สภาพคลองแม่ข่าเมื่อราว 20 ปีก่อน ชาวบ้านช่วยกันลอกคลอง
คลองแม่ข่าบางช่วงที่เทศบาลนครเชียงใหม่ขุดลอก ปรับภูมิทัศน์ในปี 2564-2565
เชียงใหม่เป็นราชธานีของอาณาจักรล้านนามาแต่โบราณ ตามตำนานบอกว่า พญามังรายทรงสร้างเมืองเชียงใหม่ขึ้นเมื่อปี พ.ศ.1839 โดยมีชัยมงคล 7 ประการที่ทำให้พญามังรายทรงเลือกเมืองเชียงใหม่เป็นราชธานี ซึ่ง 1 ใน 7 ประการก็คือ ‘น้ำแม่ข่า’
วันนี้เชียงใหม่มีอายุ 727 ปี ผ่านความเจริญรุ่งเรืองและเสื่อมทรุดไปตามกาลเวลา ไม่เว้นแม้แต่ ‘น้ำแม่ข่า’ ซึ่งมีประวัติศาสตร์ร่วมกับเมืองเชียงใหม่ ในอดีตน้ำแม่ข่ามีความสำคัญ เพราะเป็นแหล่งน้ำกินน้ำใช้ เป็นคูคลองยุทธศาสตร์ เป็นคูเมืองชั้นนอกของเมืองเชียงใหม่ทางด้านทิศตะวันออกและทิศใต้
‘แม่ข่า’ ในตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่
‘ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่’ เป็นจารึกการสร้างบ้านแปงเมืองในสมัยตั้งเมืองเชียงใหม่ บอกถึงชัยมงคลประการที่ 5 ที่พญามังรายทรงเลือกสร้างเมืองเชียงใหม่ว่า...
“...อันหนึ่งอยู่ที่นี่หันน้ำตกแต่อุชุปัตตาดอยสุเทพมาเป็นแม่น้ำไหลขึ้นไปหนเหนือ แล้วไหลดะไปหนวันออก แล้วไหลไปใต้ แล้วไหลไปวันตกเกี้ยวเวียงกุมกาม แม่น้ำนี้เป็นนครคุณเกี้ยวเมืองอันนี้เป็นชัยมงคลถ้วนห้า แม่น้ำอันนี้ไหลแต่ดอยมาที่ขุนน้ำ ได้ชื่อว่าแม่ข่า...” (ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ เดิมจารึกลงในใบลานด้วยอักษรล้านนา สำนักนายกรัฐมนตรีจัดพิมพ์ พ.ศ. 2514)
ส่วนชัยภูมิทั้ง 7 ประการ ประกอบด้วย 1. กวางเผือกสองตัวแม่ลูกมาจากป่าใหญ่ทิศเหนือมาอยู่ชัยภูมิที่นี้ 2. ฟานเผือกสองตัวแม่ลูกมาอยู่ชัยภูมินี้ รบหมา หมาทั้งหลายพ่ายหนี 3.หนูเผือกตัวใหญ่เท่าดุมเกวียนกับบริวาร 4 ตัวมาอยู่ชัยภูมิที่นี้ 4. ชัยภูมิที่จะตั้งเมืองนี้ลาดเทจากตะวันตกมาตะวันออก แม่น้ำนี้เป็นนครคุณเกี้ยวเมืองอันนี้เป็นชัยมงคลถ้วนห้า แม่น้ำอันนี้ไหลแต่ดอยมาที่ขุนน้ำ ได้ชื่อว่าแม่ข่า...
6. มีหนองใหญ่อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ท้าวพระยาต่างประเทศจักมาบูชาสักการะมากนัก และ อันหนึ่งน้ำแม่ระมิงค์ (น้ำปิง) ไหลมาแต่อ่างสรง อันพระพุทธเจ้าเมื่อยังทรมานได้มาอาบในดอยอ่างสรง ไหลออกมาเป็นขุนน้ำแม่ระมิงค์...เป็นชัยมงคลถ้วนเจ็ดแล...
‘พญามังรายพบฟานเผือก’ ชัยมงคลประการที่ 2 จิตรกรรมฝาผนังที่วิหารหลวงวัดเชียงมั่น เชียงใหม่ (ภาพจากเฟซ บุ๊ก : ภาษาไทย มหาวิทยาลัยรามคำแหง)
พระบรมราโชบายฟื้นฟูคลองแม่ข่า
น้ำแม่ข่าหรือ ‘คลองแม่ข่า’ มีต้นกำเนิดจากดอยสุเทพ-ดอยปุย ไหลลงสู่ลำห้วยในอำเภอแม่ริม หลอมรวมกับลำน้ำอีกหลายสายกลายเป็นคลองแม่ข่า ไหลผ่านเมืองเชียงใหม่ลงสู่แม่น้ำปิงที่อำเภอหางดง รวมความยาวประมาณ 31 กิโลเมตร
แต่การขยายตัวของเมืองเชียงใหม่ตลอดช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา ทำให้แม่ข่ากลายเป็นคลองที่รับน้ำเสียจากอาคารบ้านเรือน ชุมชน โรงแรม ตลาด สถานประกอบการต่างๆ บางช่วงมีความกว้างเพียง 5 เมตร น้ำในคลองมีสีดำ เน่าเหม็น ตื้นเขิน มีผักตบชวา กอหญ้า มีสิ่งปลูกสร้างรุกล้ำคลอง มีชุมชนต่างๆ ตั้งอยู่ริมคลองแม่ข่าและคลองสาขา จากอำเภอแม่ริม-เทศบาลนครเชียงใหม่-อำเภอหางดง รวมทั้งหมด 43 ชุมชน บางชุมชนตั้งอยู่ในแนวโบราณสถาน เช่น กำแพงเมือง ป้อม คูเมือง ฯลฯ
ขณะเดียวกัน พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ในหลวงรัชกาลที่ 10 ทรงมีพระบรมราโชบายในการพัฒนาฟื้นฟูคลองต่างๆ ที่มีสภาพเสื่อมโทรมให้กลับมาเป็นคลองที่ใสสะอาด มีสภาพแวดล้อมที่ดี เช่น การปรับปรุงคลองเปรมประชากร คลองรอบเมืองในกรุงเทพฯ รวมทั้งคลองแม่ข่าที่เชียงใหม่
โดยที่คลองแม่ข่า เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2561 พลอากาศเอกสถิตย์พงษ์ สุขวิมล ราชเลขานุการในพระองค์ฯ เป็นประธานเปิดโครงการพัฒนาฟื้นฟูคลองแม่ข่า โดยมีหน่วยงานต่างๆ เข้าร่วม เพื่อน้อมนำพระบรมราโชบายของพระบาท สมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ในการพัฒนาฟื้นฟูคลองแม่ข่ามาปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม เช่น จิตอาสาร่วมกันขุดลอกคลองแม่ข่า เก็บขยะ วัชพืชในคลอง เพื่อให้น้ำแม่ข่าไหลได้สะดวก
จิตอาสาลอกคลองแม่ข่า
‘แม่ข่าโมเดล’ : คลองสวย น้ำใส ไหลดี ชุมชนมีสุข
หลังจากนั้น จังหวัดเชียงใหม่ได้จัดทำ ‘แผนแม่บทคลองแม่ข่า (พ.ศ.2561-2565)’ มีวิสัยทัศน์ คือ ‘คลองสวย น้ำใส ไหลดี ชุมชนมีสุข’ มีเป้าหมายเพื่อ 1.ฟื้นฟูคลองแม่ข่าให้มีคุณภาพดีขึ้น 2.น้ำไหลเวียนตลอดทั้งปี 3.ปรับปรุงภูมิทัศน์และสภาพแวดล้อมให้สวยงามเพื่อเป็นสถานที่พักผ่อน และ 4.ชุมชนมีส่วนร่วมและบริหารจัดการชุมชนอย่างเป็นระบบ
โดยมีแนวทางการดำเนินงาน เช่น การสำรวจแนวเขตคลอง โดยใช้ภาพถ่ายทางอากาศ ตรวจสอบแปลงที่ดิน ขุดลอกคลอง จัดการน้ำเสีย สิ่งปลูกสร้างรุกล้ำคลอง พัฒนาที่อยู่อาศัยชุมชนสองฝั่งคลอง ปรับปรุงภูมิทัศน์ สร้างกำแพงกันดินคอนกรีต ถนน สะพาน สร้างจิตสำนึกชุมชน สร้างจิตอาสา ‘รักษ์แม่ข่า’ ฯลฯ
เริ่มดำเนินโครงการแรกในปี 2564 คือ ‘โครงการก่อสร้างระบบรวบรวมน้ำเสียสองฝั่งคลองแม่ข่า พร้อมปรับภูมิทัศน์ ระยะที่ 1’ ตั้งแต่บริเวณสะพานแม่ข่า (ระแกง) ถึงประตูก้อม ระยะทางประมาณ 750 เมตร ดำเนินการโดยเทศบาลนครเชียงใหม่ ใช้งบประมาณ 22 ล้านบาทเศษ ปัจจุบันสภาพภูมิทัศน์ริมคลองแม่ข่ามีความสวยงาม มีนักท่องเที่ยวเดินทางมาเที่ยวชมทุกวัน
นักท่องเที่ยวที่คลองแม่ข่า (ภาพจาก https://roijang.com/)
‘การพัฒนาคลองแม่ข่า’ วาระของจังหวัดเชียงใหม่
ขณะที่ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) หรือ ‘พอช.’ ที่มีประสบการณ์ในการพัฒนาที่อยู่อาศัยชุมชนริมคลองลาดพร้าวและคลองเปรมประชากร ตามแผนแม่บทคลองแม่ข่ากำหนดให้ พอช. ทำหน้าที่พัฒนาที่อยู่อาศัยและคุณภาพชีวิตชาวชุมชนริมคลองแม่ข่าในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่
นอกจากนี้ จังหวัดเชียงใหม่ได้ออกประกาศจังหวัดเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2565 ให้ “การพัฒนาและแก้ไขปัญหาคลองแม่ข่าและลำน้ำสาขา ด้านการพัฒนาที่อยู่อาศัย เป็นวาระการพัฒนาของจังหวัดที่ต้องดำเนินการอย่างจริงจังและต่อเนื่อง โดยเน้นให้ประชาชนในพื้นที่ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วม...”
ทั้งนี้สำนักงานภาคเหนือ และสำนักงานบ้านมั่นคงและที่ดิน สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนฯ หรือ ‘พอช.’ ได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปสร้างความเข้าใจกับชาวชุมชนริมคลองแม่ข่าและสำรวจข้อมูลชุมชนตั้งแต่ปี 2565 ในพื้นที่ 22 ชุมชนในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ โดยมีหน่วยงานภาคีเข้าร่วม เช่น เทศบาลนครเชียงใหม่ พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด (พมจ.) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และกลุ่มนักออกแบบ ‘ใจบ้านสตูดิโอ’
จากการสำรวจข้อมูลเบื้องต้นใน 22 ชุมชนริมคลองแม่ข่า พบว่า มีทั้งหมด 2,169 ครัวเรือน ประชากรรวม 4,361 คน ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้าง ค้าขาย และพนักงานบริษัทเอกชน
ด้านสิทธิ์ในที่ดิน พบว่า 72 % มีสัญญาเช่าที่ดินกับหน่วยงานเจ้าของที่ดิน (ระยะสั้น 1-3 ปี) ส่วนใหญ่เป็นที่ดินราชพัสดุ และเทศบาลนครเชียงใหม่ และ 28 % ไม่มีกรรมสิทธิ์ ด้านการอยู่อาศัย 78 % ต้องการเข้าร่วมโครงการปรับปรุงที่อยู่อาศัย ฯลฯ
โดยขณะนี้ พอช.อยู่ในระหว่างการจัดเตรียมความพร้อมชุมชนตามโครงการบ้านมั่นคง เช่น สนับสนุนชุมชนให้จัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อเป็นทุนในการพัฒนาที่อยู่อาศัย ฝึกการบริหารจัดการการเงินโดยชุมชน โดยมีการจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์แล้วในชุมชนต่างๆ เช่น กำแพงงาม หัวฝาย แม่ขิง อุ่นไอรัก วัดโลกโมฬี ฯลฯ และร่วมกันออกแบบบ้าน ผังชุมชน ออกแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต
เจ้าหน้าที่ พอช. จัดประชุมสร้างความเข้าใจการพัฒนาที่อยู่อาศัยชุมชนริมคลองแม่ข่า
นำร่องพัฒนาที่อยู่อาศัยชุมชนริมคลองแม่ข่า 42 ครอบครัว
ตามแผนการปรับปรุงภูมิทัศน์ริมคลองแม่ข่าของเทศบาลนครเชียงใหม่ จะทำให้ชุมชนบางชุมชนที่ปลูกสร้างบ้านเรือนอยู่ในแนวโบราณสถาน เช่น ชุมชนกำแพงงามและชุมชนหัวฝายที่ปลูกสร้างบ้านอยู่ในแนวกำแพงเมืองเก่า ต้องย้ายบ้านออกจากแนวกำแพงเมือง ไม่สามารถอยู่อาศัยในชุมชนเดิมได้ รวม 42 ครอบครัว โดยทางเทศบาลนครเชียงใหม่มีแผนงานจัดหาที่ดินรองรับ เป็นที่ดินที่เทศบาลดูแล อยู่ไม่ไกลจากชุมชนเดิม เนื้อที่ประมาณ 3 ไร่เศษ ส่วน พอช. จะสนับสนุนการพัฒนาที่อยู่อาศัยใหม่ตามโครงการบ้านมั่นคง
นางสาวกาญจนา กองเกิด ผู้แทนชุมชนริมคลองแม่ข่าที่ได้รับผลกระทบ บอกว่า ขณะนี้ชาวชุมชนได้ร่วมกันจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อเป็นทุนในการพัฒนาที่อยู่อาศัย โดยออมเงินอย่างน้อยครอบครัวละ 100 บาท/เดือน โดยเทศบาลจะให้ชุมชนหัวฝายและชุมชนกำแพงงามรื้อย้ายบ้านเรือนไปสร้างบ้านในที่ดินใหม่ของเทศบาลประมาณเดือนมีนาคม 2567 นี้ รวม 42 ครอบครัว
ส่วนชุมชนอื่นๆ อีกประมาณ 20 ชุมชนจะดำเนินการในช่วงต่อไป โดยชุมชนที่สามารถอาศัยอยู่ริมคลองแม่ข่าได้จะต้องขยับบ้าน ร่นระยะจากแนวริมคลองเข้าไปประมาณ 2 เมตร เพื่อให้เทศบาลสร้างแนวเขื่อนระบายน้ำหรือกำแพงกันดินคอนกรีต และเพื่อใช้เป็นถนน ทางเดินเลียบคลอง และปรับภูมิทัศน์ริมคลองให้ดูสวยงาม สะอาดตา
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ในปี 2565 - 2566 ที่ผ่านมา ตัวแทนชาวชุมชนริมคลองแม่ข่าได้เดินทางไปศึกษาดูงานการพัฒนาที่อยู่อาศัยของ พอช.ที่ชุมชนริมคลองลาดพร้าว กรุงเทพฯ รวมทั้งชุมชนที่จัดทำโครงการบ้านมั่นคงในจังหวัดต่างๆ เพื่อนำมาเป็นแนวทางการพัฒนาชุมชนคลองแม่ข่า
เช่น ชุมชนที่อาศัยอยู่ริมคลองแม่ข่าได้ จะต้องขยับบ้านให้พ้นแนวก่อสร้างเขื่อนคอนกรีตระบายน้ำ หรือแนวทางเดินเลียบคลอง ทำให้ชุมชนเหลือพื้นที่ไม่มาก ต้องสร้างบ้านใหม่เป็นบ้านแถว 2 ชั้น หันหน้าบ้านลงคลองติดถนนเลียบคลอง เพื่อใช้หน้าบ้านทำมาค้าขายได้ รวมทั้งจะมีการส่งเสริมอาชีพ สร้างรายได้ การดูแลสิ่งแวดล้อมริมคลอง การจัดการขยะ น้ำเสีย การพัฒนาคุณภาพชีวิต ฯลฯ
นักท่องเที่ยวต่างชาติที่คลองแม่ข่า
จัดงาน ‘วันที่อยู่อาศัยโลกที่คลองแม่ข่า’
เนื่องในโอกาส ‘วันที่อยู่อาศัยโลก 2566’ หรือ ‘World Habitat Day 2023’ (องค์การสหประชาชาติกำหนดให้ทุกวันจันทร์แรกของเดือนตุลาคมทุกปีเป็นวันที่อยู่อาศัยโลก) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) หน่วยงานภาคี และเครือข่ายองค์กรชุมชน ได้ร่วมกันจัดงานวันที่อยู่อาศัยโลก 2566 ตลอดช่วงเดือนตุลาคม-ธันวาคมนี้ ตามภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศ เพื่อรณรงค์ให้ทุกภาคส่วนตระหนักถึงปัญหาการขาดแคลนที่อยู่อาศัยของประชาชนที่มีรายได้น้อย และนำเสนอรูปธรรมการแก้ไขปัญหาและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้น
ชาวริมคลองแม่ข่าในนาม ‘คนแป๋งเมือง’ หรือ ‘คนสร้างบ้านแปลงเมือง’ ร่วมงานวันที่อยู่อาศัยโลกที่กรุงเทพฯ เมื่อ 2 ตุลาคมที่ผ่านมา
ที่จังหวัดเชียงใหม่ จะมีการจัดงาน ‘วันที่อยู่อาศัยโลกภาคเหนือ 2566’ ในวันที่ 8-9 ธํนวาคมนี้ โดยจะมีการจัดกิจกรรมใน 2 พื้นที่สำคัญ คือที่ตำบลท่าผา อำเภอแม่แจ่ม และที่ชุมชนริมคลองแม่ข่า เทศบาลนครเชียงใหม่ ร่วมจัดโดยกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) จังหวัดเชียงใหม่ เทศบาลนครเชียงใหม่ อำเภอแม่แจ่ม เทศบาลตำบลท่าผา มูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (ภาคเหนือ) เครือข่ายสลัม 4 ภาค ใจบ้านสตูดิโอ และเครือข่ายคนแป๋งเมืองเชียงใหม่ โดยจะมีชาวบ้านในพื้นที่ เครือข่ายบ้านมั่นคง 5 ภูมิภาค ขบวนองค์กรชุมชนภาคเหนือ และผู้แทนภาคีเครือข่าย เข้าร่วมงานทั้ง 2 วันประมาณ 1,500 คน
ที่คลองแม่ข่า จะจัดงานวันที่อยู่อาศัยโลกในวันที่ 9 ธันวาคม โดยจะมีการจัดงาน 2 ช่วง คือ ช่วงเช้า 9.00-12.00 น.ที่สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (ห้องประชุมทองกวาว) มีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้การแก้ปัญหาที่ดินที่อยู่อาศัยและการพัฒนาคุณภาพชีวิตชาวชุมชน การมีส่วนร่วมของหน่วยงานทุกภาคส่วน เพื่อยกระดับการแก้ไขปัญหาร่วมกัน “เมืองของทุกคน” แนวทางการใช้ที่ดินรัฐในการแก้ปัญหาความเดือดร้อนด้านที่อยู่อาศัย ฯลฯ
คลองแม่ข่าที่เคยเน่าเหม็น ขยะลอยฟ่อง...กำลังจะกลับมาสวยใสตลอดลำคลองที่ยาวราว 31 กิโลเมตร
ส่วนช่วงบ่ายตั้งแต่เวลา 13.00-17.30 น. นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) จะเดินทางมาร่วมงาน พร้อมเป็นประธานสักขีพยานการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MoU.) 3 ฝ่าย ประกอบด้วย เทศบาลนครเชียงใหม่ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) และเครือข่ายองค์กรชุมชนเมืองเชียงใหม่ ในการใช้ที่ดินของรัฐแก้ปัญหาคลองแม่ข่าและลำน้ำสาขา ในพื้นที่เขตเทศบาลนครเชียงใหม่ พิธีมอบงบประมาณสนับสนุนการดำเนินงานโครงการบ้านมั่นคงในพื้นที่ภาคเหนือ ฯลฯ
หลังจากนั้น รมว.พม.จะเดินทางไปยังชุมชนหัวฝายและกำแพงงาม ริมคลองแม่ข่า เยี่ยมชมวิถีชีวิตผู้คนริมคลองแม่ข่าภายใต้บริบทการพัฒนาเมืองเชียงใหม่ ชมนิทรรศการการพัฒนาพื้นที่คลองแม่ข่า และทำกิจกรรมสัญลักษณ์การพัฒนาคลองแม่ข่า
ไม่นานจากนี้...คลองแม่ข่าจะได้รับการฟื้นฟูตลอดแนวคลอง...เปลี่ยนจากคลองที่ดำเน่าเหม็น ตื้นเขิน เป็น ‘คลองสวย น้ำใส ไหลดี ชุมชนมีสุข’ ขณะที่ชาวชุมชนริมคลองแม่ข่าจะได้มีที่อยู่อาศัยใหม่ที่มั่นคง และคนเชียงใหม่จะได้ใช้ประโยชน์จากคลองนี้ร่วมกันอย่างยั่งยืน...ตลอดไป !!
สีสันคลองแม่ข่าในยามค่ำคืน (ภาพจาก https://www.gourmetandcuisine.com/)
****************
เรื่องและภาพ : สำนักพัฒนานวัตกรรมชุมชนจัดการความรู้และสื่อสาร สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
สภาพคลองแม่ข่าเมื่อราว 20 ปีก่อน ชาวบ้านช่วยกันลอกคลอง
คลองแม่ข่าบางช่วงที่เทศบาลนครเชียงใหม่ขุดลอก ปรับภูมิทัศน์ในปี 2564-2565
เชียงใหม่เป็นราชธานีของอาณาจักรล้านนามาแต่โบราณ ตามตำนานบอกว่า พญามังรายทรงสร้างเมืองเชียงใหม่ขึ้นเมื่อปี พ.ศ.1839 โดยมีชัยมงคล 7 ประการที่ทำให้พญามังรายทรงเลือกเมืองเชียงใหม่เป็นราชธานี ซึ่ง 1 ใน 7 ประการก็คือ ‘น้ำแม่ข่า’
วันนี้เชียงใหม่มีอายุ 727 ปี ผ่านความเจริญรุ่งเรืองและเสื่อมทรุดไปตามกาลเวลา ไม่เว้นแม้แต่ ‘น้ำแม่ข่า’ ซึ่งมีประวัติศาสตร์ร่วมกับเมืองเชียงใหม่ ในอดีตน้ำแม่ข่ามีความสำคัญ เพราะเป็นแหล่งน้ำกินน้ำใช้ เป็นคูคลองยุทธศาสตร์ เป็นคูเมืองชั้นนอกของเมืองเชียงใหม่ทางด้านทิศตะวันออกและทิศใต้
‘แม่ข่า’ ในตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่
‘ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่’ เป็นจารึกการสร้างบ้านแปงเมืองในสมัยตั้งเมืองเชียงใหม่ บอกถึงชัยมงคลประการที่ 5 ที่พญามังรายทรงเลือกสร้างเมืองเชียงใหม่ว่า...
“...อันหนึ่งอยู่ที่นี่หันน้ำตกแต่อุชุปัตตาดอยสุเทพมาเป็นแม่น้ำไหลขึ้นไปหนเหนือ แล้วไหลดะไปหนวันออก แล้วไหลไปใต้ แล้วไหลไปวันตกเกี้ยวเวียงกุมกาม แม่น้ำนี้เป็นนครคุณเกี้ยวเมืองอันนี้เป็นชัยมงคลถ้วนห้า แม่น้ำอันนี้ไหลแต่ดอยมาที่ขุนน้ำ ได้ชื่อว่าแม่ข่า...” (ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ เดิมจารึกลงในใบลานด้วยอักษรล้านนา สำนักนายกรัฐมนตรีจัดพิมพ์ พ.ศ. 2514)
ส่วนชัยภูมิทั้ง 7 ประการ ประกอบด้วย 1. กวางเผือกสองตัวแม่ลูกมาจากป่าใหญ่ทิศเหนือมาอยู่ชัยภูมิที่นี้ 2. ฟานเผือกสองตัวแม่ลูกมาอยู่ชัยภูมินี้ รบหมา หมาทั้งหลายพ่ายหนี 3.หนูเผือกตัวใหญ่เท่าดุมเกวียนกับบริวาร 4 ตัวมาอยู่ชัยภูมิที่นี้ 4. ชัยภูมิที่จะตั้งเมืองนี้ลาดเทจากตะวันตกมาตะวันออก แม่น้ำนี้เป็นนครคุณเกี้ยวเมืองอันนี้เป็นชัยมงคลถ้วนห้า แม่น้ำอันนี้ไหลแต่ดอยมาที่ขุนน้ำ ได้ชื่อว่าแม่ข่า...
6. มีหนองใหญ่อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ท้าวพระยาต่างประเทศจักมาบูชาสักการะมากนัก และ อันหนึ่งน้ำแม่ระมิงค์ (น้ำปิง) ไหลมาแต่อ่างสรง อันพระพุทธเจ้าเมื่อยังทรมานได้มาอาบในดอยอ่างสรง ไหลออกมาเป็นขุนน้ำแม่ระมิงค์...เป็นชัยมงคลถ้วนเจ็ดแล...
‘พญามังรายพบฟานเผือก’ ชัยมงคลประการที่ 2 จิตรกรรมฝาผนังที่วิหารหลวงวัดเชียงมั่น เชียงใหม่ (ภาพจากเฟซ บุ๊ก : ภาษาไทย มหาวิทยาลัยรามคำแหง)
พระบรมราโชบายฟื้นฟูคลองแม่ข่า
น้ำแม่ข่าหรือ ‘คลองแม่ข่า’ มีต้นกำเนิดจากดอยสุเทพ-ดอยปุย ไหลลงสู่ลำห้วยในอำเภอแม่ริม หลอมรวมกับลำน้ำอีกหลายสายกลายเป็นคลองแม่ข่า ไหลผ่านเมืองเชียงใหม่ลงสู่แม่น้ำปิงที่อำเภอหางดง รวมความยาวประมาณ 31 กิโลเมตร
แต่การขยายตัวของเมืองเชียงใหม่ตลอดช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา ทำให้แม่ข่ากลายเป็นคลองที่รับน้ำเสียจากอาคารบ้านเรือน ชุมชน โรงแรม ตลาด สถานประกอบการต่างๆ บางช่วงมีความกว้างเพียง 5 เมตร น้ำในคลองมีสีดำ เน่าเหม็น ตื้นเขิน มีผักตบชวา กอหญ้า มีสิ่งปลูกสร้างรุกล้ำคลอง มีชุมชนต่างๆ ตั้งอยู่ริมคลองแม่ข่าและคลองสาขา จากอำเภอแม่ริม-เทศบาลนครเชียงใหม่-อำเภอหางดง รวมทั้งหมด 43 ชุมชน บางชุมชนตั้งอยู่ในแนวโบราณสถาน เช่น กำแพงเมือง ป้อม คูเมือง ฯลฯ
ขณะเดียวกัน พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ในหลวงรัชกาลที่ 10 ทรงมีพระบรมราโชบายในการพัฒนาฟื้นฟูคลองต่างๆ ที่มีสภาพเสื่อมโทรมให้กลับมาเป็นคลองที่ใสสะอาด มีสภาพแวดล้อมที่ดี เช่น การปรับปรุงคลองเปรมประชากร คลองรอบเมืองในกรุงเทพฯ รวมทั้งคลองแม่ข่าที่เชียงใหม่
โดยที่คลองแม่ข่า เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2561 พลอากาศเอกสถิตย์พงษ์ สุขวิมล ราชเลขานุการในพระองค์ฯ เป็นประธานเปิดโครงการพัฒนาฟื้นฟูคลองแม่ข่า โดยมีหน่วยงานต่างๆ เข้าร่วม เพื่อน้อมนำพระบรมราโชบายของพระบาท สมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ในการพัฒนาฟื้นฟูคลองแม่ข่ามาปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม เช่น จิตอาสาร่วมกันขุดลอกคลองแม่ข่า เก็บขยะ วัชพืชในคลอง เพื่อให้น้ำแม่ข่าไหลได้สะดวก
จิตอาสาลอกคลองแม่ข่า
‘แม่ข่าโมเดล’ : คลองสวย น้ำใส ไหลดี ชุมชนมีสุข
หลังจากนั้น จังหวัดเชียงใหม่ได้จัดทำ ‘แผนแม่บทคลองแม่ข่า (พ.ศ.2561-2565)’ มีวิสัยทัศน์ คือ ‘คลองสวย น้ำใส ไหลดี ชุมชนมีสุข’ มีเป้าหมายเพื่อ 1.ฟื้นฟูคลองแม่ข่าให้มีคุณภาพดีขึ้น 2.น้ำไหลเวียนตลอดทั้งปี 3.ปรับปรุงภูมิทัศน์และสภาพแวดล้อมให้สวยงามเพื่อเป็นสถานที่พักผ่อน และ 4.ชุมชนมีส่วนร่วมและบริหารจัดการชุมชนอย่างเป็นระบบ
โดยมีแนวทางการดำเนินงาน เช่น การสำรวจแนวเขตคลอง โดยใช้ภาพถ่ายทางอากาศ ตรวจสอบแปลงที่ดิน ขุดลอกคลอง จัดการน้ำเสีย สิ่งปลูกสร้างรุกล้ำคลอง พัฒนาที่อยู่อาศัยชุมชนสองฝั่งคลอง ปรับปรุงภูมิทัศน์ สร้างกำแพงกันดินคอนกรีต ถนน สะพาน สร้างจิตสำนึกชุมชน สร้างจิตอาสา ‘รักษ์แม่ข่า’ ฯลฯ
เริ่มดำเนินโครงการแรกในปี 2564 คือ ‘โครงการก่อสร้างระบบรวบรวมน้ำเสียสองฝั่งคลองแม่ข่า พร้อมปรับภูมิทัศน์ ระยะที่ 1’ ตั้งแต่บริเวณสะพานแม่ข่า (ระแกง) ถึงประตูก้อม ระยะทางประมาณ 750 เมตร ดำเนินการโดยเทศบาลนครเชียงใหม่ ใช้งบประมาณ 22 ล้านบาทเศษ ปัจจุบันสภาพภูมิทัศน์ริมคลองแม่ข่ามีความสวยงาม มีนักท่องเที่ยวเดินทางมาเที่ยวชมทุกวัน
นักท่องเที่ยวที่คลองแม่ข่า (ภาพจาก https://roijang.com/)
‘การพัฒนาคลองแม่ข่า’ วาระของจังหวัดเชียงใหม่
ขณะที่ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) หรือ ‘พอช.’ ที่มีประสบการณ์ในการพัฒนาที่อยู่อาศัยชุมชนริมคลองลาดพร้าวและคลองเปรมประชากร ตามแผนแม่บทคลองแม่ข่ากำหนดให้ พอช. ทำหน้าที่พัฒนาที่อยู่อาศัยและคุณภาพชีวิตชาวชุมชนริมคลองแม่ข่าในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่
นอกจากนี้ จังหวัดเชียงใหม่ได้ออกประกาศจังหวัดเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2565 ให้ “การพัฒนาและแก้ไขปัญหาคลองแม่ข่าและลำน้ำสาขา ด้านการพัฒนาที่อยู่อาศัย เป็นวาระการพัฒนาของจังหวัดที่ต้องดำเนินการอย่างจริงจังและต่อเนื่อง โดยเน้นให้ประชาชนในพื้นที่ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วม...”
ทั้งนี้สำนักงานภาคเหนือ และสำนักงานบ้านมั่นคงและที่ดิน สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนฯ หรือ ‘พอช.’ ได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปสร้างความเข้าใจกับชาวชุมชนริมคลองแม่ข่าและสำรวจข้อมูลชุมชนตั้งแต่ปี 2565 ในพื้นที่ 22 ชุมชนในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ โดยมีหน่วยงานภาคีเข้าร่วม เช่น เทศบาลนครเชียงใหม่ พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด (พมจ.) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และกลุ่มนักออกแบบ ‘ใจบ้านสตูดิโอ’
จากการสำรวจข้อมูลเบื้องต้นใน 22 ชุมชนริมคลองแม่ข่า พบว่า มีทั้งหมด 2,169 ครัวเรือน ประชากรรวม 4,361 คน ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้าง ค้าขาย และพนักงานบริษัทเอกชน
ด้านสิทธิ์ในที่ดิน พบว่า 72 % มีสัญญาเช่าที่ดินกับหน่วยงานเจ้าของที่ดิน (ระยะสั้น 1-3 ปี) ส่วนใหญ่เป็นที่ดินราชพัสดุ และเทศบาลนครเชียงใหม่ และ 28 % ไม่มีกรรมสิทธิ์ ด้านการอยู่อาศัย 78 % ต้องการเข้าร่วมโครงการปรับปรุงที่อยู่อาศัย ฯลฯ
โดยขณะนี้ พอช.อยู่ในระหว่างการจัดเตรียมความพร้อมชุมชนตามโครงการบ้านมั่นคง เช่น สนับสนุนชุมชนให้จัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อเป็นทุนในการพัฒนาที่อยู่อาศัย ฝึกการบริหารจัดการการเงินโดยชุมชน โดยมีการจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์แล้วในชุมชนต่างๆ เช่น กำแพงงาม หัวฝาย แม่ขิง อุ่นไอรัก วัดโลกโมฬี ฯลฯ และร่วมกันออกแบบบ้าน ผังชุมชน ออกแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต
เจ้าหน้าที่ พอช. จัดประชุมสร้างความเข้าใจการพัฒนาที่อยู่อาศัยชุมชนริมคลองแม่ข่า
นำร่องพัฒนาที่อยู่อาศัยชุมชนริมคลองแม่ข่า 42 ครอบครัว
ตามแผนการปรับปรุงภูมิทัศน์ริมคลองแม่ข่าของเทศบาลนครเชียงใหม่ จะทำให้ชุมชนบางชุมชนที่ปลูกสร้างบ้านเรือนอยู่ในแนวโบราณสถาน เช่น ชุมชนกำแพงงามและชุมชนหัวฝายที่ปลูกสร้างบ้านอยู่ในแนวกำแพงเมืองเก่า ต้องย้ายบ้านออกจากแนวกำแพงเมือง ไม่สามารถอยู่อาศัยในชุมชนเดิมได้ รวม 42 ครอบครัว โดยทางเทศบาลนครเชียงใหม่มีแผนงานจัดหาที่ดินรองรับ เป็นที่ดินที่เทศบาลดูแล อยู่ไม่ไกลจากชุมชนเดิม เนื้อที่ประมาณ 3 ไร่เศษ ส่วน พอช. จะสนับสนุนการพัฒนาที่อยู่อาศัยใหม่ตามโครงการบ้านมั่นคง
นางสาวกาญจนา กองเกิด ผู้แทนชุมชนริมคลองแม่ข่าที่ได้รับผลกระทบ บอกว่า ขณะนี้ชาวชุมชนได้ร่วมกันจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อเป็นทุนในการพัฒนาที่อยู่อาศัย โดยออมเงินอย่างน้อยครอบครัวละ 100 บาท/เดือน โดยเทศบาลจะให้ชุมชนหัวฝายและชุมชนกำแพงงามรื้อย้ายบ้านเรือนไปสร้างบ้านในที่ดินใหม่ของเทศบาลประมาณเดือนมีนาคม 2567 นี้ รวม 42 ครอบครัว
ส่วนชุมชนอื่นๆ อีกประมาณ 20 ชุมชนจะดำเนินการในช่วงต่อไป โดยชุมชนที่สามารถอาศัยอยู่ริมคลองแม่ข่าได้จะต้องขยับบ้าน ร่นระยะจากแนวริมคลองเข้าไปประมาณ 2 เมตร เพื่อให้เทศบาลสร้างแนวเขื่อนระบายน้ำหรือกำแพงกันดินคอนกรีต และเพื่อใช้เป็นถนน ทางเดินเลียบคลอง และปรับภูมิทัศน์ริมคลองให้ดูสวยงาม สะอาดตา
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ในปี 2565 - 2566 ที่ผ่านมา ตัวแทนชาวชุมชนริมคลองแม่ข่าได้เดินทางไปศึกษาดูงานการพัฒนาที่อยู่อาศัยของ พอช.ที่ชุมชนริมคลองลาดพร้าว กรุงเทพฯ รวมทั้งชุมชนที่จัดทำโครงการบ้านมั่นคงในจังหวัดต่างๆ เพื่อนำมาเป็นแนวทางการพัฒนาชุมชนคลองแม่ข่า
เช่น ชุมชนที่อาศัยอยู่ริมคลองแม่ข่าได้ จะต้องขยับบ้านให้พ้นแนวก่อสร้างเขื่อนคอนกรีตระบายน้ำ หรือแนวทางเดินเลียบคลอง ทำให้ชุมชนเหลือพื้นที่ไม่มาก ต้องสร้างบ้านใหม่เป็นบ้านแถว 2 ชั้น หันหน้าบ้านลงคลองติดถนนเลียบคลอง เพื่อใช้หน้าบ้านทำมาค้าขายได้ รวมทั้งจะมีการส่งเสริมอาชีพ สร้างรายได้ การดูแลสิ่งแวดล้อมริมคลอง การจัดการขยะ น้ำเสีย การพัฒนาคุณภาพชีวิต ฯลฯ
นักท่องเที่ยวต่างชาติที่คลองแม่ข่า
จัดงาน ‘วันที่อยู่อาศัยโลกที่คลองแม่ข่า’
เนื่องในโอกาส ‘วันที่อยู่อาศัยโลก 2566’ หรือ ‘World Habitat Day 2023’ (องค์การสหประชาชาติกำหนดให้ทุกวันจันทร์แรกของเดือนตุลาคมทุกปีเป็นวันที่อยู่อาศัยโลก) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) หน่วยงานภาคี และเครือข่ายองค์กรชุมชน ได้ร่วมกันจัดงานวันที่อยู่อาศัยโลก 2566 ตลอดช่วงเดือนตุลาคม-ธันวาคมนี้ ตามภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศ เพื่อรณรงค์ให้ทุกภาคส่วนตระหนักถึงปัญหาการขาดแคลนที่อยู่อาศัยของประชาชนที่มีรายได้น้อย และนำเสนอรูปธรรมการแก้ไขปัญหาและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้น
ชาวริมคลองแม่ข่าในนาม ‘คนแป๋งเมือง’ หรือ ‘คนสร้างบ้านแปลงเมือง’ ร่วมงานวันที่อยู่อาศัยโลกที่กรุงเทพฯ เมื่อ 2 ตุลาคมที่ผ่านมา
ที่จังหวัดเชียงใหม่ จะมีการจัดงาน ‘วันที่อยู่อาศัยโลกภาคเหนือ 2566’ ในวันที่ 8-9 ธํนวาคมนี้ โดยจะมีการจัดกิจกรรมใน 2 พื้นที่สำคัญ คือที่ตำบลท่าผา อำเภอแม่แจ่ม และที่ชุมชนริมคลองแม่ข่า เทศบาลนครเชียงใหม่ ร่วมจัดโดยกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) จังหวัดเชียงใหม่ เทศบาลนครเชียงใหม่ อำเภอแม่แจ่ม เทศบาลตำบลท่าผา มูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (ภาคเหนือ) เครือข่ายสลัม 4 ภาค ใจบ้านสตูดิโอ และเครือข่ายคนแป๋งเมืองเชียงใหม่ โดยจะมีชาวบ้านในพื้นที่ เครือข่ายบ้านมั่นคง 5 ภูมิภาค ขบวนองค์กรชุมชนภาคเหนือ และผู้แทนภาคีเครือข่าย เข้าร่วมงานทั้ง 2 วันประมาณ 1,500 คน
ที่คลองแม่ข่า จะจัดงานวันที่อยู่อาศัยโลกในวันที่ 9 ธันวาคม โดยจะมีการจัดงาน 2 ช่วง คือ ช่วงเช้า 9.00-12.00 น.ที่สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (ห้องประชุมทองกวาว) มีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้การแก้ปัญหาที่ดินที่อยู่อาศัยและการพัฒนาคุณภาพชีวิตชาวชุมชน การมีส่วนร่วมของหน่วยงานทุกภาคส่วน เพื่อยกระดับการแก้ไขปัญหาร่วมกัน “เมืองของทุกคน” แนวทางการใช้ที่ดินรัฐในการแก้ปัญหาความเดือดร้อนด้านที่อยู่อาศัย ฯลฯ
คลองแม่ข่าที่เคยเน่าเหม็น ขยะลอยฟ่อง...กำลังจะกลับมาสวยใสตลอดลำคลองที่ยาวราว 31 กิโลเมตร
ส่วนช่วงบ่ายตั้งแต่เวลา 13.00-17.30 น. นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) จะเดินทางมาร่วมงาน พร้อมเป็นประธานสักขีพยานการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MoU.) 3 ฝ่าย ประกอบด้วย เทศบาลนครเชียงใหม่ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) และเครือข่ายองค์กรชุมชนเมืองเชียงใหม่ ในการใช้ที่ดินของรัฐแก้ปัญหาคลองแม่ข่าและลำน้ำสาขา ในพื้นที่เขตเทศบาลนครเชียงใหม่ พิธีมอบงบประมาณสนับสนุนการดำเนินงานโครงการบ้านมั่นคงในพื้นที่ภาคเหนือ ฯลฯ
หลังจากนั้น รมว.พม.จะเดินทางไปยังชุมชนหัวฝายและกำแพงงาม ริมคลองแม่ข่า เยี่ยมชมวิถีชีวิตผู้คนริมคลองแม่ข่าภายใต้บริบทการพัฒนาเมืองเชียงใหม่ ชมนิทรรศการการพัฒนาพื้นที่คลองแม่ข่า และทำกิจกรรมสัญลักษณ์การพัฒนาคลองแม่ข่า
ไม่นานจากนี้...คลองแม่ข่าจะได้รับการฟื้นฟูตลอดแนวคลอง...เปลี่ยนจากคลองที่ดำเน่าเหม็น ตื้นเขิน เป็น ‘คลองสวย น้ำใส ไหลดี ชุมชนมีสุข’ ขณะที่ชาวชุมชนริมคลองแม่ข่าจะได้มีที่อยู่อาศัยใหม่ที่มั่นคง และคนเชียงใหม่จะได้ใช้ประโยชน์จากคลองนี้ร่วมกันอย่างยั่งยืน...ตลอดไป !!
สีสันคลองแม่ข่าในยามค่ำคืน (ภาพจาก https://www.gourmetandcuisine.com/)
****************
เรื่องและภาพ : สำนักพัฒนานวัตกรรมชุมชนจัดการความรู้และสื่อสาร สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
สิงห์อาสา ร่วมกับ ม.เชียงใหม่ ออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ตรวจสุขภาพ อ.พร้าว จ.เชียงใหม่
สิงห์อาสา โดย มูลนิธิพระยาภิรมย์ภักดี และ บริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด ออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ต่อเนื่องเป็นปีที่ 37 โดยได้ลงพื้นที่แรกที่อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ ร่วมกับ 3 มหาวิทยาลัย 7 คณะทางการแพทย์ ได้แก่ คณะแพทยศาสตร์, คณะทันตแพทยศาสตร์, คณะเทคนิคการแพทย์ ม.เชียงใหม่
'บุญทรง' รายงานตัวที่เชียงใหม่ หลังได้พักโทษคดีทุจริตจีทูจีข้าว
นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในสมัยรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เดินทางรายงานตัวที่สำนักงาน
โฟกัสเชียงใหม่ต้นแบบความสำเร็จ งดขายเหล้าเทศกาลพร้อมเป็นตาสับปะรด
เชียงใหม่ต้นแบบความสำเร็จ ทุกเทศกาลประกาศงดขายงดดื่มเหล้า ทราบล่วงหน้า 15 วัน ประชุมหน่วยงานเกี่ยวข้องเตรียมพร้อมรับมือ ภาคประชาสังคมพร้อมใจเป็นตาสับปะรดร้องเรียน
พลเอกนิพัทธ์ ทองเล็ก นำทีมช่างชุมชน Kick Off ซ่อมบ้านผู้ประสบภัยพิบัติ ‘แม่ยาวโมเดล’
พอช. หนุนงบกว่า 30 ล้าน ซ่อม สร้าง 6 ตำบล 875 ครัวเรือน สร้างรูปธรรม การจัดการที่ดิน ที่อยู่อาศัย ยกระดับคุณภาพชีวิต พร้อมยื่นข้อเสนอเชิงนโยบายจากชุมชน ถึงรัฐบาล
'บุญทรง' พ้นคุก! ได้พักโทษกลับบ้านเชียงใหม่ คุมประพฤติ 3 ปี 5 เดือน
เจ้าหน้าที่จากสำนักงานคุมประพฤติ 7 กทม. เดินทางไปที่ ทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ เพื่อติดกำไลอีเอ็ม ให้กับนายบุญทรง เตริยาภิรมย์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ที่ได้รับการอภัยโทษ
ในหลวง พระราชินี ทรงเปิดประชุมนานาชาติ และงานโครงการหลวง 2567
ในหลวง พระราชินี ทรงเปิดประชุมนานาชาติ และเปิดงานโครงการหลวง 2567 ณ อุทยานหลวงราชพฤกษ์ จ.เชียงใหม่