เอาไงดี ! Service Charge 10% ให้ลูกจ้าง หรือนายจ้าง โซเชียลมีเดีย ภูมิใจไทย เปิดประเด็นร้อน หลัง "พิพัฒน์" ออกโรงทวงคืน ให้ผู้ใช้แรงงาน ชี้เจ้าของกิจการอย่าเอาเปรียบลูกน้อง ยกตัวอย่างในต่างประเทศมีกฎหมายกำหนดค่าทิป ขั้นต่ำ ที่ต้องให้พนักงาน
ขณะที่เรื่องค่าแรงขั้นต่ำ ที่จะพิจารณาในช่วงปลายปีนี้ ว่าจะขึ้นในอัตราใดนั้น นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้ออกมาทวงคืนค่า Service Charge 10 % ของค่าใช้จ่ายในสถานประกอบการ ทั้งโรงแรม ร้านอาหาร ทั่วประเทศ โดยระบุว่า เป็นรายได้เพิ่มเติม ในส่วนของพนักงาน ซึ่งมีไม่ถึง 50 % ของสถานบริการที่เรียกเก็บ Service Charge 10 % จากลูกค้าแล้วจะนำมาให้พนักงาน
.
“บางประเทศที่เจริญแล้ว ต้องมีค่าทิป กี่เปอร์เซ็นต์ หรือไม่น้อยกว่า 10% สำหรับคนที่เป็นพนักงานพวกเราได้รับรู้ บอกได้เลยมีไม่ถึง 50% ที่นายจ้างจะให้กับลูกจ้าง ซึ่งเรื่องนี้ผมไปกินร้านอาหารทุกร้าน ผมจะทักท้วงก็ถึงขั้นว่า ถ้ามีผู้จัดการอยู่จะเรียกผู้จัดการมาคุยบอกพวกคุณเอาเปรียบน้องๆ พวกคุณเงินเดือนสูง แต่น้องๆเงินเดือนต่ำ คุณตั้งเซอร์วิสชาร์จมาแล้ว 10% คุณควรจะให้พนักงาน ไม่ใช่ผู้ประกอบการเอาไป นั่นหมายความว่า คุณกำลังโกงลูกค้าที่ไปทานอาหารในร้านด้วย”นายพิพัฒน์ กล่าว ในช่วงหนึ่งกับ นายสาวิทย์ หวานหนู ประธานสมาพันธ์สมานฉันท์แรงงานไทย (สสรท.) เมื่อปลายเดือนที่ผ่านมา
.
นายพิพัฒน์ กล่าวอีกว่า นี่คือข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในบ้านเรา ตนไม่เห็นด้วย แต่นั่นคือกฎเกณฑ์ของพวกคุณ ไม่เป็นไร ผมเติมให้เวลาผมไปทานอาหาร ค่าเซอร์วิสชาร์จ ผมก็แจกน้องไปหลายบุคคลเลย บอกไม่ต้องรวม เอานี้เป็นส่วนตัวสำหรับน้องๆ ผมก็คุยกับร้านอาหารหลายแห่งว่า คุณเอาเปรียบลูกน้อง คุณลองไปอยู่ในยุโรป ในอเมริกา บางประเทศในยุโรป เขามีกฎหมายกำหนด แต่บางประเทศไม่มี อย่างในประเทศสหรัฐอเมริกา กำหนดว่าต้องคิดกี่เปอร์เซ็นต์ อันนี้คือความชัดเจน
.
โดยโซเชียลมีเดีย พรรคภูมิใจไทย แพลตฟอร์ม TikTok https://www.tiktok.com/@bhumjaithai.th/video/7297072110952926466
ได้โพสต์ข้อความเชิงตั้งคำถาม ต่อสาธารณะ ว่าจะเอาอย่างไรดีกับค่า Service Charge 10% จะให้ นายจ้าง หรือลูกจ้าง ? และควรจะมีกฎหมายกำหนดให้ชัดเจนเลยหรือไม่ ?
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
“พิพัฒน์” กำชับเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย ร่วมสร้างเกราะป้องกันในสถานประกอบการ ดูแลคนทำงาน ลดการสูญเสีย มุ่งเป้าลดอันตรายร้ายแรง 1:1,000 คน
วันที่ 12 พฤศจิกายน 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานในพิธีเปิดงาน “12 พฤศจิกายน วันเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ประจำปี พ.ศ.2567” ณ ห้องประชุมกระทรวงแรงงาน ชั้น 5 .
‘พิพัฒน์’ คาดชงชื่อกรรมการค่าจ้างเข้า ครม.อังคารนี้ มั่นใจขึ้นค่าแรง 400 บาท เป็นของขวัญปีใหม่ 2568 ให้ผู้ใช้แรงงาน ทันแน่นอน
นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยถึงความคืบหน้าการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 400 บาทต่อวัน
"พิพัฒน์" หนุนแรงงานรุ่นใหม่ รายได้สูง ดันกรมพัฒฯ จับมือ ดิอาจิโอ ฝึกบาร์เทนเดอร์ป้อนตลาด
วันที่ 8 พฤศจิกายน 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือว่าด้วยการพัฒนาฝีมือแรงงานด้านอาหารและเครื่องดื่ม ระหว่างกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กับ บริษัท ดิอาจิโอ โมเอ็ท เฮนเนสซี่
“พิพัฒน์” รมว.แรงงาน แจงมาตรการลดเงินสมทบและขยายระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบ ช่วยเหลือนายจ้าง ผู้ประกันตนมาตรา 33 และมาตรา 39 ในพื้นที่ประสบอุทกภัย
นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวถึงมาตรการช่วยเหลือนายจ้าง ผู้ประกันตนในพื้นที่ประสบอุทกภัย ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการร่างประกาศกระทรวงแรงงาน เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม
รมว.แรงงาน ‘พิพัฒน์’ เป็นประธานพิธีรับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของ 'สิรภพ ดวงสอดศรี' ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงแรงงาน
วันที่ 7 พฤศจิกายน 2567 เวลา 09.00 น. นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานในพิธีรับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์เบื้องหน้าพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนม
เลขาฯ “อารี” ร่วมขับเคลื่อนความปลอดภัยเพื่อลูกจ้าง ตั้งเป้าลดอุบัติเหตุในการทำงานไม่เกิน 1.5 คน : 1,000 คน ในพื้นที่จังหวัดภาคใต้
วันที่ 6 พฤศจิกายน 2567 เวลา 09.00 น. นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน มอบหมายให้ นายอารี ไกรนรา เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน