Digital Thinkers Forum สร้างจิตสำนึกพร้อมรับมือข่าวลวง

ผลกระทบของข้อมูลข่าวสารและเทคโนโลยีที่มีต่อพลเมืองในยุคดิจิทัล มีทั้งในแง่สุขภาวะ ความรู้ ความเข้าใจ ความถูกต้องและไม่ถูกต้องของข้อมูลข่าวสาร อีกทั้งเนื้อหาที่ส่งผลกระทบในด้านลบ ซึ่งวิธีการจัดการรับมือกับข่าวลวง โดยเฉพาะในยุคที่ต้องเรียนรู้ร่วมกับ AI ทั้งด้านบวกและด้านลบ ต้องสร้างการมีส่วนร่วมกระตุ้นให้สังคมได้เห็นความสำคัญกับการป้องกันและสร้างทักษะรู้เท่าทันอย่างต่อเนื่อง นำไปสู่ข้อเสนอแนะในเชิงนโยบายแก้ไขปัญหาตรงจุด

Digital Thinkers Forum #เวทีนักคิดดิจิทัล ครั้งที่ 26 เราจะใช้ AI อย่างไรให้สร้างสรรค์และปลอดภัย จัดโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) COFACT สภาการสื่อมวลชนแห่งชาติ สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส มูลนิธิฟรีดิชนอร์แมน  Creative Citizen ฯลฯ จึงเกิดขึ้นเพื่อระดมความคิดและประสบการณ์ ช่วยกันตอบโจทย์ และหาทางออก เมื่อวันพุธที่ 17 มกราคม 2567 ที่สยามพารากอน The Pride of Bangkok NextXSCBX

นางเบญจมาภรณ์ ลิมปิษเฐียร ผู้ช่วยผู้จัดการอาวุโส สสส. กล่าวในพิธีเปิดเวทีนักคิดดิจิทัล  Digital Thinkers Forum ครั้งที่ 26 เราจะใช้ AI อย่างไร ให้สร้างสรรค์และปลอดภัย ว่า  ปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI เทคโนโลยีที่ออกแบบให้มีระบบการทำงานเหมือนสมองมนุษย์ หลากหลายธุรกิจมีการปรับตัวขับเคลื่อนด้วยระบบ AI เพื่อสร้างเนื้อหา ภาพ ตอบโต้แทนมนุษย์ ในทางกลับกัน ผู้ไม่หวังดีใช้โอกาสนี้ ปลอมเสียง ปลอมภาพ  สวมรอยหลอกเหยื่อ หากประชาชนไม่มีทักษะเท่าทันสื่อ ป้องกันข้อมูลปลอมที่ AI สร้างขึ้น มีโอกาสที่จะถูกหลอก รวมถึงสร้างความเข้าใจผิด เกิดความเกลียดชัง ความแตกแยกในสังคม นำไปสู่อัตราความเสี่ยงและความเหลื่อมล้ำทางเทคโนโลยี ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาวะ

“เวที Digital Thinkers Forum ครั้งนี้ สสส. สานพลัง โคแฟค และภาคีเครือข่าย มุ่งพัฒนานิเวศสื่อสุขภาวะ สร้างปัจจัยแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีระบบนิเวศสื่อสุขภาวะ ควบคู่กับการพัฒนาคนให้เป็นพลเมืองเท่าทันสื่อ เท่าทันตนเอง  มีจิตสำนึก ค่านิยมและพฤติกรรมที่ส่งเสริมระบบนิเวศสื่อสุขภาวะ มีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังและสื่อสารข้อมูลอย่างสร้างสรรค์ เตรียมพร้อมรับมือกับ AI บางส่วนที่เผยแพร่ข้อมูลผิดๆ และร่วมป้องกันอย่างรู้เท่าทันกับเทคโนโลยีใหม่ที่จะเข้ามาในอนาคต” นางเบญจมาภรณ์กล่าว

นายสุนิตย์ เชรษฐา ผู้อำนวยการสถาบันเชนจ์ฟิวชั่น ผู้วิจัยเรื่อง AI กับข้อมูลข่าวสาร กล่าวว่า มีผู้ใช้ซอฟต์แวร์ AI เพื่อสร้างข่าวลวงหรือข้อมูลที่ไม่จริงเพื่อกระตุ้นอารมณ์ความรู้สึก รวมถึงภาพ และวิดีโอปลอมที่ได้รับความสนใจมากกว่าข่าวจริง ซึ่งความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจาก AI ได้แก่

1.การขยายตัวของปริมาณและคุณภาพของเนื้อหาลวงรวดเร็ว ต้นทุนต่ำ และสามารถชักจูงให้เชื่อได้มากขึ้น 2.คนมีความเชื่อถือต่อสื่อและข้อมูลลดลง 3.ปรากฏการณ์เอื้อประโยชน์ให้คนโกหก 4.สร้างความเกลียดชังในสังคม 5.เกิดปรากฏการณ์ AI หลอนหรือมโน ทั้งข้อมูลไม่ถูกต้อง อันตรายต่อชื่อเสียงคนดัง หรือตบทรัพย์ ปัจจุบันนอกจากบริษัทแล้ว รัฐบาลทั้งสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป จีน เห็นความสำคัญ พยายามพัฒนากลไกและกฎหมายระบบตรวจสอบการใช้งานของ AI ว่าเหมาะสม โปร่งใส ปลอดภัย และมีความรับผิดชอบ

นายสุธีรพันธุ์ สักรวัตร Chief Customer Officer SCBX กล่าวว่า ปัจจุบันมี AI นวัตกรรมบนโลกใบนี้ด้วยอินเทอร์เน็ต เป็นดาบสองคมเสมือนหนึ่งการใช้มีดทำอาหารไปใช้ฆ่าคนได้ นักพัฒนา AI มนุษย์ในฐานะผู้ใช้ AI ต้องมีสติให้มากขึ้น ในอดีตผู้นำในสมัยโรมัน กรีก ใช้คำสั่งให้ทุกคนทำตาม คนมีศักยภาพในการคิด คนที่มีสติจะอยู่รอดได้ ถ้าไม่มีสติก็ไม่สามารถอยู่รอดได้ในสังคม

เครื่องมือ AI สร้างบทความ Text Voice ตอบข้อซักถามของลูกค้า ปัญหาที่เกิดจาก AI มีกฎกติกามารยาทคุ้มครองคนดี การอยู่ร่วมโลกในสังคมต้องมีสติ SCB มีผู้ติดตาม เพราะฉะนั้นอย่ารอให้คนอื่นแก้ไขปัญหา ให้ทุกคนเริ่มต้นที่ตัวเราเองในการแก้ไขปัญหา

ดร.พณชิต กิตติปัญญางาม CEO, ZTRUS กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สถาบันเพื่อการยุติธรรมประเทศไทย ระบุว่า คนสร้าง AI ใช้ AI มาเตือนให้มีสติในทุกที่ อย่าเผลอใส่ส่วนตัวแม้นาที อาจเลวร้ายไม่เหลือดีแม้หนเดียว เพราะมันคือโรบอต มันฉลาด มันบังอาจเอาใจมนุษย์สุดเฉลียว มันเดาใจมนุษย์สุดแท้เทียว มันสร้างแค่เศษเสี้ยวของข้อมูล   มันต้องการให้มนุษย์มีความสุข แต่อาจก่อเกิดทุกข์จนสิ้นสูญ  เรายิ่งกรอกมันยิ่งเสริมยิ่งเพิ่มพูน  เพราะมันคือตระกูลศาสตร์ของปลอม  จงมองมันอย่างบึงของความรู้ มีข้อมูลทุกอย่างอยู่อย่างแห่ห้อม จงมองอย่างเข้าใจและอย่ายอม จงมองพร้อมเป็นโอกาสช่วยสังคม ถ้ารู้จักมันจริงต้องใส่เกราะป้องกันตัวทุกเปลาะเพื่อกดข่ม  แม้ AI จะเป็นที่นิยม ต้องพร้อมไม่ทุกข์ตรม และเท่าทัน.  


ใช้ AI อย่างไรให้สร้างสรรค์และปลอดภัย

ดร.พณชิต กิตติปัญญางาม CEO, ZTRUS กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สถาบันเพื่อการยุติธรรมประเทศไทย เริ่มต้นด้วย “6 คำเตือนหรือข้อควรระวังเกี่ยวกับ AI” ได้แก่

                1.เลือกใช้อย่างระมัดระวัง

               2.อย่าใส่ข้อมูลส่วนตัวเข้าไป

                3.อย่าใช้เนื้อหาลอกเลียนแบบ (Plagiarized)

                4.อย่าให้ระบบสนทนา (Chat) บันทึกข้อมูลที่เราพิมพ์ไว้

               5.ระวังทุกกิจกรรมที่อันตราย

               6.อย่าเชื่อว่า AI จะแม่นยำ (Accuracy) 

ซึ่งทั้งหมดนี้ “พูดง่ายแต่ทำยาก” เพราะในความเป็นจริงแต่ละคนแชร์ข้อมูลในสื่อสังคมออนไลน์กันมาก อีกทั้ง “ปริมาณข้อมูลมหาศาลที่พุ่งเข้าใส่ในทุกวินาทีจนยากที่มนุษย์จะตั้งสติรับมือได้ทัน” โดยเฉพาะเมื่อมีการใช้ “บอต (Bot)” หรือโปรแกรมอัตโนมัติช่วยสร้างหรือเผยแพร่ข้อมูล ขณะที่เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ “เหตุที่ AI ดูฉลาด จริงๆ แล้วมาจากการเดาบนข้อมูลสถิติ” เมื่อใครคนหนึ่งจะพัฒนา AI ก็จะใช้หลักคิดว่า เมื่อมีการป้อนข้อมูลแบบหนึ่งเข้าไป สิ่งที่ AI ควรจะตอบโต้กลับมาคืออะไร และพยายามสะสมชุดคำตอบในคำถามเดียวกันให้มากที่สุด จากนั้นเลือกคำตอบที่คิดว่ามนุษย์อยากเห็นที่สุด เพราะหากเป็นคำตอบที่ไม่ถูกใจ มนุษย์ก็จะมองว่า AI ไม่ฉลาด

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ความเครียด..ภัยเงียบของสังคมไทย! ห้ามไม่ได้..แต่รู้เท่าทันอยู่ให้เป็นได้

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดเวทีการประชุม Forum สุขภาพคนไทย 2567 เมื่อวันที่ 14 มิ.ย. 2567 ที่อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ

ครั้งแรก!! สสส.สานพลังภาคีเครือข่าย สร้าง“สังคมปลอดคุกคามทางเพศ”

ปัญหาสังคมในสถานที่ทำงาน อย่างการคุกคามทางเพศ ไปจนถึงการบูลลี่ด้วยสายตาและวาจา เป็นเรื่องจริงที่หลายคนเลือกที่จะนิ่งเฉย และมองข้าม

เครือข่ายเป็นหูเป็นตาฯ ร่วมกับสสส. ระดมสมองกว่า 20 ภาคี ร่วมจัดทำแผนจัดการความปลอดภัยทางถนนปี 2568

เครือข่ายเป็นหูเป็นตาเพื่อสังคม เดินหน้าขับเคลื่อนสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยทางถนนในประเทศไทย ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

ปอด..คนไทยไม่ปลอดภัย "PM2.5-บุหรี่ไฟฟ้า"ตัวร้าย!!

อันตรายที่มองไม่เห็นอย่างฝุ่น PM2.5 กำลังคร่าชีวิตและบ่อนทำลายสุขภาพของคนในสังคมไทยอย่างเงียบเชียบ ด้วยตัวเลขที่มีการยืนยันว่า คนไทยกำลังเผชิญปัญหาฝุ่น PM2.5

ต้อนรับเทศกาลPride Month รู้ให้จริง..กม.รับรองเพศสภาพ

องค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศถอนภาวะการมีเพศสภาพไม่สอดคล้องกับเพศกำเนิด ออกจากหมวดความผิดปกติทางจิตและพฤติกรรมในบัญชีจำแนกโรคสากลฉบับที่ 10 (ICD-10)

โพลชี้เกือบ 1 ใน 4 เคยพบ/เห็นการคุกคามทางเพศในที่ทำงานอีก 126 คน เจอกับตัว กอด-จูบ-ลูบ-คลำ มีครบ ม

เมื่อวันที่ 4 มิ.ย. 2567 ที่อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สานพลัง ภาคีเครือข่าย ประกาศเจตนารมณ์การป้องกันการคุกคามทางเพศ โ