"เสมา​2" Kick Off ขับเคลื่อนการเรียนการสอนประวัติศาสตร์และหน้าที่พลเมืองในโรงเรียน​

"เสมา​2" Kick Off ขับเคลื่อนการเรียนการสอนประวัติศาสตร์และหน้าที่พลเมืองในโรงเรียน​ ชูผนึกกำลัง​4​ กระทรวง​ จัด​ Road Show สอนประวัติศาสตร์ สร้างจิตสำนึกความเป็นไทย ทุกภูมิภาค

เมื่อวันศุกร์ที่ 15 ธันวาคม 2566 นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรม Kick off การขับเคลื่อนการจัดการเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์และหน้าที่พลเมือง โดยมี​ นายนพ ชีวานันท์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายกมล รอดคล้าย ประธานคณะทำงาน รมช.ศธ. ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) ผู้บริหารการศึกษาในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา นักเรียน ครู​ บุคลากรทางการศึกษา และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมในพิธี ณ โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย จ.พระนครศรีอยุธยา

นายสุรศักดิ์ กล่าวว่า ความมั่นคงของประเทศมีความเจริญรุ่งเรืองได้ด้วยประชาชนทุกช่วงวัยเข้าใจในรากฐานวัฒนธรรมไทย และภาคภูมิใจในประวัติศาสตร์ของชาติ มีจิตสำนึกรักความเป็นไทย มีคุณธรรมจริยธรรม ค่านิยมและหลักคิดที่ถูกต้องต่อบ้านเมืองและสถาบันสำคัญของชาติ เป็นพลเมืองที่ดีของชาติ ดังนั้น การพัฒนาเยาวชนของชาติในวัยเรียนต้องอาศัยกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ การขับเคลื่อนการจัดการเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์และหน้าที่พลเมืองจึงเป็นอีกหนี่งนโยบายที่มีความสำคัญที่จะพัฒนาให้เยาวชนของชาติรัก หวงแหน และมีจิตสำนึกที่ดีในการพัฒนาประเทศ ซึ่งในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 กระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.)​ ประกาศนโยบายและจุดเน้นด้านการพัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยมุ่งเน้นการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมืองและศีลธรรมให้มีความทันสมัย น่าสนใจ เหมาะสมกับวัยและบริบทของพื้นที่ เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนทุกช่วงวัยเข้าใจและภาคภูมิใจในประวัติศาสตร์ของชาติไทย มีคุณธรรมจริยธรรม ค่านิยม และหลักคิดที่ถูกต้องต่อบ้านเมืองและสถาบันสำคัญของชาติ เป็นพลเมืองที่ดีของชาติ และ "สร้างจิตสำนึกความเป็นไทย" โดย มีกิจกรรมการดำเนินงานที่จะขับเคลื่อนให้เป็นรูปธรรม ประกอบด้วย

1.การศึกษาและวิจัย แนวทางการเรียนรู้ประวัติศาสตร์และพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนประวัติศาสตร์และหน้าที่พลเมือง โดยพัฒนาผู้บริหารทุกเขตพื้นที่ ทุกโรงเรียน ศึกษานิเทศก์ รวม 490 คน และครู 2,310 คน และหาโรงเรียนต้นแบบการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ 245 แห่ง ทั่วประเทศ

2. ผลิตสื่อ ตำรา สื่ออิเล็กทรอนิกส์ และอื่นๆ ให้มีความทันสมัย สอดคล้องกับคนทุกช่วงวัย กว่า 100 รายการ เพื่อใช้ในการเผยแพร่ความรู้ให้กับเด็ก เยาวชน และประชาชน จัดกิจกรรมสาธิตการสอนประวัติศาสตร์สำหรับสถานศึกษา และ Road Show วิธีการสอนประวัติศาสตร์ สร้างจิตสำนึกความเป็นไทย ทุกภูมิภาค โดยบูรณาการร่วมกับ 4 กระทรวง ได้แก่ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงแรงงาน กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม​ และศธ.

3. ประสานและพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเพื่อสร้างจิตสำนึกรักแผ่นดินเกิด 245 เขตพื้นที่ และคัดเลือกภูมิปัญญาต้นแบบ 18 คน รวมถึงการจัดงานมหกรรมการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ 4 ภูมิภาค

4. จิตอาสาพัฒนาท้องถิ่นจัดตั้งกลุ่มยุวชน ลูกเสือจิตอาสาร่วมพัฒนาสังคม ปิดทองหลังพระ ลูกเสือมัคคุเทศก์ ให้บริการประชาชนและเผยแพร่ความรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น 245 เขตพื้นที่ ทั่วประเทศ

5. จัดทำข้อเสนอให้การประเมินความรู้ มีการเพิ่มขอบเขตเนื้อหาด้านประวัติศาสตร์และจิตสำนึกในความเป็นไทย ในการรับสมัครบุคคลเข้ารับราชการ เข้าทำงาน หรือดำรงตำแหน่ง ตามแนวทางการทำความร่วมมือระหว่าง 4 กระทรวง

