IRPC จับมือ กฟผ. ร่วมผลักดันงานวิจัยสารสกัด Humic, Fulvic Acid จากเหมืองแม่เมาะ สู่สารสกัดที่มีคุณประโยชน์ ขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ธุรกิจที่ยั่งยืน

บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) และ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจเรื่องความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนา และความร่วมมือทางวิชาการ โดยมี คุณวนิดา อุทัยสมนภา รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ พาณิชยกิจและการตลาด บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) หรือ IRPC และ ดร.นิทัศน์ วรพนพิพัฒน์ รองผู้ว่าการเชื้อเพลิง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือ กฟผ. เป็นผู้ร่วมลงนามในครั้งนี้ เพื่อสร้างความร่วมมือด้านการวิจัยพัฒนา และต่อยอดนวัตกรรมสารสกัด Humic, Fulvic acid จาก Leonardite เพื่อนำไปใช้ในด้านการเกษตร เครื่องสำอาง และการแพทย์ เป็นต้น รวมถึงศึกษาโอกาสและความเป็นไปได้ทางธุรกิจของนวัตกรรมจนนำไปสู่การผลิตเชิงพาณิชย์ได้ ณ การไฟฟ้าฝ่ายผลิต แห่งประเทศไทย เหมืองแม่เมาะ จ.ลำปาง

คุณวนิดา อุทัยสมนภา รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ พาณิชยกิจและการตลาด บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า IRPC ตระหนักถึงความสำคัญในการสร้างสรรค์นวัตกรรม นำองค์ความรู้ ความเข้าใจทั้งภายในและภายนอกองค์กร มาบูรณาการ และดำเนินธุรกิจตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) โดยใช้เทคโนโลยีนวัตกรรมในการขับเคลื่อนประเทศ สอดรับกับวิสัยทัศน์ของ IRPC ในการสร้างสรรค์นวัตกรรมการใช้วัสดุและพลังงานเพื่อชีวิตที่ลงตัว การร่วมมือระหว่าง IRPC กับ กฟผ. ในครั้งนี้ ถือเป็นโอกาสอันดีของทั้งสองฝ่ายที่จะร่วมมือกันในการพัฒนาการใช้ประโยชน์จากผลพลอยได้ ของเหมืองเพื่อสกัดสาร Humic, Fulvic Acid และองค์ประกอบอื่นๆ สู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ ตลอดจนการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และพัฒนาบุคลากร เพื่อสนับสนุนความก้าวหน้าของประเทศสู่การเป็นประเทศเศรษฐกิจฐานนวัตกรรม

ดร.นิทัศน์ วรพนพิพัฒน์ รองผู้ว่าการเชื้อเพลิง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ทาง กฟผ. มีแผนพัฒนาต่อยอดนวัตกรรมสารสกัด Humic acid/ Fulvic acid และ Humin จากวัสดุตั้งต้น คือ Leonardite อย่างต่อเนื่อง จากการศึกษาของทีม กฟผ. ที่ผ่านมา พบศักยภาพที่น่าสนใจทั้งการใช้งานด้านการเกษตร เครื่องสำอาง และการแพทย์ เป็นต้น หากมีความร่วมมือกันด้วยความเชี่ยวชาญของทั้งสองฝ่าย จะสามารถทำให้การพัฒนาเป็นไปอย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น อีกทั้งจะเป็นการศึกษาโอกาสและความเป็นไปได้ทางธุรกิจของนวัตกรรมจนนำไปสู่การผลิตเชิงพาณิชย์ได้ ซึ่งเป็นผลดีต่อภาพรวมการร่วมมือพัฒนาประเทศด้วยการประยุกต์ใช้นวัตกรรมสำหรับผลิตภัณฑ์ที่จะเกิดขึ้นอย่างยั่งยืน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

IRPC คว้ารางวัล Asia Responsible Enterprise Awards 2024 และ รางวัล ESG Champion of Asia - Gold Emblem of Sustainability

เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2567 นางสาวชนิดา สัณหกร ผู้จัดการอาวุโส และ นางสาวชลียา ชัยวัฒนา เจ้าหน้าที่อาวุโส บริหารชื่อเสียงองค์กรและกิจการสัมพันธ์ บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน)

IRPC ได้รับการจัดอันดับจาก TRIS Rating ระดับ “A-”

เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2567 ทริสเรทติ้ง (TRIS) ได้แจ้งผลเป็นทางการสำหรับการจัดอันดับเครดิตเรทติ้งของ บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) (IRPC) โดยมีอันดับเครดิตองค์กร ที่ระดับ

IRPC จับมือ ม.แม่ฟ้าหลวง ร่วมวิจัยพัฒนาวัสดุทางการแพทย์

เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2567 นายอนุชา สมจิตรชอบ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ศูนย์นวัตกรรมไออาร์พีซี บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) และ ศาสตราจารย์ ดร.สุจิตรา วงศ์เกษมจิตต์

“วชิรแล็บเพื่อสังคม” ก้าวสู่มาตรฐานระดับชาติ ได้การรับรอง มอก. สาขาการทดสอบวัสดุและอุปกรณ์ทางการแพทย์

นายอนุชา สมจิตรชอบ กรรมการผู้จัดการ บริษัท “วชิรแล็บเพื่อสังคม” จำกัด (วชิรแล็บ) ห้องปฏิบัติการเอกชนแห่งแรกในประเทศไทยที่ได้ใบรับรองความสามารถห้องปฏิบัติการตามมาตรฐาน มอก.

กฟผ.เสริมศักยภาพท่องเที่ยวเกาะสมุย เตรียมขยายเคเบิลใต้น้ำเพิ่ม 1 เส้นรองรับฮับท่องเที่ยว

เกาะสมุยเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมจากทั้งชาวไทยและต่างชาติ เห็นได้จากหลังวิกฤติโควิด-19 คลี่คลาย การท่องเที่ยวของเกาะสมุยกลับมาฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว

กฟผ. ลุยต่อโซลาร์เซลล์ลอยน้ำ เขื่อนศรีนครินทร์ เปิดขายเอกสารประกวดราคา วันนี้ – 3 ก.ค. 67

นายทิเดช เอี่ยมสาย รองผู้ว่าการพัฒนาโรงไฟฟ้าและพลังงานหมุนเวียน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เปิดเผยว่า กฟผ.