'สฤษฏ์พงษ์' เผย ภท. ดีเดย์ ยื่น ร่าง พ.ร.บ.ยกเลิกประกาศ และคำสั่ง คสช. จันทร์ (5 ก.พ.67) นี้ พร้อมแถลงรายละเอียดจำแนกประเภท

นายสฤษฏ์พงษ์ เกี่ยวข้อง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกระบี่ พรรคภูมิใจไทย เปิดเผยว่า ในวันจันทร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 10.00 น. ตนและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคภูมิใจไทย จะเดินทางไปยื่น ร่างพระราชบัญญัติ ยกเลิกประกาศ และคำสั่ง คณะรักษาความสงบแห่งชาติ และคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตย พ.ศ. ... ที่มีนายอนุทิน ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย และ สส.พรรคภูมิใจไทย ร่วมกันเข้าชื่อเสนอ ที่อาคารรัฐสภา

กฎหมายฉบับนี้มี หลักการให้ยกเลิกประกาศและคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ บางฉบับที่มีเนื้อหาจำกัดสิทธิเสรีภาพ สิทธิพลเมือง สิทธิทางการเมือง และสิทธิชุมชนของประชาชน และกำหนดสถานะทางกฎหมายของคดีความของบุคคล พลเรือนที่เคยพิจารณาโดยศาลทหารตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

โดยมีเหตุผล คือ คณะรักษาความสงบแห่งชาติทำการยึดอำนาจล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยพร้อมทั้งประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และได้ออกประกาศและคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติหลายฉบับที่มีเนื้อหาเป็นการจำกัดสิทธิของประชาชน โดยอ้างความจำเป็นเพื่อครอบคลุมสถานการณ์ และความสงบเรียบร้อยในระหว่างการเปลี่ยนแปลงอำนาจทางการเมือง โดยสิทธิเสรีภาพที่ถูกจำกัด ได้แก่ เสรีภาพในการชุมนุมหรือสมาคม เสรีภาพของสื่อมวลชนที่จะนำเสนอข่าวสารอย่างเป็นอิสระ สิทธิในร่างกาย และเสรีภาพในการเดินทางที่ถูกจำกัด ด้วยการเรียกไปรายงานตัว การกักตัว และให้ทำข้อตกลงที่จะงดเว้นการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง รวมทั้ง สิทธิในที่ดินทำกิน สิทธิชุมนุมที่จะมีส่วนร่วมกับการตัดสินใจของรัฐ และสิทธิในการอาศัยอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี เป็นต้น

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มีผลบังคับใช้แล้ว และประเทศกำลังกลับสู่การปกครองในระบอบประชาธิปไตย แต่บรรดาประกาศและคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ใช้ตั้งแต่ช่วงเวลาของการยึดอำนาจก็ยังคงมีผลใช้บังคับอยู่

ทั้งในเวลาต่อมาหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติยังอาศัยอำนาจตามมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว พุทธศักราช 2557 ออกคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติอีกจำนวนมาก ซึ่งบางฉบับมีเนื้อหาในทางจำกัดสิทธิของประชาชนที่รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันรับรองไว้ ประกาศและคำสั่งเหล่านี้จึงขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเพื่อการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์บ้านเมืองเป็นไปในทางที่ดี และสอดคล้องกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตย จึงสมควรที่จะยกเลิกประกาศ และคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ รวมทั้ง คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติบางฉบับที่มีเนื้อหาจำกัดสิทธิเสรีภาพ สิทธิพลเมือง สิทธิทางการเมือง และสิทธิชุมชนของประชาชน และให้สิทธิเสรีภาพของประชาชนได้รับการรับรอง และถูกจำกัดเพียงเท่าที่จำเป็นตามกฎหมายในสถานการณ์ปกติ

นายสฤษฏ์พงษ์ กล่าวว่า จะมีการชี้แจงในรายละเอียดการจำแนกประเภท ของประกาศ คำสั่ง และวิธีการดำเนินการ ในวันจันทร์ 5 ก.พ. 2567 พร้อมกับการยื่นร่างกฎหมายฉบับดังกล่าว.
///////

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'อนุทิน' โวย 'กูรูไพศาล' ปั่นกันสนุกเลย แต่คนที่ตายคือผม ยืนยันไม่จับมือก้าวไกล

นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.มหาดไทย ในฐานะหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย ให้สัมภาษณ์กรณีที่นายไพศาล พืชมงคล อดีตกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี)

‘อนุทิน’ ร้องโอ้โห! ‘ภูมิใจไทย’ โดนโยงเอี่ยวเลือก สว. ลั่นไม่ทำอะไรผิดกม.

’อนุทิน‘ ยินดี ’ลุงชาญ‘ คว้านายก อบจ.ปทุมธานี ยันไม่มีแนวคิดแข่งสนามท้องถิ่น ร้องโอ้โห พูดได้ไงภูมิใจไทยเอี่ยวเลือก สว.

สนธิกำลัง บุกอายัดยางแผ่นดิบกว่า 245 ตัน มูลค่า 18 ล้าน ส่อลักลอบนำเข้ายางเถื่อน

ผอ.กยท.กระบี่สนธิกำลังเจ้าหน้าที่ เข้าตรวจสอบโรงงานไทยเมคเอสทีอาร์ จำกัด อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่

'ทักษิณ' หมดมนต์ขลัง! สมชายร่วงเก้าอี้ สว.

ล็อกถล่ม 'สมชาย น้องเขยแม้ว' ร่วง ด้าน 'บิ๊กเกรียง' ประธานที่ปรึกษา มท.1 ผงาด คะแนนสูงลิ่ว จับตาคั่วเก้าอี้ประธานวุฒิ พบสายอดีตผู้ว่าฯ ขั้วสีน้ำเงิน ผงาดยกแผง

โฆษกพรรคภูมิใจไทย เผย "อนุทิน" สั่งการให้ สส.ของพรรค ที่ไม่ปรากฎชื่อในการโหวต พ.ร.บ.งบประมาณ 2568

นายณัฏฐ์ชนน ศรีก่อเกื้อ โฆษกพรรคภูมิใจไทย เปิดเผยว่า นายอนุทิน ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรค สั่งการให้ส.ส. ทำหนังสือชี้แจงการไม่ลงคะแนนเสียง ร่างพรบ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2568 อย่างไรก็ตาม ในเบื้องต้น ส.ส. 2 คน คือ นายไชยชนก ชิดชอบ และ นางสาวผกามาศ เจริญพันธ์​

ภูมิใจไทยแจงเหตุไร้ชื่อ 'ไชยชนก ชิดชอบ' โหวตร่างพ.ร.บ.งบฯ 68

นางสาวผกามาศ เจริญพันธ์ รองโฆษกพรรคภูมิใจไทย ยืนยันว่าเกิดความผิดพลาดทางเทคนิค ในการลงคะแนนรับหลักการ พระราชบัญญัติงบประมาณ