"สร้างเครือข่ายรู้เท่าทันสื่อ" ผลักดันผู้สูงวัยเป็นผู้นำร่อง

ผลสำรวจเหยื่อจากการหลอกลวงผ่านสื่อเป็นเรื่องน่าตกใจ เมื่อผู้สูงอายุถูกหลอกให้ซื้อของที่ไม่มีคุณภาพมากถึงร้อยละ 70.53 หลอกให้ทำบุญ ดูแลสุขภาพ และยังหลอกให้ผู้สูงอายุเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องมีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 14.06

นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เปิดเผยว่า    จากรายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทยปี 2566 พบผู้สูงอายุไทยมีจำนวนกว่า 13 ล้านคน คิดเป็น 20% ของจำนวนประชากรทั้งประเทศซึ่งเข้าสู่การเป็นสังคมสูงอายุโดยสมบูรณ์ตามที่องค์การสหประชาชาติกำหนด   ไทยจึงต้องเร่งสานพลังความร่วมมือทุกภาคส่วน เพื่อรองรับสังคมสูงอายุ ทั้งมิติเศรษฐกิจ สังคม สุขภาพ   สภาพแวดล้อม เทคโนโลยีและนวัตกรรม ที่เข้ามามีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างศักยภาพผู้สูงอายุ ให้กลายเป็นผู้สูงอายุที่มีพลังและคุณภาพ (Active Aging)   สอดรับแผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี

ทั้งนี้ สถานการณ์และผลกระทบจากการเปิดรับสื่อของผู้สูงอายุไทย ปี 2566 โดยศูนย์วิชาการด้านการรู้เท่าทันสื่อของผู้สูงอายุ (Intelligence Center for Elderly Media Literacy - ICEML) สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) พบผู้สูงอายุตกเป็นเหยื่อจากการหลอกลวงผ่านสื่อมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากเดิม 22.40%,  ถูกหลอกให้ซื้อของที่ไม่ได้คุณภาพ 70.53%, ถูกหลอกให้เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล 14.06% ที่สำคัญข้อมูลมติสมัชชาผู้สูงอายุระดับชาติรองรับสังคมสูงวัย ปี 2566 พบว่า ผู้สูงอายุมีความสามารถในการใช้สื่อเทคโนโลยีและการรู้เท่าทันภัยจากเทคโนโลยีดิจิทัลในระดับต่ำ  สะท้อนการเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการถูกหลอกลวงจากสื่อได้ง่าย

"แก๊ง Call Center หลอกเด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ   มิจฉาชีพหาประโยชน์จากผู้สูงอายุ เข้าถึงเหยื่อด้วยโทรศัพท์มือถือ ดังนั้นขอฝากคาถา "รู้ทันสื่อ หยุด คิด ถาม ลงมือทำ" ผู้สูงอายุมีประสบการณ์มากก็จริง แต่เมื่อถูกหลอกลวงโอกาสที่จะได้เงินกลับคืนก็น้อยนัก   เงินบำเหน็จบำนาญ เงินที่เก็บออมหายไปในไม่กี่วันเพียงการใช้โทรศัพท์มือถือไม่กี่ครั้ง ในขณะที่เด็กๆ  เงินหายยังมีเวลาเอาเงินกลับคืนได้ การสร้างความตระหนักรู้ให้บุคคลอันเป็นที่รัก เราได้รับความร่วมมือจากภาคประชาสังคม สสส.กลุ่มคนตัว D บริษัททำมาปัน จำกัด ม.มหิดล กรมกิจการผู้สุงอายุ รร.ผู้สูงอายุ  เพื่อทำให้สังคมผู้สูงอายุสมบูรณ์แบบ ถ้าผู้สูงอายุนึกไม่ออกว่าจะถามใคร ถามที่ สสส.ได้ ศูนย์เร่งรัดจัดการสวัสดิการประชาชน ๑๓๐๐ หรือ line app จะส่งเรื่องไปหาคุณตำรวจ จำไว้ว่าไม่มีใครเอาเงินมาให้เราฟรีๆ  หรือการขายของหลอกลวงว่าทำให้ผิวหน้าเต่งตึง การใช้ sms line facebook อย่าได้หลงเชื่อง่ายๆ ขณะนี้มีหลักสูตรโรงเรียนผู้สูงวัย มีอาสาสูงวัยเฝ้าระวังสื่อ"

