มาตรฐานยูโร (Euro) คือ มาตรฐานกำหนดการปล่อยมลพิษของยานพาหนะในประเทศแถบทวีปยุโรป โดยย่อมาจาก “Euro emissions standards” ซึ่งถูกกำหนดขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2513 (ค.ศ. 1970) เพื่อกำหนดมาตรฐานการปล่อยมลพิษของยานพาหนะที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงในการสันดาป ไม่ให้เกินค่ามาตรฐานที่กำหนด ซึ่งนอกเหนือจากการกำหนดมาตรฐานของเครื่องยนต์แล้ว มาตรฐานคุณภาพน้ำมันเชื้อเพลิงก็ถือเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ถูกกำหนดควบคู่กับมาตรฐานเครื่องยนต์ โดยมาตรฐานน้ำมันยูโร 1 (Euro 1) ถูกประกาศใช้ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2535 (ค.ศ. 1992) ควบคู่ไปกับการควบคุมการปล่อยไอเสียของรถยนต์เพื่อควบคุมปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์ (CO) สารไฮโดรคาร์บอน (HC) สารไนโตรเจนออกไซด์ (NOx) อนุภาคและฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) โดยมีการประกาศยกระดับมาตรฐานน้ำมันยูโรมาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบันที่ประเทศในแถบยุโรป สหรัฐอเมริกา หรือแม้แต่ประเทศในแถบเอเชียอย่าง จีน สิงคโปร์ หรือมาเลเซีย ก็เริ่มบังคับใช้มาตรฐานน้ำมันยูโร 5 เพื่อแก้ไขปัญหาของ PM2.5 ซึ่งมาจากหลายสาเหตุ ได้แก่ ไฟป่า เผาป่าเพื่อทำการเกษตร การก่อสร้างที่มาจากการขุดเจาะ การผลิตไฟฟ้าและการทำอุตสาหกรรมจากนิคมอุตสาหกรรมต่าง ๆ โดยการเผาปิโตรเลียมและถ่านหินเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้า การคมนาคมจากควันท่อไอเสียและการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ของเครื่องยนต์ และกิจกรรมอื่น ๆ เช่น สูบบุหรี่ จุดธูป เผากระดาษ เป็นต้น ดังนั้น มาตรฐานน้ำมันยูโร 5 ที่มีข้อกำหนดหลักเพื่อใช้ควบคุม คือ ปริมาณกำมะถัน สารอะโรเมติกส์ และสารประกอบไฮโดรคาร์บอน ลดการปล่อยมลพิษสู่สิ่งแวดล้อม สามารถช่วยลดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนได้ระดับหนึ่ง มีข้อมูลอ้างอิงในกลุ่มประเทศยุโรป อเมริกา หรือสิงคโปร์ มีคุณภาพอากาศที่ดีขึ้นหลังจากการบังคับใช้มาตรฐานการปล่อยมลภาวะอย่างเข้มงวด
ประเทศไทยได้ยกระดับมาตรฐานน้ำมันมาโดยตลอด โดยเริ่มบังคับใช้มาตรฐานน้ำมันยูโร 1 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539 และในปัจจุบันคือมาตรฐานน้ำมันยูโร 4 เมื่อปี พ.ศ. 2555 เป็นต้นมา ดังแสดงในตารางที่ 1 ประกอบกับภาครัฐมุ่งมั่น แก้ไข และลดผลกระทบของปัญหา PM2.5 นับตั้งแต่กำหนดเป็นวาระแห่งชาติที่ได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน โดยเน้นการนำไปสู่ระดับปฏิบัติและลดผลกระทบต่อสุขภาพจากมลภาวะทางอากาศ และหนึ่งในแนวทางการจัดการ คือ คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ “การแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5)” เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2562 กำหนดมาตรการป้องกันและลดการเกิดมลพิษที่ต้นทาง รวมถึงแหล่งกำเนิดจากไอเสียของยานพาหนะ โดยกำหนดมาตรการยกระดับมาตรฐานการระบายมลพิษจากรถยนต์ใหม่จากระดับยูโร 4 ให้เป็นยูโร 5 และยกระดับมาตรฐานคุณภาพน้ำมันกลุ่มเบนซิน-แก๊สโซฮอล์ และดีเซลหมุนเร็วจากระดับยูโร 4 ให้เป็นยูโร 5 โดยปรับลดปริมาณกำมะถันจากไม่สูงกว่า 50 เป็นไม่สูงกว่า 10 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม (10 ppm) ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 เป็นต้นไป และน้ำมันกลุ่มดีเซลจะต้องยกระดับมาตรฐานคุณภาพเพิ่มเติม ลดปริมาณสารโพลีไซคลิก อะโรมาติกส์ ไฮโดรคาร์บอน (PAHs) จากไม่ให้เกิน 11% เป็นไม่ให้เกิน 8% ดังแสดงในตารางที่ 2 และ 3 ตามลำดับ ซึ่งกลุ่มอุตสาหกรรมโรงกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กลุ่มฯ โรงกลั่นฯ) ได้ปฏิบัติตามข้อกำหนดการบังคับใช้มาตรฐานน้ำมันยูโร 5 โดยลงทุนปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ใช้เงินลงทุนรวมกว่า 50,000 ล้านบาท พร้อมทั้งเร่งดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลา 4 ปี นับตั้งแต่วันที่ประกาศตามข้อกำหนดของกรมธุรกิจพลังงาน เพื่อให้ทันการณ์กับนโยบายภาครัฐที่กำหนดไว้ ท่ามกลางความท้าทายและการเปลี่ยนแปลงของโลกอย่างมากมาย โดยเฉพาะการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ความผันผวนด้านราคาน้ำมัน และการเปลี่ยนผ่านรูปแบบของการใช้พลังงาน เช่น ยานยนต์ไฟฟ้า เป็นต้น
กลุ่มฯ โรงกลั่นฯ ได้ดำเนินการลงทุนก่อสร้างปรับปรุงหน่วยผลิตจนพร้อมจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงมาตรฐานน้ำมันยูโร 5 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2567 เป็นต้นไป มีต้นทุนและค่าใช้จ่ายในการผลิตสูงกว่าการผลิตน้ำมันมาตรฐานยูโร 4 ในปัจจุบัน จากการลงทุนเพื่อปรับปรุงระบบการกลั่นและการปรับชนิดของน้ำมันดิบเป็นชนิดกำมะถันต่ำเพื่อเข้าสู่กระบวนการกลั่น ดังนั้น การปรับราคาจำหน่ายจึงควรสะท้อนมาตรฐานคุณภาพของน้ำมันเชื้อเพลิงที่ดีขึ้น และเป็นไปในแนวทางเดียวกับตลาดน้ำมันในภูมิภาคที่เชื่อมโยงกับตลาดโลก สร้างความมั่นคงด้านพลังงานอย่างยั่งยืน และสนับสนุนการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงมาตรฐานน้ำมันยูโร 5 เพื่อช่วยลดปริมาณ PM2.5 ในอากาศและสารก่อมะเร็งที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของประชาชนและสิ่งแวดล้อมอีกด้วย
ตารางที่ 1: การบังคับใช้มาตรฐานน้ำมันยูโร 1 - ยูโร 5 ในประเทศไทย
ตารางที่ 2: มาตรฐานคุณภาพน้ำมันกลุ่มเบนซิน-แก็สโซฮอล์ในประเทศไทย จากระดับยูโร 4 เป็นยูโร 5
ตารางที่ 3: มาตรฐานคุณภาพน้ำมันกลุ่มดีเซลในประเทศไทย จากระดับยูโร 4 เป็นยูโร 5
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ไทยออยล์ผนึกกำลังสมาคมวอลเลย์บอล ร่วมพัฒนาทักษะกีฬาวอลเลย์บอลให้กับเยาวชนแหลมฉบัง
เมื่อเร็วๆนี้ บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) ร่วมกับสมาคมกีฬาวอลเลย์บอลแห่งประเทศไทย และเทศบาลนครแหลมฉบัง จัดโครงการ “ไทยออยล์ปั้นฝันเยาวชนสู่ความเป็นหนึ่ง
ไทยออยล์คว้ารางวัลเกียรติคุณ การเปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืน Sustainability Disclosure Award ประจำปี 2567 ต่อเนื่องเป็นปีที่ 6
เมื่อเร็วๆนี้ บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) ได้รับรางวัลเกียรติคุณการเปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืน “Sustainability Disclosure Award” ต่อเนื่องเป็นปีที่ 6 จากงานมอบรางวัลการเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืน
ไทยออยล์เผยกลยุทธ์ธุรกิจปี 2568 และเร่งบริหารจัดการโครงการ CFP
บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) (“ไทยออยล์”) เผยกลยุทธ์ธุรกิจปี 2568 มุ่งสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน แม้ภาพรวมอุตสาหกรรมพลังงานและปิโตรเคมีในปีหน้ายังคงมีความท้าทายทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ
ไทยออยล์ ได้รับคะแนน CGR ระดับ "ดีเลิศ" ต่อเนื่องเป็นปีที่ 16
บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) ได้รับคะแนนการประเมินการกำกับดูแลกิจการในระดับ “ดีเลิศ” (Excellent CGR Rating) หรือ 5 ตราสัญลักษณ์
CEO ไทยออยล์ คว้ารางวัล CEO of the Year 2024 in Transformation Excellence
เมื่อเร็วๆ นี้ คุณบัณฑิต ธรรมประจำจิต ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) ได้รับรางวัล Bangkok Post CEO of the Year 2024
“ไทยออยล์” ประกาศผลการดำเนินงานไตรมาส 3 ปี 2567
บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) ประกาศผลการดำเนินงานไตรมาส 3/2567 ภาพรวมผลการดำเนินงานปรับลดลง