‘ดร.กอบศักดิ์’ ประธานบอร์ด พอช.ร่วมกับ BOI และภาคธุรกิจ เตรียมจัดงานใหญ่ดึงภาคเอกชนหนุนการพัฒนาชุมชนสู่ความยั่งยืน “สานพลังชุมชน เสริมพลังภาคี ขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก” มีนาคมนี้

ดร.กอบศักดิ์  ภูตระกูล  ประธานกรรมการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนฯ

ธนาคารกรุงเทพฯ / ดร.กอบศักดิ์  ภูตระกูล  ประธานบอร์ด พอช. ประชุมร่วมกับ BOI และภาคธุรกิจเอกรายใหญ่  เช่น  กลุ่มเซ็นทรัล  ปูนซิเมนต์ไทย  ซีพี  บางจาก  ปตท. ฯลฯ เตรียมจัดงานใหญ่ “สานพลังชุมชน เสริมพลังภาคี ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมจากฐานราก” 1 มีนาคมนี้ที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ เพื่อชวนภาคเอกชนสนับสนุนการพัฒนาชุมชนสู่ความยั่งยืน  ลดความเหลื่อมล้ำ  ขณะที่ BOI ลดหย่อนภาษีให้ภาคเอกชนที่สนับสนุนชุมชน 200 %

เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2567 เวลา 14.00 น. ที่ห้องประชุมดวงโกมล ชั้น 28 ธนาคารกรุงเทพ สำนักงานใหญ่  ถนนสีลม กรุงเทพฯ  มีการประชุมเตรียมการจัดงาน “สานพลังชุมชน เสริมพลังภาคี ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมจากฐานรากสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน (Collaborative for Sustainability)” โดยมี ดร.กอบศักดิ์  ภูตระกูล   กรรมการรองผู้จัดการใหญ่  ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ในฐานะประธานกรรมการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) หรือ ‘พอช.’ เป็นประธานในการประชุม  พร้อมด้วยนายกฤษดา  สมประสงค์  ผู้อำนวยการ พอช. และนางสาวจันทนา   เบญจทรัพย์  ผู้ช่วย ผอ.พอช. ร่วมประชุมกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI - Board of Investment)  และภาคธุรกิจเอกชน 10 หน่วยงาน

การประชุมเตรียมจัดงาน “สานพลังชุมชน  เสริมพลังภาคี”

การประชุมครั้งนี้มีวัตุประสงค์เพื่อเตรียมความพร้อมของทุกหน่วยงานที่จะเข้าร่วมการจัดงาน “สานพลังชุมชน เสริมพลังภาคี ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมจากฐานราก สู่ความยั่งยืน (Multilateral Collaboration for Sustainability)” ที่จะจัดขึ้นในวันศุกร์ที่ 1 มีนาคม 2567 เวลา 13.00 – 16.30 น. ที่หอประชุมศุกรีย์ แก้วเจริญ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล  ประธานกรรมการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนฯ หรือ พอช.ได้กล่าวถึงบทบาทและภารกิจของ พอช. ในการขับเคลื่อนงานพัฒนาชุมชน  เช่น  การสนับสนุนการพัฒนาที่อยู่อาศัยชุมชนผู้มีรายได้น้อยทั้งในเมืองและชนบท  การส่งเสริมการออมเพื่อเป็นสวัสดิการชุมชนช่วยเหลือสมาชิกในยามเกิด เจ็บป่วย การศึกษา  การดูแลสมาชิกในชุมชนและผู้เปราะบางทางสังคม  

นอกจากนี้ในปีนี้ พอช.ได้ขับเคลื่อนการพัฒนาศูนย์เด็กเล็กปฐมวัยในชุมชน  เพื่อส่งเสริมให้เด็กเติบโตอย่างมีคุณภาพ  และเชื่อมโยงกับแพทย์และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ในการขับเคลื่อนนักบริบาลชุมชนเพื่อดูแลคนในชุมชน  โดยมีหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนงาน  คือ การสร้างผู้นำและทีม

นายนฤชา ฤชุพันธุ์ รองเลขาธิการ BOI  กล่าวถึงบทบาทการสนับสนุนให้บริษัทเอกชนดำเนินธุรกิจภายใต้แนวคิดการมีส่วนร่วมกับชุมชนและสังคม โดยร่วมมือกับสหกรณ์ วิสาหกิจชุมชน วิสาหกิจเพื่อสังคม อปท. หรือหน่วยงานรัฐในท้องถิ่น เพื่อช่วยพัฒนาชุมชนและสังคมให้เติบโตอย่างยั่งยืน โดยบริษัทเอกชนสามารถสนับสนุนท้องถิ่นโดยตรง หรือสนับสนุนผ่านสถาบันการศึกษา หรือสถาบันวิจัยของรัฐ เพื่อดำเนินการในด้านต่างๆ

รองเลขาธิการ BOI  ได้ยกตัวอย่างโครงการภาคเอกชนที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุน  มาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อพัฒนาชุมชนและสังคม โดยปรับปรุงเงื่อนไขและเพิ่มสิทธิประโยชน์เพื่อให้เกิดแรงจูงใจมากยิ่งขึ้น  เช่น  การพัฒนาภาคเกษตรและระบบน้ำ  การพัฒนาหรือต่อยอดรูปแบบผลิตภัณฑ์หัตถกรรมท้องถิ่น   การสนับสนุนโรงงานแปรรูปสินค้าเกษตรหรือผลผลิตทางการเกษตรของชุมชน  การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวชุมชน  พัฒนาด้านการศึกษาและสาธารณสุข  การยกระดับด้านสิ่งแวดล้อมในชุมชน ฯลฯ  โดยภาคเอกชนที่สนับสนุนชุมชนจะได้สิทธิประโยชน์ในการลดหย่อนภาษี 200 % ของวงเงินสนับสนุน

นายกฤษดา  สมประสงค์ ผอ.พอช. (ขวา)

นายกฤษดา  สมประสงค์  ผู้อำนวยการ พอช.  กล่าวถึงบทบาทของ พอช.ในการสนับสนุน  ส่งเสริมให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็งผ่านกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบล โดยคนในชุมชนสมทบเงินคนละ 1 บาท  รัฐบาลและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นร่วมสมทบ 1 ส่วน 4 ที่ชุมชนสบทบ รวมทั้งมีภาคเอกชนร่วมสมทบ และแต่ละกองทุนสวัสดิการชุมชนก็จะดำเนินการต่อยอด  ทำให้สมาชิกเกิดคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น  เช่น  การปลูกป่าสร้างรายได้ การสร้างบ้าน เป็นต้น

นางสาวจันทนา  เบญจทรัพย์  ผู้ช่วย ผอ.พอช. กล่าวถึงมาตรการการส่งเสริมการลงทุนของบีโอไอในการเพิ่มสิทธิประโยชน์ให้ชุมชน เช่น  การสร้างบ้านให้คนยากไร้ การจัดการป่าชุมชนที่ไม่ใช่แค่การอบรมหรือการก่อสร้าง โดยจะทำอย่างไรให้ชุมชนมีรายได้   หากชุมชนรอเพียงการทำคาร์บอนเครดิตในบางพื้นที่อาจจะไปไม่ถึง ทำอย่างไรที่จะทำให้ชุมชนเข้าถึงปัญหาและความต้องการพัฒนาให้เกิดความยั่งยืน

นอกจากนี้ยังมีประเด็นสำคัญที่ ดร.กอบศักดิ์ได้กล่าวถึงแนวทางการบูรณาการการทำงานร่วมกัน คือ การที่ภาคเอกชนเชื่อมโยงระบบตลาด และนำความรู้ด้านการตลาดให้ชุมชนนำไปต่อยอดสู่ความยั่งยืน

ขณะที่ภาคธุรกิจเอกชนที่เข้าร่วมประชุมได้เสนอความคิดเห็นแลกเปลี่ยน  เช่น  การทำในหลายเรื่อง ต่อยอดหลายพื้นที่ การคลี่คลายข้อจำกัดที่ผ่านมาด้านการลงทุน ทำอย่างไรจะทำให้เม็ดเงินที่ลงไปมีค่ามากกว่าเดิม นำสู่พื้นที่ที่ใช่ แล้วทำให้เกิดความยั่งยืน  มาตรการที่ดีต้องช่วยกัน  ทำเรื่องเหล่านี้ให้สำเร็จ ให้เป็น Flagship เชื่อมชุมชน เปลี่ยนสังคม มุ่งแก้ไขให้เปลี่ยนแปลง   มิเช่นนั้นความห่างและช่องว่างความเหลื่อมล้ำจะเกิดขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้น เราจะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง โดยพลังของทุภภาคส่วนที่มาช่วยกัน ตามแนวคิด “การนำคนที่ใช่ไปช่วยพื้นที่ที่ใช่”

