สานพลัง Mindset Maker จัดมหกรรม Mindset Fest. ชวนออกกำลังใจ พร้อมค้นหาความสุขรอบตัวได้ทุกที่ ทุกเวลา ผ่านแพลตฟอร์ม “Mindset Maker”

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ Mindset Maker จัดงาน “Mindset Fest. Chapter 1 : Happy Together” ประจำปี 2567 ที่ ลานด้านหน้าและพื้นที่สามเหลี่ยมชั้น 1 หอศิลปกรุงเทพฯ เพื่อสื่อสารกิจกรรมดูแลใจ ต่อยอดจากงาน “Mindset Maker For Happiness” ในปี 2566 เพื่อให้ประชาชนได้รู้จักและเห็นความสำคัญในการดูแลสุขภาพใจ รวมทั้งสามารถเข้าถึงชุดกิจกรรมได้ง่าย ดร.ชาติวุฒิ วังวล ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ สสส. กล่าวว่า ปัญหาสุขภาพจิตเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาวะคนไทยทุกช่วงวัย สสส. จึงให้ความความสำคัญกับการสร้างเสริมและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตตั้งแต่ต้นทาง เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพจิตดี สามารถควบคุมอารมณ์ไม่ให้เกิดความขัดแย้งภายในจิตใจ ปรับตัวเข้ากับสังคมและสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีความสุข ปัจจัยสำคัญที่บุคคลจะสามารถมีพลังใจได้ คือ การออกกำลังใจเพื่อสุขภาพจิตที่แข็งแรง

“การฝึกฝนทักษะด้านสุขภาพจิตอย่างสม่ำเสมอ ด้วยเครื่องมือศาสตร์ด้านจิตวิทยาเชิงบวกที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลก ประกอบด้วยทุน 4 ด้าน 1.ความหวัง (Hope) 2.การเชื่อในความสามารถของตัวเอง (Efficacy) 3.ความเข้มแข็งทางจิตใจ (Resilience) 4.การมองโลกในแง่ดี (Optimisim) สสส. สานพลังกับ Mindset maker ใช้หลักคิดทางทุนจิตวิทยาเชิงบวก พัฒนาเครื่องมืออย่างง่ายให้บุคคลแต่ละช่วงวัย สามารถฝึกฝนตัวเองให้เข้าใจในความสามารถของตนเอง ผ่านแพลตฟอร์ม Mindset Maker รวม 60 เครื่องมือที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ง่าย นำไปใช้งานและฝึกฝนออกกำลังใจอย่างสม่ำเสมอ เตรียมพร้อมรับมือกับทุกสถานการณ์ เพื่อนำไปสู่การมีสุขภาวะทางจิตที่ดี” ดร.ชาติวุฒิ กล่าว

นายอรุณฉัตร คุรุวาณิชย์ ผู้จัดการโครงการ และผู้บริหาร Mindset Maker กล่าวว่า จิตวิทยาเชิงบวก เป็นศาสตร์ที่เกิดขึ้นใหม่ในช่วงปี 2542 จากการที่นักจิตวิทยาไม่สามารถทำให้ผู้ป่วยกลับไปใช้ชีวิตอย่างมีความสุขได้ด้วยตัวเอง ทำให้เกิดการวนเข้าสู่การรักษาอย่างไม่รู้จบ นักวิชาการจากทั่วโลกจึงระดมความคิดเพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องนี้ จนเกิดเป็นจิตวิทยาเชิงบวก ที่มีหลักการพื้นฐานคือ “ทุกคนสามารถออกแบบความสุขของตัวเองได้ทุกที่ ทุกเวลา” ไม่ใช่เริ่มตอนที่เจอปัญหา งาน “Mindset Fest. Chapter 1 : Happy Together” เพื่อนำเสนอ “จิตวิทยาเชิงบวก” สู่สังคม ให้เป็นทางเลือกหลักที่คนทั่วไปเข้าใจ เข้าถึง และสามารถสร้างได้เองง่าย ๆ การจัดงาน 2 วัน แบ่งเป็น 2 กลุ่มเป้าหมาย วันที่ 27 ม.ค. เป็นคนทำงานด้านสุขภาพจิตในประเทศไทย กว่า 30 องค์กรเข้าร่วมแลกเปลี่ยนไปและนำไปต่อยอดงานที่ทำอยู่ โดยใช้อุปกรณ์สำคัญคือแพลตฟอร์ม Mindset Maker ซึ่งมีความสอดคล้องกับการยกระดับจิตใจ ความคิดและความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลให้ดีขึ้น

