“พิพัฒน์”เผยความคืบหน้าแรงงานไทยจากอิสราเอลยื่นขอรับเงินเยียวยา 50,000 บาท แล้ว 7,622 ราย คิดเป็น 78.60 %

รมว.แรงงาน “พิพัฒน์”เผยความคืบหน้าแรงงานไทยจากอิสราเอลยื่นขอรับเงินเยียวยา 50,000 บาท แล้ว 7,622 ราย คิดเป็น 78.60 % ด้านปลัดแรงงาน ยัน เร่งดำเนินการด้านสิทธิประโยชน์ต่างๆ อย่างเต็มที่

วันที่ 27 ธันวาคม 2566 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า หลังจากที่กระทรวงแรงงานได้เปิดให้แรงงานไทยจากอิสราเอลมายื่นคำร้องเพื่อขอรับเงินเยียวยาแรงงานไทยจากสถานการณ์ความไม่สงบในอิสราเอล รายละ 50,000 บาท ได้ที่กระทรวงแรงงาน ถนนมิตรไมตรี ดินแดง และสำนักงานแรงงานจังหวัดทุกจังหวัด ตั้งแต่วันที่ 18 ธันวาคม 2566 ที่ผ่านมานั้น ความคืบหน้าขณะนี้ พบว่า มีผู้มายื่นคำร้องแล้ว จำนวน 7,622 ราย จากจำนวนทั้งหมด 9,697 คน คิดเป็น 78.60 % แยกเป็น กรณีมายื่นด้วยตนเอง 7,575 ราย กรณีเสียชีวิต 22 ราย กรณี Re-Entry 25 ราย

ส่วนจังหวัด 5 อันดับแรกที่ผู้มายื่นคำร้องมากที่สุด คือ อุดรธานี 1,061 ราย รองลงมา คือ เชียงราย 932 ราย นครพนม 595 ราย นครราชสีมา 470 ราย น่าน 421 ราย ตามลำดับ ในส่วนของกรุงเทพมหานคร มีผู้มายื่นที่ศูนย์ช่วยเหลือแรงงานและติดตามสถานการณ์ความไม่สงบในอิสราเอล กระทรวงแรงงาน ชั้น 1 อาคารกระทรวงแรงงาน ถนนมิตรไมตรี จำนวน 282 ราย

“ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เห็นชอบอนุมัติงบกลางปี 2566 วงเงิน 750 ล้านบาท เพื่อใช้จ่ายโครงการเยียวยาแรงงานไทยที่ขาดรายได้ จากสถานการณ์ความไม่สงบในอิสราเอล ประมาณการไว้ 15,000 คน โดยจะจ่ายให้คนละ 50,000 บาท ประกอบด้วย แรงงานที่เดินทางไปทำงานและกลับไทยหลังวันที่ 7 ต.ค.2566 แรงงานที่เสียชีวิตจากสถานการณ์ความไม่สงบ แรงงานที่เดินทางไปทำงานและกลับก่อนวันที่ 7 ต.ค. โดยใช้ Re-entry Visa แต่ไม่สามารถเดินทางกลับไปทำงานที่อิสราเอลได้เนื่องจากถูกชะลอไว้ แรงงานไทยที่คาดว่าจะเดินทางกลับเพิ่มเติมรวมถึงแรงงานที่ถูกจับเป็นตัวประกัน ระยะเวลาดำเนินการ ตั้งแต่ ธันวาคม 2566 – กันยายน 2567 หรือจนกว่าจะดำเนินการจ่ายเงินเยียวยาแล้วเสร็จ

