสารปนเปื้อนและเชื้อจุลินทรีย์เกินข้อกำหนด มีสิ่งปนเปื้อนอันตรายจากเชื้อโรคที่ปนมากับน้ำดื่มอาจก่อให้เกิดโรคหลายชนิด เช่น อี.โคไล สแตปฟิโลคอคคัส หากบริโภคน้ำดื่มปนเปื้อนเชื้อเหล่านี้อาจก่อให้เกิดอาการท้องร่วง ท้องเสีย ฯลฯ ซึ่งหากมีปริมาณมากเกินไปอาจมีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนผู้บริโภค

ทั้งนี้ วศ. ขอแนะนำให้ประชาชนที่ใช้บริการตู้น้ำดื่มอัตโนมัติ ตั้งข้อสังเกตตรวจสอบสติ๊กเกอร์ตู้น้ำดื่มปลอดภัยของสำนักงานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม สำนักอนามัย กทม. รวมถึงเลือกตู้ที่มีที่ตั้งอยู่ห่างจากบริเวณที่มีฝุ่นละออง แหล่งระบายน้ำเสียและขยะมูลฝอยไม่น้อยกว่า 30 เมตร เป็นบริเวณที่ไม่เฉอะแฉะสกปรก ตู้ต้องมีฝาเปิดปิดช่องรับน้ำ และสภาพตู้น้ำต้องไม่เป็นสนิม สะอาด ถูกสุขลักษณะ เพื่อสร้างความมั่นใจในการใช้น้ำที่มีความสะอาดปลอดภัย เสริมสร้างสุขภาพอนามัย ตามเกณฑ์น้ำดื่มขององค์การอนามัยโลก

กรณีประชาชนมีข้อสงสัยด้านคุณภาพน้ำ สามารถติดต่อ วศ. เพื่อดำเนินการทดสอบคุณภาพน้ำ เนื่องจาก วศ. เป็นห้องปฏิบัติการทดสอบน้ำอ้างอิงที่ได้มาตรฐานของประเทศ ติดต่อสอบถามได้ที่ 02-201-7000 หรือ www.dss.go.th

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

“ศุภมาส” หารือ “แอนดรูว์ อึ้ง” ผู้ทรงอิทธิพลด้าน AI ระดับโลก ผนึกความร่วมมือนำ AI มาประยุกต์ใช้ในระบบอุดมศึกษาไทย

เมื่อวันที่ 18 ก.ค. 67 น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ให้การต้อนรับ นายแอนดรูว์ อึ้ง (Mr.Andrew Ng)

“อว.แฟร์” โชว์พลัง อววน. 11 – 13 ก.ค. นี้ ณ หอประชุมธำรง บัวศรี มหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี

**กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เดินหน้าจัดงานต่อครั้งที่ 4 “อว.แฟร์ ระดับภูมิภาค” ภาคกลาง ภาคตะวันออก ระหว่างวันที่

'อว.แฟร์' โชว์พลัง อววน. 4-6 ก.ค.นี้ ณ หอประชุมใหญ่ อาคารไทยบุรี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เดินหน้าจัดงานต่อครั้งที่ 3 “อว.แฟร์ ระดับภูมิภาค” ภาคใต้ ระหว่างวันที่ 4 – 6 กรกฎาคม 2567 ณ หอประชุมใหญ่ อาคารไทยบุรี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช ชูไฮไลท์ 6 โซนกิจกรรม ตอบโจทย์ทุกกลุ่มเป้าหมาย พร้อมโชว์ศักยภาพของไทยในการพัฒนาเศรษฐกิจด้วยการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

“ศุภมาส” ปลื้ม !!! สภาฯ รับหลักการร่างกฎหมายจัดตั้ง “กองทุนเพื่อพัฒนาการอุดมศึกษา” ที่มุ่งเน้นการผลิตกำลังคนระดับสูงเฉพาะทางและพัฒนาความเป็นเลิศของสถาบันอุดมศึกษา เพื่อตอบโจทย์การพัฒนาประเทศ

เมื่อวันที่ 3 ก.ค. 2567 ที่รัฐสภา ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 26 ปีที่ 2 ครั้งที่ 1 (สมัยสามัญประจำปี ครั้งที่ 1) นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

'ศุภมาส' สั่งการ 'ปลัด อว.' เร่งตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีการซื้อขายวุฒิการศึกษา

น.ส.สุชาดา แทนทรัพย์ เลขานุการ รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ในฐานะโฆษกกระทรวง อว. เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้รับรายงานเบื้องต้นว่ามีประชาชนไปแจ้งความที่สถานีตำรวจในพื้น