ทำความรู้จัก ‘หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด’ นวัตกรรมทางการแพทย์ยุคใหม่ ช่วยเพิ่มความสำเร็จในการผ่าตัดมากขึ้น!

หุ่นยนต์ (Robot) คือเครื่องจักรกลอัตโนมัติที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อทำงานแทนมนุษย์ มีศักยภาพทำในสิ่งที่มนุษย์ไม่สามารถทำได้และสามารถทำได้เทียบเคียงเท่ากับมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่ช่วยให้เราใช้ชีวิตได้ง่ายขึ้น รวดเร็วขึ้น ปลอดภัยมากขึ้น รวมไปถึงสามารถรักษาและเยียวยาความเจ็บปวดของเราได้ด้วย อย่าง หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด หนึ่งในนวัตกรรมทางการแพทย์ที่ได้รับการพัฒนามาเพื่อให้ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยศัลยแพทย์ ลด Human Error ที่ควบคุมไม่ได้ มีความแม่นยำ พร้อมเสริมโอกาสให้การผ่าตัดมีความสำเร็จถึง 95% นอกจากนี้แผลที่ได้จากการผ่าตัดยังมีขนาดเล็ก ทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว

หลายคนอาจจะเคยได้ยินหรือทราบข้อมูลเกี่ยวกับหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดกันมาบ้าง และอาจจะยังมีข้อสงสัยว่าหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดนั้นมีกลไกทำงานอย่างไร ผ่าตัดรักษาโรคไหนได้บ้าง แล้วจะเหมือนกับซีนในภาพยนตร์ Sci-Fi ที่หุ่นยนต์มี AI ช่วยรักษาให้ทุกจุดในร่างกายหรือไม่? ในบทความนี้เราเลยขอพาทุกคนไปรู้จักหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดแบบ Insight มากขึ้น พร้อมพาไปดูว่าขณะที่ผ่าตัดรักษาโรคต่างๆ หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดทำงานอย่างไร ทำไมถึงเพิ่มความสำเร็จในการผ่าตัดมากขึ้นนะ ตามมาดูเลย!

ทำความรู้จัก หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด คืออะไร

หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด หรือ Robotic Surgery คือ เครื่องมือสำคัญทางการแพทย์ชนิดหนึ่ง ที่เป็นการประสานการทำงานของเทคโนโลยีเครื่องจักรกล ระบบคอมพิวเตอร์ และการขยายภาพสามมิติ (3D) รวมกันเพื่อช่วยให้การผ่าตัดมีความแม่นยำและปลอดภัยมากขึ้น ทำให้ศัลยแพทย์สามารถเข้าถึงในบริเวณที่ซับซ้อนและเข้าถึงยากได้ โดยจะต้องมีศัลยแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางในโรคและการรักษานั้นๆ เป็นผู้ดำเนินการผ่าตัด ดังนั้นใครที่มีความกังวลว่า หุ่นยนต์จะทำงานผิดพลาด หยุดการทำงานกะทันหันขณะผ่าตัด ต้องบอกว่าเหตุการณ์นั้นแทบไม่มีโอกาสเกิดขึ้น เพราะทุกขั้นตอนจะอยู่ในการควบคุมของแพทย์ผู้ชำนาญและมากประสบการณ์ มั่นใจด้านความปลอดได้อย่างแน่นอน

กลไกการทำงานของหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด

รู้ความหมายเบื้องต้นของหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดกันไปแล้ว ถัดมาเรามาดูกลไกการทำงานของหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดกันบ้างดีกว่า ว่าหุุนยนต์ช่วยผ่าตัดที่เข้าถึงจุดในบริเวณที่ยากและซับซ้อนได้ แถมยังผ่าตัดเสร็จยังได้แผลเล็กมากๆ มีองค์ประกอบหลักยังไงบ้าง มีหน้าที่อย่างไร และหลายคนที่อาจจะมีภาพจำจากภาพยนตร์หรือสื่ออื่นๆ ที่เป็นการสมมติการทำงานของหุ่นยนต์ทางการแพทย์จะได้ไม่เกิดความเข้าใจผิดกัน ไปดูแต่ละส่วนเลย

1. กล้องที่ให้ภาพขยายแบบ 3 มิติ

องค์ประกอบแรกในหหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด คือ กล้องที่ให้ภาพขยายแบบ 3 มิติ ทำหน้าที่มอนิเตอร์ภาพรวมการผ่าตัด มีมิติทั้งด้านความลึกและความคมชัด ที่ช่วยให้ศัลยแพทย์สามารถมองเห็นรายละเอียดต่างๆ ของอวัยวะภายในร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นเนื้อเยื่อและเส้นประสาทได้อย่างชัดเจนและแบบเรียลไทม์ ซึ่งช่วยให้การผ่าตัดมีความแม่นยำและละเอียดมากขึ้นนั่นเอง

2. ชุดควบคุมหรือสั่งการหรือระบบคอมพิวเตอร์ของหุ่นยนต์ (Console)

ชุดควบคุมหรือสั่งการหรือระบบคอมพิวเตอร์ของหุ่นยนต์ ทำหน้าที่ตรวจสอบสภาพความเหมาะสมของตำแหน่งอวัยวะส่วนต่างๆ ที่ทำการผ่าตัดให้มีความแม่นยำมากขึ้น มองผ่านจอ 3 มิติที่ถ่ายจากกล้องขยาย โดยหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดบางชนิดนั้นจะสามารถปรับที่นั่งให้เหมาะสมกับการทำงานของศัลยแพทย์ได้ด้วย เช่น ระดับความสูงของที่นั่ง ตำแหน่งทิศทางที่ขยับ ซึ่งจะช่วยลดความเหนื่อยล้าของศัลยแพทย์ขณะที่ต้องผ่าตัดได้เป็นอย่างดีเลย

3. มือกลหรือแขนกล (Wristed Instruments)

มือกลหรือแขนกล เป็นหัวใจสำคัญของหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดที่ทำให้การผ่าตัดมีโอกาสสำเร็จมากขึ้น เพราะช่วยป้องกันสิ่งที่เรียกว่า Human Error ได้ ถูกออกแบบให้สามารถหมุนและโค้งงอได้รอบทิศทางกว่า 7 ทิศทาง ซึ่งเคลื่อนไหวได้อิสระมากกว่ามนุษย์ที่จับอุปกรณ์ผ่าตัดด้วยตนเอง นอกจากนี้ยังมีความแม่นยำมาก มือกลหรือแขนกลจะมีระบบตรวจจับการสั่น หรือการขยับที่เสี่ยงต่อการผ่าตัดผิดพลาดด้วย เช่น เคสที่มือของศัลยแพทย์ขยับออกนอกทิศทางการผ่าตัดที่กำหนดเอาไว้ มือกลหรือแขนกลก็จะทำการล็อกไว้อัตโนมัติ ให้ขยับได้เพียง 1 มิลลิเมตรเท่านั้น

4. เตียงที่ออกแบบมาเป็นพิเศษให้เข้ากับการผ่าตัดด้วยหุ่นยนต์

นอกเหนือจาก 3 กลไกหลักก่อนหน้าแล้ว ในหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดบางประเภทนั้น จะทำงานกับเตียงที่ออกแบบมาเป็นพิเศษ เพื่อให้สามารถนำเครื่องมือทางการแพทย์ และอุปกรณ์ที่ใช้ในการผ่าตัดต่างๆ ที่ต้องนำเข้าไปในร่างกายเพื่อทำการรักษา ปลูกถ่าย หรือเปลี่ยนอวัยวะได้สะดวกและมีความแม่นยำมากยิ่งขึ้น

หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด ผ่าตัดรักษาโรคอะไรได้บ้าง

หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดทำงานผ่านกลไกหลักๆ 3 อย่าง คือ กล้องที่ให้ภาพขยายแบบ 3 มิติ ชุดควบคุมหรือสั่งการหรือระบบคอมพิวเตอร์ของหุ่นยนต์ และมือกลหรือแขนกล และในหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดบางชนิดอาจมีเตียงที่ออกแบบมาเป็นพิเศษให้เข้ากับการผ่าตัดด้วยหุ่นยนต์ด้วย กลไกจากหุ่นยนต์ช่วยให้การผ่าตัดเหล่านี้ได้ช่วยรักษาชีวิตผู้ป่วยมาแล้วมากมายเลย และสามารถนำไปปรับใช้ได้กับหลากหลายการรักษา ในกรณีที่ต้องมีการผ่าตัดเพื่อซ่อมแซมอวัยวะ หรือปลูกถ่ายอวัยวะใหม่ ซึ่งโรคทางการแพทย์ที่ในประเทศไทยนิยมใช้หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดรักษา อาทิ  โรคเกี่ยวกับช่องท้อง โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก และรักษาโรคขอเข่าเสื่อม

รักษาโรคเกี่ยวกับช่องท้อง

โรคในช่องท้องหลายๆโรค มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัด ยิ่งถ้าได้รับการรักษาช้า อาจส่งผลให้โรคช่องท้องลุกลามไปยังส่วนอื่นๆ ด้วย อย่างโรคนิ่วในถุงน้ำดี มะเร็งตับ มะเร็งตับอ่อน มะเร็งถุงน้ำดี นิ่วในถุงน้ำดี ฯลฯ โดยหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดที่มาพร้อมแขนกลอัจฉริยะเป็นอีกทางเลือกของการรักษาที่ช่วยให้ศัลยแพทย์ทำการผ่าตัดรักษาโรคในช่องท้องได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น แผลเล็ก และฟื้นตัวได้รวดเร็ว ซึ่งแขนกลของหุ่นยนต์จะมีเครื่องมือผ่าตัดและกล้องส่องอวัยวะภายในที่ช่วยให้เห็นภาพแบบ 3 มิติ โดยศัลยแพทย์จะเป็นผู้ควบคุมการเคลื่อนไหวของแขนกลแบบเรียลไทม์

รักษามะเร็งต่อมลูกหมาก

โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก เป็นโรคยอดฮิตที่พบมากในเพศชายและเป็นอันตรายถึงชีวิต ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ไม่สามารถใช้อวัยวะเพศได้ปกติ อีกทั้งเซลล์มะเร็งเหล่านั้นยังสามารถแพร่กระจายผ่านกระแสเลือดหรือต่อมน้ำเหลืองไปยังอวัยวะส่วนอื่นๆ ของร่างกาย ทำให้อวัยวะเหล่านั้นเสียหายและถูกทำลายได้ด้วย โดยการใช้หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดจะทำให้โอกาสในการเกิดอาการแทรกซ้อนมีน้อยกว่าการผ่าตัดแบบเปิดและการผ่าตัดแบบส่องกล้อง แพทย์จะทำการประเมินสภาพร่างกายและอาการของผู้ป่วยมะเร็ง ส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ และดำเนินการเตรียมตัวเหมือนการผ่าตัดทั่วไป ขณะผ่าตัดด้วยหุ่นยนต์ จะทำการผ่าตัดบนเตียงที่ออกแบบมาพิเศษ แขนกลจะช่วยสอดอุปกรณ์ขนาดเล็กเข้าไปในช่องท้อง และหากเสี่ยงต่อความผิดพลาดจะทำการล็อกไม่ให้ขยับทันที เพื่อเพิ่มความแม่นยำให้มากที่สุด

รักษาข้อเข้าเสื่อม

โรคข้อเข่าเสื่อม คือ โรคที่กระดูกอ่อนผิวข้อเข่าเสื่อมลง ไม่ว่าจะเป็นรูปร่าง โครงสร้าง การทำงานของกระดูกและข้อต่อ และเมื่อไม่มีผิวกระดูกอ่อนมาห่อหุ้ม เนื้อกระดูกก็จะชนกันขณะรับน้ำหนัก หรือเคลื่อนไหว ทำให้เกิดอาการปวดเข่า เข่าบวม ข้อยึดติด ซึ่งบางรายอาจไม่สามารถเคลื่อนไหวเข่าได้เลย จึงจำเป็นต้อมีการรักษาด้วยการผ่าตัด โดยหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดสามารถนำมารักษาโรคข้อเข่าเสื่อมและการเปลี่ยนข้อเข่าเทียมได้ วางแผนก่อนผ่าตัดทั้งขนาด ตำแหน่ง และมุมของข้อเข่า ประมวลผลจาก CT Scan หลังจากนั้นทำการส่งผลไปยังแขนกลหุ่นยนต์ เพื่อเพิ่มความแม่นยำในการผ่าตัด ศัลยแพทย์จะใช้หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดที่มีแขนกลปรับสมดุลของข้อเทียมได้ในระดับมิลลิเมตร ที่เหมาะสมกับร่างกายของผู้ป่วยแต่ละคนมากที่สุด ทำให้ผู้ป่วยสามารถขยับข้อต่อได้ทุกองศาและสามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้อย่างเป็นปกติที่สุดนั่นเอง

และนี่คือหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด หนึ่งในนวัตกรรมทางการแพทย์ยุคใหม่ ที่ช่วยให้การผ่าตัดรักษาโรคต่างๆ มีโอกาสสำเร็จมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นโรคภายในช่องท้อง มะเร็งต่อมลูกหมาก หรือโรคข้อเข่าเสื่อม ด้วยการทำงานของกลไกอัจฉริยะ ลด Human Error ส่งผลให้การผ่าตัดมีความแม่นยำและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ปัจจุบันโรงพยาบาลหรือศูนย์การแพทย์เฉพาะทางในประเทศไทยมีการใช้หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดรักษาผู้ป่วยกันแพร่หลายมากขึ้นแล้ว อย่างที่ KDMS Hospital โรงพยาบาลเฉพาะทางกระดูกและข้อ ข้อดีมีสุข ที่ได้ใช้หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเสื่อมให้กับผู้ป่วยมาแล้วหลากหลายเคส ไว้วางใจได้ว่าผู้ป่วยได้รับการรักษาที่มีประสิทธิภาพ แถมยังใช้เวลาพักฟื้นไม่นานอีกด้วย

สำหรับใครที่กำลังประสบปัญหาข้อเข่าเสื่อม รู้สึกเจ็บข้อต่อกระดูกตามร่างกาย จนไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้ปกติ การตัดสินใจเข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าด้วยหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดเป็นทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยรักษาอาการต่างๆ ได้อย่างแม่นยำ ตรงจุด และมีความปลอดภัยสูง สามารถขอคำปรึกษาและมองหาแนวทางการรักษาข้อเข่าเสื่อมได้ที่ KDMS Hospital ติดต่อสอบถามและหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ KDMS Hospital หรือโทร. 02-080-8999

เพิ่มเพื่อน