บรรจุหลักสูตรคิดดีไอดอล ขยายผลเยาวชนใช้สื่อปลอดภัย

เด็กไทยต้องเผชิญกับความเสี่ยงจากข่าวปลอม ข่าวปล่อย ที่เรียกว่า fake news ไม่น้อยหน้าไปกว่าผู้สูงวัย ทั้งนี้เพราะโลกปัจจุบันคนไทยกว่า 61 ล้านคนอยู่กับการทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์มากถึง 85% และคนกลุ่มหนึ่งมีมือถือคนเดียวมากกว่า 2 เครื่องเพื่อหาความรู้ แต่ท่ามกลางโลกโซเชียลแม้จะอยู่ในพื้นที่ของการหาความรู้ บางครั้งเด็กและเยาวชนก็ต้องเผชิญกับปัญหาพิษภัยบนออนไลน์

ด้วยตระหนักรู้ถึงประเด็นปัญหาดังกล่าว "คิดดีไอดอล" นักสื่อสารสร้างสรรค์ ไอเดีย สุขภาวะ ด้วยการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ  (สสส.) จึงเกิดขึ้นด้วยวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างนักสื่อสารสร้างสรรค์ประเด็นปัญหาเกี่ยวกับสุขภาวะ พร้อมกับสร้างความร่วมมือกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐ องค์กรสาธารณกุศล สถาบันการศึกษา และกลุ่มเด็กและเยาวชน ให้เกิดการขับเคลื่อนการสื่อสารเพื่อการเปลี่ยนแปลง และที่สำคัญเพื่อให้เกิดเวที/พื้นที่ให้เยาวชนได้มาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และสร้างสรรค์ผลงานสื่อเพื่อการเปลี่ยนแปลง

ล่าสุด ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย (มทร.ศรีวิชัย) อ.เมือง จ.สงขลา นางญาณี รัชต์บริรักษ์ ผู้อำนวยการสำนักสร้างเสริมระบบสื่อและสุขภาวะทางปัญญา สสส. ก็ได้สานพลังภาคีคิดดีไอดอล เปิดเวทีผลงานเด่น “นักสื่อสารสุขภาวะ”  โชว์นวัตกรรมสุขภาพฝีมือเด็กไทย บอร์ดเกม-ไพ่ทาโรต์สุขภาพจิต-เกมพิษภัยบุหรี่ไฟฟ้าออนไลน์-สื่อพนันออนไลน์ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจและทัศนคติในการปรับเปลี่ยนสู่พฤติกรรมสุขภาวะในระดับพื้นที่ พร้อมสานพลัง และภาคีเครือข่ายอุดมศึกษาภาคใต้ พัฒนาหลักสูตรคิดดีไอดอล นำร่องบรรจุในการเรียนการสอนของ มทร.ศรีวิชัย  จ.สงขลา มุ่งเป้าพัฒนานักสื่อสารสุขภาวะใน 10 จังหวัด 3 ภูมิภาค

นางญาณี กล่าวว่า "การสร้าง content แต่ละกลุ่มเป็นข้อมูลส่วนบุคคลมากขึ้น เสมือนหนึ่งสายน้ำที่ทุกคนจะต้องช่วยกันดูแลเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดี สร้างจิตสำนึก เป็นการสื่อสารเพื่อสุขภาวะของสังคม ร่วมกันเป็นพลเมืองที่ดี ช่วยกันเช็กและตรวจสอบข่าวสารที่ถูกต้อง อาสาเฝ้าระวังสื่อ อสม.เป็นเครือข่ายในการใช้เสียงผ่านรายการวิทยุชุมชน  ช่วยกันบ่มเพาะให้เป็นนักสื่อสารสุขภาวะ การรวมกลุ่มเพื่อสร้างเครือข่ายเป็นสิ่งสำคัญมาก การใช้ทักษะให้รู้เท่าทันสื่อ การใช้นิเทศศาสตร์ข้ามมิติข้ามวัย ให้เด็กและเยาวชนช่วยกันสร้างทักษะเท่าทันสื่อร่วมกับกระทรวงพม. ม.มหิดลพัฒนาหลักสูตรสูงวัยเท่าทันสื่อ เพื่อสร้างโรงเรียนผู้สูงวัยทั่วประเทศ เป็นการต่อยอดเป็นเครื่องมือให้ผู้สูงวัยได้เรียนรู้ Alone we can do so little, together we can do so much”

“โครงการคิดดีไอดอล ดำเนินการมาครบรอบ 7 ปี โดยศูนย์สร้างสรรค์สื่อเพื่อเด็กเยาวชนและครอบครัว ภายใต้การสนับสนุนของ สสส.ที่ผ่านมา เปิดรับเยาวชนนักสร้างสรรค์สื่อใน 10 จังหวัด 3 ภูมิภาค สุราษฎร์ธานี  กระบี่ นครศรีธรรมราช สงขลา ยะลา ปัตตานี นราธิวาส  เพชรบูรณ์ อุดรธานี บุรีรัมย์ เน้นสร้างพลังคนรุ่นใหม่ใช้สื่อเปลี่ยนแปลงสังคม พัฒนานวัตกรรมสื่อสารสุขภาวะที่น่าสนใจ เข้าใจง่าย และตอบโจทย์ปัญหาสุขภาพคนรุ่นใหม่ การลงพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งนี้ เป็นการตอกย้ำความเข้มแข็งของภาคีเครือข่ายคิดดีไอดอล ที่สะท้อนผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม สร้างโอกาสและทางเลือกให้คนรุ่นใหม่ใช้สื่อและองค์ความรู้อย่างปลอดภัย สร้างสรรค์ และช่วยลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงข้อมูลและองค์ความรู้สุขภาพอย่างยั่งยืน” นางญาณี กล่าวชี้แจง

ผศ.ปิยะ ประสงค์จันทร์ รองอธิการบดี มทร.ศรีวิชัย ชี้แจงว่า นับเป็นนิมิตหมายที่ดีของความร่วมมือระหว่าง สสส.และ มทร.ศรีวิชัย กับโรงเรียนหลายแห่งทางภาคใต้ ภาคอีสาน ในหลายสาขาวิชาชีพ เนื่องจากราชมงคลเป็นมงคลของราชาในอาณาจักรศรีวิชัยในอดีตรวมกัน ทั้งนี้ สสส.พลิกโฉมการพัฒนาสุขภาวะให้เกิดขึ้นผ่านหลายเครือข่าย เสมือนเป็นแสงเทียนจุดติดเป็นสิ่งที่ดีงาม เป็นแสงสว่างในวงการศึกษา คิดดี IDOL เป็นหลักสูตรในวิชาเรียนควบคู่กับการทำกิจกรรม เป็นการลงมือปฏิบัติ ต่อไปจะจัดให้มีหน่วยกิตในอนาคตเทียบเป็นรายวิชา มีความร่วมมือแลกเปลี่ยนหลักสูตรการเรียนระหว่างมหาวิทยาลัย และในอนาคตจะจัดให้เป็นกิจกรรมเสริมหลักสูตรระหว่างมหาวิทยาลัยในอาเซียน เป็นการสร้างเครือข่าย มีเวทีแห่งอนาคตให้นักศึกษาแลกเปลี่ยน เกิดเป็นนวัตกรรมเพื่อขับเคลื่อนให้เกิดประโยชน์สูงสุด

มทร.ศรีวิชัย มีความพร้อมในการขับเคลื่อนการพัฒนานิเวศสื่อสุขภาวะ ผ่านการพัฒนาคนรุ่นใหม่ในการใช้สื่อเป็นเครื่องมือเพื่อนำไปสู่ชีวิตที่มีสุขภาวะที่ดี พร้อมร่วมเปิดพื้นที่ปฏิบัติการเรียนรู้ศูนย์บ่มเพาะนักสื่อสารสุขภาวะ สู่นักปฏิบัติการทางสังคมที่มีคุณภาพ การนำหลักสูตรคิดดีไอดอลบรรจุในการเรียนการสอน มุ่งพัฒนานักศึกษาให้เป็นนักสื่อสารสุขภาวะ ผู้ใช้และสร้างสรรค์สื่อที่มีทักษะเท่าทันสื่อสารสนเทศและดิจิทัล พร้อมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 มีความรอบรู้ด้านสุขภาพและสุขภาวะทางปัญญาที่เกื้อกูลสังคม เป็นโอกาสดีในการต่อยอดนวัตกรรมเพื่อสังคม ที่ก้าวทันต่อกระแสโลกาภิวัตน์ตามวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัย ในการร่วมขับเคลื่อนการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมของนักสื่อสารสุขภาวะ

นายฮาริส มาศชาย ผู้จัดการโครงการคิดดีไอดอล  สนับสนุนโดย สสส. เปิดเผยว่า หลักสูตรคิดดีไอดอลเป็นการบ่มเพาะคนรุ่นใหม่อายุ 16-24 ปี เข้าร่วมกระบวนการ Hackathon 4 Health พัฒนานวัตกรรมแพลตฟอร์มสื่อสุขภาวะที่เยาวชนสนใจ สอดคล้องกับปัญหาบริบทของพื้นที่ ที่ผ่านมา 19 พื้นที่ มีผู้เข้าร่วม 73ทีม 1,132 คน ร่วมกันวิเคราะห์ปัญหาในพื้นที่ นำไปสู่การสร้างสรรค์สื่อสุขภาวะผ่านการจัดกิจกรรมที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย นำไปสู่การยกระดับเป็นแกนนำนักสื่อสารสุขภาวะคนรุ่นใหม่ 186 คน และขยายผลแก่ผู้รับประโยชน์ผ่านสังคมออนไลน์ อายุ 10-25 ปี กว่า 1,450 คน ผ่านนวัตกรรมสุขภาพที่ครอบคลุมสุขภาวะทั้ง 4 มิติ อาทิ  บอร์ดเกมสุขภาพจิต จากกลุ่มสตรีอิสลามวิทยามูลนิธิ จ.ยะลา, ไพ่ทาโรต์สุขภาพจิต จากชมรมเพาะกล้า มหาวิทยาลัยทักษิณ จ.พัทลุง, เกมพิษภัยบุหรี่ไฟฟ้าออนไลน์ จากกลุ่ม KPAOS รร.อบจ.กระบี่, สื่อการเรียนรู้พนันออนไลน์ จากกลุ่มห้ากุมาร มทร.ศรีวิชัย จ.สงขลา ทั้งนี้ ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เฟซบุ๊กแฟนเพจ Kiddeeidol.

กลุ่มสตรีราชินูทิศ เรื่องข้น E3 คิดดีไอดอล กินสุกกะแซ่บ

น.ส.ศศิวรรณ จันทะนนท์ (ดิว) น.ส.พนิดา วชิรศิริกุล (หมวย) เป็นตัวแทนของกลุ่ม รร.สตรีราชินูทิศ ม.5 สายวิทย์ (คณิต) จ.อุดรธานี

มีสมาชิกในทีม 5 คน ครูที่ปรึกษา 1 คน เปิดดูผ่าน You Tube หรือกูเกิล เนื่องจากภาคอีสานมีพฤติกรรมชอบกินอาหารสุกๆ ดิบๆ ที่ไม่ปลอดภัย มีพยาธิ  จึงช่วยกันสร้างสื่อให้ความรู้ด้านผลเสียจากการกินอาหารดิบ เสนอแนะด้วยการรณรงค์ให้เลือกกินอาหารอย่างไรให้ปลอดภัย โดยไม่เสี่ยงต่ออาหารเป็นพิษ ท้องเสีย.

กลุ่มหาดใหญ่วิทยาคาร เรื่องเพิ่มความมั่นใจ แค่คิด...ก็ชนะใจตัวเองแล้ว

(Shinpai by HWK จุดทิ้งความเครียดและความเศร้า)

น.ส.กุลธิดา สวัสดิผล, น.ส.เกวลิน ปินตุรัต, นายธีรุตม์ ชูศรี

มีตุ๊กตาปลาวาฬเป็นสัญลักษณ์ แผ่นการ์ด 1 ชุด มีแผ่นดูอาให้เลือก 24 แผ่น มีภาพสวยๆ และข้อความดูอาให้แก่พ่อแม่ ให้เป็นที่พึ่งทางใจ เมื่อเราเจอปัญหา ผ่านบทสวดเพื่อ heal จิตใจ ดูอาตื่นนอน ดูอาขอให้ห่างไกลจากโรคภัย ดูอาปลดปล่อยความทุกข์ ดูอาเมื่อโรคร้ายรุมเร้า ดูอาขอความคุ้มครอง เนื่องจากการเรียนการสอนต้องแข่งขันกันอย่างหนัก ส่งผลให้เกิดความเครียดแก่ผู้เรียน อีกทั้งการที่นักเรียนต้องมาอยู่หอพักห่างไกลจากครอบครัว ไม่มีที่ปรึกษาในการแก้ไขปัญหาชีวิต จึงต้องหาทางระบายออกด้วยการเขียนความรู้สึกที่เป็นความทุกข์ ลงกระดาษแผ่นสีและขยำลงไปในถังขยะ เพื่อให้เป็นพื้นที่ระบายออก ทำให้ตัวเองรู้สึกสบายใจ โล่งใจ เป็นจุดปล่อยความเครียด.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ตัดวงจรความรุนแรง เลิกให้โอกาสที่ 2

เรื่องราวของจีจี้ - นางสาวสุพิชชา ปรีดาเจริญ เนตไอดอลชื่อดัง ซึ่งถูกคู่รักทำร้ายหลายครั้ง แต่จีจี้ยื่นโอกาสให้กับฝ่ายชาย สุดท้ายเธอต้องจากไปด้วยน้ำมือของคนที่รัก ก่อนแฟนหนุ่มจบชีวิตตัวเองตาม  ถูกหยิบยกนำมาเป็นบทเรียนราคาแพงเตือนสติคนในสังคมออกจากความสัมพันธ์

ชวนนักดื่ม “ตรวจตับ-เลิกจับขวด” ฟื้นฟูสุขภาพคืนความสุขครอบครัว

"งดเหล้าเข้าพรรษา" ในระยะเวลา 3 เดือน ถือเป็นกิจกรรมหนึ่งในเทศกาลสำคัญ ที่มุ่งเน้นให้ชาวพุทธงดดื่มแอลกอฮอล์ ไม่เพียงเป็นการรักษาประเพณีและศีลธรรมเท่านั้น

“สุรศักดิ์” รมช.ศธ. เดินหน้าขับเคลื่อนรถรับส่งนักเรียนปลอดภัย ชูโมเดล “ศูนย์เรียนรู้รถรับส่งนักเรียนปลอดภัย จ.อยุธยา” ของสสส.

วันที่ 18 พ.ย. 2567 ที่ โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดศูนย์การเรียนรู้การจัดการรถรับส่งนักเรียนที่ปลอดภัย โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย ภายในงานเวทีสร้างความร่วมมือและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการพัฒนาศูนย์เรียนรู้รถรับส่งนั

สสส.สานพลังภาคี ขจัดความเหลื่อล้ำกิจกรรมทางกาย ดึงคนไทยสู่เวอร์ชั่นใหม่

กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ ศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย (ทีแพค) สถาบันวิจัยประชากรและสังคม

สสส.-สคล. ผนึกภาครัฐ เอกชน จัดแข่งฟุตซอลเยาวชนไม่เกิน 15 ปี ชิงถ้วยกรมสมเด็จพระเทพฯ

สสส. โดยสมาคมเครือข่ายงดเหล้าและปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพ (สคล.) ร่วมกับ ภาคีเครือข่ายและภาคเอกชน รวม 7 องค์กร ลงนามความร่วมมือ พร้อมจัดแถลงข่าวเปิดตัวโครงการ

"สิทธิในอาหารเพื่อชีวิตที่ดี" ความตระหนักรู้เสริมสุขภาวะ

เด็กทั่วโลกเผชิญปัญหาความเหลื่อมล้ำด้านอาหาร เพราะการบริโภคไม่สมดุล ส่งผลต่อสุขภาวะอ้วนผอม ชาวโลกเผชิญความอดอยากเกือบ 300 ล้านคน