เป็นอีกหนึ่งเวทีที่น่าจับตามอง กับการคืนถิ่นลานเกียร์ของเหล่าพี่น้องชาววิศวะ จุฬาฯ ที่ผนึกกำลังรวมตัวถ่ายทอดประสบการณ์ชีวิต ธุรกิจ และการเมือง ส่งต่อแรงบันดาลใจและเคล็ดลับความสำเร็จแก่ศิษย์เก่ารุ่นเยาว์ในงาน “IYA Forum 2023” ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งที่ 4 นับตั้งแต่ปี 2017 ที่ได้ศิษย์เก่าผู้มีชื่อเสียงในแวดวงต่างๆ มาร่วมวงเสวนาเพื่อต่อยอดและแลกเปลี่ยนความรู้ สู่การพัฒนาประเทศ พร้อมสร้างเครือข่ายสไตล์ IYA
นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รองหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ อีกหนึ่ง Speaker อดีตรุ่นพี่วิศวะจุฬาฯ (วศ 2533) มาร่วมวงเสวนา "ถอดรหัสประเทศไทย อดีต ปัจจุบัน และ อนาคต" ร่วมกับ อีกสามดาวเด่นแวดวงการเมืองยุคใหม่ อย่าง ชัยธวัช ตุลาธน หัวหน้าพรรคก้าวไกล , วทันยา บุนนาค จากพรรคประชาธิปัตย์ และ รัฐ คลังแสง สส.จากพรรคเพื่อไทย โดยนายชัยวุฒิได้ถอดรหัสในประเด็นการเมืองไว้อย่างน่าสนใจ ซึ่งในช่วงแรกได้พาทุกคนย้อนกลับไปสมัยเป็นนิสิตวิศวะ จุฬาฯ ปี พ.ศ. 2533 ซึ่งมีความสนใจการเมืองอย่างมาก พร้อมลิ้มรสบทบาทการเมืองครั้งแรกหลังได้รับตำแหน่ง “หัวหน้านิสิต” ณ ขณะนั้น พร้อมเป็น 1 ในนิสิต นักศึกษาที่ร่วมลงถนน ประท้วงรัฐบาลครั้งสำคัญครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์การเมืองที่มี พล.อ. สุจินดา คราประยูร เป็นนายกรัฐมนตรี และต่อต้านการสืบทอดอำนาจของ คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ระหว่างวันที่ 17-24 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 ซึ่งเป็นการรัฐประหาร รัฐบาล พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ ซึ่งนายชัยวุฒิมองว่า เป็นเหตุการณ์สำคัญที่นำไปสู่การใช้รัฐธรรมนูญ 2540 ที่เป็นต้นเหตุของปัญหาเรื้อรัง ณ ปัจจุบัน
อีกหนึ่งประเด็นร้อนแรงอย่างการทำรัฐประหาร ในทัศนะการเปลี่ยนขั้วอำนาจ นายชัยวุฒิกล่าวว่า “ยอมรับว่าหลังจากการเปลี่ยนการปกครองมีการรวมศูนย์อำนาจไว้ที่คณะการเปลี่ยนแปลงการปกครอง มีการช่วงชิงอำนาจมาโดยตลอด พูดง่ายๆคือ ประชาธิปไตยไม่เต็มใบตั้งแต่แรก ก่อนที่ในช่วงหลังๆ รัฐบาลไม่ตอบโจทย์ความต้องการของประชาชน จากการทุจริตคอร์รัปชัน ความยากจนของประชาชน และสร้างความไม่พอใจแก่ประชาชน เกิดกลุ่มคนที่ออกมาต่อต้านที่นำไปสู่ความรุนแรง ตนมองว่าการรัฐประหารเป็นเหมือนการ Set Zero เพื่อยุติปัญหาดังกล่าว”
พรรคพลังประชารัฐและพลเอกประวิตร น่าจะเป็นของคู่กันที่ทำให้หลายๆ คนสงสัยว่าหากพลเอกประวิตรวางมือทางการเมืองจริง แนวทางพรรคจะเป็นอย่างไร นายชัยวุฒิกล่าวยืนยันประเด็นนี้ว่า พลเอกประวิตรยังคงเป็นแกนนำของพรรค แต่ถ้าวันหนึ่งมีการเปลี่ยนแปลง ก็คงเป็นเรื่องที่สมาชิกจะต้องมาหาแนวทางใหม่ร่วมกันในอนาคต
นายชัยวุฒิกล่าวทิ้งท้ายถึงอนาคตของประเทศไทยว่า "เรื่องของประชาธิปไตย ที่ผ่านมาจะเป็นเรื่องของสิทธิ เสรีภาพ การเรียกร้องให้ได้มีการเลือกตั้ง มาจนถึงวันนี้ได้มีการเลือกตั้งเกิดขึ้นแล้ว สิ่งสำคัญที่สุดคือ ประชาธิปไตยต้องเต็มใบ มีการถ่วงดุลอำนาจ ตรวจสอบการทำงานระหว่างระบบราชการ นักการเมือง องค์กรอิสระต่างๆ โดยบูรณาการในการทำงานร่วมกันอย่างบริสุทธิ์ ยุติธรรม ประเทศไทยก้าวหน้าประชาชนอยู่ดีกินดี"
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'ธีระชัย' ท้า! ก.ต่างประเทศแจง กัมพูชายอมรับเกาะกูดเป็นของไทยแล้วลากเส้นผ่าทำไม
นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการด้านวิชาการ พรรคพลังประชารัฐ โพสต์ข้
'แบงก์ชาติยันเกาะกูด'
ผมเห็นหัวอก "คุณกิตติรัตน์ ณ ระนอง" ด้วยใจจริง โอกาสเป็น "ประธานบอร์ดแบงก์ชาติ" ของท่าน
'นพดลย้อน-คำนูณแย้ง'
ฟัง "คุณนพดล ปัทมะ" ผู้มีส่วนร่วมใน MOU 44 ไปแล้ว ประเด็นหลักที่ต้องเน้นให้เข้าใจกันตามที่คุณนพดลให้สัมภาษณ์
แฮร์ริส VS ทรัมป์ สูสีอะไรเบอร์นี้ | จับจ้องมองโลก..อิสรา สุนทรวัฒน์
แฮร์ริส VS ทรัมป์ สูสีอะไรเบอร์นี้ | จับจ้องมองโลก.. จับจ้องมองโลก..อิสรา สุนทรวัฒน์ : วันอาทิตย์ที่ 03 พฤศจิกายน พ.ศ.2567
‘พล.ร.อ.พัลลัภ’ เตือนภัย กับดักบันได 3 ขั้น พ่ายเขมรเสียดินแดน..!! I อิสรภาพแห่งความคิด กับ..สำราญ รอดเพชร
อิสรภาพแห่งความคิด กับ..สำราญ รอดเพชร : วันเสาร์ที่ 02 พฤศจิกายน 2567
MOU 44 'ผูกมัดใครกันแน่?'
"MOU 44" จริงๆ แล้ว มันยังไงกัน "ใครได้-ใครเสีย?"ฟังแต่ละผู้รู้แล้ว ยังมึนซ้าย-มึนขวา เมื่อวาน อ่านบทสัมภาษณ์ "คุณนพดล ปัทมะ" อดีต รมว.ต่างประเทศ ในเว็บไซต์ "แนวหน้า"