ด้าน นายไพโรจน์ โชติกเสถียร ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า ในส่วนของแรงงานไทยที่ได้ยื่นเอกสารไว้กับทางกระทรวงแรงงานและได้ติดต่อสอบถามมายังกระทรวงแรงงานถึงเรื่องที่ยังไม่ได้รับเงินค่าเดินทางกลับจากอิสราเอลนั้น เกี่ยวกับความคืบหน้าเรื่องนี้ ขอแจ้งให้ทราบว่า ขณะนี้ กระทรวงแรงงานได้จัดส่งเอกสารคำขอดังกล่าวไปยังกรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ พิจารณาแล้ว 4,086 ราย จากจำนวนผู้มายื่นคำขอรับเงินค่าพาหนะ เดินทางกลับไทย 4,359 ราย
ในขณะที่มีผู้ยื่นคำร้องขอรับสิทธิประโยชน์กองทุนเพื่อช่วยเหลือคนหางานไปทำงานในต่างประเทศ ทั้งหมดจำนวน 9,740 ราย วินิจฉัยสั่งจ่ายไปแล้ว 9,540 คน จำแนกเป็น กรณีเสียชีวิต 40,000 บาท จำนวน 36 คน กรณีบาดเจ็บ 30,000 บาท จำนวน 18 คน กรณีสงคราม 15,000 บาท จำนวน 9,486 คน คิดเป็นเงิน 144,270,000 บาท

"การดำเนินการจ่ายเงินช่วยเหลือตามข้อสั่งการของท่านพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เจ้าหน้าที่ได้เร่งทำงานอย่างเต็มที่เพื่อให้การจ่ายสิทธิประโยชน์กองทุนเพื่อช่วยเหลือคนหางานไปทำงานในต่างประเทศ เป็นไปด้วยความรวดเร็ว ซึ่งเราจะเร่งดำเนินการให้เร็วที่สุด จนกว่าแรงงานไทยจะได้รับสิทธิครบทุกราย อย่างไรก็ดี ในการยื่นคำร้องขอรับค่าเดินทางกลับจากอิสราเอลนั้น กระทรวงแรงงานจะทำหน้าที่รับเรื่องของคนไทยทุกคนที่เดินทางกลับประเทศไทยเนื่องจากเหตุการณ์ความไม่สงบในอิสราเอล ทั้งกลุ่ม นักเรียน นักศึกษา และแรงงานไทย ซึ่งขณะนี้ได้จัดส่งเอกสารให้กระทรวงการต่างประเทศเป็นผู้พิจารณาค่าชดเชย/ค่าใช้จ่าย โดยหลังจากยื่นเอกสารกับกระทรวงแรงงานแล้ว” นายไพโรจน์ กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

“พิพัฒน์”ลงใต้ มุ่งความปลอดภัย อุบัติเหตุเป็นศูนย์ในทุกกิจการ เน้นธุรกิจท่องเที่ยวและสถานบันเทิง

วันที่ 3 กรกฎาคม 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานในพิธีเปิดงานสัมมนาวิชาการด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยในส่วนภูมิภาค จังหวัดสงขลา ประจำปี 2567 และมอบโล่ประกาศเกียรติคุณแก่สถานประกอบกิจการที่ผ่านเกณฑ์พิจารณากิจกรรมการรณรงค์ลดสถิติอุบัติเหตุจากการทำงานให้เป็นศูนย์ประจำปี 2567

“พิพัฒน์” ช่วยลูกจ้างถูกเลิกจ้าง ขยายเพดานยกเว้นภาษีค่าชดเชย เป็น 6 แสนบาท ใช้บังคับย้อนหลังตั้งแต่ 1 ม.ค. 66

นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เผยผลการดำเนินการตามข้อเรียกร้องวันแรงงานแห่งชาติสำเร็จ ผลักดันกฎหมายช่วยลูกจ้างเดือดร้อนจากการถูกเลิกจ้าง

ข่าวดี! รับสมัครด่วน ทำงานเกาหลี เดือนละ 5.79 หมื่นบาท

นายคารม พลพรกลาง รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ขอแจ้งข่าวดี โอกาสมาถึงแล้ว สำหรับแรงงานไทยที่ต้องการทำงานภาคประมงตามฤดูกาล ด้วยวีซ่า E – 8

“อารี” ประธาน เปิดงานสัมมนาสหกรณ์ออมทรัพย์และเครดิตยูเนี่ยนในสถานประกอบกิจการและรัฐวิสาหกิจ ย้ำเสริมสร้างวินัยการออม เป็นแหล่งเงินกู้ไว้ใช้เมื่อจำเป็น

วันที่ 20 มิถุนายน 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน มอบหมายให้ นายอารี ไกรนรา เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน