นายศรีสุวรรณ จรรยาและชาวชุมชนงามวงศ์วาน 59 ยื่นหนังสือร้องเรียน ที่กระทรวง พม.
กระทรวง พม. / วันนี้ 22 มกราคม 2567 เวลา 10.00 น. นายศรีสุวรรณ จรรยา ผู้นำองค์กรรักชาติและแผ่นดิน พร้อมด้วยชาวบ้านซอยงามวงศ์วาน 59 ได้นำหนังสือร้องเรียน ถึงนายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กรณีมีการโค่นต้นไม้ รวมทั้งการรื้อถนนซึ่งเป็นทางสาธารณประโยชน์ บริเวณปากซอยงามวงศ์วาน 59 ซึ่งเดิมเป็นสวนสาธารณะของชาวชุมชน เพื่อจะก่อสร้างโครงการบ้านมั่นคงซึ่งดำเนินการโดย สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) หรือ พอช. โดยกลุ่มผู้ร้องเรียนมีข้อเสนอดังนี้
- ขอให้ปรับลดจำนวนบ้านมั่นคงที่จะก่อสร้างให้เหลือจำนวนเพียง 48 หลังตามจำนวนครอบครัวที่รุกล้ำลำคลองในซอยนี้ ไม่มีการให้สิทธิขยายครอบครัวใดๆ เพื่อลดความจำเป็นในการใช้พื้นที่ก่อสร้างลง
- ขอให้สร้างบ้านมั่นคงในพื้นที่จุดเดิมที่ชุมชนเคยบุกรุกเป็นที่อยู่อาศัย คือ บริเวณท้ายซอยที่เคยมีชุมชนผู้บุกรุกและรุกล้ำริมคลองเป็นพื้นที่ก่อสร้างหลัก หากมีความจำเป็นจึงค่อยมีการขยายการก่อสร้างบ้านจำนวนเพียงเล็กน้อยบางส่วนออกจากพื้นที่เดิม
- ขอให้ปรับรูปแบบของบ้านของบ้านมั่นคงที่จะเกิดในซอยงามวงศ์วาน 59 ให้มีลักษณะเหมือนกับจุดอื่นๆ กล่าวคือให้ห้นหน้าบ้านเข้าหาลำคลอง มีทางออกจุดเดียว และขอให้มีรั้วตะแกรงกั้นระหว่างหลังบ้านมั่นคง กับถนนซอย เพื่อมิให้เกิดการใช้อาคารผิดวัตถุประสงค์ของโครงการ และก่อความเดือดร้อนแก่การสัญจรของประชาชนในอนาคต
- ขอให้กันพื้นที่จากไหล่ทางเข้าไปอีกอย่างน้อย 1 เมตร เพื่อปลูกต้นไม้ตลอดแนวด้านหลังโครงการบ้านมั่นคง อันจะเป็นการคืนทัศนียภาพให้แก่ชุมชนโดยรอบ และประชาชนที่สัญจรบนถนน
แผนพัฒนาที่อยู่อาศัยชุมชนบ้านมั่นคงชุมชนสามัคคีเทวสุนทร
ทั้งนี้โครงการบ้านมั่นคงชุมชนสามัคคีเทวสุนทร เขตจตุจักร เป็น 1 ใน 38 โครงการการพัฒนาชุมชนริมคลองเปรมประชากร ตามแผนแม่บทโครงสร้างพื้นฐานนะบบคลองและการพัฒนาชุมชนริมคลองเปรมประชากร โดย พอช. มีแผนพัฒนาที่อยู่อาศัยทั้งหมด 38 ชุมชน 6,386 ครัวเรือน ระยะความยาวคลองประมาณ 17 กิโลเมตร ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบแผน ตั้งแต่วันที่ 9 เมษายน 2562 โดยข้อมูลปัจจุบัน ณ 31 ธ.ค. 66 มีพื้นที่ที่ดำเนินการไปแล้ว 20 ชุมชน รวม 1,699 ครัวเรือน
สภาพเดิมชุมชนริมคลองเปรมประชากร
ชุมชนริมคลองเปรมฯ ที่รื้อย้ายสร้างบ้านใหม่ ดูสวยงาม มีสันเขื่อนระบายน้ำคอนกรีตเป็นทางสัญจรเลียบคลอง
สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) ได้ชี้แจงถึงกรณีดังกล่าวเบื้องต้นดังนี้
1.สิทธิ์ในการเข้าอยู่ได้ผ่านการรับรองสิทธิ์ตามเกณฑ์ร่วมกับทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้แก่ กรุงเทพมหานคร กรมธนารักษ์ สำนักงานเขตจตุจักร สำนักการระบายน้ำ 4 ภาคีหลัก
สิทธิของชุมชนสามัคคีเทวสุนทร และชุมชนหน้าวัดเทวสุนทร รับรองสิทธิก่อสร้างบ้านได้ 97 ครัวเรือน มาจาก ชุมชนสามัคคีเทวสุนทร จำนวน 88 ครัวเรือน สิทธิหลัก 63 ครัวเรือน สิทธิขยาย 23 ครวเรือน สิทธิผู้เช่า 2 ครัวเรือน กลุ่มหน้าวัดเทวสุนทร จำนวน 9 ครัวเรือน มีการเช่าที่ดินถูกกฏหมาย มีการรับรองสิทธิ์ ดำเนินการตามขั้นตอนถูกต้องครบถ้วนตามกฏหมาย ทางพอช.เคยชี้แจงแล้ว ยินดีที่จะชี้แจงให้เข้าใจอีกครั้ง
2.ส่วนข้อเสนอเรื่องการตัดต้นไม้นั้น กรณีนี้เป็นการดำเนินการปรับพื้นที่ของกรุงเทพมหานคร โดยสำนักงานเขตจตุจักร
นายธเนศพล ธนบุณยวัฒน์ เลขา รมว. พม. ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน (ทางขวามือ)
ทางด้านกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดย นายธเนศพล ธนบุณยวัฒน์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และนายธนัช นฤพรพงศ์ รองผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน ได้ออกมารับข้อเสนอของกลุ่มผู้ร้องเรียน และทาง พอช. จะทำการชี้แจงเป็นเอกสารอีกครั้ง กระทรวง พม. และ พอช. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะมีการลงพื้นที่เพื่อสำรวจและติดตามข้อร้องเรียนจากเรื่องดังกล่าวนี้ต่อไป
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
สุราษฎร์ธานี จัดงานวันที่อยู่อาศัยโลกปี67 ย้ำชุมชนต้องเป็นแกนหลักในการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยคนจน
UN – HABITAT หรือ ‘โครงการตั้งถิ่นฐานมนุษย์แห่งสหประชาชาติ’ กำหนดให้วันจันทร์แรกของเดือนตุลาคมทุกปีเป็น ‘วันที่อยู่อาศัยโลก’ หรือ ‘World Habitat Day’
รวมพลังคนจนแก้ปัญหาที่ดิน-ที่อยู่อาศัยทั่วประเทศ วันที่อยู่อาศัยโลก ปี 2567
ปัญหาการขาดแคลนที่อยู่อาศัยหรือมีที่อยู่อาศัยไม่เหมาะสมเป็นปัญหาที่สำคัญของผู้คนทั่วโลก UN-Habitat หรือ ‘โครงการตั้งถิ่นฐานมนุษย์แห่งสหประชาชาติ’
‘21 ปีบ้านมั่นคง’ พอช. แก้ปัญหาที่อยู่อาศัยคนจนทั่วประเทศ กว่า 3 แสนครัวเรือน
รัฐบาลได้มีนโยบายที่จะแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยของผู้มีรายได้น้อย และสร้างความมั่นคงในการอยู่อาศัยแก่คนจนในเมืองที่ ยังไม่มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง โดยเฉพาะกลุ่มผู้อยู่อาศัยในชุมชนแออัด
เสียงจากคลองเปรมประชากร…บ้านหลังใหม่ชีวิตใหม่ “คืนสายน้ำให้คนคลอง คืนสายคลองให้คนเมือง”
คลองเปรมประชากร มีประวัติศาสตร์อันยาวนานและมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาชุมชนและเศรษฐกิจของกรุงเทพมหานคร ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา คลองนี้ได้ประสบปัญหามากมาย
บอร์ด พอช. มีมติ พักชำระหนี้องค์กรผู้ใช้สินเชื่อในพื้นที่ประสบอุทกภัยทั่วประเทศ
สถานการณ์การเกิดอุทกภัยจากอิทธิพลของพายุยางิ ในระหว่างวันที่ 7 - 8 กันยายน 2567 ส่งผลกระทบต่อประชาชนในจังหวัดเชียงราย จำนวน 7 อำเภอ
รมว.พม. แจ้งตั้งศูนย์พักพิงชั่วคราว 34 แห่ง ใน 13 จว. ช่วยกลุ่มเปราะบาง-ผู้ประสบภัยน้ำท่วมริมแม่น้ำโขง ด้าน พอช. พร้อมอนุมัติงบช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบภัยพิบัติภาคเหนือและอีสาน
จากสถานการณ์น้ำท่วมในหลายพื้นที่ภาคเหนือ ส่งผลกระทบในพื้นที่ 8 จังหวัด 47 อำเภอ 207 ตำบล 22,817 ครัวเรือน โดยเฉพาะในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา