“ภราดร” อภิปรายงบ 2567 ย้ำหัวตะปู เร่งศึกษา “สบู่ดำ” โครงการอันเนื่องจากพระราชดำริ ร 9 เพื่อ ทำเชื้อเพลิง Biojet Fuels เรียกร้องคืนงบ Anywhere Anytime - Learn to Earn – ทบทวนโครงการโรงเรียนคุณภาพ
นายภราดร ปริศนานันทกุล ส.ส.อ่างทอง พรรคภูมิใจไทย อภิปรายร่าง พรบ.งบประมาณรายจ่ายปี 2567 โดยระบุว่า ยังไม่เห็นการวางแผน ทิศทาง ของรัฐบาล ในการเตรียมการเรื่อง เชื้อเพลิงการบินชีวภาพ หรือ Biojet Fuels เพราะ เห็นกฎขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ International Civil Aviation Organization – ICAO ที่ได้ออกกฎในปี ค.ศ. 2016 เพราะธุรกิจการบินปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ สู่ชั้นบรรยากาศจำนวนมาก จึงให้ลดปริมาณการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ ส่งเสริมให้ใช้ น้ำมันเชื้องเพลิงชีวภาพทางการบิน ทางสหภาพยุโรป(อียู) กำหนดภายในปี 2025 ให้มีส่วนผสมของน้ำมันชีวภาพทางการบิน ผสม 2 % ในสายการบินที่ออกจากสนามบินใน อียู นอกจากนั้นในปี 2040 จะเพิ่มเป็น 32 % จะเพิ่มมากกว่านั้น ในปี 2050 เป็น 63 % มีการคาดการณ์ในปี 2030 ใน 6 ปีหลังจากนี้ ตัวเชื้อเพลิงชีวภาพ ทั่วโลก เพิ่มจาก 538 ล้านลิตร เป็น 18,200 ล้านลิตร หรือ 3 เท่า อันนี้มองว่าเป็นโอกาส ของคนไทย ที่จะได้นำเข้าสู่เทคโนโลยีใหม่
.
“ลองหลับตาดูเรื่องเชื้อเพลิงชีวภาพ เมื่อปี 2548 มีการคิดค้น ทำวิจัย โดยการริเริ่มจากโครงการพระราชดำริ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในรัชกาลที่ 9 ดำเนินการน้ำมันไบโอดีเซล โดยวัสดุเหลือใช้ นำน้ำมัน จากผลผลิตทางการเกษตร ตอนนั้นมี 2 ชนิด คือ ปาล์มน้ำมัน กับ สบู่ดำ โดยให้มูลนิธิชัยพัฒนา ทำการวิจัย ไม่น่าเชื่อผ่านมา 20 ปีแล้ว แต่เรื่องยังเป็นสมัยใหม่ ทันต่อเหตุการณ์ นึกภาพดูว่า 20 ปี ที่ผ่านมา มีการคิดวิจัยอย่างต่อเนื่องในเรื่องพลังงานทดแทน ป่านนี้ประเทศไทยจะเป็นอันดับ 1 ในการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงการบินชีวภาพ แต่ก็ยังไม่สาย ที่รัฐบาลชุดนี้จะเริ่มต้น เพราะนี่คือโอกาส ความต้องการเชื้อเพลิงชนิดนี้จะมีเพิ่มสูงมาก เรามีต้นแบบอยู่แล้ว พัฒนาสิ่งที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ทรงริเริ่มเอาไว้ มาต่อยอด แต่ผมไม่เห็นในงบประมาณ 2567 ทั้งในส่วนของกระทรวงพลังงาน กระทรวงคมนาคม ที่กำกับดูแล ท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่จะต้องเริ่มในการปลูกสบู่ดำ จึงต้องการให้ริเริ่มในปีงบประมาณหน้า จะเห็นการรณรงค์อย่างเต็มรูปแบบ นำสบู่ดำ มาทำเป็นเชื้อเพลิงชีวภาพทางการบิน”นายภราดร กล่าว
.
นายภราดร กล่าวถึง นโยบายการศึกษา ที่ท้าทายวงการศึกษา นโยบาย Anywhere Anytime ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา นักเรียนในชนบทและในเมืองหลวง เพราะพูดกันมากเรื่องความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา รัฐบาลนี้ก็พยายามลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ด้วยการออกเป็นนโยบาย เรียนที่ไหน เวลาไหนก็ได้ โดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์เข้ามา เป็นเครื่องมือสำคัญ พยายามสร้างแพลตฟอร์ม ทำคอนเทนท์ ดีดี ให้ นักเรียน เข้าถึงการศึกษา สื่อการศึกษาที่ไม่แตกต่างกัน
.
“แต่มีการตั้งงบประมาณเพียง 1,750 ล้านบาท เมื่อผมเห็นงบประมาณนี้ ผมตำหนิรัฐบาลทำไมตั้งเอาไว้ไม่เพียงพอ การจัดซื้อ การมอบแทบเล็ต ให้กับนักเรียน กระทรวงศึกษาธิการ พยายามทำงบประมาณขาขึ้นไปถึง 7,000 ล้านบาท แต่สำนักงบประมาณกลับจัดสรรมาเพียง 20 % จากที่ขอไปซึ่งไม่เพียงพอ แต่ช่วงปี 2567 ใช้งบประมาณสั้นเพียง 6-7 เดือน กระทรวงศึกษา นำงบประมาณนี้ไปจัดทำคอนเทนท์ และเพลตฟอร์ม ในปีนี้ก่อน”
.
นายภราดร กล่าวว่า ฟังสมาชิกหลายคนอภิปรายว่าโครงการแทปเล็ต นี้จะย้อนกลับไปว่าจะมีปัญหาเหมือนเมื่อก่อน มีโอกาสพูดคุยกับกระทรวงศึกษาธิการ คุยกับพลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และนายสิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ก็ได้รู้แนวทางในการจัดหาแทบเล็ต ไม่ใช่ซื้อเหมือนเมื่อก่อน ใช้วิธีเช่า ไม่ต้องดูการบำรุงรักษา การเสียหายของอุปกรณ์ อันนี้ขอสนับสนุน
.
นายภราดร อภิปรายถึงนโยบาย Learn to Earn ผลักดันเด็กที่อยู่ในระบบให้เข้าสู่ตลาดแรงงาน ให้ได้เร็วที่สุด หรือพร้อม ๆ กับเด็กในช่วงอยู่ระหว่างการศึกษา หารายได้เลี้ยงชีพ ควบคู่กันไปได้พร้อมๆ กัน จึงมีนโยบายออกใบรับรอง สำหรับคนไปอบรมระยะสั้น ๆ 30-40 ชั่วโมง เพื่อไปทำกิจการ การค้าของตัวเอง ประกอบอาชีพของตัวเอง เช่นสอนทำขนม ซ่อมรถ ซ่อมมอเตอร์ไซด์ ซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้า ไปดูในเล่มงบประมาณ ขาวคาดแดง จัดงบประมาณเพียง 493.52 ล้านบาท จากที่ขอไป 1,157 ล้านบาท ลดไป 5-60 % แล้วแบบนี้ทางกรมอาชีวะ จะไปทำได้ครบวงจร เต็มรูปแบบได้ยังไง ฝากไปถึงสำนักงบประมาณ ในปีหน้าช่วยพิจารณางบประมาณให้มากกว่านี้ ให้เพียงพอกับการไปดำเนินมาตรการสำคัญ
.
นายภราดร กล่ววว่า อีกเรื่องคือ โรงเรียนคุณภาพประจำอำเภอ เป็นหลักคิดที่ดี ถุกต้อง ตั้งใจให้โรงเรียนคุณภาพ เป็นแม่เหล็ก ให้โรงเรียนบริวาร ได้ย้ายเข้ามาเรียนในโรงเรียนนี้ เรื่องนี้ทำมาหลายรัฐบาล ทำมาอย่างน้อย ๆ 4-5 ปี แต่สิ่งที่เกิดขึ้น โรงเรียนคุณภาพเป็นศูนย์กลาง แล้วให้โรงเรียนเล็ก ๆ ย้ายเด็กเข้ามาเรียน แต่กลับไม่เป็นเช่นนั้น ไม่มีการย้ายโรงเรียนตามที่กระทรวงศึกษาธิการ ได้คิด เอาไว้ ปัญหาคือการไปทำโรงเรียนคุณภาพแบบนี้ยิ่งไปกดทับ สร้างตวามเหลื่อมล้ำ ให้โรงเรียนเล็ก ๆ มากขึ้นไปอีกหรือไม่ ถึงเวลาหรือยังต้องตั้งโจทย์ใหม่ ที่ว่าเราจะย้ายเด็กนักเรียนให้เข้ามาอยู่ในโรงเรียนคุณภาพ วันนี้หลายคนอภิปรายในสภา เราไม่เอาความจริงมาพูดกัน เรากลัวกับคำว่ายุบโรงเรียน ควบรวมโรงเรียน ไม่มีใครกล้าทำในเรื่องนี้ เพราะมีแรงต่อต้าน จากชุมชน สถานศึกษา ผู้ปกครอง ที่เป้นศิษย์เก่า เราเสียคะแนนทางการเมือง กลัวเสียความนิยมทางการเมือง แต่เราไม่เสียดายโอกาสของเด็กนักเรียน ในชนบทที่เขาต้องถูกกดทับด้วยความเหลื่อมล้ำไปเรื่อย ๆ แบบนี้หรือ ต้องหาทางเอาเด็กที่อยู่ในโรงเรียนเล็ก ๆ มาอยู่ในโรงเรียนคุณภาพได้ นั่นคือโจทย์ใหญ่ที่ท้าทายกระทรวงศึกษาธิการ แต่ เชื่อว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พลตำรวจเอกเพิ่มพูน ชิดชอบ จะกล้าตัดสินใจ ดำเนินการเรื่องนี้ต่อไป
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
บูมเศรษฐกิจ 2 ชาติ ! “อนุทิน” เร่งสร้างสะพานมิตรภาพจันทบุรี-ไพลิน จับมือกัมพูชา กระตุ้นค้าขายชายแดน-ท่องเที่ยว
วันที่ 21 พย. บริเวณสะพานข้ามคลองตะเคียน ด่านผักกาด จุดก่อสร้างสะพานมิตรภาพจันทบุรี-ไพลิน นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย พร้อมคณะผู้บริหาร อาทิ นายอรรษิษฐ์ สัมพัน์รัตน์
'อนุทิน' ยันภูมิใจไทยโหวตเสียงข้างมาก 2 ชั้นในการทำประชามติ
'อนุทิน' ยืนยัน ภท.โหวตเสียงข้างมาก 2 ชั้น หากนำมติ กมธ.ร่วมประชามติเข้าโหวตในสภา ย้ำเพื่อให้ ปชช.ตัดสินใจเรื่องสำคัญอย่างแท้จริง ชี้ทุกอย่างมีเงื่อนเวลาถ้าแก้ไม่ทันก็รอสภาชุดหน้า
“ผู้ประกอบการ ราชบุรี” ชม “อนุทิน” ฟื้นกีฬาวัวลาน ให้แข่งตอนกลางคืน มั่นใจ เป็นงานเฟสติวัลระดับโลก
จากกรณีที่กระทรวงมหาดไทยออกกฎกระทรวง ให้การแข่งขันวัวลานจัดขึ้นในเวลากลางคืน ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2567 โดยล่าสุด นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้เดินทางไปเปิดการแข่งขันวัวลานที่
'เสี่ยหนู' ลั่น 'เพื่อไทย-ภูมิใจไทย' ไม่เคยขัดแย้งปมที่ดินเขากระโดง!
'เสี่ยหนู' ยัน พท.-ภท. ไม่เคยขัดแย้งปมเขากระโดง ขอคนไม่อยู่ในวงอย่าคาดคะเน ชี้ไม่มีเหตุผลต้องปกป้องผลประโยชน์ใคร โอดกว่าจะนั่งคุม มท.แทบตาย ไม่ให้ใครมาด่าสาดเสียเทเสีย
3 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ยื่นหนังสือ เลขาธิการพรรคภูมิใจไทย แก้ไขปัญหาในส่วนของท้องถิ่น 4 เรื่อง
วันที่ 12 พ.ย.2567 ที่พรรคภูมิใจไทย คณะกรรมการบริหารพรรค นำโดยนายไชยชนก ชิดชอบ เลขาธิการพรรค, นายสิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ รองหัวหน้าพรรค, นายเจเศรษฐ์ ไทยเศรษฐ์ รองเลขาธิการพรรค, นางสาวพิมพฤดา ตันจรารักษ์ รองเลขาธิการพรรค, นายกรวีร์
'สุริยะ' ลั่น รฟท.ไม่ยอมเสียที่ดินให้ใคร ขอให้จบในชั้นเจ้าหน้าที่ อย่าขยายประเด็นการเมือง
นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.คมนาคม ให้สัมภาษณ์กรณีกรมที่ดินมีมติไม่เพิกถอนสิทธิ์ที่ดินเขากระโดง ซึ่งเป็นข้อพิพาทระหว่างการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.)และกรมที่ดิน