‘คนแม่แจ่ม’ จ.เชียงใหม่ เดินหน้าพัฒนาเมืองทุกมิติ (2) จากภัยพิบัติ ‘บ้านยางหลวง’ สู่ยุค ‘สร้างบ้านแปงเมือง’

อำเภอแม่แจ่มมีช่างทอผ้าซิ่นตีนจกที่มีชื่อเสียง มีวัฒนธรรมประเพณีหลากหลายชาติพันธุ์  ทุกปีจะมีการจัดงาน ‘มหกรรมผ้าซิ่นตีนจกและวัฒนธรรมชนเผ่าอำเภอแม่แจ่ม’

นอกจากแม่แจ่มจะร่ำรวยไปด้วยธรรมชาติ  ศิลปะ  วัฒนธรรม  ประเพณี มีรากเหง้าความเป็นมาของผู้คนที่หลากหลายน่าสนใจแล้ว แม่แจ่มยังเคยผ่านช่วงวิกฤต...ความยากลำบากมาหลายครั้ง พวกเขาต้องดิ้นรนต่อสู้เพื่อความอยู่รอด...จนก้าวเข้าสู่ยุคสร้างบ้านแปงเมืองในปัจจุบัน...

(อ่านตอนที่ 1  รากเหง้า...วิถี...และสีสัน ‘มนต์เมืองแจ๋ม’ https://www.thaipost.net/public-relations-news/507537/)

‘ขัวโตงเตง’ สะพานแขวนข้ามน้ำแม่แจ่ม

แม่แจ่มยุคเมืองปิด

อำเภอแม่แจ่ม  จ.เชียงใหม่  ตั้งอยู่บนเทือกเขาถนนธงชัย  อยู่ด้านหลังดอยอินทนนท์  ล้อมรอบไปด้วยขุนเขา  มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 500 เมตร อยู่ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ราว  123  กิโลเมตร  มีน้ำแม่แจ่มที่ไหลมาจากดอยอินทนนท์เป็นแม่น้ำสายหลัก  

ในอดีตอำเภอแม่แจ่มถือว่าเป็นพื้นที่ทุรกันดาร  การเดินทางยากลำบาก  ต้องใช้ทางเกวียน  หากเดินเท้าจากแม่แจ่มจะไปเชียงใหม่  จะต้องเลาะป่าฝ่าดงไปที่จอมทองก่อน (ระยะทางปัจจุบันประมาณ 70 กิโลเมตร) ใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 3 วัน 2 คืน  จากนั้นจะมีรถบรรทุกโดยสารไปเชียงใหม่ 

นอกจากการติดต่อกับโลกภายนอกจะยากลำบากแล้ว  ข้าวปลาอาหารก็ยังขาดแคลน  ราษฎรจึงพากันอพยพครอบครัวไปอยู่ถิ่นอื่นที่มีความอุดมสมบูรณ์กว่า  ทำให้ประชากรลดน้อยลง   

ในปี พ.ศ. 2481  ทางราชการจึงลดฐานะอำเภอแม่แจ่มลงเป็นกิ่งอำเภอ  ขึ้นกับอำเภอจอมทอง  แต่การเดินทางไปติดต่อกับราชการที่อำเภอจอมทองก็ยังไกลโพ้นเช่นกัน  ต่อมาในปี  พ.ศ.2499  ทางราชการได้ยกขึ้นเป็นอำเภอแม่แจ่ม  เพื่อให้ประชาชนเกิดความสะดวกในการติดต่อกับทางราชการ

ราวปี 2505 อำเภอแม่แจ่มได้เกณฑ์ชาวบ้านมาช่วยกันถากถางเส้นทางสร้างถนนเข้าสู่อำเภอ  เมื่อถนนแล้วเสร็จในปีต่อมา  จึงเริ่มมีรถยนต์จากเชียงใหม่เข้าสู่แม่แจ่ม  ทำให้การติดต่อเดินทางสะดวกมากขึ้น...แม่แจ่มไม่กลายเป็นเมืองปิดอีกต่อไป...

จิตรกรรมฝาผนังที่วัดป่าแดด ต.ท่าผา  ฝีมือช่างท้องถิ่น  เขียนในราวปี พ.ศ. 2432 แสดงวิถีชีวิตคนแม่แจ่มในยุคนั้น

ภัยพิบัติที่ ‘บ้านยางหลวง’ ยุคเริ่มต้นการพัฒนา

อำเภอแม่แจ่มมีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 1.7 ล้านไร่  พื้นที่ส่วนใหญ่กรมป่าไม้ได้ประกาศเป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติ  ทำให้ชาวบ้านเกือบทั้งหมดไม่มีเอกสารสิทธิ์ครอบครองที่ดิน  แบ่งการปกครองเป็น 10 ตำบล  106 หมู่บ้าน  ประชากรประมาณ 60,000 คน  มีทั้งคนเมือง (ล้านนา)  กลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ (กะเหรี่ยง) ม้ง  ลัวะ ลีซู  ฯลฯ  อาชีพหลักปลูกข้าวโพด  กะหล่ำปลี  ถั่วเหลือง   ข้าวไร่  ฯลฯ