วันนี้ กระทรวง พม.สานพลัง สสส. มหาวิทยาลัยมหิดล กลุ่มคนตัว D บริษัท ทำมาปัน จำกัด พัฒนานวัตกรรมหลักสูตรสูงวัยรู้ทันสื่อ “หยุด คิด ถาม ทำ” เครื่องมือที่ช่วยสร้างสังคมการสื่อสารที่ปลอดภัยและสร้างสรรค์ ไม่ให้ใครตกเป็น “เหยื่อ” ของผู้ไม่หวังดี เพิ่มความปลอดภัยในการใช้ชีวิต การรู้เท่าทัน และเฝ้าระวังสื่อของผู้สูงอายุ เพื่อให้สังคมไทยเป็นสังคมผู้สูงอายุอย่างมีคุณภาพ มุ่งเป้าขยายผลหลักสูตรในโรงเรียนผู้สูงอายุ 2,456 แห่งทั่วประเทศ หวังเพิ่มภูมิคุ้มกันด้านการรู้เท่าทันสื่อให้กับผู้สูงอายุอย่างทั่วถึง

นางเบญจมาภรณ์ ลิมปิษเฐียร ผู้ช่วยผู้จัดการอาวุโส สสส. เปิดเผยว่า อีก 20 ปีข้างหน้าไทยจะมีสัดส่วนผู้สูงอายุกว่า 30% ของประชากรทั้งหมด การเตรียมพร้อมปัจจัยสุขภาพ โดยเฉพาะการสร้างนิเวศสื่อสุขภาวะ จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ สสส.ให้ความสำคัญ ที่ผ่านมา สสส.สานพลัง ภาคีเครือข่าย สร้างเสริมทักษะเท่าทันสื่อในกลุ่มผู้สูงอายุผ่านการดำเนินงาน 3 ด้าน

1.พัฒนาทักษะเท่าทันสื่อให้ผู้สูงอายุใช้สื่ออย่างปลอดภัย ยกระดับเป็นเครือข่ายอาสาสูงวัยเฝ้าระวังสื่อในระดับพื้นที่ 2.สื่อสารสร้างความรู้ ความเข้าใจด้านการรู้เท่าทันสื่อ ให้ผู้สูงอายุเข้าถึงข้อมูลที่ถูกต้อง 3.จัดการความรู้สู่การขับเคลื่อนกลไกเชิงนโยบาย จัดตั้งศูนย์วิชาการด้านการรู้เท่าทันสื่อของผู้สูงอายุ ล่าสุด ได้ขยายผลพัฒนาหลักสูตรสูงวัยรู้ทันสื่อ มุ่งให้ผู้สูงอายุเป็นพลเมืองสูงวัยเท่าทันสื่อ ทั้งนี้ ผู้ที่สนใจสามารถดาวน์โหลดได้ที่ https://www.iceml.org/Doc/Curriculum-2024-Media-Literacy.pdf

นางญานี รัชต์บริรักษ์ ผู้อำนวยการสำนักสร้างเสริมระบบสื่อและสุขภาวะทางปัญญา (สำนัก 11)  สสส. เปิดเผยว่า สสส.สนับสนุนหลักสูตรกลไกเฝ้าระวังเพื่อสังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ เพื่อรองรับอีก 5 ปีข้างหน้าสังคมไทยจะเข้าสู่สังคมสูงวัยสุดยอดคือมีผู้อายุสูงกว่า 60 ปีขึ้นไป 28% ผู้สูงอายุเป็นหลักในการขับเคลื่อนประเทศ ทุกวันนี้คนไทยใช้อินเทอร์เน็ต 85% สูงเป็นอันดับ 9 ของโลก คนที่มีโทรศัพท์มือถือเป็นผู้ใช้สื่อเผยแพร่ข้อมูลในโลกดิจิทัล ใครที่เกิดก่อนปี ค.ศ.1985 (พ.ศ.2528) อยู่ในยุค analog ในขณะที่เด็กรุ่นนี้เป็น digital native คือเกิดมาก็ใช้ digital ดังนั้นคนรุ่นเก่าต้องปรับตัว รู้เท่าทันสื่อเป็นเรื่องจำเป็นมาก

“ภัยดิจิทัลมาพร้อมกับมิจฉาชีพ แก๊ง call center   ข้อมูลรั่วไหล ยิ่งผู้สูงอายุไม่กลั่นกรองข้อมูลและส่งต่อข้อมูลที่ผิด พบว่า 15% มีช่องว่างในการเข้าไม่ถึงข้อมูล มีความเหลื่อมล้ำทาง digital ดังนั้นจิตอาสาเฝ้าระวังสื่อจึงมีความสำคัญที่จะทำให้ผู้สูงอายุจำเป็นต้องได้รับข้อมูลที่ถูกต้องด้วย และต้องเป็น active citizen คิดวิเคราะห์ประเมินผลได้ เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงบนโลกออนไลน์ สร้างกลไกเครือข่ายที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชน ขณะนี้ สสส.ทำ MOU กับ ม.มหิดล เครือข่ายรู้เท่าทันสื่อ 6 จังหวัดนำร่อง โดยเราทำงานร่วมกัน 20 จังหวัด การพัฒนาเครื่องมือ platform ด้านวิชาการ การเฝ้าระวังสื่อเพื่อแพร่กระจายไปทั้งประเทศด้วยมุ่งหวังให้สังคมสูงวัยรู้ทันสื่อ”

นายวันชัย บุญประชา​ ที่ปรึกษากลุ่มคนตัว D  บริษัท ทำมาปัน จำกัด ชี้แจงว่า กลุ่มคนตัว D สานพลัง สสส. สร้างเสริมการรู้ทันสื่อให้กับผู้สูงวัย ตั้งแต่ปี  2561 โดยสร้างกระบวนการเรียนรู้ผ่านการมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุผ่านเวที “สูงวัยรู้ทันสื่อ” ยึดหลักคาถา 3  ข้อ 1.จำเป็นไหม 2.ไปหาข้อมูลก่อน 3.เดือดร้อนใครหรือไม่ มีผู้สูงอายุเข้าร่วมกว่า 5,000 คน ใน 21 จังหวัดทั่วทุกภูมิภาค มุ่งเป้ายกระดับสู่การสร้างเครือข่ายอาสาสูงวัยรู้ทันสื่อขึ้นในระดับชุมชน การสานพลังขยายผลนวัตกรรมหลักสูตรครั้งนี้ จะสร้างความตื่นตัวของผู้สูงอายุที่จะรู้ทันและมาเป็นเครือข่ายอาสาสูงวัยรู้ทันสื่อ เกิดเป็นกลไกร่วมเฝ้าระวังสื่อในระดับประเทศ

นอกจากนั้น รศ.ดร.นันทิยา ดวงภุมเมศ ประธานศูนย์วิชาการด้านการรู้เท่าทันสื่อของผู้สูงอายุ ICEML เปิดเผยว่า สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรม ม.มหิดล ได้ข้อมูลผู้สูงอายุ 13.6 ล้านคน เป็น 20.2% ของประชากร 65 ล้านคน คนไทยที่มีอายุมากกว่า 60 ปีมากกว่า 20% คนไทยอายุ 65 ปีขึ้นไปมีจำนวนมากกว่า 14% และนับวันจะเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องยกระดับพัฒนาคุณภาพชีวิต มิติสุขภาพ รายได้ สังคม สิ่งแวดล้อม ที่อยู่อาศัย นวัตกรรม เทคโนโลยี พบว่าการใช้สื่อดิจิทัลในผู้สูงอายุต้องการการเรียนรู้ พัฒนาเทคโนโลยี จำเป็นต้องสร้างสังคมสูงวัยรู้เท่าทันสื่อ เพื่อเป็นประโยชน์สำหรับคนทุกวัย

สถานการณ์การใช้สื่อของผู้สูงอายุจากการสำรวจ 2,000 คนทั่วประเทศ ภาครัฐ 4 จังหวัด เปรียบเทียบในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ผู้สูงอายุใช้สื่อออนไลน์ลดลงจาก 4 ชั่วโมง/วัน  ลดลง 14% จากปี 2565 สื่อที่นิยมของผู้สูงอายุ เป็นสื่อบุคคล โทรทัศน์ สื่อออนไลน์ วิทยุ ผู้สูงอายุใช้สื่อออนไลน์เพิ่มขึ้นทั้งใน กทม.และภูมิภาค สื่อออนไลน์ที่นิยมใช้เพื่อการสื่อสาร ความรู้ ความบันเทิง  คือ line เป็นอันดับ 1,  youtube เป็นอันดับ 2,   facebook อันดับ 3  ทั้งนี้ tiktok ยังไม่ติดอันดับแต่อย่างใด

ขณะนี้ผู้สูงอายุที่รู้ตัวว่าตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นทุกปี เป็นการหลอกแบบก้าวกระโดด 70% ให้ซื้อของไม่มีคุณภาพ มีการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล ปี 2566 ได้ยกระดับให้เกิดผลระดับประเทศ โดยสานพลังการทำงานทุกภาคส่วน พัฒนาหลักสูตรอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตรสูงวัยรู้ทันสื่อ ตอบโจทย์ทั้งเชิงนโยบายและการปฏิบัติในระดับประเทศ การแสดงหุ่นละครเล็กโจหลุยส์ นำเสนอเรื่องรามเกียรติ์ หนุมาน  เบญกายแปลงกายเป็นนางสีดา  ให้ข้อคิดงดพฤติกรรมการใช้ line และ facebook กับหมายเลขโทรศัพท์แปลกๆ มิฉะนั้นจะตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพออนไลน์

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ชวนนักดื่ม “ตรวจตับ-เลิกจับขวด” ฟื้นฟูสุขภาพคืนความสุขครอบครัว

"งดเหล้าเข้าพรรษา" ในระยะเวลา 3 เดือน ถือเป็นกิจกรรมหนึ่งในเทศกาลสำคัญ ที่มุ่งเน้นให้ชาวพุทธงดดื่มแอลกอฮอล์ ไม่เพียงเป็นการรักษาประเพณีและศีลธรรมเท่านั้น

“สุรศักดิ์” รมช.ศธ. เดินหน้าขับเคลื่อนรถรับส่งนักเรียนปลอดภัย ชูโมเดล “ศูนย์เรียนรู้รถรับส่งนักเรียนปลอดภัย จ.อยุธยา” ของสสส.

วันที่ 18 พ.ย. 2567 ที่ โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดศูนย์การเรียนรู้การจัดการรถรับส่งนักเรียนที่ปลอดภัย โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย ภายในงานเวทีสร้างความร่วมมือและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการพัฒนาศูนย์เรียนรู้รถรับส่งนั

สสส.สานพลังภาคี ขจัดความเหลื่อล้ำกิจกรรมทางกาย ดึงคนไทยสู่เวอร์ชั่นใหม่

กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ ศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย (ทีแพค) สถาบันวิจัยประชากรและสังคม

สสส.-สคล. ผนึกภาครัฐ เอกชน จัดแข่งฟุตซอลเยาวชนไม่เกิน 15 ปี ชิงถ้วยกรมสมเด็จพระเทพฯ

สสส. โดยสมาคมเครือข่ายงดเหล้าและปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพ (สคล.) ร่วมกับ ภาคีเครือข่ายและภาคเอกชน รวม 7 องค์กร ลงนามความร่วมมือ พร้อมจัดแถลงข่าวเปิดตัวโครงการ

"สิทธิในอาหารเพื่อชีวิตที่ดี" ความตระหนักรู้เสริมสุขภาวะ

เด็กทั่วโลกเผชิญปัญหาความเหลื่อมล้ำด้านอาหาร เพราะการบริโภคไม่สมดุล ส่งผลต่อสุขภาวะอ้วนผอม ชาวโลกเผชิญความอดอยากเกือบ 300 ล้านคน

สสส.ชวนคนรักสุขภาพ ร่วม'เมื่อคุณเริ่มวิ่ง หัวใจเต้นแรง' กระตุ้น'นักวิ่งหน้าใหม่'ลงสนาม8ธ.ค.นี้

เมื่อช่วงบ่ายวันที่ 11 พ.ย. 2567 ที่อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ กรุงเทพฯ นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า สสส. ร่วมกับ สมาพันธ์ชมรมเดิน-วิ่งเพื่อสุขภาพไทย จัดงานแถลงข่าว Thai Health Day Run 2024 วิ่งสู่วิถีชีวิตใหม่ ครั้งที่ 12 ภายใต้แนวคิด “เมื่อคุณเริ่มวิ่ง หัวใจเต้นแรง” ในวันที่ 8 ธ.ค. นี้ ที่สะพานพระราม 8 โดย สสส. มุ่งจุดกระแสกิจกรรมทางกายเพื่อสร้างเสริมสุขภาพ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ทำให้มีสุขภาพดี ลดความเสี่ยงเกิดโรคไม่ติดต่อ (NCDs) ในอนาคต ซึ่งจากผลสำรวจอายุคาดเฉลี่ยทั่วโลกในปี 2567 ของ www.worldometers.info ระบุว่า ไทยมีอายุคาดเฉลี่ยอยู่ที่ 76.56 ปี อายุยืนเป็นอันดับที่ 78 ของโลก ขณะที่ข้อมูลจากฐานข้อมูลการตาย กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวงสาธารณสุข ปี 2561-2565 พบคนไทยเสียชีวิตก่อนวัยอันควร 164,720 ราย สาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 คือ ป่วยด้วยกลุ่มโรค NCDs ซึ่งเป็นโรคที่เกี่ยวกับพฤติกรรมและวิถีชีวิต