สสส. ห่วง เมนูยอดฮิตเฉลิมฉลองเทศกาลปีใหม่ “หมูกระทะ-ชาบู-ส้มตำปูปลาร้า” โซเดียมสูงปรี๊ด

สสส. ห่วง เมนูยอดฮิตเฉลิมฉลองเทศกาลปีใหม่ “หมูกระทะ-ชาบู-ส้มตำปูปลาร้า” โซเดียมสูงปรี๊ด แนะดูแลไต ปรุงอาหารกินเอง ใช้สูตร 6:6:1 ปรุงรส 2:1:1 จัดจานสุขภาพดี ลดเสี่ยงโรค NCDs ระยะยาว

ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้ช่วยผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า ช่วงเทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ 2567 เป็นเทศกาลแห่งการเฉลิมฉลอง พบปะสังสรรค์กินเลี้ยงพร้อมหน้าบนโต๊ะอาหาร เป็นโอกาสดีในการเลือกอาหารดูแลสุขภาพคนในครอบครัว แต่อาหารยอดนิยมส่วนใหญ่มีรสเค็มจัด ชุดหมูกระทะ ชาบู พบโซเดียมกว่า 12,000 มิลลิกรัม ส้มตำถาดปูปลาร้า พบมีโซเดียมกว่า 2,000 มิลลิกรัม ที่สำคัญหากกินเป็นเวลานานจะเป็นพฤติกรรมติดเค็มตั้งแต่อายุยังน้อย เสี่ยงต่อแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของโรค NCDs ที่เป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิตกว่า 400,000 คนต่อปี ควรกินเนื้อ ลดซดน้ำ ที่สำคัญควรงดดื่มเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูงควบคู่กัน จากความเชื่อผิดๆ ที่ใช้น้ำหวานมาตัดเค็มทำให้ยิ่งกินอร่อย จะกลายเป็นได้ทั้งโซเดียมและน้ำตาล เพิ่มความเสี่ยงอันตรายจากอาหาร ป่วยโรค NCDs ในระยะยาว
 
“แนวทางการเลือกอาหารเพื่อสุขภาพที่เหมาะสม ควรเลือกรับประทานอาหารให้ได้สารอาหารที่ครบ 5 หมู่ ปรุงอาหารกินเองด้วยรหัส 6:6:1 น้ำมัน 6 ช้อนชาต่อวัน น้ำตาล 6 ช้อนชาต่อวัน เกลือ 1 ช้อนชาต่อวัน พร้อมจัดจานสุขภาพ 2:1:1 ผัก 2 ส่วน ข้าวไม่ขัดสี 1 ส่วน โปรตีน 1 ส่วน ทั้งนี้ สสส. สานพลัง เครือข่ายลดการบริโภคเค็ม รวบรวมองค์ความรู้ที่เข้าใจง่าย เสริมความเข้าใจผลกระทบต่อสุขภาพ พร้อมแนวทางในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค สามารถติดตามข้อมูลได้ทางเฟซบุ๊กแฟนเพจ ลดเค็ม ลดโรค รวมถึงพัฒนานวัตกรรมออนไลน์ทดสอบพฤติกรรมติดเค็ม 5 ระดับ ผ่านเว็บไซต์ www.lowsaltthai.com” ดร.นพ.ไพโรจน์ กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ความเครียด..ภัยเงียบของสังคมไทย! ห้ามไม่ได้..แต่รู้เท่าทันอยู่ให้เป็นได้

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดเวทีการประชุม Forum สุขภาพคนไทย 2567 เมื่อวันที่ 14 มิ.ย. 2567 ที่อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ

ครั้งแรก!! สสส.สานพลังภาคีเครือข่าย สร้าง“สังคมปลอดคุกคามทางเพศ”

ปัญหาสังคมในสถานที่ทำงาน อย่างการคุกคามทางเพศ ไปจนถึงการบูลลี่ด้วยสายตาและวาจา เป็นเรื่องจริงที่หลายคนเลือกที่จะนิ่งเฉย และมองข้าม

เครือข่ายเป็นหูเป็นตาฯ ร่วมกับสสส. ระดมสมองกว่า 20 ภาคี ร่วมจัดทำแผนจัดการความปลอดภัยทางถนนปี 2568

เครือข่ายเป็นหูเป็นตาเพื่อสังคม เดินหน้าขับเคลื่อนสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยทางถนนในประเทศไทย ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

“ดร.นพ. ไพโรจน์ เสาน่วม” ร่วมคณะทำงานอิสระด้านการป้องกันโรคไม่ติดต่อของ WHO

ขยายบทบาทไทยสู่เวทีสุขภาพโลก “ดร.นพ. ไพโรจน์ เสาน่วม” แพทย์ไทยรับการแต่งตั้งจากองค์การอนามัยโลก ร่วมทีมคณะทำงานพร้อมผู้เชี่ยวชาญอีก 20 คน เสนอยุทธศาสตร์ป้องกันโรคไม่ติดต่อระดับโลก

ปอด..คนไทยไม่ปลอดภัย "PM2.5-บุหรี่ไฟฟ้า"ตัวร้าย!!

อันตรายที่มองไม่เห็นอย่างฝุ่น PM2.5 กำลังคร่าชีวิตและบ่อนทำลายสุขภาพของคนในสังคมไทยอย่างเงียบเชียบ ด้วยตัวเลขที่มีการยืนยันว่า คนไทยกำลังเผชิญปัญหาฝุ่น PM2.5

ต้อนรับเทศกาลPride Month รู้ให้จริง..กม.รับรองเพศสภาพ

องค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศถอนภาวะการมีเพศสภาพไม่สอดคล้องกับเพศกำเนิด ออกจากหมวดความผิดปกติทางจิตและพฤติกรรมในบัญชีจำแนกโรคสากลฉบับที่ 10 (ICD-10)