ในเดือนกันยายนปี 2545  เกิดเหตุการณ์น้ำป่าจากดอยอินทนนท์ไหลหลาก  ดินโคลนจากภูเขาไหลถล่มลงสู่น้ำแม่แจ่มและน้ำแม่แรก เกิดผลกระทบต่อชาวแม่แจ่มหลายพื้นที่  แต่ที่บ้านยางหลวง  ต.ท่าผา  ที่อยู่ห่างจากตัวอำเภอแม่แจ่มประมาณ 4 กิโลเมตร  ได้รับความเสียหายมากที่สุด  เพราะเป็นที่ลุ่มและอยู่ติดกับน้ำแม่แรกซึ่งเป็นน้ำสาขาแม่แจ่ม   ดิน  โคลน  หิน  ทราย  ต้นไม้  ที่ไหลมาตามกระแสน้ำได้พัดพาบ้านเรือน  ทรัพย์สิน  ไร่นา   เสียหายประมาณ 30  ครัวเรือน  ระดับน้ำท่วมสูงประมาณ  2 เมตร

สภาพความเสียหายที่บ้านยางหลวงในปี 2545 

จากหนังสือบันทึก ‘เล่าขานตำนานเมืองแจ๋ม’ ตีพิมพ์ในปี 2546  โดยฝอยทอง  สมบัติ  ชาวแม่แจ่ม  ซึ่งได้บันทึกเหตุการณ์ภัยพิบัติที่บ้านหลวงในครั้งนั้นว่า...

“ผู้เขียนได้ไปดูที่เกิดเหตุ  เห็นแล้วน่าสลดใจ  เพราะไม่ใช่น้ำท่วมธรรมดา  แต่เป็นการถล่มทลายของดอย (ภูเขา) ต้นน้ำ      จึงทำให้มีทั้งต้นไม้ใหญ่น้อย  หิน  ดิน  ทราย  ทะลักทลายเข้าทับถมบ้านเรือนเสียหายหลายสิบหลังคาเรือน  แม้ผู้คนจะรอดชีวิต      แต่สิ่งที่ได้ล่องลอยไปพร้อมกับน้ำคือความสูญเสียด้านจิตใจของผู้ที่หนีตายในวันเกิดเหตุ...บางคนเหม่อลอย  แต่ละคนแม้ไม่ถึงขั้นสติฟั่นเฟือน  แต่ก็มีสภาพจิตใจที่ย่ำแย่สับสน  บางคนเหม่อลอย  ไม่มีกะจิตกะใจจะฟื้นฟูสภาพบ้านตัวเอง...”

สำราญ  กุลนันท์  ผู้ใหญ่บ้าน  เล่าว่า  พอเกิดภัยพิบัติในครั้งนั้น   ทางหน่วยงานราชการต่างๆ  ได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้ามาให้ความช่วยเหลือชาวบ้าน   แต่ชาวบ้านก็ยังหวาดผวากับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น  เมื่อฟื้นฟูพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายแล้ว  ในปีต่อมา       ตนและชาวบ้าน 8  ครอบครัวจึงอพยพจากบ้านยางหลวงขึ้นมาหาพื้นที่ปลูกบ้านบนบริเวณสันดอย ‘ม่อนบ่อเฮาะ’ ซึ่งเป็นพื้นที่สูง  เดิมเป็นไร่ข้าวโพด  อยู่ห่างจากที่เดิมประมาณ  2-3 กิโลเมตร

“พอปี  2548   เกิดน้ำท่วมเพราะน้ำป่าไหลลงมาท่วมที่เดิมอีก  ชาวบ้านยางหลวงหลายครอบครัวจึงทยอยย้ายขึ้นมาอยู่ที่ม่อนบ่อเฮาะ  โดยเฉพาะครอบครัวที่มีคนแก่คนเฒ่า  มีเด็กเล็ก  เพราะกลัวอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับครอบครัว  แต่ก็มีอีกหลายครอบครัวที่ยังไม่อยากจะย้ายขึ้นมา  เพราะคิดว่าเหตุการณ์น้ำท่วม  น้ำป่าอาจจะไม่ได้มีทุกปี   อีกทั้งการย้ายบ้านเรือนก็เป็นเรื่องที่ยุ่งยาก   ที่ดินที่จะสร้างบ้านใหม่ก็ไม่มี”  สำราญบอกเหตุผล

ผู้ใหญ่สำราญกับซากความเสียหาย

ที่ดินบริเวณม่อนบ่อเฮาะซึ่งเป็นไร่ข้าวโพดนั้น   เป็นที่ดินที่มีผู้ครอบครองอยู่ก่อน ( ‘ม่อนบ่อเฮาะ’ สมัยโบราณเป็นดินแดนของชาวลัวะ ยังไม่ทราบความหมายชื่อที่แน่ชัด)   เมื่อชาวบ้านยางหลวงอพยพจากหมู่บ้านเดิมขึ้นมาอยู่ที่ม่อนบ่อเฮาะก็ต้องขอซื้อที่ดินจากผู้ที่จับจองปลูกข้าวโพดอยู่ก่อน   ราคาประมาณไร่ละ 10,000 บาท   แต่เนื่องจากที่ดินบนม่อนบ่อเฮาะมีเนื้อที่ไม่มากนัก  ชาวบ้านที่ย้ายขึ้นมาปลูกบ้านจึงต้องแบ่งปันที่ดินกัน   รายละประมาณ 1 งาน  หรือ 100 ตารางวา   พอได้ปลูกบ้านอยู่อาศัย  ปลูกผักสวนครัว  และเลี้ยงสัตว์เล็กๆ น้อยๆ

สร้างบ้านแปงเมืองที่ม่อนบ่อเฮาะ

หลังเหตการณ์น้ำป่าในปี 2548  สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) หรือ ‘พอช.’ สำนักงานภาคเหนือ  ได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้ามาทำงานร่วมกับชาวบ้าน   สนับสนุนให้ชาวบ้านรวมกลุ่มกันแก้ไขปัญหา  โดยเฉพาะการสร้างบ้าน  สร้างชุมชนใหม่ที่ม่อนบ่อเฮาะเพื่อไม่ต้องเผชิญกับภัยพิบัติจากธรรมชาติอีก

ปี 2549  ชาวบ้านยางหลวงที่ทยอยย้ายขึ้นมาปลูกสร้างบ้านเรือนที่ม่อนบ่อเฮาะได้รวมตัวกันจัดทำโครงการ ‘บ้านมั่นคงชนบทม่อนบ่อเฮาะ’ ที่ พอช. ให้การสนับสนุน (พอช.เริ่มโครงการบ้านมั่นคงทั่วประเทศในปี 2546) มีชาวบ้านเข้าร่วมโครงการในช่วงแรกรวม 48  ครอบครัว  ได้รับงบสนับสนุนสินเชื่อครัวเรือนละ 50,000 บาทจาก พอช. เพื่อก่อสร้างบ้านใหม่  และสินเชื่อครัวเรือนละ 20,000 บาทกรณีที่ต่อเติมบ้าน  ผ่อนชำระปีละ 3,000 บาท

“ชาวบ้านใช้เงินสร้างบ้านกันไม่มาก  เพราะใช้ไม้เก่า  ใช้หลังคาที่รื้อย้ายมา  แล้วแต่ละหลังชาวบ้านจะช่วยกันรื้อ  ช่วยกันสร้าง   ช่วยกันยกเสาและขึ้นโครง  ไม่ต้องเสียค่าจ้าง  ใช้เวลา 2-3 วัน  พอขึ้นโครงบ้านแต่ละหลังแล้ว   เจ้าของบ้านก็จะสร้างบ้านเอง  ให้ญาติพี่น้องมาช่วยกันสร้าง  บางหลังก็ต่อเติมไปเรื่อยๆ  จนแล้วเสร็จ”  ผู้ใหญ่บ้านม่อนบ่อเฮาะเล่าย้อนอดีต

ในการสร้างบ้าน  สร้างชุมชนใหม่ที่ม่อนบ่อเฮาะนั้น  ชาวบ้านมีข้อตกลงร่วมกันในการจัดระบบการจัดการที่ดินที่อยู่อาศัยในลักษณะกรรมสิทธิ์ร่วม  และเพื่อปกป้องที่ดินเอาไว้ให้ลูกหลาน  เช่น  ห้ามขายที่ดินให้แก่บุคคลภายนอก  ที่ดินสามารถตกทอดทางมรดกให้แก่ครอบครัว  หากมีการซื้อขายที่ดินภายในชุมชนจะต้องผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการชุมชน   มีการจัดทำผังชุมชน   แบ่งพื้นที่ชุมชนออกเป็นพื้นที่ใช้สอยต่างๆ  เช่น   พื้นที่สร้างวัด  ศูนย์เด็กเล็ก  ศาลาประชาคม  ที่อยู่อาศัยและทำกิน   ฯลฯ

นอกจากนี้   จากประสบการณ์ที่ชาวบ้านเคยประสบปัญหาน้ำท่วมมาหลายครั้ง  ทำให้พวกเขามองเห็นความสำคัญในการดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  เช่น  กันพื้นที่เพื่อสงวนไว้เป็นป่าชุมชน  เนื้อที่ประมาณ 120 ไร่  สร้างและซ่อมแซมเหมืองฝายเพื่อให้มีน้ำใช้ตลอดปี   จัดตั้งเขตอนุรักษ์พันธุ์ปลาในน้ำแม่แจ่ม  โดยใช้พิธีกรรมและความเชื่อถือศรัทธาทางศาสนาเป็นเครื่องมือ  สร้างกฎระเบียบให้ชาวชุมชนช่วยกันดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม  ฯลฯ

ช่วยกันสร้างบ้านใหม่ที่ม่อนบ่อเฮาะ

สร้างกองทุนสวัสดิการ-บ้านมั่นคง

นอกจากการอพยพขึ้นมาจากบ้านยางหลวงเพื่อสร้างบ้านมั่นคงที่ม่อนบ่อเฮาะในช่วงปี 2549-2550   แล้ว  ในเวลาเดียวกันนั้น  พอช.ได้สนับสนุนให้ชาวม่อนบ่อเฮาะจัดตั้งกองทุนเพื่อช่วยเหลือกันอีกหลายกองทุน  เช่น  กองทุนสวัสดิการชุมชน  หรือ ‘กองทุนวันละ 1   บาท’  มีสมาชิกเริ่มต้น 60 คน  (ตามจำนวนครัวเรือนที่ย้ายขึ้นมาที่ม่อนบ่อเฮาะในช่วงนั้น)  เพื่อช่วยเหลือสมาชิกในยามที่เดือดร้อนจำเป็นสวัสดิการ

เช่น  คลอดบุตร  ช่วยเหลือ 500 บาท  เจ็บป่วยนอนโรงพยาบาล  ช่วยเหลือคืนละ 100   บาท  ปีหนึ่งไม่เกินคนละ 1,000 บาท,   เสียชีวิต  เป็นสมาชิก 1   ปีขึ้นไป  ช่วยเหลือไม่เกิน 10,000 บาท  และช่วยเหลือภัยพิบัติตามความเหมาะสม  ปัจจุบันกองทุนมีสมาชิกทั้งหมดประมาณ  300 คน  มีเงินกองทุนประมาณ 400,000 บาท 

‘กลุ่มออมทรัพย์หมู่บ้านมั่นคงม่อนบ่อเฮาะ’ จัดตั้งในปี 2549 พร้อมกับกองทุนสวัสดิการชุมชน  โดยให้สมาชิกออมเงินเข้ากลุ่มเป็นรายเดือนอย่างน้อยเดือนละ 30 บาท  สามารถกู้ยืมเพื่อสร้าง  ซ่อมแซมบ้านได้ไม่เกินรายละ 25,000 บาท  คิดดดอกเบี้ยร้อยละ 1 บาท  ผ่อนชำระคืนปีละ 3,000 บาท  ระยะเวลาไม่เกิน 8 ปี   กู้ยืมประกอบอาชีพ  ไม่เกินรายละ 15,000 บาท  ดอกเบี้ยร้อยละ 1 บาท  ชำระคืนภายใน 6 เดือน  (ปัจจุบันช่วยเหลือให้สมาชิกกู้ยืมแก้ไขความเดือดร้อน  รวมเป็นเงินประมาณ 1.5 ล้านบาท  มีเงินสดหมุนเวียนประมาณ 5 แสนบาท)

นับจากภัยพิบัติที่บ้านยางหลวงในปี 2545  บัดนี้เป็นเวลาเกือบ 20 ปีที่พวกเขาย้ายครอบครัวมาอยู่ที่ม่อนบ่อเฮาะ (ปัจจุบันมี 74 ครอบครัว  ประมาณ 300 คน)  ทำให้พวกเขามีที่อยู่อาศัยที่มั่นคง  ปลอดภัย  มีกองทุนต่างๆ เอาไว้ช่วยเหลือดูแลกัน  ทั้งยังช่วยกันดูแลป่าเขาและแม่น้ำ ถือเป็นหมู่บ้านต้นแบบแห่งหนึ่งของอำเภอแม่แจ่มที่ชาวบ้านได้ช่วยกันพลิกฟื้นหมู่บ้านที่เคยล่มจมเพราะภัยพิบัติ...และช่วยกันสร้างบ้านแปงเมืองขึ้นมาใหม่...!!

(ติดตามอ่านตอนต่อไป...”จากม่อนบ่อเฮาะ...สู่แม่แจ่มโมเดล...การพัฒนาที่ยั่งยืน”)

ม่อนบ่อเฮาะในปัจจุบัน

***************

เรื่องและภาพ : สำนักพัฒนานวัตกรรมชุมชนจัดการความรู้และสื่อสาร  สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน)  กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

อำเภอแม่แจ่มมีช่างทอผ้าซิ่นตีนจกที่มีชื่อเสียง มีวัฒนธรรมประเพณีหลากหลายชาติพันธุ์  ทุกปีจะมีการจัดงาน ‘มหกรรมผ้าซิ่นตีนจกและวัฒนธรรมชนเผ่าอำเภอแม่แจ่ม’

นอกจากแม่แจ่มจะร่ำรวยไปด้วยธรรมชาติ  ศิลปะ  วัฒนธรรม  ประเพณี มีรากเหง้าความเป็นมาของผู้คนที่หลากหลายน่าสนใจแล้ว แม่แจ่มยังเคยผ่านช่วงวิกฤต...ความยากลำบากมาหลายครั้ง พวกเขาต้องดิ้นรนต่อสู้เพื่อความอยู่รอด...จนก้าวเข้าสู่ยุคสร้างบ้านแปงเมืองในปัจจุบัน...

(อ่านตอนที่ 1  รากเหง้า...วิถี...และสีสัน ‘มนต์เมืองแจ๋ม’ https://www.thaipost.net/public-relations-news/507537/)

‘ขัวโตงเตง’ สะพานแขวนข้ามน้ำแม่แจ่ม

แม่แจ่มยุคเมืองปิด

อำเภอแม่แจ่ม  จ.เชียงใหม่  ตั้งอยู่บนเทือกเขาถนนธงชัย  อยู่ด้านหลังดอยอินทนนท์  ล้อมรอบไปด้วยขุนเขา  มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 500 เมตร อยู่ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ราว  123  กิโลเมตร  มีน้ำแม่แจ่มที่ไหลมาจากดอยอินทนนท์เป็นแม่น้ำสายหลัก  

ในอดีตอำเภอแม่แจ่มถือว่าเป็นพื้นที่ทุรกันดาร  การเดินทางยากลำบาก  ต้องใช้ทางเกวียน  หากเดินเท้าจากแม่แจ่มจะไปเชียงใหม่  จะต้องเลาะป่าฝ่าดงไปที่จอมทองก่อน (ระยะทางปัจจุบันประมาณ 70 กิโลเมตร) ใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 3 วัน 2 คืน  จากนั้นจะมีรถบรรทุกโดยสารไปเชียงใหม่ 

นอกจากการติดต่อกับโลกภายนอกจะยากลำบากแล้ว  ข้าวปลาอาหารก็ยังขาดแคลน  ราษฎรจึงพากันอพยพครอบครัวไปอยู่ถิ่นอื่นที่มีความอุดมสมบูรณ์กว่า  ทำให้ประชากรลดน้อยลง   

ในปี พ.ศ. 2481  ทางราชการจึงลดฐานะอำเภอแม่แจ่มลงเป็นกิ่งอำเภอ  ขึ้นกับอำเภอจอมทอง  แต่การเดินทางไปติดต่อกับราชการที่อำเภอจอมทองก็ยังไกลโพ้นเช่นกัน  ต่อมาในปี  พ.ศ.2499  ทางราชการได้ยกขึ้นเป็นอำเภอแม่แจ่ม  เพื่อให้ประชาชนเกิดความสะดวกในการติดต่อกับทางราชการ

ราวปี 2505 อำเภอแม่แจ่มได้เกณฑ์ชาวบ้านมาช่วยกันถากถางเส้นทางสร้างถนนเข้าสู่อำเภอ  เมื่อถนนแล้วเสร็จในปีต่อมา  จึงเริ่มมีรถยนต์จากเชียงใหม่เข้าสู่แม่แจ่ม  ทำให้การติดต่อเดินทางสะดวกมากขึ้น...แม่แจ่มไม่กลายเป็นเมืองปิดอีกต่อไป...

จิตรกรรมฝาผนังที่วัดป่าแดด ต.ท่าผา  ฝีมือช่างท้องถิ่น  เขียนในราวปี พ.ศ. 2432 แสดงวิถีชีวิตคนแม่แจ่มในยุคนั้น

ภัยพิบัติที่ ‘บ้านยางหลวง’ ยุคเริ่มต้นการพัฒนา

อำเภอแม่แจ่มมีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 1.7 ล้านไร่  พื้นที่ส่วนใหญ่กรมป่าไม้ได้ประกาศเป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติ  ทำให้ชาวบ้านเกือบทั้งหมดไม่มีเอกสารสิทธิ์ครอบครองที่ดิน  แบ่งการปกครองเป็น 10 ตำบล  106 หมู่บ้าน  ประชากรประมาณ 60,000 คน  มีทั้งคนเมือง (ล้านนา)  กลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ (กะเหรี่ยง) ม้ง  ลัวะ ลีซู  ฯลฯ  อาชีพหลักปลูกข้าวโพด  กะหล่ำปลี  ถั่วเหลือง   ข้าวไร่  ฯลฯ

ในเดือนกันยายนปี 2545  เกิดเหตุการณ์น้ำป่าจากดอยอินทนนท์ไหลหลาก  ดินโคลนจากภูเขาไหลถล่มลงสู่น้ำแม่แจ่มและน้ำแม่แรก เกิดผลกระทบต่อชาวแม่แจ่มหลายพื้นที่  แต่ที่บ้านยางหลวง  ต.ท่าผา  ที่อยู่ห่างจากตัวอำเภอแม่แจ่มประมาณ 4 กิโลเมตร  ได้รับความเสียหายมากที่สุด  เพราะเป็นที่ลุ่มและอยู่ติดกับน้ำแม่แรกซึ่งเป็นน้ำสาขาแม่แจ่ม   ดิน  โคลน  หิน  ทราย  ต้นไม้  ที่ไหลมาตามกระแสน้ำได้พัดพาบ้านเรือน  ทรัพย์สิน  ไร่นา   เสียหายประมาณ 30  ครัวเรือน  ระดับน้ำท่วมสูงประมาณ  2 เมตร

สภาพความเสียหายที่บ้านยางหลวงในปี 2545 

จากหนังสือบันทึก ‘เล่าขานตำนานเมืองแจ๋ม’ ตีพิมพ์ในปี 2546  โดยฝอยทอง  สมบัติ  ชาวแม่แจ่ม  ซึ่งได้บันทึกเหตุการณ์ภัยพิบัติที่บ้านหลวงในครั้งนั้นว่า...

“ผู้เขียนได้ไปดูที่เกิดเหตุ  เห็นแล้วน่าสลดใจ  เพราะไม่ใช่น้ำท่วมธรรมดา  แต่เป็นการถล่มทลายของดอย (ภูเขา) ต้นน้ำ      จึงทำให้มีทั้งต้นไม้ใหญ่น้อย  หิน  ดิน  ทราย  ทะลักทลายเข้าทับถมบ้านเรือนเสียหายหลายสิบหลังคาเรือน  แม้ผู้คนจะรอดชีวิต      แต่สิ่งที่ได้ล่องลอยไปพร้อมกับน้ำคือความสูญเสียด้านจิตใจของผู้ที่หนีตายในวันเกิดเหตุ...บางคนเหม่อลอย  แต่ละคนแม้ไม่ถึงขั้นสติฟั่นเฟือน  แต่ก็มีสภาพจิตใจที่ย่ำแย่สับสน  บางคนเหม่อลอย  ไม่มีกะจิตกะใจจะฟื้นฟูสภาพบ้านตัวเอง...”

สำราญ  กุลนันท์  ผู้ใหญ่บ้าน  เล่าว่า  พอเกิดภัยพิบัติในครั้งนั้น   ทางหน่วยงานราชการต่างๆ  ได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้ามาให้ความช่วยเหลือชาวบ้าน   แต่ชาวบ้านก็ยังหวาดผวากับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น  เมื่อฟื้นฟูพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายแล้ว  ในปีต่อมา       ตนและชาวบ้าน 8  ครอบครัวจึงอพยพจากบ้านยางหลวงขึ้นมาหาพื้นที่ปลูกบ้านบนบริเวณสันดอย ‘ม่อนบ่อเฮาะ’ ซึ่งเป็นพื้นที่สูง  เดิมเป็นไร่ข้าวโพด  อยู่ห่างจากที่เดิมประมาณ  2-3 กิโลเมตร

“พอปี  2548   เกิดน้ำท่วมเพราะน้ำป่าไหลลงมาท่วมที่เดิมอีก  ชาวบ้านยางหลวงหลายครอบครัวจึงทยอยย้ายขึ้นมาอยู่ที่ม่อนบ่อเฮาะ  โดยเฉพาะครอบครัวที่มีคนแก่คนเฒ่า  มีเด็กเล็ก  เพราะกลัวอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับครอบครัว  แต่ก็มีอีกหลายครอบครัวที่ยังไม่อยากจะย้ายขึ้นมา  เพราะคิดว่าเหตุการณ์น้ำท่วม  น้ำป่าอาจจะไม่ได้มีทุกปี   อีกทั้งการย้ายบ้านเรือนก็เป็นเรื่องที่ยุ่งยาก   ที่ดินที่จะสร้างบ้านใหม่ก็ไม่มี”  สำราญบอกเหตุผล

ผู้ใหญ่สำราญกับซากความเสียหาย

ที่ดินบริเวณม่อนบ่อเฮาะซึ่งเป็นไร่ข้าวโพดนั้น   เป็นที่ดินที่มีผู้ครอบครองอยู่ก่อน ( ‘ม่อนบ่อเฮาะ’ สมัยโบราณเป็นดินแดนของชาวลัวะ ยังไม่ทราบความหมายชื่อที่แน่ชัด)   เมื่อชาวบ้านยางหลวงอพยพจากหมู่บ้านเดิมขึ้นมาอยู่ที่ม่อนบ่อเฮาะก็ต้องขอซื้อที่ดินจากผู้ที่จับจองปลูกข้าวโพดอยู่ก่อน   ราคาประมาณไร่ละ 10,000 บาท   แต่เนื่องจากที่ดินบนม่อนบ่อเฮาะมีเนื้อที่ไม่มากนัก  ชาวบ้านที่ย้ายขึ้นมาปลูกบ้านจึงต้องแบ่งปันที่ดินกัน   รายละประมาณ 1 งาน  หรือ 100 ตารางวา   พอได้ปลูกบ้านอยู่อาศัย  ปลูกผักสวนครัว  และเลี้ยงสัตว์เล็กๆ น้อยๆ

สร้างบ้านแปงเมืองที่ม่อนบ่อเฮาะ

หลังเหตการณ์น้ำป่าในปี 2548  สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) หรือ ‘พอช.’ สำนักงานภาคเหนือ  ได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้ามาทำงานร่วมกับชาวบ้าน   สนับสนุนให้ชาวบ้านรวมกลุ่มกันแก้ไขปัญหา  โดยเฉพาะการสร้างบ้าน  สร้างชุมชนใหม่ที่ม่อนบ่อเฮาะเพื่อไม่ต้องเผชิญกับภัยพิบัติจากธรรมชาติอีก

ปี 2549  ชาวบ้านยางหลวงที่ทยอยย้ายขึ้นมาปลูกสร้างบ้านเรือนที่ม่อนบ่อเฮาะได้รวมตัวกันจัดทำโครงการ ‘บ้านมั่นคงชนบทม่อนบ่อเฮาะ’ ที่ พอช. ให้การสนับสนุน (พอช.เริ่มโครงการบ้านมั่นคงทั่วประเทศในปี 2546) มีชาวบ้านเข้าร่วมโครงการในช่วงแรกรวม 48  ครอบครัว  ได้รับงบสนับสนุนสินเชื่อครัวเรือนละ 50,000 บาทจาก พอช. เพื่อก่อสร้างบ้านใหม่  และสินเชื่อครัวเรือนละ 20,000 บาทกรณีที่ต่อเติมบ้าน  ผ่อนชำระปีละ 3,000 บาท

“ชาวบ้านใช้เงินสร้างบ้านกันไม่มาก  เพราะใช้ไม้เก่า  ใช้หลังคาที่รื้อย้ายมา  แล้วแต่ละหลังชาวบ้านจะช่วยกันรื้อ  ช่วยกันสร้าง   ช่วยกันยกเสาและขึ้นโครง  ไม่ต้องเสียค่าจ้าง  ใช้เวลา 2-3 วัน  พอขึ้นโครงบ้านแต่ละหลังแล้ว   เจ้าของบ้านก็จะสร้างบ้านเอง  ให้ญาติพี่น้องมาช่วยกันสร้าง  บางหลังก็ต่อเติมไปเรื่อยๆ  จนแล้วเสร็จ”  ผู้ใหญ่บ้านม่อนบ่อเฮาะเล่าย้อนอดีต

ในการสร้างบ้าน  สร้างชุมชนใหม่ที่ม่อนบ่อเฮาะนั้น  ชาวบ้านมีข้อตกลงร่วมกันในการจัดระบบการจัดการที่ดินที่อยู่อาศัยในลักษณะกรรมสิทธิ์ร่วม  และเพื่อปกป้องที่ดินเอาไว้ให้ลูกหลาน  เช่น  ห้ามขายที่ดินให้แก่บุคคลภายนอก  ที่ดินสามารถตกทอดทางมรดกให้แก่ครอบครัว  หากมีการซื้อขายที่ดินภายในชุมชนจะต้องผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการชุมชน   มีการจัดทำผังชุมชน   แบ่งพื้นที่ชุมชนออกเป็นพื้นที่ใช้สอยต่างๆ  เช่น   พื้นที่สร้างวัด  ศูนย์เด็กเล็ก  ศาลาประชาคม  ที่อยู่อาศัยและทำกิน   ฯลฯ

นอกจากนี้   จากประสบการณ์ที่ชาวบ้านเคยประสบปัญหาน้ำท่วมมาหลายครั้ง  ทำให้พวกเขามองเห็นความสำคัญในการดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  เช่น  กันพื้นที่เพื่อสงวนไว้เป็นป่าชุมชน  เนื้อที่ประมาณ 120 ไร่  สร้างและซ่อมแซมเหมืองฝายเพื่อให้มีน้ำใช้ตลอดปี   จัดตั้งเขตอนุรักษ์พันธุ์ปลาในน้ำแม่แจ่ม  โดยใช้พิธีกรรมและความเชื่อถือศรัทธาทางศาสนาเป็นเครื่องมือ  สร้างกฎระเบียบให้ชาวชุมชนช่วยกันดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม  ฯลฯ

ช่วยกันสร้างบ้านใหม่ที่ม่อนบ่อเฮาะ

สร้างกองทุนสวัสดิการ-บ้านมั่นคง

นอกจากการอพยพขึ้นมาจากบ้านยางหลวงเพื่อสร้างบ้านมั่นคงที่ม่อนบ่อเฮาะในช่วงปี 2549-2550   แล้ว  ในเวลาเดียวกันนั้น  พอช.ได้สนับสนุนให้ชาวม่อนบ่อเฮาะจัดตั้งกองทุนเพื่อช่วยเหลือกันอีกหลายกองทุน  เช่น  กองทุนสวัสดิการชุมชน  หรือ ‘กองทุนวันละ 1   บาท’  มีสมาชิกเริ่มต้น 60 คน  (ตามจำนวนครัวเรือนที่ย้ายขึ้นมาที่ม่อนบ่อเฮาะในช่วงนั้น)  เพื่อช่วยเหลือสมาชิกในยามที่เดือดร้อนจำเป็นสวัสดิการ

เช่น  คลอดบุตร  ช่วยเหลือ 500 บาท  เจ็บป่วยนอนโรงพยาบาล  ช่วยเหลือคืนละ 100   บาท  ปีหนึ่งไม่เกินคนละ 1,000 บาท,   เสียชีวิต  เป็นสมาชิก 1   ปีขึ้นไป  ช่วยเหลือไม่เกิน 10,000 บาท  และช่วยเหลือภัยพิบัติตามความเหมาะสม  ปัจจุบันกองทุนมีสมาชิกทั้งหมดประมาณ  300 คน  มีเงินกองทุนประมาณ 400,000 บาท 

‘กลุ่มออมทรัพย์หมู่บ้านมั่นคงม่อนบ่อเฮาะ’ จัดตั้งในปี 2549 พร้อมกับกองทุนสวัสดิการชุมชน  โดยให้สมาชิกออมเงินเข้ากลุ่มเป็นรายเดือนอย่างน้อยเดือนละ 30 บาท  สามารถกู้ยืมเพื่อสร้าง  ซ่อมแซมบ้านได้ไม่เกินรายละ 25,000 บาท  คิดดดอกเบี้ยร้อยละ 1 บาท  ผ่อนชำระคืนปีละ 3,000 บาท  ระยะเวลาไม่เกิน 8 ปี   กู้ยืมประกอบอาชีพ  ไม่เกินรายละ 15,000 บาท  ดอกเบี้ยร้อยละ 1 บาท  ชำระคืนภายใน 6 เดือน  (ปัจจุบันช่วยเหลือให้สมาชิกกู้ยืมแก้ไขความเดือดร้อน  รวมเป็นเงินประมาณ 1.5 ล้านบาท  มีเงินสดหมุนเวียนประมาณ 5 แสนบาท)

นับจากภัยพิบัติที่บ้านยางหลวงในปี 2545  บัดนี้เป็นเวลาเกือบ 20 ปีที่พวกเขาย้ายครอบครัวมาอยู่ที่ม่อนบ่อเฮาะ (ปัจจุบันมี 74 ครอบครัว  ประมาณ 300 คน)  ทำให้พวกเขามีที่อยู่อาศัยที่มั่นคง  ปลอดภัย  มีกองทุนต่างๆ เอาไว้ช่วยเหลือดูแลกัน  ทั้งยังช่วยกันดูแลป่าเขาและแม่น้ำ ถือเป็นหมู่บ้านต้นแบบแห่งหนึ่งของอำเภอแม่แจ่มที่ชาวบ้านได้ช่วยกันพลิกฟื้นหมู่บ้านที่เคยล่มจมเพราะภัยพิบัติ...และช่วยกันสร้างบ้านแปงเมืองขึ้นมาใหม่...!!

(ติดตามอ่านตอนต่อไป...”จากม่อนบ่อเฮาะ...สู่แม่แจ่มโมเดล...การพัฒนาที่ยั่งยืน”)

ม่อนบ่อเฮาะในปัจจุบัน

***************

เรื่องและภาพ : สำนักพัฒนานวัตกรรมชุมชนจัดการความรู้และสื่อสาร  สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน)  กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

โฆษกศปช. เผยกรณี 'น้ำผุด' อ.เชียงดาว มอบหน่วยงานลงพื้นที่ศึกษาแนวทางใช้ประโยชน์

นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรีและโฆษกศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (ศปช.) เปิดเผยว่า ตามที่ ศปช. ได้เคยประกาศแจ้งเตือนให้ประชาชนในพื้นที่ภาคใต้เฝ้าระวังฝนตกหนักในพื้นที่ระหว่างวันที่ 20-24 พ.ย.ไปแล้วก่อนหน้านี้

สาวไทยแพ็คกระเป๋า แอ่วเหนือไปพร้อมกับเจ้าของรอยยิ้มพิฆาต 'คิม ซอน โฮ'

ทรูวิชั่นส์ นาว เอาใจสาวไทย ที่หลงรักในรอยยิ้มกระชากใจของเขยไทยอย่าง “คิม ซอน โฮ” ที่ครั้งนี้จะรับบทแขกรับเชิญพิเศษ พาสาว ๆ ไปออกเดท ท่องเที่ยวกันแบบชุ่มปอดที่ภาคเหนือของประเทศไทย ในรายการ “Brothers who eat and watch S2” (คู่หูตะลุยพาชิม ปี 2) ที่มีพิธีกรหลักดำเนินรายการอย่าง “คิมจุนฮยอน” และ “มุนเชยุน”