“กิจกรรมวันที่ 28 ม.ค. ชวนทุกคนมาเล่น Play Day and Happy Version of Me เพื่อให้ประชาชนได้รู้จักกับแพลตฟอร์ม Mindset Maker มากขึ้น ได้เข้ามาลองเล่นกับนิทรรศการที่มีชีวิต เพื่อรู้จักวิธีที่จะทำให้สุขภาพจิตเราดีได้ด้วยตัวเราเอง โดยมีวิทยากรจากหลายหลากมุมมอง เช่น หมอโอ๋ ผศ.พญ.จิราภรณ์ อรุณากูร ผู้ก่อตั้งเพจ “เลี้ยงลูกนอกบ้าน” คุณใบไม้ นัปกานต์ บุญประสม นักกิจกรรม“ยังแฮปปี้ (Young happy) เป็นการเปิดพื้นที่สร้างสรรค์ด้านสุขภาพใจผ่านองค์ความรู้จิตวิทยาเชิงบวกสู่โมเดลความสุขอย่างแท้จริง” นายอรุณฉัตร ว่า

น.ส.วรกัญ รัตนพันธ์ ผู้ร่วมก่อตั้ง MasterPeace ศูนย์ปรึกษาเชิงจิตวิทยา กล่าวว่า ความสุขที่เราหมายถึงอาจเกิดจากนิยามเล็ก ๆ ของแต่ละคนที่ต่างกัน ซึ่งเป็นหนึ่งในองค์ประกอบของสุขภาวะที่ดี พูดง่ายๆ “ความสุข” คือความพึงพอใจของชีวิตกับสถานการณ์ ณ เวลานั้น และมีความสามารถรับมือ จัดการความรู้สึก ความต้องการของตัวเองได้ ดังนั้น การจะพบความสุขได้โดยไม่ใช่เรื่องบังเอิญ ต้องเริ่มจากเราตระหนักในตัวเองก่อน จากนั้น มองให้เห็นสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วมีความสุขไปกับเรื่องนั้น ๆ ซึ่งจำเป็นต้องใช้การฝึกฝนและเรียนรู้ในการสะสมความสุข สามารถเริ่มได้ทันทีผ่านการนึกถึงช่วงเวลาที่มีความรู้สึกเล็ก ๆ หรือรู้สึกเบา ผ่อนคลาย สบายใจ เป็นตัวเอง แม้ไม่ใช่สิ่งที่ยิ่งใหญ่แต่ความสุขเล็ก ๆ ที่เกิดขึ้นมาจากความพึงพอใจในชีวิต ซึ่งสิ่งนี้เหมือนจะเป็นความบังเอิญ แต่แท้จริงแล้วเกิดจากการที่เราหมั่นสังเกตตัวเองว่า เราได้เรียนรู้สิ่งเหล่านี้มา ทำให้เราเกิดความสุขขึ้นได้ด้วยตัวเอง และสามารถหยิบความสุขที่เรียนรู้มานั้นมาใช้ได้ในชีวิตประจำวัน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ความเครียด..ภัยเงียบของสังคมไทย! ห้ามไม่ได้..แต่รู้เท่าทันอยู่ให้เป็นได้

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดเวทีการประชุม Forum สุขภาพคนไทย 2567 เมื่อวันที่ 14 มิ.ย. 2567 ที่อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ

ครั้งแรก!! สสส.สานพลังภาคีเครือข่าย สร้าง“สังคมปลอดคุกคามทางเพศ”

ปัญหาสังคมในสถานที่ทำงาน อย่างการคุกคามทางเพศ ไปจนถึงการบูลลี่ด้วยสายตาและวาจา เป็นเรื่องจริงที่หลายคนเลือกที่จะนิ่งเฉย และมองข้าม

เครือข่ายเป็นหูเป็นตาฯ ร่วมกับสสส. ระดมสมองกว่า 20 ภาคี ร่วมจัดทำแผนจัดการความปลอดภัยทางถนนปี 2568

เครือข่ายเป็นหูเป็นตาเพื่อสังคม เดินหน้าขับเคลื่อนสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยทางถนนในประเทศไทย ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

ปอด..คนไทยไม่ปลอดภัย "PM2.5-บุหรี่ไฟฟ้า"ตัวร้าย!!

อันตรายที่มองไม่เห็นอย่างฝุ่น PM2.5 กำลังคร่าชีวิตและบ่อนทำลายสุขภาพของคนในสังคมไทยอย่างเงียบเชียบ ด้วยตัวเลขที่มีการยืนยันว่า คนไทยกำลังเผชิญปัญหาฝุ่น PM2.5

ต้อนรับเทศกาลPride Month รู้ให้จริง..กม.รับรองเพศสภาพ

องค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศถอนภาวะการมีเพศสภาพไม่สอดคล้องกับเพศกำเนิด ออกจากหมวดความผิดปกติทางจิตและพฤติกรรมในบัญชีจำแนกโรคสากลฉบับที่ 10 (ICD-10)

โพลชี้เกือบ 1 ใน 4 เคยพบ/เห็นการคุกคามทางเพศในที่ทำงานอีก 126 คน เจอกับตัว กอด-จูบ-ลูบ-คลำ มีครบ ม

เมื่อวันที่ 4 มิ.ย. 2567 ที่อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สานพลัง ภาคีเครือข่าย ประกาศเจตนารมณ์การป้องกันการคุกคามทางเพศ โ