ผนึกพลังทวงคืนอากาศสะอาด กระตุ้น ‘รัฐ’ เร่งแก้ไขลมหายใจในม่านฝุ่น

กว่า 51% ของคนไทยเชื่อว่า สถานการณ์ปัญหาสิ่งแวดล้อมจะมีความเลวร้ายลงอีกในห้าปีข้างหน้า เมียนมา, ภาคเหนือของ สปป.ลาว ส่งออกฝุ่นพีเอ็ม 2.5 ข้ามพรมแดน ประธานสภาลมหายใจเชียงใหม่จับมือพลังความร่วมมือ 16 ปี จัดตั้งสภาลมหายใจ 17 จังหวัดภาคเหนือ ชวนคน กทม.ตั้งสภาลมหายใจกรุงเทพฯ ผนึกพลังทวงคืนอากาศสะอาด   กระตุกรัฐบาลเร่งแก้ไขลมหายใจในม่านฝุ่นพีเอ็ม 2.5 กรมอนามัยแจงตัวเลข 99% ของประชากรทั่วโลกอยู่ในพื้นที่มลพิษอากาศสูงเกินกว่า WHO กำหนด จัดทำโมเดลห้องปลอดฝุ่นกว่า 1,000 แห่ง เพื่อให้  อปท., อปจ.จัดการต้นเหตุ

เวทีแถลงข่าวจับตาทิศทางสุขภาพคนไทย 2567  (ThaiHealth Watch 2024) วันศุกร์ที่ 22  ธ.ค. 2566 ที่ห้อง 201 อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ  สสส. ซอยงามดูพลี จัดโดย สสส. ThaiHealth  Watch 2024 กรมอนามัย สภาลมหายใจเชียงใหม่   สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา SDG MOVE  ECON ม.ธรรมศาสตร์

นายชัชวาลย์ ทองดีเลิศ ประธานสภาลมหายใจเชียงใหม่ ยืนยันว่าฝุ่นขนาดเล็ก 2.5 ไมครอนทะลุเข้าปอด เส้นเลือดหนักขึ้นในภาคเหนือเป็นเวลา 20 ปีมาแล้ว รวมทั้ง กทม., ภาคอีสาน ส่วนภาคใต้เป็นฝุ่นที่เข้ามาจากประเทศอินโดนีเซีย ถ้าย้อนเวลากลับไปปี 2561 จำได้ไหมว่าฝุ่นกรุงเทพฯ ทำพิษ ทุกคนเรียกร้องหา Mask  ในขณะที่เชียงใหม่เกิดขึ้นมานานแล้วตั้งแต่ปี 2550 เรามีกระบวนการแก้ไขหมอกควันในภาคเหนือเป็นเวลา 16 ปีมาแล้ว แต่ในวันนี้ฝุ่นควันในภาคเหนือก็ยังหนักขึ้นทุกๆ  ปี

“เชียงใหม่เคยครองแชมป์ฝุ่นควันสูงที่สุดในโลกเมื่อปี 2562 และนับวันจะหนักข้อขึ้นทุกปี เด็กมีปัญหาเลือดกำเดาไหล เป็นหวัด ไอเป็นเดือน สภาลมหายใจเชียงใหม่เกิดขึ้นเพราะเราหายใจมลพิษ วันที่ 9 เดือน 9 ปี  2019 เราจัดแถลงข่าว ถ้าเราปล่อยให้เหตุการณ์เป็นเช่นนี้ ภาครัฐทำฝ่ายเดียว เราจะเจอปัญหาหนักข้อขึ้นทุกวัน สภาลมหายใจเชียงใหม่เรามีบทเรียนขับเคลื่อน เพื่อช่วยกันวิเคราะห์ปัญหาเหตุปัจจัยผิดไป ไม่ได้มองให้รอบด้านว่าอะไรทำให้เกิดปัญหาอย่างแท้จริง ถ้าเราวิเคราะห์ปัญหานี้ผิด ด้วยการเริ่มต้นจากอคติ ชาวเขาชาวบ้านเผาป่าเกิดพีเอ็ม 2.5 เป็นอคติ เราต้องมองข้อมูลให้รอบด้านกว่านี้” นายชัชวาลย์ชี้แจง

ภาครัฐ ภาคธุรกิจ ทำให้เราเรียนรู้ปัญหาอย่างรอบด้าน เป็นปัญหาหลายแห่งในโรงงานอุตสาหกรรม เกษตรไฟฟ้า ปัญหาโลกร้อน การแก้ไขปัญหาแบบ Event เราต้องช่วยกันดับไฟ Single Command เราต้องมีส่วนร่วมแก้ไขปัญหา Top-Down แบบยั่งยืนระดับสั้น กลาง ยาว ตราบใดที่สังคมขาดความรู้ความเข้าใจ ย่อมแก้ไขได้ยาก มาตรการสำคัญคือการบังคับใช้ กม. ถ้าใครเผาป่าต้องถูกจับ การแอบจุดไฟลุกลามโดยไม่รู้ว่าใครเป็นผู้จุดไฟเผา ทำให้การเผาป่าผิดกฎหมาย ทุกอย่างอยู่ใต้ดินทั้งหมด กฎหมายป้องกันบรรเทาสาธารณภัยที่เราบังคับใช้ล้าหลัง เราก็ต้องแก้ไข กม.เชิงรุกให้รอบด้าน มีความศักดิ์สิทธิ์ดูแลทั้งระบบ มีบทลงโทษอย่างเห็นผล เนื่องจากเชียงใหม่มีต้นทุนทางสังคม มีภาคประชาชนทำงานด้านสิ่งแวดล้อม มีมหาวิทยาลัยมากถึง 10 แห่ง เราก็ยังยืนงงในดงฝุ่น เรามีคนตาย 4 หมื่นคน/ปี จากการสูดดมฝุ่นพีเอ็ม 2.5 ในฤดูฝุ่นควัน คนตาย โรงแรม ร้านค้า ไม่มีคนพัก เราต้องสูญเสียทางเศรษฐกิจเป็นหมื่นล้าน

ขณะนี้เรามีแอปแก้ไขไฟป่า บริหารจัดการเชื้อเพลิงลดฝุ่นเชียงใหม่ เกิดแผนจากชุมชน พัฒนาแอปโดยนักวิชาการ ม.เชียงใหม่ ศึกษาค่าพีเอ็ม กระแสลม การระบายอากาศ อุณหภูมิขนาดไหน ลดปริมาณการใช้เชื้อเพลิงด้วยวิธีการบริหารจัดการ ทำให้ค่าพีเอ็มลดลงได้ 7 กลุ่มป่า ที่อมก๋อย แม่แจ่ม ดอยสุเทพ ดอยเชียงดาวมีวอร์รูม อบจ.เชียงใหม่ จังหวัด ทุกคนมีส่วนรวมในการแก้ไขปัญหา hotspot ให้ลดลง เราต้องมองอนาคต ใช้พลังความร่วมมือทุกฝ่ายในการแก้ไขปัญหาความซับซ้อน กระบวนการขับเคลื่อนเพื่อใช้พลังลมหายใจเดียวกันในการแก้ไขปัญหา  ขยายเป็นสภาลมหายใจภาคเหนือ (17 จังหวัดภาคเหนือ) ถ้า กทม.มีสภาลมหายใจ กทม.ก็เป็นเรื่องดีมาก เพราะคน กทม.เสียงดังกว่าคนเชียงใหม่ ถ้าคน กทม.และคนเชียงใหม่ตะโกนสุดเสียง รัฐบาลอยู่ที่ กทม. ถ้าคน กทม.โวยขึ้นเมื่อไหร่ รัฐบาลก็ต้องรีบแก้ไข ความร่วมมือกันเป็นพลังที่จะช่วยกันแก้ไขปัญหา ทุกพลังมีความสำคัญยิ่ง เราต้องร่วมมือกันเพื่อทำให้เกิดนโยบายพลังงานสะอาด เดิมเราปลูกพืชเชิงเดี่ยวก็ต้องหนุนเสริมให้ปลูกพืชหลากหลายทางชีวภาพ

นพ.อรรถพล แก้วสัมฤทธิ์ รองอธิบดีกรมอนามัย  แจกแจงว่าฝุ่นพีเอ็ม 2.5 มีผลกระทบต่อสุขภาพ มะเร็งปอด ขณะนี้ 99% ของประชากรทั่วโลกอยู่ในพื้นที่มลพิษอากาศสูงเกินกว่า WHO กำหนด เรามีคนเสียชีวิต 7 ล้านคนทุกปี เสียชีวิตก่อนวัยอันควรเพราะสูดมลพิษ เด็ก 1 ใน 10 ที่ตายเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบ  แม้แต่เด็กนอนอยู่ในบ้านได้รับมลพิษยังเสียชีวิตได้ เพราะติดเชื้อเฉียบพลันจากระบบหายใจส่วนล่าง 20% ของการเสียชีวิตในทารกแรกเกิดมีสาเหตุจากมลพิษทางอากาศ

แหล่งกำเนิดพีเอ็ม 2.5 ในภาคเหนือ 17 จากไฟป่า การเผาเศษวัสดุจากการเกษตร หมอกควันข้ามแดนจากประเทศเพื่อนบ้าน ส่วนพีเอ็ม 2.5 ในภาคใต้น้อยลง  ควันข้ามแดนลดลงเพราะมีการเจรจา ขณะเดียวกันปัญหาโควิดระบาด ลดการเผาป่าทำให้หมอกควันลดลง ปี 66 โควิดเริ่มหายไป โอกาสที่พีเอ็ม 2.5 จะเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะในช่วงเดือน ก.ย.-เม.ย.สูงสุดต้องเฝ้าระวังด้วย ยิ่งมีความกดอากาศสูงฝุ่นควันก็อยู่ได้นานมากขึ้นด้วย อัตราผู้ป่วยแต่ละปี 2563-2566 สูงขึ้น ป่วยด้วยโรคกลุ่มทางเดินหายใจ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรค Stroke  หัวใจขาดเลือด โรคตา โรคผิวหนัง โรคมะเร็งปอดสูงขึ้น ขาดอากาศหายใจ 33.9% มีการระคายเคืองตา คัดจมูก มีน้ำมูก หายใจลำบาก เหนื่อยง่าย

กรมอนามัยจัดทำโมเดลห้องปลอดฝุ่นกว่า 1,000 แห่ง เพื่อให้ อปท., อปจ.จัดการต้นเหตุ เพื่อสร้างแรงจูงใจ  ขณะเดียวกันสร้างความรอบรู้ให้ประชาชนออกกำลังกายอยู่ในบ้าน เพื่อหลีกเลี่ยงฝุ่นควันพิษจากการออกกำลังกายกลางแจ้ง ทำให้หัวใจสูบฉีดโลหิตมากกว่าปกติ ลดการสูบบุหรี่.


รายงานจับตาทิศทางสุขภาพคนไทยปี 2567

ปัญหาสิ่งแวดล้อมกระทบความยั่งยืน หนึ่งในปัจจัยที่ส่งผลต่อสุขภาพชีวิตเราทุกคนคือสิ่งแวดล้อม จากการสำรวจร่วมกัน มาร์เก็ตบัซซ วิทยาลัยโลกคดีศึกษา  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พบว่าปัญหาสิ่งแวดล้อมอันดับต้นๆ ที่คนไทยวิตกกังวลคือ สภาวะโลกร้อน 44%  มลพิษทางอากาศ 44% การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 25% กว่า 51% ของคนไทยเชื่อว่า สถานการณ์ปัญหาสิ่งแวดล้อมจะมีความเลวร้ายลงอีกในห้าปีข้างหน้า

ฝุ่นควันที่ลอยปกคลุมในภาคเหนือที่เต็มไปด้วยป่าไม้ ทิวเขา กลายเป็นพื้นที่ปกคลุมด้วยหมอกควัน เนื่องจากพื้นที่ราบแอ่งกระทะ ล้อมรอบด้วยภูเขา อากาศไม่หมุนเวียน การเผาชีวมวลหรือวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ข้าว  อ้อย ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มีทั้งเผาในประเทศและนอกประเทศทวีความรุนแรง โดยเฉพาะสภาวะภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงในปี 2565 ประเทศเพื่อนบ้าน เมียนมา  ลาว มีการเผาเศษวัสดุจากพืชอย่างเต็มที่ สถานการณ์ฝุ่นควันทางภาคเหนือจึงสาหัสกว่าทุกปีที่ผ่านมา

