สสส. เปิด “ThaiHealth Watch 2024” จับตาทิศทางสุขภาพไทย Next Gen- Living ท่ามกลางโลกเดือด คนรุ่นใหม่ตกเป็นเป้า 7 ทิศทางสุขภาพ ครอบครัวข้ามรุ่นเพิ่ม ห่วงเยาวชนเล่นการพนัน-ยาเสพติดไร้พรมแดน ส่อปัญหาสุขภาพจิต ปีใหม่อ่วมอรทัย สูดลมหายใจในม่านฝุ่น ทำคนไทยป่วยระบบหายใจเกือบ 2 ล้านคน หวั่นอีก 5 ปี โลกร้อนขึ้น กระทบความมั่นคงทางอาหาร
นางเบญจมาภรณ์ ลิมปิษเฐียร ผู้ช่วยผู้จัดการอาวุโส สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สสส. เปิดงาน ThaiHealth Watch 2024 จับตาทิศทางสุขภาพคนไทยปี 2567 : Next Gen Living คุณภาพชีวิตในอนาคต เมื่อวันที่ 22 ธ.ค. 2566 ที่อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะกรุงเทพฯ พร้อมให้ข้อมูลว่า สสส.มุ่งสร้างความตระหนักรู้ เพื่อให้คนไทยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมดูแลสุขภาพ สานพลังภาคีเครือข่ายวิชาการ พัฒนานวัตกรรมการสื่อสาร ThaiHealth Watch หรือจับตาทิศทางสุขภาพคนไทย เพื่อสะท้อนอนาคตทิศทางสุขภาพ พร้อมแนวทางลดความเสี่ยงทางสุขภาพที่มีแนวโน้มเกิดขึ้นใหม่
“ThaiHealth Watch 2024 จากรายงานสุขภาพคนไทยปี 2566 รวบรวมองค์ความรู้ผ่านหลักการ 3S ได้แก่ 1.Situation สถานการณ์พฤติกรรมสุขภาพ 2.Social Trend กระแสความสนใจในสื่อสังคมออนไลน์ 3.Solution ข้อแนะนำทั้งระดับปัจเจกบุคคลและข้อเสนอเชิงนโยบายต่อสังคมเกิดเป็น 7 ประเด็นทิศทางสุขภาพสำคัญ มุ่งกระตุ้นสังคมปรับตัว พร้อมรับมือกับสถานการณ์ในสังคมอย่างเข้าใจและเท่าทัน ลดความเหลื่อมล้ำการเข้าถึงนวัตกรรมสุขภาพ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของทุกคนในสังคมอย่างเท่าเทียม” นางเบญจมาภรณ์เปิดเผย
นางเบญจมาภรณ์ชี้แจงว่า 7 ประเด็นสุขภาพที่น่าจับตามองในปี 2567 คือ 1.ปรับมุมมอง เปลี่ยนความคิด เมื่อวันที่ไทยต้องเป็นครอบครัวข้ามรุ่น โครงสร้างของครอบครัวที่เปลี่ยนแปลงส่งผลต่อสุขภาพจิตของสมาชิก พบ Gen X เสาหลักของบ้านรู้สึกเครียดกับปัญหาทางการเงิน 65% Gen Z พบความขัดแย้ง เผชิญความเครียดทางอารมณ์และความบกพร่องทางจิตใจ 51% การพัฒนา "นักสื่อสารสุขภาวะ" ของคนหลากหลายวัย ช่วยลดช่องว่างระหว่างวัยได้ 2.ขนมขบเคี้ยว และเครื่องดื่มรสหวาน มิตรยามว่างหรือศัตรูเรื้อรังเด็กไทยพบ 1 ใน 3 ของเด็กไทย กินขนมพร้อมน้ำที่มีส่วนผสมของน้ำตาลทุกวัน เนื่องจากกลยุทธ์การส่งเสริมการตลาดอาหารและเครื่องดื่มทำลายสุขภาพซึ่งเด็กที่อ้วนมีแนวโน้มเป็นผู้ใหญ่ที่ป่วยด้วยโรค NCDs โดยเฉพาะโรคเบาหวานถึง 31%
นางเบญจมาภรณ์ให้ข้อมูลด้วยว่า ทิศทางสุขภาพประเด็นที่ 3 เยาวชนไทยบนโลกแห่งการพนันไร้พรมแดน พบโทรศัพท์มือถือเป็นช่องทางเล่นพนันมากที่สุด เกมสล็อตครองแชมป์ยอดนิยม ที่น่าห่วงคือ นักเล่นพนันหน้าใหม่คิดว่าการพนันไม่อันตราย สสส.ผลักดันให้เกิดกลไกเครือข่ายเฝ้าระวังและสื่อสาร สร้างความรู้เท่าทันการพนัน ลดผลกระทบจากการพนันระดับพื้นที่ทุกภูมิภาค 4.สุราท้องถิ่นนอกระบบ คุณค่าความหลากหลายบนความเสี่ยงทางการควบคุม ความเสี่ยงจากสุราเถื่อนพบสารแปลกปลอมอ้างสรรพคุณด้านชูกำลัง หรือเสริมสมรรถนะทางเพศ ทั้งพิษจากสัตว์ สารเคมีกำจัดวัชพืชและแมลง ส่งผลกระทบทางสุขภาพถึงขั้นเสียชีวิตทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค 5.เยาวชนกับภูมิคุ้มกัน ในยุคที่ยาเสพติดเข้าถึงง่าย พบปัจจัยที่ทำให้วัยรุ่นใช้ยาเสพติด 1) อยากลอง 2) ความรุนแรงในครอบครัว 3) ปัญหาด้านการเงิน 4) สังคม สิ่งแวดล้อม การเสริมศักยภาพและสร้างกลไกป้องกันให้เยาวชนใช้เวลาเป็นประโยชน์จึงเป็นสิ่งสำคัญ
“ประเด็นที่ 6 ลมหายใจในม่านฝุ่น ต้นตอปัญหาที่แตกต่างหลากหลาย จำเป็นต้องเร่งสร้างความร่วมมือลดปัญหาจาก 3 แหล่งกำเนิด 1) ท่อไอเสียรถยนต์ 2) โรงงานอุตสาหกรรมและการก่อสร้าง 3) การเผาในที่โล่งที่ทำให้ปี 2566 พบ 1,730,976 คนเป็นผู้ป่วยโรคที่เกี่ยวข้องกับมลพิษทางอากาศ 7.โลกเดือดสะเทือนไทย ทางออกในวิกฤติความมั่นคงทางอาหาร มีโอกาส 50% ที่จะร้อนขึ้นอีก 1.5 องศาเซลเซียส ในอีก 5 ปี กระทบความมั่นคงทางอาหาร กลไกการบริหารจัดการระบบอาหาร จัดสรรพื้นที่สาธารณะในชุมชนใช้ผลิตอาหารปลอดภัยเพื่อการบริโภคและสร้างรายได้ ช่วยสร้างความมั่นคงทางอาหารให้ชุมชนได้อย่างยั่งยืน ทั้งนี้ผู้สนใจสามารถดาวน์โหลดข้อมูลได้ที่เว็บไซต์ https://resourcecenter.thaihealth.or.th/thaihealth-watch และสามารถรับข้อมูลสุขภาพเฉพาะรายบุคคลได้ที่แอปพลิเคชัน Persona Health” นางเบญจมาภรณ์ กล่าว
ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้ช่วยผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เปิดเผยว่า การสร้างความรอบรู้ให้แก่ประชาชนทางด้านเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อมในระบบอาหารยั่งยืน ตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทางเป็นเรื่องสำคัญ สสส.โฟกัสตลอดห่วงโซ่อาหาร คนไทยยังบริโภคโซเดียมในปริมาณที่สูงกว่าที่องค์การอนามัยโลกได้กำหนดไว้ ดังนั้นต้องมีการรณรงค์ระบบภาษีกำกับ บริษัทผู้ผลิตใช้นโยบายด้านการตลาดมุ่งเป้าโฆษณาเพื่อให้เด็กหลงเชื่อ เป็นการเลียนแบบการเรียนรู้จากต่างประเทศ
การรณรงค์ให้ประชาชนทั่วไปบริโภคผักผลไม้ เป็นพื้นฐานการดูแลสุขภาพตลอดห่วงโซ่อาหาร ขณะนี้ภาคธุรกิจปรับสูตรลดน้ำตาลได้สำเร็จ ด้วยการเพิ่มระบบภาษี ถ้าผู้ผลิตทำสินค้ายิ่งหวานก็จะเสียภาษีหวานเพิ่มขึ้น เห็นผลถึงผู้บริโภคอร่อยได้โดยไม่ต้องบริโภคน้ำตาลในปริมาณที่สูง แต่ปัจจุบันคนไทยติดรสหวานมากส่งผลกระทบต่อสุขภาพ เมื่อ 200 ปีก่อนสังคมไทยบริโภคไม่หวานจนเกิดความเคยชิน อาทิ ส้มตำมีน้ำตาล น้ำปลา น้ำปลาร้าก็อร่อย
ดร.นพ.ไพโรจน์เปิดเผยตัวเลขอายุเฉลี่ยเกษตรกร 55 ปี เด็กรุ่นใหม่ได้รับการสั่งสอนว่าเป็นเกษตรกรมีความยากลำบาก ทุกวันนี้มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยตั้งแต่ต้นทาง การชลประทาน การมีเมล็ดพันธุ์ที่ดี การแบนสารเคมีในการผลิต ผู้บริโภคสามารถพบผู้ผลิตได้โดยตรง ทุกวันนี้คนไทย 74% เสียชีวิตจากโรค NCDs จากการกินเป็นอันดับแรก โภชนาการเกินหรือขาด “รุ่นผมขาดโภชนาการ ปัจจุบันมีทั้งโภชนาการขาดและเกิน ผมนั่งนับเด็กอ้วนและไม่อ้วนในโรงเรียนระหว่างรอรับลูก นักโภชนาการวิทยาต้องรักษาโรคที่เกิดจากอ้วนมากเพราะการกิน โมเดลโรงเรียนที่มีประสิทธิภาพต้องเอาใจใส่ดูแลเด็กทั้งสภาพสังคม สติปัญญา”
ด้วยระบบอาหารที่พึ่งพาธรรมชาติ ผึ้งผสมเกสรดอกไม้ แต่วันนี้มีสารเคมีผลผลิตอาหารตกต่ำ คน 60 ล้านคนสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรเหมืองแร่มีผลกระทบต่อสภาพชีวิตด้วย ระบบนิเวศชุมชนพื้นเมือง ท้องถิ่นถูกพังทลายในอัตราที่สูงขึ้น ระบบนิเวศถูกพังทลายลง สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทำเป็นอาหาร 40 กว่าชนิด หมู วัว ไก่ พืชผักเป็นแสนชนิด อุตสาหกรรมอาหาร 200 ชนิดที่นำมาบริโภค แหล่งอาหารถูกทำลายเพราะไม่เห็นคุณค่า จะเห็นได้ว่าคนกว่า 11% เผชิญกับภาวะทุพโภชนาการ พันธุกรรมอาหารลดลง เพราะพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่สมดุล มีการเร่งผลิตกันมาก เร่งจับปลาในจำนวนมหาศาลโดยเฉพาะการประมงอยู่ในอันดับต้นๆ ของโลก
ขณะนี้ผู้ผลิตอาหารรายย่อยมีสถานะยากจนเผชิญกับความเหลื่อมล้ำในสังคม รัฐบาลต้องใช้ความกล้าจัดทำกฎระเบียบกติกาให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม ธุรกิจอาหารมีมูลค่า 7-8 แสนล้านบาท จะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก ธุรกิจอาหารต้องช่วยกันมองถึงผลประโยชน์ส่วนรวม ต้องร่วมมือกันทำตามกฎกติกา ไม่ทำให้สิ่งแวดล้อมแย่ลงกว่าเดิม.
ผศ.ชล บุนนาค อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG Move)
FAO ยืนยันตัวเลขว่า อาหารมีเพียงพอสำหรับคนทั้งโลก แต่ปัญหาการเข้าถึงแหล่งอาหารในปี 2021 มีความมั่นคงทางอาหารในระดับปานกลาง โดยมีจำนวนเพิ่มขึ้น 7% ของประชากรไทย ประเทศไทยเป็นประเทศที่ผลิตอาหาร โภชนาการเด็กที่มีอายุน้อยกว่า 5 ปีมีร่างกายแคะแกร็น 13% ของเด็กในวัย 5 ขวบผอมแห้งเพิ่มจำนวนขึ้นกว่าปี 2019 เป็นเรื่องน่าตกใจ เพราะเมืองไทยเป็นเมืองที่ผลิตอาหารส่งออกในระดับโลก เรื่องความมั่นคงทางอาหารต้องดูระบบอาหาร SDG-Interlinkage trade-off & Benefit น้ำ พลังงาน ทะเล ป่าครบ SDGs Index อาหารมีผลกระทบทั่วโลก อาหารกระทบต่อความยั่งยืนในทุกมิติ วัฒนธรรมชุมชนเราต้องมองในเรื่อง Food Security
ในโลกนี้มีมาตรการในกลุ่มประเทศอียูให้ส่งสินค้าเข้าไปในกลุ่มประเทศอียู มีการกกดดันทางการค้าระหว่างประเทศ Cross-border Mechanismการอิมพอร์ตเอ็กซ์พอร์ตนั้นเมื่อทำงานร่วมกับรัฐบาล จำเป็นที่หน่วยราชการต้องร่วมมือประสานการทำงาน ไม่ใช่ปล่อยให้ระบบราชการเป็นแท่งไซโล รัฐต้องมีความพร้อมทำงานเสมือนหนึ่งเป็นช่างเชื่อม มีเงินหรือไม่มีเงินก็พร้อมที่จะทำงานในระบบอาหารยั่งยืน ใช้วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี่เพื่อการทำงานอย่างเป็นระบบ โดยเฉพาะการทำงานวิจัยในระดับพื้นที่ ถ้ารัฐบาลละเลย คนยากจนลง รวมทั้งส่งผลปัญหาสุขภาพ ปล่อยให้น้ำสกปรกเป็นสีชมพู สีเขียว ส่งผลกระทบฐานการท่องเที่ยว ถ้าไม่มีการแก้ไขในระบบอาหารทั้งระยะสั้นและระยะยาว เนื่องจากเรื่องระบบความมั่นคงทางอาหารไม่ใช่ประเด็นร้อนนักการเมืองจะไม่หยิบมานำเสนอ แต่ถ้าถกกันต่อไปวันข้างหน้าถ้าสิ่งแวดล้อมเสียหาย เราไม่มีโลกให้อยู่ ไม่มีอากาศให้หายใจ เราจะไม่มีที่อยู่ ดังนั้นวันนี้เราต้องรีบแก้ไขสถานการณ์ก่อนที่จะสายจนเกินไป.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เจียระไนเพชร 3 องค์กรต้นแบบ สร้างเสริมสุขภาวะในที่ทำงาน
"ในอดีตเรารบกับเชื้อโรค มีการโจมตีด้วยเทคโนโลยี แต่วันนี้เรากำลังสู้กับกิเลสของมนุษย์ โรค NCDs เกิดขึ้นจากเราสร้างสุขเทียมเพื่อแก้ไขปัญหาให้ตัวเอง เติมรสหวาน มัน เค็ม สูบบุหรี่ ดื่มเหล้า
อึ้ง ! ความเหงา-โดดเดี่ยว ภัยเงียบที่ส่งผลอันตรายต่อสุขภาพเทียบเท่าการสูบบุหรี่วันละ 15 มวน หรือดื่มเหล้าวันละ 6 แก้ว
เวลา 09.00 น. วันที่ 1 พ.ย. 2567 ที่อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับธนาคารจิตอาสา ภาคีภาครัฐ และภาคเอกชน จัดงานแถลงข่าวเปิดตัวแคมเปญ “เดือนการฟังแห่งชาติ” หรือ “National Month of Listening” เพื่อกระตุ้นให้สังคมเห็นความสำคัญของการดูแลความสัมพันธ์ด้วย
“รองนายกฯประเสริฐ” มอบนโยบาย สสส.สั่งด่วนยกระดับสร้างความปลอดภัยทางถนนในเด็กและเยาวชน 3 ด้าน “รถบัสปลอดภัย-สวมหมวกนิรภัย-ส่งเสริมวินัยจราจร”
นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) ในฐานะประธานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการกองทุนฯ สสส.
“อย่าเพิ่งเชื่อ-อย่าเพิ่งแชร์-อย่าเพิ่งโอน” คาถาป้องกันแก๊ง Call Center
คนไทย 36 ล้านคน ตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพออนไลน์ ถูกหลอกให้ร่วมลงทุน พนันออนไลน์ ด้วยการเปิดบัญชีม้า ซื้อสินค้า-โอนเงิน-กู้เงิน ไตรมาสแรกปี 67
รพ.ศูนย์การแพทย์ ม.วลัยลักษณ์ สานพลัง สสส. ประกาศความร่วมมือเข้มแข็ง ผสานองค์ความรู้-สร้างนวัตกรรมฐานข้อมูล เตรียมพัฒนาหลักสูตรสร้างเสริมสุขภาพ บรรจุในการเรียนการสอน ม.วลัยลักษณ์
ที่วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือวิชาการ ด้านการสร้างเสริมสุขภาพของประชาชนโดยเฉพาะในจังหวัดนครศรีธรรมราช
ขับเคลื่อน"กระเป๋านักรบ"สร้างสุขภาวะ Life Long Learning...รู้ป้องกันโรค
นับเป็นความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจอีกคำรบหนึ่ง ในการขยายเครือข่ายส่งเสริมสนับสนุนการเรียนรู้ของเยาวชน ด้วยการแบ่งปันความรู้ด้านสุขภาวะสร้างวัฒนธรรมการอ่าน