อย่างไรก็ตาม  นอกจากการประชุมเพื่อเตรียมจัดงาน “สานพลังชุมชน เสริมพลังภาคี ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมจากฐานราก สู่ความยั่งยืน” (Multilateral Collaboration for Sustainability)” ดังกล่าวแล้ว หลังจากนี้จะมีการหารือแนวทางและการจัด Workshop ให้แก่ภาคธุรกิจเอกชน เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ องค์ความรู้สู่การพัฒนาชุมชน  เพื่อคุณภาพชีวิตและการแก้ไขปัญหาความยากจนของชุมชนและสังคมต่อไป

สำหรับภาคธุรกิจเอกชนที่เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้  ประกอบด้วย 1.สมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย   2.มูลนิธินวัตกรรมทางสังคม ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย   3.บริษัทเซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน)  4.บริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน)  5.บริษัทบางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)  6.บริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) 7.บริษัทพีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน)  8.บริษัทสานพลัง วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด  9.บริษัทปตท.จำกัด (มหาชน) และ 10.กลุ่มบริษัทอินโนเวชั่น

***************

เรื่อง :  นางสาวพิชยาภรณ์  หาญวณิชานนท์  ภาพ: นางสาวอิรวดี  สมสุข  สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สุราษฎร์ธานี จัดงานวันที่อยู่อาศัยโลกปี67 ย้ำชุมชนต้องเป็นแกนหลักในการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยคนจน

UN – HABITAT หรือ ‘โครงการตั้งถิ่นฐานมนุษย์แห่งสหประชาชาติ’ กำหนดให้วันจันทร์แรกของเดือนตุลาคมทุกปีเป็น ‘วันที่อยู่อาศัยโลก’ หรือ ‘World Habitat Day’

รวมพลังคนจนแก้ปัญหาที่ดิน-ที่อยู่อาศัยทั่วประเทศ วันที่อยู่อาศัยโลก ปี 2567

ปัญหาการขาดแคลนที่อยู่อาศัยหรือมีที่อยู่อาศัยไม่เหมาะสมเป็นปัญหาที่สำคัญของผู้คนทั่วโลก UN-Habitat หรือ ‘โครงการตั้งถิ่นฐานมนุษย์แห่งสหประชาชาติ’

‘21 ปีบ้านมั่นคง’ พอช. แก้ปัญหาที่อยู่อาศัยคนจนทั่วประเทศ กว่า 3 แสนครัวเรือน

รัฐบาลได้มีนโยบายที่จะแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยของผู้มีรายได้น้อย และสร้างความมั่นคงในการอยู่อาศัยแก่คนจนในเมืองที่ ยังไม่มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง โดยเฉพาะกลุ่มผู้อยู่อาศัยในชุมชนแออัด

เสียงจากคลองเปรมประชากร…บ้านหลังใหม่ชีวิตใหม่ “คืนสายน้ำให้คนคลอง คืนสายคลองให้คนเมือง”

คลองเปรมประชากร มีประวัติศาสตร์อันยาวนานและมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาชุมชนและเศรษฐกิจของกรุงเทพมหานคร ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา คลองนี้ได้ประสบปัญหามากมาย

บอร์ด พอช. มีมติ พักชำระหนี้องค์กรผู้ใช้สินเชื่อในพื้นที่ประสบอุทกภัยทั่วประเทศ

สถานการณ์การเกิดอุทกภัยจากอิทธิพลของพายุยางิ ในระหว่างวันที่ 7 - 8 กันยายน 2567 ส่งผลกระทบต่อประชาชนในจังหวัดเชียงราย จำนวน 7 อำเภอ

รมว.พม. แจ้งตั้งศูนย์พักพิงชั่วคราว 34 แห่ง ใน 13 จว. ช่วยกลุ่มเปราะบาง-ผู้ประสบภัยน้ำท่วมริมแม่น้ำโขง ด้าน พอช. พร้อมอนุมัติงบช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบภัยพิบัติภาคเหนือและอีสาน

จากสถานการณ์น้ำท่วมในหลายพื้นที่ภาคเหนือ ส่งผลกระทบในพื้นที่ 8 จังหวัด 47 อำเภอ 207 ตำบล 22,817 ครัวเรือน โดยเฉพาะในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา