ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติปี 2564 พบว่าสถานการณ์การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนมีความรุนแรง โดยพบคนดื่มสูงสุดเกินกว่า 28% ของประชากรในพื้นที่ และอยู่ใน 10 อันดับสูงสุดของประเทศ ได้แก่ น่าน แพร่ เชียงราย พะเยา ด้วยปัจจัยบริบททางสังคมวิถีชีวิต ภูมิเศรษฐศาสตร์ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) พร้อมด้วยสำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า (สคล.) จึงร่วมกันขับเคลื่อน “น่านสร้างสุข model” ปฏิบัติการงดเหล้า ลดปัจจัยเสี่ยง 360 องศา เริ่มตั้งแต่เด็กปฐมวัย เยาวชน และประชาชน ปลูกพลังบวกเด็กปฐมวัย 3-5 ปี เพราะเป็นช่วงโอกาสทองของการพัฒนาด้านสมองและการเรียนรู้ เป็นวัยที่มีความกระตือรือร้นและมีความสามารถในการเรียนรู้ทุกสิ่ง
โดยเมื่อวันที่ 27 ต.ค. 2566 คณะทำงานได้ลงพื้นที่ศึกษาดูงาน “น่านสร้างสุข model”ที่องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านส้าน อ.เวียงสา จ.น่าน และศึกษาการสาธิตการเรียนการสอน “บ้านปลอดบุหรี่ โทษและพิษภัยของเหล้า"
นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนการพัฒนาระบบสุขภาพ สสส. ชี้แจงว่า แพทย์พบว่าความรู้ไม่ใช่ตัวกำหนดพฤติกรรม จิตสำนึกเป็นตัวสั่งการให้คนเราใช้ชีวิตอย่างไร 90% อยู่ที่พฤติกรรม จิตแพทย์ระบุว่าเด็กถูกปลูกฝังความคิดตั้งแต่อายุก่อน 7 ปี ดังนั้นเราต้องช่วยกันปลูกฝังเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 7 ปี ไม่ให้ลูกหลานสูบและดื่ม ด้วยการสร้างคนรุ่นใหม่ให้มีภูมิคุ้มกันเป็นอย่างดี เท่ากับการเป็นฉีดวัคซีนเข็มแรกให้แก่เด็ก
“สสส.สนับสนุนโครงการปลูกพลังบวกเพื่อสร้างจิตสำนึกภูมิคุ้มกันปัจจัยเสี่ยง (เหล้า บุหรี่) สำหรับเด็กปฐมวัย โดยร่วมกับ สคล. ตั้งแต่ปี 2560 โดยเน้นการพัฒนาทักษะชีวิตแก่เด็กปฐมวัย ปลูกฝังให้ความรู้เกี่ยวกับอันตราย โทษของบุหรี่ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ เพื่อให้เกิดความเข้าใจ ตลอดจนการพัฒนาทักษะการสอนของครู ผู้ดูแลเด็ก ให้มีทักษะการสอน พัฒนานวัตกรรมสื่อการสอนที่เหมาะกับเด็กเล็ก ดำเนินการใน 4 จังหวัด คือ น่าน, ศรีสะเกษ, ราชบุรี, ชุมพร ปัจจุบันมีสถานศึกษาเข้าร่วม 2,800 แห่งทุกสังกัดการศึกษา จากการสังเกตพฤติกรรมของเด็กปฐมวัยหลังเข้าโครงการ พบว่าเด็กปฐมวัยอายุต่ำกว่า 3 ปี ผ่านเกณฑ์ประเมินมีทักษะชีวิต 95.77% เด็กชั้นอนุบาลปีที่ 1 และ 2 (อายุ 3-5 ปี) ผ่านเกณฑ์ประเมิน 94.68% เด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3 (อายุ 5-6 ปี) ผ่านเกณฑ์ประเมิน 95.06% ทั้งนี้ เตรียมขยายผลดำเนินการให้ครอบคลุมทั่วประเทศ เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันลดปัจจัยเสี่ยงให้เด็กไทย” นพ.พงศ์เทพชี้แจง
นายศรีสุวรรณ ควรขจร คณะกรรมการกองทุน สสส. และประธานคณะกรรมการบริหารคณะที่ 1 กล่าวว่า สสส.สนับสนุนการสร้างความรอบรู้ทางสุขภาพ และทักษะความรู้เท่าทันด้านการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และสารเสพติด โดยเฉพาะกลไกและการรณรงค์ป้องกันเด็ก เยาวชน และกลุ่มเสี่ยงนักดื่มนักเสพหน้าใหม่ ให้ความสำคัญกับการพัฒนาศักยภาพชุมชนให้เกิดความเข้มแข็ง ทำให้เกิดนายอำเภอนักรณรงค์ เครือข่ายคนหัวใจหิน (คนงดเหล้าครบพรรษา) และคนเลิกเหล้าตลอดชีวิต (คนหัวใจเพชร) เกิดเป็นเครือข่ายนักรณรงค์ชวนคนเลิกเหล้าในปี 2565 จำนวน 98,141 คนทั่วประเทศ กระจายในองค์กรต่างๆ เช่น ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียน หน่วยงานราชการ ภาคเอกชน และเป็นกลไกสำคัญในการรณรงค์งดเหล้าตามเทศกาลและงานบุญประเพณี พร้อมต่อยอดชุมชนงดเหล้ายกระดับสู่ “ชุมชนท่องเที่ยวปลอดเหล้า ปลอดปัจจัยเสี่ยง" โดยเสริมพลังการท่องเที่ยวของชุมชนให้เป็นพื้นที่ปลอดภัย เช่น อบต.บ้านดอนไชย เส้นทางการท่องเที่ยววิถีทอผ้าไทยโบราณ ส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน สร้างรายได้ให้แก่ชุมชน และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทุกช่วงวัยให้มีสุขภาวะที่ดีทั้งชุมชน
นางกอบกมล ทบบัณฑิต นักวิชาการและผู้ประสานงานภาคเหนือ โครงการปลูกพลังบวกเพื่อสร้างจิตสำนึกภูมิคุ้มกันปัจจัยเสี่ยง (เหล้า บุหรี่) สำหรับเด็กปฐมวัย เปิดเผยว่า โครงการปลูกพลังบวกฯ เป็นกระบวนการส่งเสริมสร้างภูมิคุ้มกันพฤติกรรมเสี่ยงสำหรับเด็กปฐมวัย โดยพัฒนาชุดกิจกรรมบูรณาการกับแผนการสอน โดยมีคณะทำงานระดับจังหวัด ประกอบด้วย ศึกษานิเทศก์จาก สพป.เขตพื้นที่ มีครูแกนนำ กองการศึกษาจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นกลไกการขับเคลื่อนในระดับจังหวัด โดยได้จัดอบรมสถานศึกษาในจังหวัดน่าน 427 แห่ง มีการติดตามและประเมินผล ผ่านเกณฑ์และได้รับการรับรองเป็นสถานศึกษาต้นแบบในระดับดีเยี่ยม 13 แห่ง มีชุดกิจกรรมการเรียนการสอนสำหรับคุณครูปฐมวัย เรื่องเหล้า บุหรี่ สร้างเป็นหลักสูตรการอบรมเชิงปฏิบัติการ และนำไปบูรณาการกับแผนการจัดประสบการณ์เด็กได้ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยในสถานศึกษากว่า 600 แห่ง ในภาคเหนือรวม 7 จังหวัด ได้แก่ แพร่ พะเยา อุตรดิตถ์ เชียงใหม่ เพชรบูรณ์ พิษณุโลก สุโขทัย
นางเรณู มาละวัง ครูวิทยฐานะครูชำนาญการ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อบต.ส้าน ให้ข้อมูลว่า จากการเข้าอบรมหลักสูตรปลูกพลังบวกเพื่อสร้างจิตสำนึกภูมิคุ้มกันปัจจัยเสี่ยงสำหรับเด็กปฐมวัย ได้นำความรู้มาบูรณาการกับหลักสูตรสถานศึกษาในแผนการจัดประสบการณ์และกิจกรรมสร้างสรรค์ เช่นเพลง เกมการศึกษา มีกิจกรรมให้เด็กไปทำร่วมกับผู้ปกครองที่บ้าน อ่านนิทาน ระบายสี ทำใบงานร่วมกัน
เรื่องเหล้ากิจกรรมอันตราย (อันตราย เหล้าแช่ตับ) น.ส.สุภาภรณ์ พัฒนา ครูผู้สอนให้ความรู้ด้วยการนั่งล้อมวงผ่านการเล่านิทาน กระจงก่งก๊ง แต่งโดย ดร.ภญ.พัชราภรณ์ ปัญญาวุฒิไกร ภาพ กุลธวัช เจริญผล ตัวหนังสือ ด.ญ.ณฏา ประสมคำ เด็กๆ จะชอบร้องเพลงประกอบท่าทาง เพลงกระจงก่งก๊ง สื่อถึงการดื่มเหล้าส่งผลให้สมองเสื่อม ตับแข็ง เป็นโรคมะเร็ง หน้าแก่ เดินโซเซเหมือนกระจงก่งก๊ง เรื่องบุหรี่ กิจกรรมบุหรี่มีพิษ (ปอดดีมีแรง) นางเรนุกา กันใจแก้ว ครูผู้สอนกิจกรรมร่วมกับผู้ปกครองและเด็ก นางแววทวัณ พรหมรักษา ครูผู้สอน ก่อนจะนำเข้าสู่การทดลองตับแช่เหล้า เด็กๆ จะสนใจและตื่นเต้นมาก สิ่งที่เด็กๆ จะได้เรียนรู้จากการมองเห็น การสัมผัส นึกคิดติดตาม เปรียบเทียบ และสังเกตการณ์สู่การเปลี่ยนแปลง และจดจำได้ดี
ส่วนประเด็นบุหรี่จะเป็นการเล่านิทาน อากาศดี๊ดี หลังจากกิจกรรม ผู้ปกครองก็แปลกใจกับผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น เด็กจะทำท่า say no (เอามือไขว้เป็นสัญลักษณ์ หยุดดื่ม หยุดสูบ) ระหว่างที่เห็นผู้ปกครองดื่มเหล้า-เบียร์ หรือสูบบุหรี่ เด็กๆ รู้จักที่จะเลือกสิ่งที่ดีและไม่ดี มั่นใจที่จะปฏิเสธสิ่งไม่ดีมากขึ้น เมื่อคนที่บ้านดื่มเหล้าหรือสูบบุหรี่ เด็กๆ ก็จะมาฟ้องว่าคุณพ่อดื่มเบียร์ เสียงสะท้อนจากเด็กทำให้ผู้ปกครองตระหนักมากขึ้น พยายามหยุดดื่มและไม่สูบให้เด็กเห็น ในช่วงเทศกาลเข้าพรรษาก็ร่วมทำสัญญาใจ ลด ละเลิกเหล้าและอบายมุข
นายนพพร เรืองสว่าง นายอำเภอเวียงสา จ.น่าน เปิดเผยว่า สังคมมีปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อเด็กเยาวชนหลายด้านโดยเฉพาะเหล้า บุหรี่ จึงจำเป็นที่ต้องช่วยกันป้องกัน เด็ก เยาวชน อนาคตของชาติให้ปลอดภัย ไม่เข้าสู่วงจรปัจจัยเสี่ยงก่อนวัยอันควร โครงการปลูกพลังบวกเพื่อสร้างจิตสำนึกภูมิคุ้มกันปัจจัยเสี่ยง (เหล้า บุหรี่) สำหรับเด็กปฐมวัยที่ สสส.สนับสนุน เป็นส่วนหนึ่งช่วยส่งเสริมให้เด็กมีภูมิคุ้มกัน รู้จักกลั่นกรอง มีความเข้าใจถึงโทษภัยของสิ่งเสพติดได้ โดยอำเภอมีนโยบายการพัฒนาเด็กให้เตรียมพร้อมสู่โลกอนาคต เพิ่มขีดความสามารถ ทักษะต่าง ๆ และสร้างเสริมภูมิคุ้มกันในการดำเนินชีวิตของเด็กให้สามารถปรับตัวต่อสภาพแวดล้อมทางสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป โดยใช้กระบวนการคิด วิเคราะห์ และการตัดสินใจที่เหมาะสม เพื่อให้สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างปลอดภัยและมีความสุข.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ชวนนักดื่ม “ตรวจตับ-เลิกจับขวด” ฟื้นฟูสุขภาพคืนความสุขครอบครัว
"งดเหล้าเข้าพรรษา" ในระยะเวลา 3 เดือน ถือเป็นกิจกรรมหนึ่งในเทศกาลสำคัญ ที่มุ่งเน้นให้ชาวพุทธงดดื่มแอลกอฮอล์ ไม่เพียงเป็นการรักษาประเพณีและศีลธรรมเท่านั้น
“สุรศักดิ์” รมช.ศธ. เดินหน้าขับเคลื่อนรถรับส่งนักเรียนปลอดภัย ชูโมเดล “ศูนย์เรียนรู้รถรับส่งนักเรียนปลอดภัย จ.อยุธยา” ของสสส.
วันที่ 18 พ.ย. 2567 ที่ โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดศูนย์การเรียนรู้การจัดการรถรับส่งนักเรียนที่ปลอดภัย โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย ภายในงานเวทีสร้างความร่วมมือและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการพัฒนาศูนย์เรียนรู้รถรับส่งนั
สสส.สานพลังภาคี ขจัดความเหลื่อล้ำกิจกรรมทางกาย ดึงคนไทยสู่เวอร์ชั่นใหม่
กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ ศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย (ทีแพค) สถาบันวิจัยประชากรและสังคม
สสส.-สคล. ผนึกภาครัฐ เอกชน จัดแข่งฟุตซอลเยาวชนไม่เกิน 15 ปี ชิงถ้วยกรมสมเด็จพระเทพฯ
สสส. โดยสมาคมเครือข่ายงดเหล้าและปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพ (สคล.) ร่วมกับ ภาคีเครือข่ายและภาคเอกชน รวม 7 องค์กร ลงนามความร่วมมือ พร้อมจัดแถลงข่าวเปิดตัวโครงการ
"สิทธิในอาหารเพื่อชีวิตที่ดี" ความตระหนักรู้เสริมสุขภาวะ
เด็กทั่วโลกเผชิญปัญหาความเหลื่อมล้ำด้านอาหาร เพราะการบริโภคไม่สมดุล ส่งผลต่อสุขภาวะอ้วนผอม ชาวโลกเผชิญความอดอยากเกือบ 300 ล้านคน
สสส.ชวนคนรักสุขภาพ ร่วม'เมื่อคุณเริ่มวิ่ง หัวใจเต้นแรง' กระตุ้น'นักวิ่งหน้าใหม่'ลงสนาม8ธ.ค.นี้
เมื่อช่วงบ่ายวันที่ 11 พ.ย. 2567 ที่อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ กรุงเทพฯ นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า สสส. ร่วมกับ สมาพันธ์ชมรมเดิน-วิ่งเพื่อสุขภาพไทย จัดงานแถลงข่าว Thai Health Day Run 2024 วิ่งสู่วิถีชีวิตใหม่ ครั้งที่ 12 ภายใต้แนวคิด “เมื่อคุณเริ่มวิ่ง หัวใจเต้นแรง” ในวันที่ 8 ธ.ค. นี้ ที่สะพานพระราม 8 โดย สสส. มุ่งจุดกระแสกิจกรรมทางกายเพื่อสร้างเสริมสุขภาพ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ทำให้มีสุขภาพดี ลดความเสี่ยงเกิดโรคไม่ติดต่อ (NCDs) ในอนาคต ซึ่งจากผลสำรวจอายุคาดเฉลี่ยทั่วโลกในปี 2567 ของ www.worldometers.info ระบุว่า ไทยมีอายุคาดเฉลี่ยอยู่ที่ 76.56 ปี อายุยืนเป็นอันดับที่ 78 ของโลก ขณะที่ข้อมูลจากฐานข้อมูลการตาย กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวงสาธารณสุข ปี 2561-2565 พบคนไทยเสียชีวิตก่อนวัยอันควร 164,720 ราย สาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 คือ ป่วยด้วยกลุ่มโรค NCDs ซึ่งเป็นโรคที่เกี่ยวกับพฤติกรรมและวิถีชีวิต