Regulate to elevate : บทบาทของกฎหมายกับการพัฒนาด้านสังคมและเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน

โลกหลังจากวิกฤติโควิด-19 ประชาชนหันมาให้ความสนใจในการพัฒนาด้านสังคมและเศรษฐกิจด้วยแนวคิดความยั่งยืนเป็นหลักการสำคัญ การจัดทำนโยบายแห่งรัฐและกระบวนการกฎหมายจึงจำเป็นต้องปรับปรุงโดยคำนึงถึงเหตุปัจจัยด้านการรักษาสิ่งแวดล้อมและการธำรงความยุติธรรมและความเท่าเทียมในสังคม นอกจากนั้น ยังมีแนวคิดในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่มาปรับใช้ในการออกกฎหมายและบังคับให้เป็นไปตามกฎหมายอีกด้วย ประเด็นสำคัญต่าง ๆ เหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของการประชุมเครือข่ายร่วมอาเซียน OECD เรื่อง แนวปฏิบัติด้านการกฎหมายที่ดี หรือ ASEAN-OECD Good Regulatory Practice Network Meeting ซึ่งปีนี้จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 8 และเป็นครั้งที่ 2 ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพ ภายใต้หัวข้อการประชุมในคราวนี้เป็นเรื่อง การยกระดับคุณภาพกฎหมายและบทบาทของนโยบายกฎหมายเพื่อสนับสนุนการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Regulate to elevate: The role of regulatory policy in promoting sustainable development)

เครือข่าย ASEAN-OECD GRPN ประกอบด้วย ผู้แทนรัฐบาลประเทศสมาชิกอาเซียนและประเทศสมาชิก OECD ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญและมีหน้าที่ความรับผิดชอบพัฒนานโยบายด้านกฎหมายและกฎระเบียบของแต่ละประเทศ และมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีให้สมาชิกเครือข่ายมีโอกาสแลกเปลี่ยนแนวปฏิบัติที่ประสบความสำเร็จ บทเรียน หรือองค์ความรู้อื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการพัฒนากฎหมายให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล และสอดคล้องกับคำแนะนำและแนวปฏิบัติของอาเซียนและ OECD โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พิมพ์เขียวด้านเศรษฐกิจของประชาคมอาเซียน หรือ ASEAN Community Economic Blueprint และคำแนะนำของสภาประเทศสมาชิก OECD เรื่อง นโยบายกฎหมายและ   ธรรมาภิบาล

(คลิกเพื่อชมภาพประกอบ https://shorturl.asia/opkq7)

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาในฐานะหน่วยงานด้านกฎหมายของประเทศไทย ให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพกฎหมายมาโดยตลอด สำนักงานฯ เป็นหน่วยงานหลักในการนำหลักการมีกฎหมายที่ดี (Better Regulation Principle) ที่ปรากฏในมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญ และพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 มาบังคับใช้อย่างเป็นรูปธรรม ในปัจจุบัน หน่วยงานของรัฐที่ต้องการเสนอร่างกฎหมาย ต้องวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดจากการบังคับใช้กฎหมาย (Regulatory Impact Assessment – RIA) พร้อมทั้งสอบถามความเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้องผ่านระบบกลางทางกฎหมาย หรือ law.go.th เป็นอย่างน้อย และหน่วยงานผู้รับผิดชอบมีหน้าที่ประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายในความรับผิดชอบของตนภายในระยะเวลาที่กำหนด  นอกจากนั้น ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2566 ที่ผ่านมา หน่วยงานของรัฐมีหน้าที่จัดทำ RIA ประกอบการออกกฎที่ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของประชาชนหรือการประกอบธุรกิจอีกด้วย ซึ่งเป็นการปรับปรุงแนวปฏิบัติของไทยให้สอดคล้องกับคำแนะนำของ OECD มากขึ้น

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ภารกิจของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาในการยกเลิกกฎหมายที่หมดความจำเป็นหรือซ้ำซ้อนกับกฎหมายอื่น

กฎหมายคือเครื่องมือของรัฐในการกำหนดกฎเกณฑ์และแนวทางในการอยู่ร่วมกันของบุคคลในสังคม เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยภายในสังคม

นายกฯ นัดถก ก.ตร. หารือปมกฤษฎีกาตีความคำสั่ง 'บิ๊กโจ๊ก' ออกจากราชการ

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ นัดประชุมคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.)ครั้งที่ 4/2567 ณ ห้องประชุมศรียานนท์ ชั้น 2 อาคาร 1 สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาในบทบาทผู้ขับเคลื่อนการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย

การมีกฎหมายที่ดี มีคุณภาพและได้มาตรฐาน รวมทั้งสอดคล้องกับบริบทการพัฒนาประเทศซึ่งถือเป็นกลไกสำคัญที่จะส่งเสริมและยกระดับการพัฒนา ให้สามารถขับเคลื่อนประเทศสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

'วิรุตม์' สอนมวยกฤษฎีกา ชี้ 'โจ๊ก' ถูกให้ออกจากราชการ ตาม ม.131 ไม่เกี่ยว ม.120

พ.ต.อ.วิรุตม์ ศิริสวัสดิบุตร เลขาธิการสถาบันเพื่อการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม(สป.ยธ.) กล่าวว่า กรณีการตอบและตั้งข้อสังเกตตามหนังสือหารือของสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี

เปิดความเห็น 'กฤษฎีกา' กรณีสั่งให้ 'บิ๊กโจ๊ก' ออกจากราชการไว้ก่อน

มีการเผยแพร่บันทึกสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่องการดำเนินการเกี่ยวกับให้ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (รอง ผบ.ตร.) ออกจากราชการไว้ก่อน

'เศรษฐา' รอดยาก! จับตาเอกสารสลค.สำคัญที่สุดในการเข้าข่ายเลี่ยงกฎหมาย

นายพิชิต ไชยมงคล แกนนำเครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศไทย (คปท.) โพสต์เฟซบุ๊กว่า ยังไม่สิ้นกระบวนความ แม้ศาลรัฐธรรมนูญจะไม่รับฟ้อง พิชิต ชื่นบาน เพราะลาออกไปก่อน