คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CBS) องค์กรหนึ่งเดียวของไทยที่ได้ร่วมกับ World Economic Forum (WEF) ในการจัดทำและเผยแพร่รายงานอนาคตการเติบโต The Future of Growth Report 2024 เพื่อวัดคุณภาพการเติบโตของประเทศต่างๆ พบว่าประเทศไทยการเติบโตอยู่ค่อนไปทางครึ่งหลังของโลก แต่ควรเร่งพัฒนาด้านความยั่งยืน ความเหลื่อมล้ำของรายได้ และกฏหมายคุ้มครองอย่างเต็มกำลัง
ศาสตราจารย์ ดร.วิเลิศ ภูริวัชร คณบดี คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CBS) กล่าวว่า CBS เป็นตัวแทนหนึ่งเดียวในประเทศไทยที่ได้ร่วมกับ World Economic Forum (WEF) มากว่า 5 ปี ได้ทำการสำรวจและวิเคราะห์ทิศทางการเติบโตในอนาคตของประเทศต่างๆ ซึ่งครอบคลุม 107 ประเทศทั่วโลก ประเทศไทยอยู่ลำดับที่ 51 โดยอันดับหนึ่งในโลกได้แก่ประเทศ สวีเดน และตามด้วยสวิสเซอร์แลนด์ ฟินแลนด์ และเดนมาร์ก ในแถบประเทศเอเชีย ญี่ปุ่นนำโด่งในลำดับที่ 11 ตามด้วยเกาหลี (12) และสิงคโปร์ (16) ในขณะที่ มาเลย์เซียมาลำดับที่ 31 เวียตนาม 36 อินโดนีเซีย 50 และไทยลำดับ 51 จากคะแนนรวมที่ถ่วงน้ำหนักทั้ง 4 มิติแห่งการเติบโตของประเทศ
แนวทางการพิจารณาการเติบโตของประเทศ ซึ่งไม่เพียงแต่มุ่งเน้นด้านความรวดเร็วในการเติบโตเท่านั้น แต่ควรมุ่งเน้นในด้านคุณภาพของการเติบโตด้วย ซึ่งจะช่วยให้มีการสร้างความสมดุลระหว่างประสิทธิภาพและความเท่าเทียมในระยะยาว โดยปัจจัยที่สำคัญของอนาคตการเติบโตของประเทศตาม World Economic Forum ประกอบด้วย 4 มิติ ได้แก่ ด้านนวัตกรรม (Innovativeness) ด้านความครอบคลุมของโครงสร้างพื้นฐาน (Inclusiveness)
ความยั่งยืน (Sustainability) และความยืดหยุ่น (Resilience)
THE FUTURE OF GROWTH INDEX ดัชนีการเติบโตของอนาคต
นอกจากนี้ รายงานฉบับนี้เน้นย้ำถึงการชะลอตัวทางเศรษฐกิจอย่างมีนัยสําคัญ ซึ่งคาดว่าจะลดลงสู่อัตราที่ต่ำที่สุดในรอบสามทศวรรษภายในปี ค.ศ. 2030 ท่ามกลางผลกระทบทางเศรษฐกิจและภูมิรัฐศาสตร์อย่างต่อเนื่อง ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำนี้ทำให้เกิดความท้าทายระดับโลกที่รุนแรงขึ้น รวมถึงวิกฤตสภาพภูมิอากาศและสัญญาทางสังคมที่อ่อนแอลง ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อความก้าวหน้าในการพัฒนา ดังนั้น การมุ่งเน้นการเติบโตอย่างมีคุณภาพของประเทศต่างๆ จึงมีความสำคัญต่อการรับมือกับ ความท้าทายที่หลากหลายนี้
ศาสตราจารย์ ดร.วิเลิศ กล่าวต่อไปว่า จากการเปรียบเทียบผลประเมินของประเทศไทยกับผลประเมินโดยรวมของประเทศต่างๆ ทั่วโลก และผลประเมินของประเทศในกลุ่มที่มีรายได้ปานกลางระดับบน พบว่าประเทศไทยมีคะแนนด้านนวัตกรรม(Innovativeness) เท่ากับ 47.94 ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยโลก (45.2) และค่าเฉลี่ยของประเทศในกลุ่มที่มีรายได้ปานกลางระดับบน (39.3) สะท้อนให้เห็นถึงความโดดเด่นของไทยในการเพิ่มขีดความสามารถด้านนวัตกรรม
ด้านความครอบคลุมของโครงสร้างพื้นฐาน (Inclusiveness) ประเทศไทยได้คะแนน 55.66 ซึ่งอยู่ใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยโลก (55.9) และสูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศในกลุ่มที่มีรายได้ปานกลางระดับบน (54.8) แสดงให้เห็นว่าไทยยังคงดำเนินการเพื่อการเติบโตที่เป็นธรรมและรวมทุกภาคส่วนเข้าไว้ด้วยกัน
ด้านความยั่งยืน (Sustainability) คะแนนของประเทศไทยเท่ากับ 40.84 ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยโลก (46.8) และค่าเฉลี่ยของประเทศในกลุ่มที่มีรายได้ปานกลางระดับบน (44.0) จึงเป็นสัญญาณบ่งชี้ถึงความจำเป็นที่ต้องมีการเร่งดำเนินการเพื่อพัฒนาด้านความยั่งยืนของไทยให้เพิ่มมากขึ้น
ด้านความยืดหยุ่นและการปรับตัว (Resilience) ซึ่งแสดงถึงการปรับตัวต่อผลกระทบต่างๆ คะแนนของประเทศไทยเท่ากับ 51.5 ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยโลก (52.75) เล็กน้อย แต่ยังสูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศในกลุ่มที่มีรายได้ปานกลางระดับบน (50.0) สะท้อนให้เห็นว่าไทยมีความสามารถในการตอบสนองและฟื้นฟูจากวิกฤติต่างๆ ได้พอประมาณ และควรมีการพัฒนาในด้านนี้ต่อไป
ดังนั้น ประเทศไทยควรเร่งเพิ่มขีดความสามารถในทุกด้าน แม้ว่าด้านนวัตกรรมจะทำได้ดีแต่ยังต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาในด้านต่างๆ เพิ่มเติม โดยเฉพาะด้านความยั่งยืน เพื่อเสริมสร้างคุณภาพของการเติบโตของประเทศให้ดียิ่งขึ้น
คะแนนของประเทศไทย
ศาสตราจารย์ ดร.วิเลิศ กล่าวปิดท้ายว่า การนำเสนอรายงานในครั้งนี้แสดงให้เห็นข้อมูลระดับประเทศที่ช่วยให้ผู้มีส่วนกำหนดนโยบายและทิศทางในการพัฒนาการเติบโตของประเทศจาก 4 มิติ ที่สำคัญต่อการเติบโตของประเทศ ซึ่งจะเป็นเข็มทิศในการกำหนดแนวทางนโยบาย และกลยุทธ์สำหรับประเทศไทย เพื่อเสริมสร้างการเติบโตที่มีทั้งในด้านนวัตกรรม ด้านความครอบคลุมของโครงสร้างพื้นฐาน ด้านความยั่งยืน และด้านยืดหยุ่นให้ดียิ่งขึ้นไป
HOLISTIC GROWTH STRATEGIES กลยุทธ์การเติบโตแบบองค์รวม
สามารถดาวน์โหลดรายงานและศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.wilertvision.com/wef
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ข้อมูลเพิ่มเติม ศูนย์แบรนด์ CBS: คุณกรณ์กันต์ ลิ้วสงวนกุลธร (ตา) 0 81446 2956, คุณศริญญา แสนมา (หนึ่ง) 0 992 824642
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
จุฬาฯ เดินหน้ายุทธศาสตร์ใหม่ สร้าง Siam Square ให้เป็นพื้นที่สำหรับคนไทยทุกคน รวมพลคนพิการโชว์พลังครั้งใหญ่ที่สุด!
อธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำทีม PMCU (สำนักทรัพย์สินจุฬาฯ) และ มูลนิธิ Five for All เปิดงาน Siam Square Walking Street For All ครั้งแรก! บนพื้นที่ใจกลางสยามสแควร์ ให้กลายเป็นพื้นที่สำหรับคนไทยทุกคน ทุกกลุ่ม
'หมอยง' แนะแนวทางแก้ไขหลุดพ้นจากกับดักผลงานวิชาการ
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก
อ.ไชยันต์ยกตัวอย่างการอภัยโทษในต่างประเทศที่น่าสนใจ!
ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร อาจารย์ประจำภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์
LH Bank จับมือ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี ม.ธรรมศาสตร์ ส่งเสริมการสร้างประสบการณ์จริงทางธุรกิจให้กับนักศึกษา
ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) หรือ LH Bank โดย นายฉี ชิง-ฟู่ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการ (ที่ 2 จากขวา) นางสาวนวลแพร เสือใหญ่
ดิจิทัล วอร์รูม เตือนภัยฝ่าน้ำท่วม-ดินโคลนถล่ม
ภาคเหนือเผชิญอุทกภัยรุนแรง โดยเฉพาะที่ อ.แม่สาย น้ำท่วมตัวเมือง มีน้ำป่าไหลทะลักลงตามแม่น้ำสาย ทำให้บ้านเรือน ร้านค้า ตลาดสด พื้นที่เกษตรที่ติดลำน้ำสายได้รับความเสียหายอย่างหนัก ปัจจุบันแม้น้ำแห้งแล้วแต่ประชาชนยังจมโคลนจมฝุ่นต้องการการช่วยเหลือ ฟื้นฟู เยียวยาจากปัญหาที่น้ำท่วมได้ทิ้งไว้ตามบ้านเรือนของประชาชนและสถานที่ต่างๆ
โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย