สสส. - โคแฟค สานพลังเครือข่าย เปิดเวทีนักคิดดิจิทัล ครั้งที่ 26

นางเบญจมาภรณ์ ลิมปิษเฐียร ผู้ช่วยผู้จัดการอาวุโส สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวในพิธีเปิดเวทีนักคิดดิจิทัล Digital Thinkers Forum ครั้งที่ 26 เราจะใช้ AI อย่างไร ให้สร้างสรรค์และปลอดภัย ว่า ปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI เทคโนโลยีที่ออกแบบให้มีระบบการทำงานเหมือนสมองมนุษย์ หลากหลายธุรกิจมีการปรับตัวขับเคลื่อนด้วยระบบ AI เพื่อสร้างเนื้อหา ภาพ ตอบโต้แทนมนุษย์ ในทางกลับกันผู้ไม่หวังดีใช้โอกาสนี้ ปลอมเสียง ปลอมภาพ สวมรอยหลอกเหยื่อ หากประชาชนไม่มีทักษะเท่าทันสื่อ ป้องกันข้อมูลปลอมที่ AI สร้างขึ้น มีโอกาสที่จะถูกหลอก รวมถึงสร้างความเข้าใจผิด เกิดความเกลียดชัง ความแตกแยกในสังคม นำไปสู่อัตราความเสี่ยงและความเหลื่อมล้ำทางเทคโนโลยี ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาวะ

“เวที Digital Thinkers Forum ครั้งนี้ สสส. สานพลัง โคแฟค และภาคีเครือข่าย มุ่งพัฒนานิเวศสื่อสุขภาวะ สร้างปัจจัยแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีระบบนิเวศสื่อสุขภาวะ ควบคู่กับการพัฒนาคนให้เป็นพลเมืองเท่าทันสื่อ เท่าทันตนเอง มีจิตสำนึก ค่านิยมและพฤติกรรมที่ส่งเสริมระบบนิเวศสื่อสุขภาวะ มีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังและสื่อสารข้อมูลอย่างสร้างสรรค์ เตรียมพร้อมรับมือกับ AI บางส่วนที่เผยแพร่ข้อมูลผิดๆ และร่วมป้องกันอย่างรู้เท่าทันกับเทคโนโลยีใหม่ที่จะเข้ามาในอนาคต” นางเบญจมาภรณ์ กล่าว

น.ส.สุภิญญา กลางณรงค์ ผู้ร่วมก่อตั้งโคแฟค กล่าวว่า ผลกระทบของข้อมูลข่าวสารและเทคโนโลยีที่มีต่อพลเมืองในยุคดิจิทัล มีทั้งในแง่สุขภาวะ ความรู้ ความเข้าใจ ความถูกต้อง ไม่ถูกต้องของข้อมูลข่าวสาร เนื้อหาที่ส่งผลกระทบในด้านลบ ซึ่งวิธีการจัดการรับมือกับข่าวลวง โดยเฉพาะในยุคที่ต้องเรียนรู้ร่วมกับ AI ทั้งด้านบวกและด้านลบ ต้องสร้างการมีส่วนร่วมกระตุ้นให้สังคมได้เห็นความสำคัญกับการป้องกันและสร้างทักษะรู้เท่าทันอย่างต่อเนื่อง นำไปสู่ข้อเสนอแนะในเชิงนโยบายแก้ไขปัญหาตรงจุด

นายสุนิตย์ เชรษฐา ผู้อำนวยการสถาบันเชนจ์ฟิวชั่น ผู้วิจัยเรื่อง AI กับข้อมูลข่าวสาร กล่าวว่า มีผู้ใช้ซอฟแวร์ AI เพื่อสร้างข่าวลวงหรือข้อมูลที่ไม่จริงเพื่อกระตุ้นอารมณ์ความรู้สึก รวมถึงภาพ และวิดีโอปลอมที่ได้รับความสนใจมากกว่าข่าวจริง ซึ่งความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจาก AI 1.การขยายตัวของปริมาณและคุณภาพของเนื้อหาลวงรวดเร็ว ต้นทุนต่ำ และสามารถชักจูงให้เชื่อได้มากขึ้น 2.คนมีความเชื่อถือต่อสื่อและข้อมูลลดลง 3.ปรากฏการณ์เอื้อประโยชน์ให้คนโกหก 4.สร้างความเกลียดชังในสังคม 5.เกิดปรากฏการณ์ AI หลอนหรือมโน ทั้งข้อมูลไม่ถูกต้อง อันตรายต่อชื่อเสียงคนดัง หรือตบทรัพย์ ปัจจุบันนอกจากบริษัทแล้ว รัฐบาลทั้งสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป จีนเห็นความสำคัญ พยายามพัฒนากลไกและกฎหมายระบบตรวจสอบการใช้งานของ AI ว่าเหมาะสม โปร่งใส ปลอดภัยและมีความรับผิดชอบ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ความเครียด..ภัยเงียบของสังคมไทย! ห้ามไม่ได้..แต่รู้เท่าทันอยู่ให้เป็นได้

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดเวทีการประชุม Forum สุขภาพคนไทย 2567 เมื่อวันที่ 14 มิ.ย. 2567 ที่อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ

ครั้งแรก!! สสส.สานพลังภาคีเครือข่าย สร้าง“สังคมปลอดคุกคามทางเพศ”

ปัญหาสังคมในสถานที่ทำงาน อย่างการคุกคามทางเพศ ไปจนถึงการบูลลี่ด้วยสายตาและวาจา เป็นเรื่องจริงที่หลายคนเลือกที่จะนิ่งเฉย และมองข้าม

เครือข่ายเป็นหูเป็นตาฯ ร่วมกับสสส. ระดมสมองกว่า 20 ภาคี ร่วมจัดทำแผนจัดการความปลอดภัยทางถนนปี 2568

เครือข่ายเป็นหูเป็นตาเพื่อสังคม เดินหน้าขับเคลื่อนสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยทางถนนในประเทศไทย ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

ปอด..คนไทยไม่ปลอดภัย "PM2.5-บุหรี่ไฟฟ้า"ตัวร้าย!!

อันตรายที่มองไม่เห็นอย่างฝุ่น PM2.5 กำลังคร่าชีวิตและบ่อนทำลายสุขภาพของคนในสังคมไทยอย่างเงียบเชียบ ด้วยตัวเลขที่มีการยืนยันว่า คนไทยกำลังเผชิญปัญหาฝุ่น PM2.5

ต้อนรับเทศกาลPride Month รู้ให้จริง..กม.รับรองเพศสภาพ

องค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศถอนภาวะการมีเพศสภาพไม่สอดคล้องกับเพศกำเนิด ออกจากหมวดความผิดปกติทางจิตและพฤติกรรมในบัญชีจำแนกโรคสากลฉบับที่ 10 (ICD-10)

โพลชี้เกือบ 1 ใน 4 เคยพบ/เห็นการคุกคามทางเพศในที่ทำงานอีก 126 คน เจอกับตัว กอด-จูบ-ลูบ-คลำ มีครบ ม

เมื่อวันที่ 4 มิ.ย. 2567 ที่อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สานพลัง ภาคีเครือข่าย ประกาศเจตนารมณ์การป้องกันการคุกคามทางเพศ โ