จุดประกาย"ภาวะผู้นำ"นิสิตนักศึกษา ปลุกพลังคนรุ่นใหม่สร้างสังคมสุขภาวะ

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ 4 สถาบันการศึกษา ประกอบด้วย ม.ธรรมศาสตร์ ม.รังสิต ม.ศรีนครินทรวิโรฒ ม.ราชภัฏสวนสุนันทา บริษัท ครอสแอนด์เฟรนด์ จำกัด มูลนิธิเครือข่ายพัฒนาศักยภาพผู้นำการสร้างสุขภาวะ และสำนักงานเขตบางกอกใหญ่ จัดเวที “Wake us…ปลุกพลังคนรุ่นใหม่เพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคมเมือง” เพื่อพัฒนาเสริมศักยภาพคนรุ่นใหม่ นิสิต นักศึกษา ให้สามารถทำงานสร้างเสริมสุขภาพ ตอบสนองต่อความต้องการของตนเองและชุมชนเขตเมืองได้ ที่อาคารเรียนรู้สุขภาวะ สสส. เมื่อเร็วๆ นี้

ดร.ประกาศิต กายะสิทธิ์ รองผู้จัดการ สสส. กล่าวว่า  เราเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายของสังคมเชื่อมต่อด้านสิ่งแวดล้อม ที่จะต้องช่วยกันเปลี่ยนแปลง เราสร้างศักยภาพเตรียมความพร้อมบนเวทีนี้ตั้งแต่ตอนนี้ เมื่อเรียนจบทำงาน พร้อมที่จะเป็นพลังแฝงสำคัญในอนาคต สสส.เห็นความสำคัญของพลังคนรุ่นใหม่ เข้ามาเป็นหุ้นส่วน มีบทบาทขับเคลื่อนสังคม และสุขภาพร่วมกับภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ทั้งในระดับพื้นที่ ระดับชาติ และระดับสากล

"การรวมกลุ่มกันเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงในสังคม เพราะการทำงานภาครัฐมีลักษณะเป็นคอขวด เปลี่ยนแปลงระบบราชการได้ยาก การเปลี่ยนแปลงของบริบททางประชากร เศรษฐกิจ สังคมในพื้นที่เขตเมือง ทำให้ทิศทางขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาพต้องปรับตัวให้เท่าทัน"

ดร.ประกาศิตเปิดเผยว่า จุดเริ่มต้นเมื่อ สสส.เชิญชวนอาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ม.รังสิต, มศว (ประสานมิตร) กลุ่มพี่เลี้ยงมาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ทำงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อสังคมและสามารถอยู่รอดได้ สามารถเป็นโค้ชให้แก่รุ่นน้อง สร้างความผูกพันและความรับผิดชอบร่วมกัน ด้วยการพัฒนาเสริมสร้างศักยภาพคนรุ่นใหม่ให้เป็นผู้ประกอบการทางสังคมและชุมชน ต้องสร้างพื้นที่เรียนรู้ ปฏิบัติงานจริงในชุมชน การสร้างกลไกที่เกี่ยวกับภาควิชาการ ภาคประชาสังคม ให้คำปรึกษาโดยมีตัวชี้วัด

"ขณะนี้เขาขาดพื้นที่บ่มเพาะอย่างเป็นระบบ ตอนที่เราเรียนอยู่ในมหาวิทยาลัย การทำกิจกรรมการออกค่ายเป็นอารมณ์ทุกคนให้ความเอ็นดู เด็กออกมาทำงาน เมื่อทำผิดได้รับการยกเว้นยกโทษให้ คือข้อดีเมื่ออยู่ในวัยกำลังศึกษาเล่าเรียน เมื่อทำผิดพลาดทุกคนก็พร้อมที่จะให้อภัย พ่อแม่และครูพร้อมรับผิดเอง แต่เมื่อเรียนจบทำงานแล้ว เมื่อทำผิดพลาดจะแก้ตัวว่ายังเป็นเด็กหรือเพิ่งเริ่มต้นทำงานไม่ได้ แสดงว่าวุฒิภาวะไม่ถึง” ดร.ประกาศิตชี้แจง

“เตรียมความพร้อมเครือข่ายคนรุ่นใหม่ ให้สามารถเป็นผู้ประกอบการทางสังคมและสุขภาพนั้น ต้องเริ่มสร้างพื้นฐานเรียนรู้ตั้งแต่นิสิต นักศึกษา ผ่านกระบวนการและเครื่องมือที่หลากหลาย โดย สสส.พัฒนาระบบสนับสนุนที่เรียกว่า  ระบบการจัดการเรียนรู้เครือข่ายและการพัฒนาศักยภาพ มุ่งเน้นสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ร่วมรับผิดชอบ (Accountable Partners) และเสริมศักยภาพคนรุ่นใหม่ ผ่านการเรียนรู้และมีพื้นที่บ่มเพาะอย่างเป็นระบบ ในประเด็นสร้างเสริมสุขภาพ ลดปัจจัยเสี่ยงสุขภาพจิต สิ่งแวดล้อม กิจกรรมทางกาย กลุ่มเปราะบาง อาชีวอนามัยในชุมชน ฯลฯ สร้างการเปลี่ยนแปลงให้แก่สังคมได้จริง” ดร.ประกาศิตกล่าว

รศ.ดร.อารุญ เกตุสาคร รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะสาธารณสุขศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ ชี้แจงว่า ข้อมูลสถานการณ์ของชุมชน 3 แห่ง เขตสาทร กรุงเทพฯ พบว่าคนในชุมชนมีความต้องการ และข้อกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์สุขภาพและคุณภาพชีวิตของตน เช่น การดูแลช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางในชุมชน อนามัยสิ่งแวดล้อม และความปลอดภัยจากอัคคีภัยในชุมชน นอกจากนี้ คนในชุมชนยังอยากให้มีคนรุ่นใหม่มาชวนเด็ก เยาวชนในชุมชนทำกิจกรรมต่างๆ เพื่อดูแลสุขภาพของคนในชุมชน จึงร่วมกับ สสส.พัฒนากระบวนการและเครื่องมือ ที่จะทำให้คนรุ่นใหม่และคนในชุมชนทำงานสร้างเสริมสุขภาพร่วมกันได้จริง

“เรามีความเชื่อในศักยภาพของคนรุ่นใหม่ สสส.และทีมหยิบยื่นโอกาสในพื้นที่ เพื่อจะได้มีช่องทางในการดึงศักยภาพเปลี่ยนแปลงสังคมให้ดีขึ้น มีความสนใจ การที่คนรุ่นใหม่เข้ามาร่วมกันทำงานสร้างเครือข่ายเป็นทีมเปลี่ยนแปลงสังคม เป็นเวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างคนรุ่นเก่าและคนรุ่นใหม่ เป็นจุดเชื่อมในการเปลี่ยนแปลงสังคมให้ดีขึ้น ในขณะเดียวกันคนรุ่นใหม่ได้แสดงความสามารถ ด้วยการรวมทีมนักศึกษาจาก ม.ธรรมศาสตร์, ม.ศรีนครินทรวิโรฒ, ม.ราชภัฏสวนสุนันทา ร่วมกันทำ Projcet  จำนวน 63 คน เพื่อการสร้างสุขภาวะในชุมชนในย่านสมาคมธรรมศาสตร์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ย่านซอยงามดูพลี ชุมชนรอบสวนสุนันทา ฯลฯ”

ผศ.ดร.นเรฏฐ์ พันธราธร รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย ม.รังสิต เปิดเผยว่า วิศวกรนักสร้างค่ายช่วงปิดเทอมจะช่วยกันสร้างสะพาน โรงเรียน อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ให้ชุมชนได้ใช้เมื่อ 40 ปีก่อน เพราะในอดีตชุมชนไม่มีไฟฟ้าน้ำประปาใช้ เด็กยุคนั้นร้องเพลงคาราวาน กรรมาชนกันได้ แต่เมื่อบริบทของสังคมเปลี่ยนแปลงไปแล้ว เด็กรุ่นใหม่มีความรวดเร็วกว่ารุ่นพวกผม พวกเราจะมีความละเอียดและเนิบช้ากว่าเด็กรุ่นใหม่ ในขณะที่เด็กรุ่นใหม่มีความรู้กว้างขวาง เพราะค้นคว้าหาความรู้ได้ด้วยตัวเอง มีความกล้าที่จะแสดงออก  ต่างจากรุ่นผู้ใหญ่ที่ยังมีความเกรงใจสูง เหรียญมีสองด้าน มีทั้งข้อดีและข้อเสีย การตัดสินใจทำอะไรอย่างรวดเร็วกลายเป็นปัญหา ถ้าไม่ฟังรอบด้านแล้วตัดสินใจทันที คนรุ่นใหม่มองเรื่องความเสมอภาคเป็นหลักคิด ขอชื่นชม สสส.มีบทบาทสร้างความสุข สร้างระบบอาหารที่ยั่งยืน สร้างคนรุ่นใหม่ให้ลุกขึ้นมาร่วมเปลี่ยนแปลงสังคมให้พึ่งพาได้จากคน Gen Z.

-----------------------

นายทองแท้ ทองตั้งคุณ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 คณะกายภาพบำบัด ม.รังสิต

เด็กรุ่นใหม่โดยส่วนลึกแล้วนิยมของเก่า Vintage  แต่ประสบการณ์ที่ผ่านมานั้นถูกกำหนดให้อยู่ในกรอบมาก แต่บางครั้งเราก็อยากออกนอกกรอบบ้าง ได้ทำสิ่งใหม่ๆ นอกกรอบ เราต้องเรียนรู้จากคนรุ่นเก่าที่สั่งสมประสบการณ์มาแล้วอย่างยาวนาน ผู้ใหญ่อาบน้ำร้อนมาก่อนก็จริง ผู้ใหญ่รุ่น Vintage อาบน้ำร้อนที่จะต้องเป็นน้ำต้ม แต่เด็กรุ่นใหม่เราอาบน้ำร้อนที่เป็นเครื่องทำน้ำอุ่น ต่างคนต่างอยู่กันคนละช่วงของเวลา ต้องเข้าใจด้วยว่าเรามีข้อแตกต่างกันด้วย

 น.ส.ดาริษา ทรัพย์พรมราช ตัวแทนคนรุ่นใหม่จาก ม.ราชภัฏสวนสุนันทา

โครงการนี้ตอบโจทย์ความต้องการของตนเอง ที่ต้องการเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาและสร้างการเปลี่ยนแปลงด้านสุขภาวะ รวมทั้งการปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมของคนในชุมชนให้ดีขึ้น น่าอยู่ ปลอดภัย เป็นชุมชนที่พึ่งพาตนเองได้ โดยในฐานะคนรุ่นใหม่จะทำงานประสาน เติมเต็มในประเด็นที่ชุมชนยังขาดองค์ความรู้สำหรับการจัดการประเด็นปัญหา เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกับชุมชน.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ความเครียด..ภัยเงียบของสังคมไทย! ห้ามไม่ได้..แต่รู้เท่าทันอยู่ให้เป็นได้

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดเวทีการประชุม Forum สุขภาพคนไทย 2567 เมื่อวันที่ 14 มิ.ย. 2567 ที่อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ

ครั้งแรก!! สสส.สานพลังภาคีเครือข่าย สร้าง“สังคมปลอดคุกคามทางเพศ”

ปัญหาสังคมในสถานที่ทำงาน อย่างการคุกคามทางเพศ ไปจนถึงการบูลลี่ด้วยสายตาและวาจา เป็นเรื่องจริงที่หลายคนเลือกที่จะนิ่งเฉย และมองข้าม

เครือข่ายเป็นหูเป็นตาฯ ร่วมกับสสส. ระดมสมองกว่า 20 ภาคี ร่วมจัดทำแผนจัดการความปลอดภัยทางถนนปี 2568

เครือข่ายเป็นหูเป็นตาเพื่อสังคม เดินหน้าขับเคลื่อนสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยทางถนนในประเทศไทย ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

ปอด..คนไทยไม่ปลอดภัย "PM2.5-บุหรี่ไฟฟ้า"ตัวร้าย!!

อันตรายที่มองไม่เห็นอย่างฝุ่น PM2.5 กำลังคร่าชีวิตและบ่อนทำลายสุขภาพของคนในสังคมไทยอย่างเงียบเชียบ ด้วยตัวเลขที่มีการยืนยันว่า คนไทยกำลังเผชิญปัญหาฝุ่น PM2.5

ต้อนรับเทศกาลPride Month รู้ให้จริง..กม.รับรองเพศสภาพ

องค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศถอนภาวะการมีเพศสภาพไม่สอดคล้องกับเพศกำเนิด ออกจากหมวดความผิดปกติทางจิตและพฤติกรรมในบัญชีจำแนกโรคสากลฉบับที่ 10 (ICD-10)

โพลชี้เกือบ 1 ใน 4 เคยพบ/เห็นการคุกคามทางเพศในที่ทำงานอีก 126 คน เจอกับตัว กอด-จูบ-ลูบ-คลำ มีครบ ม

เมื่อวันที่ 4 มิ.ย. 2567 ที่อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สานพลัง ภาคีเครือข่าย ประกาศเจตนารมณ์การป้องกันการคุกคามทางเพศ โ