อึ้ง!! วัยเก๋า 80% ตกเป็นเหยื่อ ถูกหลอกโอนเงิน-เผยข้อมูลส่วนตัว

อึ้ง!! วัยเก๋า 80% ตกเป็นเหยื่อ ถูกหลอกโอนเงิน-เผยข้อมูลส่วนตัว พม.-สสส.-ม.มหิดล-กลุ่มคนตัว D สานพลัง พัฒนานวัตกรรมหลักสูตร “หยุด คิด ถาม ทำ” รุกแก้ปม เตรียมบรรจุในโรงเรียนผู้สูงอายุ 2,456 แห่งทั่วประเทศ มุ่งขับเคลื่อนนิเวศสื่อสุขภาวะ สร้างสังคมสูงวัยรู้ทันสื่อ

เมื่อวันที่ 8 ม.ค. 2567 ที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กล่าวว่า จากรายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย ปี 2566 พบผู้สูงอายุไทยมีจำนวนกว่า 13 ล้านคน คิดเป็น 20% ของจำนวนประชากรทั้งประเทศ ซึ่งเข้าสู่การเป็นสังคมสูงอายุโดยสมบูรณ์ตามที่องค์การสหประชาชาติกำหนด ไทยจึงต้องเร่งสานพลังความร่วมมือทุกภาคส่วน เพื่อรองรับสังคมสูงอายุ ทั้งมิติเศรษฐกิจ สังคม สุขภาพ สภาพแวดล้อม และเทคโนโลยีและนวัตกรรม ที่เข้ามามีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างศักยภาพผู้สูงอายุ ให้กลายเป็นผู้สูงอายุที่มีพลังและคุณภาพ (Active Aging) สอดรับแผนยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี

นายวราวุธ กล่าวต่อว่า สถานการณ์และผลกระทบจากการเปิดรับสื่อของผู้สูงอายุไทย ปี 2566 โดยศูนย์วิชาการด้านการรู้เท่าทันสื่อของผู้สูงอายุ (Intelligence Center for Elderly Media Literacy – ICEML) สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) พบผู้สูงอายุตกเป็นเหยื่อจากการหลอกลวงผ่านสื่อมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากเดิม 22.40% ถูกหลอกให้ซื้อของที่ไม่ได้คุณภาพ 70.53% ถูกหลอกให้เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล 14.06% ที่สำคัญข้อมูลมติสมัชชาผู้สูงอายุระดับชาติรองรับสังคมสูงวัย ปี 2566 พบว่า ผู้สูงอายุมีความสามารถในการใช้สื่อเทคโนโลยีและการรู้เท่าทันภัยจากเทคโนโลยีดิจิทัลในระดับต่ำ สะท้อนการเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการถูกหลอกลวงจากสื่อได้ง่าย

“พม. สานพลัง สสส. มหาวิทยาลัยมหิดล กลุ่มคนตัว D บริษัท ทำมาปัน จำกัด พัฒนานวัตกรรมหลักสูตรสูงวัยรู้ทันสื่อ “หยุด คิด ถาม ทำ” เครื่องมือที่ช่วยสร้างสังคมการสื่อสารที่ปลอดภัยและสร้างสรรค์ ไม่ให้ใครตกเป็น “เหยื่อ” ของผู้ไม่หวังดี เพิ่มความปลอดภัยในการใช้ชีวิต การรู้เท่าทัน และเฝ้าระวังสื่อของผู้สูงอายุ เพื่อให้สังคมไทยเป็นสังคมผู้สูงอายุอย่างมีคุณภาพ มุ่งเป้าขยายผลหลักสูตรในโรงเรียนผู้สูงอายุ 2,456 แห่งทั่วประเทศ หวังเพิ่มภูมิคุ้มกันด้านการรู้เท่าทันสื่อให้กับผู้สูงอายุอย่างทั่วถึง” นายวราวุธ กล่าว

​นางเบญจมาภรณ์ ลิมปิษเฐียร ผู้ช่วยผู้จัดการอาวุโส สสส. กล่าวว่า อีก 20 ปีข้างหน้า ไทยจะมีสัดส่วนผู้สูงอายุกว่า 30% ของประชากรทั้งหมด การเตรียมพร้อมปัจจัยสุขภาพ โดยเฉพาะการสร้างนิเวศสื่อสุขภาวะ จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ สสส. ให้ความสำคัญ ที่ผ่านมา สสส. สานพลัง ภาคีเครือข่าย สร้างเสริมทักษะเท่าทันสื่อในกลุ่มผู้สูงอายุผ่านการดำเนินงาน 3 ด้าน 1.พัฒนาทักษะเท่าทันสื่อให้ผู้สูงอายุใช้สื่ออย่างปลอดภัย ยกระดับเป็นเครือข่ายอาสาสูงวัยเฝ้าระวังสื่อในระดับพื้นที่ 2.สื่อสารสร้างความรู้ ความเข้าใจด้านการรู้เท่าทันสื่อ ให้ผู้สูงอายุเข้าถึงข้อมูลที่ถูกต้อง 3.จัดการความรู้สู่การขับเคลื่อนกลไกเชิงนโยบาย จัดตั้งศูนย์วิชาการด้านการรู้เท่าทันสื่อของผู้สูงอายุ ล่าสุด ได้ขยายผลพัฒนาหลักสูตรสูงวัยรู้ทันสื่อ มุ่งให้ผู้สูงอายุเป็นพลเมืองสูงวัยเท่าทันสื่อ ทั้งนี้ ผู้ที่สนใจสามารถดาวน์โหลดได้ที่ https://www.iceml.org/Doc/Curriculum-2024-Media-Literacy.pdf

นายวันชัย บุญประชา​ ที่ปรึกษากลุ่มคนตัว D บริษัท ทำมาปัน จำกัด กล่าวว่า กลุ่มคนตัว D สานพลัง สสส. สร้างเสริมการรู้ทันสื่อให้กับผู้สูงวัย ตั้งแต่ ปี 2561 โดยสร้างกระบวนการเรียนรู้ผ่านการมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุผ่านเวที “สูงวัยรู้ทันสื่อ” ยึดหลักคาถา 3 ข้อ 1.จำเป็นไหม 2.ไปหาข้อมูลก่อน 3.เดือดร้อนใครหรือไม่ มีผู้สูงอายุเข้าร่วมกว่า 5,000 คน ใน 21 จังหวัดทั่วทุกภูมิภาค มุ่งเป้ายกระดับสู่การสร้างเครือข่ายอาสาสูงวัยรู้ทันสื่อขึ้นในระดับชุมชน การสานพลังขยายผลนวัตกรรมหลักสูตรครั้งนี้ จะสร้างความตื่นตัวของผู้สูงอายุ ที่จะรู้ทัน และมาเป็นเครือข่ายอาสาสูงวัยรู้ทันสื่อ และเกิดเป็นกลไกร่วมเฝ้าระวังสื่อในระดับประเทศ

​รศ.ดร.นันทิยา ดวงภุมเมศ ประธานศูนย์วิชาการด้านการรู้เท่าทันสื่อของผู้สูงอายุ ICEML กล่าวว่า ปี 2566 ได้ยกระดับให้เกิดผลระดับประเทศ โดยสานพลังการทำงานทุกภาคส่วน พัฒนาหลักสูตรอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตรสูงวัยรู้ทันสื่อ ตอบโจทย์ทั้งเชิงนโยบายและการปฏิบัติในระดับประเทศ สอดรับกับผลสำรวจสถานการณ์และผลกระทบจากการใช้สื่อของผู้สูงอายุไทย ที่พบผู้สูงอายุไทยใช้สื่อออนไลน์เพิ่มขึ้น และมีแนวโน้มตกเป็นเหยื่อการหลอกลวงผ่านสื่อเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ความเครียด..ภัยเงียบของสังคมไทย! ห้ามไม่ได้..แต่รู้เท่าทันอยู่ให้เป็นได้

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดเวทีการประชุม Forum สุขภาพคนไทย 2567 เมื่อวันที่ 14 มิ.ย. 2567 ที่อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ

'วราวุธ' แจงเหตุแต่งตั้งโยกย้ายล็อตใหญ่ 5 อธิบดี กระทรวง พม.

นายวราวุธ ศิลปอาชา รมว.การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เปิดเผยภายหลังการประชุมครม.สัญจร ถึงการโยกย้ายอธิบดี 5 กรม ว่า ที่ประชุมครม.เห็นชอบการโยกย้าย

วราวุธ รมว.พม. เยี่ยมบ้านมั่นคงเมืองย่าโม ย้ำนอกจากมีบ้านแล้วต้องมีคุณภาพชีวิตที่ดีทุกครัวเรือน

วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมโครงการบ้านมั่นคง

กระทรวง พม. เปิดปฏิบัติการ “พม.ร่วมใจ สานสายใยพี่น้องเปราะบาง ชุมชนริมคลองเปรมประชากร”

กรุงเทพฯ/29 มิถุนายน 2567 กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จัดโครงการ “พม.ร่วมใจ สานสายใยพี่น้องเปราะบาง ชุมชนริมคลองเปรมประชากร”

ครั้งแรก!! สสส.สานพลังภาคีเครือข่าย สร้าง“สังคมปลอดคุกคามทางเพศ”

ปัญหาสังคมในสถานที่ทำงาน อย่างการคุกคามทางเพศ ไปจนถึงการบูลลี่ด้วยสายตาและวาจา เป็นเรื่องจริงที่หลายคนเลือกที่จะนิ่งเฉย และมองข้าม

เครือข่ายเป็นหูเป็นตาฯ ร่วมกับสสส. ระดมสมองกว่า 20 ภาคี ร่วมจัดทำแผนจัดการความปลอดภัยทางถนนปี 2568

เครือข่ายเป็นหูเป็นตาเพื่อสังคม เดินหน้าขับเคลื่อนสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยทางถนนในประเทศไทย ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)