วันที่ 4 มกราคม 2567 นายชลัฐ รัชกิจประการ สส. แบบบัญชีรายชื่อ พรรคภูมิใจไทย ได้อภิปรายสนับสนุนร่าง พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เพราะต้องใช้งบประมาณสร้าง และพัฒนาคนไทยในศตวรรษที่ 21 สร้างและพัฒนาองค์ความรู้ นวัตกรรม ปฏิรูปการอุดมศึกษา กระทรวงแห่งปัญญา โอกาส และอนาคต
.
นายชลัฐ ได้อภิปรายว่า กระทรวง อว.ได้งบประมาณ 148,439.6438 ล้านบาท งบประมาณนี้ถือว่ายังน้อย เพราะมีค่าบุคลากรไปแล้ว 80,026.4008 ล้านบาท นอกจากนี้ยังมีงบประมาณที่ทำงานจริง ด้านแผนงานพื้นฐาน 5,888.5945 ล้านบาท แผนงานยุทธศาสตร์ 60,881.8366 ล้านบาท และแผนงานบูรณาการ 1,642.8119 ล้านบาท โดยงบประมาณต่างๆ ต้องทำตามกรอบนโยบาย ปฏิรูปการอุดมศึกษา แผนงานนี้สร้างแผนงานยุทธศาสตร์พัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต ในยุคคนี้เมื่อความรู้ใหม่เกิดขึ้นตลอดเวลา การอุดมศึกษาที่จะปฏิรูป ถ้าทุกคนเข้าไม่ถึงก็สิ้นประโยชน์จึงมีแผนงานสร้างความเสมอทางการศึกษา นโยบายการสร้าง และพัฒนานวัตกรรม เราต้องมีเครื่องมือในการวิจัยให้เขาใช้ และต้องมีพื้นที่ได้พัฒนา จะทำอย่างไรให้เป็นเขตอินโนเวชั่น และเทคโนโลยี นโยบายสร้าง และพัฒนาองค์ความรู้ เราจะทำอย่างไรให้บุคลากรมีความรู้เพียงพอที่จะใช้มัน จะต้องมีแผนงานพื้นฐานด้านการพัฒนา และเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ นอกจากนี้ต้องมีแผนงานยุทธศาสตร์เพื่อสนับสนุนการสร้างความสามารถในการแข่งขัน ในความรู้ทั้งหมดนี้ ถ้าเราไม่สร้างไม่ให้เครื่องมือ ในงบประมาณที่ได้ เราจะสู้เวทีโลกได้อย่างไร
.
" กรอบนโยบายสุดท้ายที่อยู่ในงบประมาณนี้ ในโลกสมัยนี้หมุนไปเร็ว จากยุคไอที 10 ปี ที่ผ่านมาถึงยุคคอมพิวเตอร์ ยุคเอไอ บุคลากรของประเทศเราจะยืนหยัดต่ออย่างไร แน่นอนเราต้องให้ความรู้ เพื่อสร้างความรู้ความสามารถในการแข่งขัน แต่สำคัญไม่แพ้กัน เรื่องของแผนงานยุทธศาสตร์ เสริมสร้างให้คนมีสุขภาวะที่ดี คนมีความรู้ประเทศมีเครื่องมือให้ใช้งาน ถ้าประชากรป่วยจะต้องทำอย่างไร เราต้องสร้าง และพัฒนาคนไทยในศตวรรษที่ 21"
.
นอกจากนี้ นายชลัฐ มีข้อเสนอแนะในการใช้งบประมาณของกระทรวง อว. ในเรื่องของการวิจัยเพื่อความเป็นเลิศ อยากให้ทางฝ่ายบริหารกำหนดทิศทางให้ชัดเจนมากขึ้น ให้ตรงเป้ามากขึ้นว่าเราเก่งอะไร เรามีความชำนาญ และมีความรู้อะไร ยกตัวอย่างประเทศฮอลแลนด์ เขาอยู่ยุโรป เขามีเทคโนโลยีเพียงพอที่จะพัฒนารถ แต่สุดท้ายไปพัฒนาเรื่องกังหันลม อย่างไรก็ดี อยากให้ทางกระทรวงอว. หันกลับไปดูเรื่องของชุมชน ชาวบ้าน อย่างเช่นแรงงานของเราส่งออกต่างประเทศ ใช้ปัญญาชาวบ้านสามารถสร้างผลผลิตได้มากขึ้น แต่ทำไมคนไทยไม่เห็นคุณค่าเหล่านี้ หน่วยงานเข้าไปช่วยชาวบ้าน เพื่อให้เกิดความเจริญไปสู่รากหญ้าต่อไป
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
“ศุภมาส” นั่งหัวโต๊ะประชุม ก.พ.อ. เตรียมชง ครม. เยียวยาข้าราชการพลเรือนมหาวิทยาลัยหลังข้าราชการครูปรับเงินเดือนขึ้น พร้อมปรับเงินเดือนชดเชยให้กับพนักงานมหาวิทยาลัยที่บรรจุก่อน 1 พ.ค. 2567 และก่อน 1 พ.ค. 2568
เมื่อวันที่ 30 ต.ค.67 น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
“อนุทิน” นำทีม “ภูมิใจไทย” ยื่นกฎหมาย คงไว้ซึ่งกำนัน-ผู้ใหญ่บ้านแล้ว ชี้ ช่วยเหลือชาวบ้าน ลงลึกถึงพื้นที่ห่างไกล เผย คุยฝ่ายค้าน-รัฐบาลแล้ว หวังได้รับเสียงหนุน เพราะทำเพื่อประชาชน .
30 ตุลาคม 2567 ที่อาคารรัฐสภา กรุงเทพมหานคร นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย
“โสภณ” นำ สส.ภท. ยื่นร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ วอน รัฐ เร่งดำเนินการบรรจุร่างให้เร็วที่สุด ถือเป็นการปฏิวัติการศึกษาของชาติ ยื่นต่อ "วันนอร์" ประธานสภา
วันที่ 30 ตุลาคม 2567 ที่อาคารรัฐสภา นายโสภณ ซารัมย์ ประธานคณะกรรมาธิการการศึกษา สภาผู้แทนราษฎร พร้อมด้วยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคภูมิใจไทยได้ยื่นร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ... เพื่อปฎิวัติการศึกษา ตามนโยบายพรรคภูมิใจไทย ต่อนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา ที่คณะกรรมาธิการการศึกษา สภาผู้แทนราษฎร และพรรคการเมืองต่าง ๆ ได้มีการพิจารณาเสร็จสิ้นเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้
'ภูมิใจไทย' ย้ำจุดยืน 4 ข้อ ดันร่างพรบ.เอนเตอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์
นายไชยชนก ชิดชอบ สส.บุรีรัมย์ และเลขาธิการพรรคภูมิใจไทย ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีนายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รมช.คลัง เตรียมผลักดันร่างพ.ร.บ.เอนเตอร์เทนเม้นท์คอมเพล็กซ์
'อนุทิน' ยืนยัน สส.ภูมิใจไทย ไม่เห็นด้วยนิรโทษกรรมล้างผิดคดี 112
นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.มหาดไทย ในฐานะหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย (ภท.) กล่าวถึงมติที่ประชุมพรรคภูมิใจไทยเมื่อวันที่ 23 ต.ค. 67
'อนุทิน' เผยเห็นต่าง ผลศึกษานิรโทษกรรมคดี 112 ไม่ใช่เรื่องขัดแย้งพรรคร่วมรัฐบาล
นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.มหาดไทย ในฐานะหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย กล่าวถึงทิศทางของพรรคในการโหวตรายงานผลการศึกษาแนวทางการตรา พ.ร.บ.นิรโทษกรรม