รู้ทันการคุกคามทางเพศปรึกษา "เรา" RAO.ASIA

วันที่ 25 พ.ย.ของทุกปี ถือเป็นเดือนยุติความรุนแรง โดย UN กำหนด เป็น “วันยุติความรุนแรงต่อผู้หญิงสากล”  และจัดให้มีการรณรงค์ทั่วโลก เพื่อให้ตระหนักถึงปัญหาความรุนแรงที่กระทำต่อเด็กและสตรี ที่ไม่ได้เป็นเพียงสร้างความเจ็บปวดทางร่างกายเท่านั้น แต่ยังเป็นการสร้างบาดแผลให้เจ็บลึกเข้าไปในจิตใจของผู้ถูกกระทำหรือเหยื่อด้วย

ในส่วนของประเทศไทยนั้น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้ร่วมกับ แผนงานสุขภาวะผู้หญิงและความเป็นธรรมทางเพศ สมาคมเพศวิถีศึกษา ไซด์คิก (Sidekick) องค์กรออกแบบการสื่อสารเพื่อสังคม จัดงาน “เรา” พื้นที่พลังบวก เมื่อวันที่ 11 พ.ย.ที่ผ่านมา ที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร

นางภรณี ภู่ประเสริฐ ผู้ช่วยผู้จัดการกองทุน สสส. และรักษาการผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ (สำนัก 9) สสส. เปิดเผยว่า องค์กรเพื่อสตรีแห่งสหประชาชาติ (UN Women) ระบุว่า 88% ของผู้หญิงในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกถูกคุกคามทางเพศบนออนไลน์ โดยเด็กหญิงวัยรุ่น และคนกลุ่มเปราะบางรับผลกระทบมากที่สุด มีสาเหตุสำคัญจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

ข้อมูลจากมูลนิธิหญิงชายก้าวไกล ปี 2564 พบข่าวความรุนแรงในครอบครัวที่มีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นตัวกระตุ้น 24.7% และยาเสพติด 17.2% ผู้หญิงที่ถูกกระทำส่วนใหญ่ไม่สามารถออกจากความสัมพันธ์ได้ ชุมชนมีส่วนให้ความช่วยเหลือด้วยการเยียวยาเพื่อให้เกิดพื้นที่ปลอดภัย

ดังนั้น การควบคุมปัจจัยเสี่ยงหลัก อย่างเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ยังคงเป็นภารกิจหลักที่   สสส. มุ่งมั่นขับเคลื่อนต่อไป พร้อมผลักดันความรุนแรงเป็นประเด็นสาธารณะ เพื่อลดความรุนแรงอันเนื่องจากเหตุแห่งเพศ โดยมียุทธศาสตร์การดำเนินงาน 4 ด้าน 1.พัฒนาองค์ความรู้และแนวปฏิบัติในการลดความรุนแรง 2.พัฒนาต้นแบบในระดับชุมชนและสถานประกอบการ 3.เสริมศักยภาพแกนนำ/เครือข่ายลดความรุนแรง 4.สนับสนุนการขับเคลื่อนงานนโยบายลดความรุนแรง

สสส.ร่วมกับ ภาคีเครือข่ายดำเนินงานยุติปัญหาความรุนแรง จัดงาน “เรา” พื้นที่พลังบวก สะท้อนให้สังคมได้เห็นถึงปัญหาความรุนแรงที่เกิดขึ้นในสังคมไทย ผลักดันให้เป็นประเด็นสาธารณะ ที่ทุกภาคส่วนให้ความสำคัญร่วมแก้ไข ในงานมีการเปิดตัวแพลตฟอร์ม “เรา” ชุมชนออนไลน์เสริมพลังหญิง ให้ได้ทดลอง Public Beta Testing ก่อนใช้งานจริงในต้นปี 2567

ดร.วราภรณ์ แช่มสนิท ที่ปรึกษาแผนงานสุขภาวะผู้หญิงฯ สมาคมเพศวิถีศึกษา ชี้แจงว่า ได้รับการสนับสนุนจาก สสส. มีความห่วงใยความรุนแรงเรื่องเพศ การคุกคามทางเพศ ลดปัญหาความรุนแรงบนรถขนส่งสาธารณะ ความรุนแรงในพื้นที่สาธารณะ โดยเฉพาะในช่วงโควิดระบาด คนในสังคมอยู่กับการทำงานบนโลกออนไลน์เพิ่มขึ้น 50-70% ทั่วโลก การคุกคามทางเพศบนโลกออนไลน์ก็เพิ่มจำนวนมากขึ้น

“การใช้คำพูดเสียดแทงคนอื่น การส่งข้อความผ่านสื่อ การถูกเนื้อต้องตัวก็เป็นส่วนหนึ่งของการคุกคามทางเพศ เพราะคนที่ถูกกระทำไม่ได้รู้สึกยินดีหรือไม่ต้องการ ทำให้เครียด รู้สึกไม่ปลอดภัย ส่งผลกระทบต่อจิตใจ สร้างบรรยากาศไม่ปลอดภัยในที่ทำงาน มีการคุกคามคนรอบข้าง โดยเฉพาะคนที่เป็นหัวหน้างานกระทำต่อลูกน้องในที่ทำงาน สมัยก่อนคนถูกคุกคามไม่กล้าพูด แต่ในช่วง 6 ปีที่ผ่านมาคนถูกคุกคามทางเพศกล้าพูดมากขึ้น บอกกับสังคมว่าตัวเองถูกทำร้าย ไม่หนี คนที่คุกคามทางเพศคือคนผิดที่จะต้องรับผิดในสิ่งที่ตัวเองเป็นผู้กระทำ องค์กรหน่วยงานเมื่อมีบุคลากรคุกคามทางเพศ ต้องแก้ไขปัญหาเมื่อมีการร้องเรียน ขณะนี้มีองค์กรเรา.ASIA รับแก้ไขปัญหาทางไลน์ สมัครสมาชิก”

ปี 2564-2566 แผนงานสุขภาวะผู้หญิงฯ  ร่วมกับ Sidekick และผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยา ศึกษาข้อมูลทำงานกับเยาวชนหญิงที่กำลังศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย รวมทั้งเริ่มเข้าสู่วัยทำงานพบว่า เคยประสบเหตุการณ์ถูกคุกคาม หรือล่วงละเมิดในเรื่องที่เกี่ยวกับเพศ จำนวน 270 คน จาก 18 มหาวิทยาลัย 75% เคยถูกคุกคามทางเพศโดยคนแปลกหน้าในที่สาธารณะ ตามมาด้วยการคุกคามทางเพศในพื้นที่ออนไลน์ 58% และ 87% ของเยาวชนกลุ่มนี้บอกว่าเมื่อเจอเหตุการณ์ถูกคุกคาม หรือมีภาวะที่ถูกกระทบทางจิตใจจากเหตุการณ์ในอดีตจะเลือกหาความช่วยเหลือจากเพื่อนและคนในครอบครัว มีเพียง 20% ที่เลือกใช้ช่องทางความช่วยเหลือแบบเป็นทางการ เช่น จิตแพทย์ ตำรวจ และสายด่วนต่างๆ และยังมีอีก 10% ที่บอกว่าไม่เคยขอความช่วยเหลือจากแหล่งใดๆ เลย

“เหตุการณ์ที่เคยถูกคุกคามหรือล่วงละเมิดในอดีตได้สร้างผลกระทบทางจิตใจ มีผลไปถึงการเรียน การทำงาน และการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น รู้สึกเครียด หวาดผวา เสียความมั่นใจในตัวเอง บางส่วนต้องเปลี่ยนเบอร์โทรศัพท์ ยกเลิกหรือเปลี่ยนบัญชีโซเชียลมีเดีย และส่วนใหญ่บอกว่าไม่กล้าเข้าสังคมและทำความรู้จักคนใหม่ๆ จึงพัฒนาแพลตฟอร์ม “เรา” โดยมีผู้เชี่ยวชาญทางจิตวิทยาเป็นที่ปรึกษา ให้ข้อมูล โดยมีรูปแบบการแชร์ประสบการณ์ การก้าวข้ามเรื่องร้ายๆ ในอดีตของบุคคลที่มีชื่อเสียง เคล็ดลับการสร้างวันดีๆ ให้กับตัวเอง ช่องทางการพูดคุยแลกเปลี่ยนออนไลน์ โดยจัดกิจกรรมเยียวยา และเสริมพลังทั้งแบบออนไลน์ และออฟไลน์ที่สมาชิกสมัครเข้าร่วมได้ มีข้อมูลหน่วยงานให้ความช่วยเหลือ สำหรับผู้ที่ต้องการ เข้าใช้งานได้ที่ www.rao.asia แพลตฟอร์มของเพื่อนที่เข้าใจ” ดร.วราภรณ์เปิดเผย

ในช่วง 6 เดือนเราไม่คาดหวังว่าปัญหาจะลดลงในเวลาสั้นๆ แต่สร้างความตระหนักรู้การคุกคามทางเพศเป็นเรื่องซับซ้อน ใครที่โดนสมัยก่อนจะเก็บเงียบไม่บอกใคร แต่ช่วงหลังอิทธิพลจากข้อมูลข่าวสารคนที่ถูกคุกคามกล้าพูดมากขึ้นในพื้นที่สังคมรับรู้จะได้ช่วยกันเปลี่ยนแปลงลดปัญหาได้

ทิพย์เกสร สุตันคำ ตัวแทนผู้ใช้งานแพลตฟอร์ม “เรา” เปิดเผยว่า ทุกวันนี้การรักษาทางจิตเวชสังคมไม่ได้รู้สึกว่าเป็นสิ่งผิดปกติ ขณะนี้แพทย์ทางจิตเวชมีจำนวนน้อย ไม่มีเวลามากพอที่จะรับฟังปัญหาอย่างละเอียด ดังนั้นช่องทางแพลตฟอร์ม “เรา”  เป็นพื้นที่ปลอดภัย เป็นช่องทางให้สร้างเพื่อน สร้างกำลังใจ มอบแรงบันดาลใจให้กัน ใช้งานได้ทุกช่วงเวลา ทั้งตอนรู้สึกดาวน์ ต้องการกำลังใจ หรือช่วงเวลาที่รู้สึกดีๆ และอยากแบ่งปัน Feature ที่ชอบมากที่สุดคือ พื้นที่พูดคุยแลกเปลี่ยน ด้วยความที่ไม่ต้องเปิดเผยตัวตน จึงทำให้รู้สึกสบายใจที่จะพูดคุยกับคนอื่นๆ ในพื้นที่ชุมชนของ “เรา” มีประสบการณ์ เคยเจอเหตุการณ์คล้ายๆ กัน ก็จะเข้าใจกันมากกว่าเวลาคุยกับคนรอบข้างที่มองว่าสิ่งที่เราเจอมาเป็นแค่เรื่องเล็กน้อย จนทำให้เลือกเก็บทุกอย่างไว้คนเดียวมาตลอด พอมาเจอช่องทางที่ได้พูดและได้รับการตอบกลับมาเป็นข้อความที่ดี เป็นกำลังใจ ให้ข้อคิด ทำให้เราเจอทางออกอีกทาง

ภัสรนันท์ อัษฏมงคล หรือ เบียร์ แบ่งปันประสบการณ์ที่ได้รับบาดแผลทางใจ Trauma ที่สำคัญ เพื่อน คนรัก ครอบครัว เข้าใจ ช่วยให้ผ่านพ้นวิกฤตมาได้ “การที่เรามีคนใกล้ตัวรักเรา พร้อมที่จะรับฟัง ยิ่งบอกปัญหาได้เร็วเท่าไหร่ก็จะแก้ไขปัญหาได้เร็วเท่านั้น ถ้าเก็บปัญหาไว้กับตัวนานๆ ก็จะเกิดความเครียด การที่เราเป็นผู้ถูกกระทำได้รับความเดือดร้อน อย่าแบกปัญหาไว้คนเดียว ทุกคนพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือ.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ความเครียด..ภัยเงียบของสังคมไทย! ห้ามไม่ได้..แต่รู้เท่าทันอยู่ให้เป็นได้

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดเวทีการประชุม Forum สุขภาพคนไทย 2567 เมื่อวันที่ 14 มิ.ย. 2567 ที่อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ

ครั้งแรก!! สสส.สานพลังภาคีเครือข่าย สร้าง“สังคมปลอดคุกคามทางเพศ”

ปัญหาสังคมในสถานที่ทำงาน อย่างการคุกคามทางเพศ ไปจนถึงการบูลลี่ด้วยสายตาและวาจา เป็นเรื่องจริงที่หลายคนเลือกที่จะนิ่งเฉย และมองข้าม

เครือข่ายเป็นหูเป็นตาฯ ร่วมกับสสส. ระดมสมองกว่า 20 ภาคี ร่วมจัดทำแผนจัดการความปลอดภัยทางถนนปี 2568

เครือข่ายเป็นหูเป็นตาเพื่อสังคม เดินหน้าขับเคลื่อนสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยทางถนนในประเทศไทย ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

ปอด..คนไทยไม่ปลอดภัย "PM2.5-บุหรี่ไฟฟ้า"ตัวร้าย!!

อันตรายที่มองไม่เห็นอย่างฝุ่น PM2.5 กำลังคร่าชีวิตและบ่อนทำลายสุขภาพของคนในสังคมไทยอย่างเงียบเชียบ ด้วยตัวเลขที่มีการยืนยันว่า คนไทยกำลังเผชิญปัญหาฝุ่น PM2.5

ต้อนรับเทศกาลPride Month รู้ให้จริง..กม.รับรองเพศสภาพ

องค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศถอนภาวะการมีเพศสภาพไม่สอดคล้องกับเพศกำเนิด ออกจากหมวดความผิดปกติทางจิตและพฤติกรรมในบัญชีจำแนกโรคสากลฉบับที่ 10 (ICD-10)

โพลชี้เกือบ 1 ใน 4 เคยพบ/เห็นการคุกคามทางเพศในที่ทำงานอีก 126 คน เจอกับตัว กอด-จูบ-ลูบ-คลำ มีครบ ม

เมื่อวันที่ 4 มิ.ย. 2567 ที่อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สานพลัง ภาคีเครือข่าย ประกาศเจตนารมณ์การป้องกันการคุกคามทางเพศ โ