"ในวันนี้ เรามีกิจกรรม "Kick off การขับเคลื่อนการจัดการเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์และหน้าที่พลเมือง" ของศธ.โดยการดำเนินการตาม MOU ร่วมกันทั้ง 4 กระทรวง ซึ่ง​ พล.ต.อ.เพิ่มพูน​ ชิดชอบ​ รมว.ศึกษาธิการ ได้เน้นย้ำถึงเรื่องนี้ โดยเริ่มที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เนื่องจากเป็นแหล่งสถานที่ประวัติศาสตร์ของชาติไทย และยังมีกระแสของละครในปัจจุบันเข้ามาหนุนเสริม สำหรับการขับเคลื่อนต่อไปนั้น เราจะพัฒนาบุคลากร ทั้งครูผู้สอน ผู้บริหารโรงเรียน และผู้บริหารเขตพื้นที่ฯ ทั้ง 4 ภูมิภาค ให้มีแนวการสอนประวัติศาสตร์ที่ทันสมัย เพื่อให้เด็กได้แสดงออกถึงภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยมีการจัดสรรงบประมาณให้ทุกจังหวัด ซึ่งแต่ละจังหวัดก็จะมีประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของตนเองแตกต่างกันไป พร้อมทั้งพัฒนาสื่อการเรียนการสอนโดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อให้เด็กๆ เกิดความสนใจ เช่น การ์ตูน Animation หรือการจัดการประกวดหนังสั้น เพื่อให้การเรียนการสอนทันสมัยมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ กิจกรรมเหล่านี้ยังเชื่อมโยงกับ Soft Power ทั้งเรื่องของอาหารการกิน และการแต่งกาย อีกด้วย ซึ่ง รมว.ศธ. ได้จัดตั้งคณะทำงานขึ้นเพื่อขับเคลื่อนเรื่องนี้โดยเฉพาะ โดยจะมีการติดตาม ประเมินผล และสร้างตัวชี้วัด เพื่อให้การขับเคลื่อนนี้ประสบความสำเร็จเห็นผลอย่างเป็นรูปธรรม" รมช.ศธ. กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ครม.ปรับเงื่อนไขชดใช้ทุนของ รร.วิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย

ครม.มีมติปรับเงื่อนไขการชดใช้ทุนหลังสำเร็จการศึกษาของนักเรียนทุนโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยไปศึกษาต่อ ณ สถาบันโคเซ็น ประเทศญี่ปุ่น

"เพิ่มพูน" เดินหน้า "ปฏิวัติการศึกษาแก้ปัญหาประเทศ" อย่างเร่งด่วน เหตุกระแสโลกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

ผศ. พิมล ศรีวิกรม์ ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี และประธานอนุกรรมการพิจารณาจัดการสนับสนุนสมาคมกีฬาจากหน่วยงานรัฐวิสาหกิจและภาคเอกชน

“รมช.สุรศักดิ์” ห่วงนักเรียน-เยาวชน “เล่นพนันบอล-สุขภาพแย่” ช่วงการแข่งขันบอลยูโร

เมื่อวันจันทร์ ที่ 17 มิถุนายน 2567 นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวถึงการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป หรือ ยูโร 2024 ที่เยอรมนีเป็นเจ้าภาพ โดยมีการจัดการแข่งขันระหว่างวันที่ 14 มิถุนายน - 14 กรกฎาคม ว่า กระทรวงศึกษาธิการ ภายใต้การนำของ พล.ต.อ.เพิ่มพูน ชิดชอบ รมว.ศธ.

"รมช.สุรศักดิ์​" เป็นประธานเปิดงาน“ความท้าทายของระบบการศึกษาไทยในยุค​ Digital Disruption”

เมื่อวันเสาร์ที่​ 15​ มิถุนายน​ 2567 นายสุรศักดิ์​ พันธ์เจริญวร​กุล​ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ​ เป็นประธานเปิดงานโครงการสัมมนาวิชาการ

“เพิ่มพูน”ประชุมขับเคลื่อนโยบาย ยกระดับคุณภาพการศึกษา PISA ขอทุกหน่วยงานร่วมอนุรักษ์ "การไหว้ครู " ถือเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติไทย

วันที่ 12 มิถุนายน 2567 พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่ากระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยภายหลังการประชุมประสานภารกิจกระทรวงศึกษาธิการ ครั้งที่ 22/2567 เมื่อ ว่า มีการประชุมขับเคลื่อนเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา PISA โดย สสวท.

เตือนเกียรติบัตรอบรม e-Learning ก.ค.ศ. ใช้ต่อใบประกอบวิชาชีพไม่ได้

นายคารม พลพรกลาง รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ตามที่มีข้อมูลปรากฏถึงเรื่องอบรมออนไลน์หลักสูตร e-Learning สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา