สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยฯ ร่วมกับภาคีเครือข่ายคนไทยไร้พุง สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย สำนักอนามัย กทม. กรมควบคุมโรค สมาคมเครือข่ายโรคไม่ติดต่อไทย เครือข่ายชมรมเบาหวานไทย ชมรมเพื่อเด็กและวัยรุ่นเบาหวาน กลุ่มเพื่อนเบาหวาน และภาคีภาคเอกชน โดยถือเอาวันเบาหวานโลก 14 พฤศจิกายน ของทุกปี เป็นช่วงเวลาในการจัดกิจกรรมรวมพลังรณรงค์การสร้างความรับรู้ (diabetes awareness) ในปีนี้มีการจัดงาน “มหกรรมสุขภาพเนื่องในวันเบาหวานโลก 2566”วันที่ 12 พฤศจิกายน 2566 ณ สยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์
รศ.นพ.เพชร รอดอารีย์ ประธานจัดงานวันเบาหวานโลก และเลขาธิการสมาคมโรคเบาหวาน กล่าวว่า อุบัติการณ์ของโรคเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และคุกคามไปทั่วโลก ข้อมูลของ IDF Atlas ปี 2021 พบมีผู้เป็นเบาหวานทั่วโลกมากกว่า 530 ล้านคน โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กวัยรุ่นและวัยหนุ่มสาว รวมทั้งผู้ใหญ่วัยต้นช่วงอายุน้อยกว่า 30 ปี ยังคงเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ กลุ่มประเทศที่มีอัตราเพิ่มขึ้นรวดเร็ว อยู่ในแถบแอฟริกา แปซิฟิกตะวันตก และเอเชียตะวันออกฉียงใต้ รวมทั้งประเทศไทย
“มีข้อมูลชี้ชัดว่าการดำเนินโรค ในวัยรุ่น วัยหนุ่มสาว และผู้ใหญ่วัยต้นนั้น รุนแรงกว่าเบาหวาน ที่เกิดในวัยกลางคนและผู้สูงอายุ รวมถึงตอบสนองต่อการรักษาได้น้อยกว่า นำไปสู่การเกิดโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ รวดเร็วและรุนแรงกว่า สร้างความสูญเสียอย่างมากทางเศรษฐกิจ เนื่องจากเป็นกลุ่มประชากรในวัยทำงาน”
ศ.เกียรติคุณ พญ.วรรณี นิธิยานันท์ นายกสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยฯ กล่าวเสริมว่าในประเทศไทย ยังคงมีผู้เป็นเบาหวานรายใหม่เพิ่มขึ้นปีละไม่ต่ำกว่า 3 แสนราย และมีผู้ที่เป็นเบาหวาน 5 คนใน 11 คน ที่ไม่ได้รับการวินิจฉัย เพราะไม่ตระหนักถึงอาการและความเสี่ยง ทำให้ตรวจคัดกรองล่าช้า หากไม่ได้รักษาอย่างเหมาะสม จะเกิดโรคแทรกซ้อนในอวัยวะต่าง ๆ
ที่พบบ่อย มีทั้งโรคหัวใจและหลอดเลือด เบาหวานขึ้นจอประสาทตา โรคไตวายจากเบาหวาน รวมถึงหลอดเลือดสมอง อัมพฤกษ์ อัมพาต ระบบประสาทชา เท้าเป็นแผลเรื้อรังไม่หายจนต้องตัดขา เบาหวานที่ควบคุมไม่ดีจะนำมาซึ่งโรคแทรกซ้อนมากมาย กลุ่มเด็กวัยรุ่นที่อ้วน รวมถึงคนวัยทำงานคือกลุ่มเสี่ยงที่มีอัตราการเกิดโรคเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ
“ปัจจุบันพบในเด็กและวัยหนุ่มสาวมากขึ้น ส่วนใหญ่จะเกิดจากโรคอ้วนในเด็กที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ซึ่งมีสาเหตุมาจากพฤติกรรมการบริโภคและการใช้ชีวิต
อย่างไรก็ตาม พ่อแม่จำเป็นต้อง รู้วิธีการดูแลลูก ให้ใช้ชีวิตอย่างสมดุล ทั้งการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย และการนอน จะทำให้เด็กเติบโตได้อย่างสมวัย ไม่มีภาวะน้ำหนักเกิน เพื่อป้องกันและลดความเสี่ยงเบาหวานในอนาคต ”
ทั้งนี้ จากการเก็บข้อมูลการลงทะเบียนผู้ป่วยเบาหวานในกลุ่มที่มีอายุน้อยกว่า 30 ปีในประเทศไทย พบว่า ผู้ป่วยที่อายุยังไม่ถึง 20 ปี 72% จะเป็นเบาหวานชนิดที่ 1 ที่มีสาเหตุจากระบบภูมิคุ้มกันทำลายตับอ่อน ทำให้ไม่สามารถสร้างอินซูลินได้ ส่วนกลุ่มอายุ 20 ปีขึ้นไปมักจะเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ปัจจุบันพบถึง 61% สาเหตุเกิดจากพฤติกรรมการบริโภคที่กินอาหารที่พลังงานสูง กินผักน้อย ชอบบริโภคขนมหวาน หรือเครื่องดื่มที่ใส่น้ำตาลมากเกินพอดี รวมถึงพฤติกรรมการใช้ชีวิตเนือยนิ่ง ขาดการออกกำลังกาย และการนอนหลับที่ไม่เพียงพอ
“จากการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยเห็นได้ชัดว่า เบาหวานชนิดที่สองในคนอายุต่ำกว่า 15-30 ปี จะเยอะขึ้น และลดลงหลังอายุ 70 ปี คนที่เป็นมาแล้วมักเสียชีวิตจากโรคแทรกซ้อน การที่คนไทยเป็นโรคอ้วนมากขึ้น ทำให้เบาหวาน และโรคในกลุ่ม NCDs อื่น ๆ ควบคุมได้ยากขึ้นด้วย ที่น่าห่วงคือกลุ่มคนวัยทำงานที่ไม่ตระหนักถึงอาการของเบาหวานหรือความเสี่ยงของตนเอง และได้รับการตรวจคัดกรองที่ล่าช้า ในขณะที่ประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ หากคนในวัยนี้ไม่ดูแลสุขภาพ เมื่อเข้าสู่วัยชราปัญหาสุขภาพต่างๆก็จะตามมา ส่งผลกระทบกับคุณภาพชีวิตและค่าใช้จ่ายทางสุขภาพของครอบครัวและประเทศ ”ศ.เกียรติคุณ พญ.วรรณี กล่าว ถึงแนวทางป้องกันโรคเพิ่มเติมว่า
ควรหลีกเลี่ยงอาหารหวานจัด เค็มจัด มันจัด หมั่นออกกำลังกาย ดูแลอารมณ์ การนอนหลับและรักษาน้ำหนักตัวให้สมดุล หากปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต ก็สามารถป้องกันได้ หรือคนที่เป็นเบาหวานแล้วไม่นาน ก็มีโอกาสกลับไปสู่ภาวะปกติจนสามารถลดการใช้ยาได้ เรียกว่า “เบาหวานระยะสงบ” ขณะเดียวกันการตรวจคัดกรอง จะช่วยให้ทราบความเสี่ยงได้เร็ว และจัดการดูแลให้เหมาะสมได้ทันท่วงที
ซึ่งสอดคล้องกับ แคมเปญวันเบาหวานโลก ในปี 2566 ของสมาพันธ์เบาหวานนานาชาติ
( IDF: International Diabetes Federation) ที่มุ่งเน้นให้ความสำคัญ ในการรู้ถึงความเสี่ยงของโรค และภาวะแทรกซ้อน สามารถชะลอหรือป้องกันได้โดยการปรับและรักษานิสัยที่ดีต่อสุขภาพ หากตรวจพบและรักษาแต่เนิ่น ๆ จะช่วยลดโอกาสการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรงและอาจถึงแก่ชีวิตได้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'แต๊งค์ พงศกร' หุ่นพัง-งานหาย! ตัดสินใจแปลงร่างเพื่อครอบครัว
แต๊งค์-พงศกร มหาเปารยะ รับเคยปาร์ตี้หนักจนลงพุง หนักถึง 80 กิโลกรัม แม้แต่เพื่อนในวงการยังจำหน้าไม่ได้ ทำให้งานจ้างหาย สุขภาพย่ำแย่ สู่การตัดสินใจแปลงร่างพลิกชีวิต มุ่งมั่นลดน้ำหนักได้ถึงเดือนละ 10 กิโล จนทวงคืนร่างทองภายใน 4 เดือนได้สำเร็จ โดยเจ้าตัวเปิดใจผ่านรายการ "คนแปลงร่าง"
"สิทธิในอาหาร..เพื่อชีวิตที่ดี" ทุกภาคส่วนต้องร่วมผลักดัน
องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) กำหนดให้วันที่ 16 ต.ค.ของทุกปี เป็นวันอาหารโลก (World Food Day) เพื่อให้ทุกคนตระหนักถึงสิทธิในอาหาร
สสส. ทำถึง กวาด 14 รางวัลสื่อสาร จากแอด พีเพิล อวอร์ส 2567 ผ่าน 5 ผลงาน สื่อสารการตลาดเพื่อสังคม “Walk Stadium” “หมวกกันน็อกคืนชีพ” “แอร์ล้างได้ปอดล้างไม่ได้” “พวงเครื่องปรุงจิ๋ว” “การเดินทางของบุหรี่”
น.ส.สุพัฒนุช สอนดำริห์ ผู้อำนวยการสำนักอาวุโส สำนักสื่อสารการตลาดเพื่อสังคม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า ผลงานโฆษณาและการสื่อสารการตลาดเพื่อสังคม สสส. ได้รับรางวัลแอด พีเพิล อวอร์ส 2567
‘NCDs’ ไม่ใช่ปัญหาระดับบุคคล แต่เกี่ยวโยง ‘สภาพแวดล้อมทุกมิติ’ ปรับ Ecosystem สร้างสุขภาพดีคือทางออก
การขับเคลื่อนเพื่อลดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ของประเทศไทยก่อนหน้านี้ โดยมีกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เป็นแม่งานหลัก ดูเหมือนว่