องค์กรกรีนพีช ประเทศไทย ระบุว่าในช่วงสองทศวรรษ พื้นที่อนุภาคลุ่มน้ำโขง พื้นที่ภาคเหนือตอนบนของไทย รัฐฉานของเมียนมา ภาคเหนือของ สปป.ลาว เป็นศูนย์กลางมลพิษทางอากาศข้ามพรมแดน พีเอ็ม 2.5  เป็นผลพวงจากการทำลายพื้นที่ป่าเพื่อขยายการผลิตพืชเศรษฐกิจที่เป็นสินค้าโภคภัณฑ์ เพื่อการส่งออก รวมถึงข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ จุดความร้อน (Hot spot) พบเป็นพื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์สัดส่วนถึง 1 ใน 3 ของจุดความร้อนทั้งหมดที่เกิดขึ้นในอนุภาคลุ่มน้ำโขง

“You are what you breathe” หายใจเอาอะไรเข้าไปก็เป็นอย่างนั้น “You are what you eat” กินอะไรก็เป็นอย่างนั้น เพราะไม่ว่าเราจะกินหรือหายใจ ทุกสิ่งที่เข้าไปในร่างกายล้วนกำหนดชะตาสุขภาพของเราทุกคน ตลอดช่วง 5 ปี คนไทยรับรู้ถึงคุณภาพอากาศแย่ลง ท้องฟ้าเป็นสีหม่นเพราะถูกปกคลุมด้วยฝุ่นควัน โดยเฉพาะใน กทม., เชียงใหม่ ได้ยินคำว่าพีเอ็ม 2.5 มากขึ้น และรับรู้ว่าตัวชี้วัดค่าฝุ่นละอองขนาดเล็กที่ล่องลอยปะปนในอากาศ เมื่อเราหายใจเอาฝุ่นเล็กจิ๋วเข้าไป ผลกระทบมีต่อร่างกายกลายเป็นเรื่องใหญ่

นักวิจัยด้านมะเร็ง ชาร์ลส์ สวันตัน จากสถาบันฟรานซิส คริก สหราชอาณาจักร เผยว่าการได้รับมลพิษทางอากาศเพียงแค่ 3 ปี เพิ่มความเสี่ยงมะเร็งปอดได้ ผู้ป่วยมะเร็งปอดเกือบ 33,000 คน พบว่ามลพิษขนาดเล็กมีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของการกลายพันธุ์ในยีนตัวรับ ที่พบได้มากในผู้ป่วยมะเร็งปอดส่วนใหญ่ ส่งผลกระทบต่อทั้งผู้ไม่สูบบุหรี่และผู้ที่สูบบุหรี่อย่างหนัก ทั้งยังพบว่าผู้ไม่สูบบุหรี่จำนวน 228 คนในแคนาดา หลังจากสัมผัสกับมลพิษทางอากาศพีเอ็ม 2.5 ในระดับสูงเป็นเวลา 3 ปี ความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งปอดที่เกิดจากยีน EGFR (ยีนตัวรับ) เพิ่มขึ้นจาก 40% เป็น 73%

ข้อมูลเฝ้าระวังของกระทรวงสาธารณสุขช่วง 3 เดือนแรกของปี 2566 พบว่า ผู้ป่วยโรคที่เกี่ยวข้องกับมลพิษทางอากาศ 1,730,976 คน เพิ่มขึ้นถึง 228,870  คน เมื่อเทียบกับจำนวนผู้ป่วยในช่วงสัปดาห์ก่อน กลุ่มโรคที่พบสูงสุด ได้แก่ กลุ่มโรคทางเดินหายใจ กลุ่มโรคผิวหนังอักเสบ กลุ่มโรคตาอักเสบ เมื่อพิจารณาความเสี่ยงระหว่างเพศ เพศหญิงเป็นเพศที่ได้รับผลกระทบมากกว่าเพศชาย  เมื่อพีเอ็ม 2.5 เข้าสู่ปอด จะเกิดการอักเสบกลายพันธุ์ของดีเอ็นเอ "อาร์เอ็นเอ" หากร่างกายได้รับสารพีเอ็ม  2.5 ในปริมาณมากและยาวนานเกินไป จนร่างกายต่อสู้ไม่ไหวจะเกิดโรคมะเร็งปอด หรือมะเร็งชนิดต่อมซึ่งผู้หญิงมีโอกาสเป็นมะเร็งปอดชนิดนี้มากกว่าผู้ชาย และผู้ที่สูบบุหรี่อยู่แล้วเมื่อสูดพีเอ็ม 2.5 เข้าสู่ร่างกาย ความเสี่ยงโรคมะเร็งจะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ชวนนักดื่ม “ตรวจตับ-เลิกจับขวด” ฟื้นฟูสุขภาพคืนความสุขครอบครัว

"งดเหล้าเข้าพรรษา" ในระยะเวลา 3 เดือน ถือเป็นกิจกรรมหนึ่งในเทศกาลสำคัญ ที่มุ่งเน้นให้ชาวพุทธงดดื่มแอลกอฮอล์ ไม่เพียงเป็นการรักษาประเพณีและศีลธรรมเท่านั้น

“สุรศักดิ์” รมช.ศธ. เดินหน้าขับเคลื่อนรถรับส่งนักเรียนปลอดภัย ชูโมเดล “ศูนย์เรียนรู้รถรับส่งนักเรียนปลอดภัย จ.อยุธยา” ของสสส.

วันที่ 18 พ.ย. 2567 ที่ โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดศูนย์การเรียนรู้การจัดการรถรับส่งนักเรียนที่ปลอดภัย โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย ภายในงานเวทีสร้างความร่วมมือและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการพัฒนาศูนย์เรียนรู้รถรับส่งนั

สสส.สานพลังภาคี ขจัดความเหลื่อล้ำกิจกรรมทางกาย ดึงคนไทยสู่เวอร์ชั่นใหม่

กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ ศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย (ทีแพค) สถาบันวิจัยประชากรและสังคม

สสส.-สคล. ผนึกภาครัฐ เอกชน จัดแข่งฟุตซอลเยาวชนไม่เกิน 15 ปี ชิงถ้วยกรมสมเด็จพระเทพฯ

สสส. โดยสมาคมเครือข่ายงดเหล้าและปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพ (สคล.) ร่วมกับ ภาคีเครือข่ายและภาคเอกชน รวม 7 องค์กร ลงนามความร่วมมือ พร้อมจัดแถลงข่าวเปิดตัวโครงการ

"สิทธิในอาหารเพื่อชีวิตที่ดี" ความตระหนักรู้เสริมสุขภาวะ

เด็กทั่วโลกเผชิญปัญหาความเหลื่อมล้ำด้านอาหาร เพราะการบริโภคไม่สมดุล ส่งผลต่อสุขภาวะอ้วนผอม ชาวโลกเผชิญความอดอยากเกือบ 300 ล้านคน

สสส.ชวนคนรักสุขภาพ ร่วม'เมื่อคุณเริ่มวิ่ง หัวใจเต้นแรง' กระตุ้น'นักวิ่งหน้าใหม่'ลงสนาม8ธ.ค.นี้

เมื่อช่วงบ่ายวันที่ 11 พ.ย. 2567 ที่อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ กรุงเทพฯ นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า สสส. ร่วมกับ สมาพันธ์ชมรมเดิน-วิ่งเพื่อสุขภาพไทย จัดงานแถลงข่าว Thai Health Day Run 2024 วิ่งสู่วิถีชีวิตใหม่ ครั้งที่ 12 ภายใต้แนวคิด “เมื่อคุณเริ่มวิ่ง หัวใจเต้นแรง” ในวันที่ 8 ธ.ค. นี้ ที่สะพานพระราม 8 โดย สสส. มุ่งจุดกระแสกิจกรรมทางกายเพื่อสร้างเสริมสุขภาพ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ทำให้มีสุขภาพดี ลดความเสี่ยงเกิดโรคไม่ติดต่อ (NCDs) ในอนาคต ซึ่งจากผลสำรวจอายุคาดเฉลี่ยทั่วโลกในปี 2567 ของ www.worldometers.info ระบุว่า ไทยมีอายุคาดเฉลี่ยอยู่ที่ 76.56 ปี อายุยืนเป็นอันดับที่ 78 ของโลก ขณะที่ข้อมูลจากฐานข้อมูลการตาย กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวงสาธารณสุข ปี 2561-2565 พบคนไทยเสียชีวิตก่อนวัยอันควร 164,720 ราย สาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 คือ ป่วยด้วยกลุ่มโรค NCDs ซึ่งเป็นโรคที่เกี่ยวกับพฤติกรรมและวิถีชีวิต