วันนี้ (วันที่ 31 ตุลาคม 2566) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เปิดบ้านกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม (สส.) ต้อนรับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ หารือการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และแนะนำศูนย์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ร่วมเดินหน้าเสริมพลังร่วม หนุนกลุ่มเปราะบางรับมือผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ณ กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร
นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เผยว่า จากปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กระทรวงฯ จึงได้ทบทวนและปรับปรุงบทบาท ภารกิจและโครงสร้างหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อรองรับผลกระทบที่จะมาถึงในอนาคต กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม จึงได้จัดตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนชื่อกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมเป็นกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2566 มีหน้าที่รับผิดชอบภารกิจด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมของประเทศโดยตรง และจะทำให้การดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยนับจากนี้ไปจะมีความเป็นเอกภาพมากขึ้น ซึ่งกระทรวงฯ มีความมุ่งมั่นในการสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และผลักดันให้เกิดการดำเนินงานภายในประเทศอย่างเป็นรูปธรรม ผนวกประเด็นสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเข้าสู่แผนยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บทรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. 2558 - 2593 โดยให้ความสำคัญกับการปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การลดก๊าซเรือนกระจกและส่งเสริมการเติบโตที่ปล่อยคาร์บอนต่ำ และการสร้างขีดความสามารถด้านการบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมถึงการสร้างเครือข่ายการทำงานร่วมกัน โดยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2566 ให้ทุกส่วนราชการให้ความสำคัญในการดำเนินงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างพร้อมเพรียงกัน แต่งตั้งคณะทำงานหรือเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในการกำกับดูแล รวมทั้งประสานการดำเนินการกับกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม นับได้ว่ากระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เป็นหน่วยงานที่เห็นถึงความสำคัญของภารกิจดังกล่าว จึงได้มาเยี่ยมชมกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มเปราะบาง รับฟังข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะในการพัฒนานโยบายเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ได้ให้ความสำคัญกับการดำเนินงานด้านการการบูรณาการมิติเพศและสังคมในนโยบายและแผนด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญในระดับสากล โดยร่วมกับกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว ที่เป็นหน่วยประสานงานกลางด้านเพศภาวะและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (National Gender and Climate Change Focal point) ภายใต้กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC) เพื่อประสานและขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านดังกล่าวของประเทศ โดยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้ให้ความสำคัญในการดำเนินการเพื่อร่วมขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งจะมีการดำเนินงานร่วมกัน อาทิ จัดทำสื่อให้ความรู้และสร้างความตระหนักให้เหมาะสมสำหรับกลุ่มเปราะบาง ทั้ง เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ส่งเสริมกลุ่มสตรีและผู้สูงอายุให้มีบทบาทในการเป็นผู้นำ รวมถึงสนับสนุนให้มีการเข้าถึงกองทุนสิ่งแวดล้อม และทั้ง 2 กระทรวง ได้มอบหมายให้มีการจัดตั้งคณะทำงานในการดำเนินการร่วมกันเพื่อขับเคลื่อนด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมต่อไป
ทั้งนี้ ในการเยี่ยมชม ได้มีการบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อประชาชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มเปราะบาง แนวทางการขับเคลื่อนการดำเนินงานในการปรับตัว รวมถึงข้อเสนอแนะในการพัฒนานโยบายและการดำเนินงานของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พร้อมแนะนำศูนย์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม หรือ CCE Center ตั้งอยู่ชั้น 2 อาคารกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2566 มีภารกิจและหน้าที่ในการบูรณาการข้อมูลด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกับหน่วยงานภายในกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งพัฒนาฐานข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแบบ Real-Time โดยเชื่อมโยงกับศูนย์ประสานงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทุกจังหวัด ซึ่งประกอบด้วย 4 ศูนย์ ได้แก่ ได้แก่ ศูนย์เรียนรู้และคลังข้อมูลสำหรับประชาชน ศูนย์ข้อมูล วิเคราะห์ แปลผลและพัฒนาฐานข้อมูลกลาง ศูนย์พยากรณ์ พัฒนาเครื่องมือและระบบพยากรณ์คาดการณ์ความเสี่ยงและภัยธรรมชาติ ศูนย์ประสานและสื่อสาร ประสานความร่วมมือเชื่อมโยงทุกจังหวัดและทุกภาคส่วน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ดร.ธรณ์ ชี้โลกร้อนฆ่าพะยูน ตายเฉลี่ยเดือนละ 3.75 ตัว แนะไทยควรพูดใน COP29
ในอดีตพะยูนตายเฉลี่ยเดือนละ 1 ตัว ปัจจุบัน (2566-67) พะยูนตายเฉลี่ยเดือนละ 3.75 ตัว
เตรียมรับมือหมอกควัน-ฝุ่นพิษ 2568
ใกล้จะเข้าสู่ฤดูกาลฝุ่นช่วงเวลาที่ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 จะเริ่มสูงขึ้นในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ซึ่งกรมอุตุนิยมวิทยาประเมินช่วงหลังวันที่ 23 ตุลาคม 2567 ประเทศไทยตอนบนจะเริ่มมีฝนที่ลดลง และจะมีมวลอากาศเย็นแผ่เข้ามาบริเวณภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย
'ทวี' สวมบท สส. รับ 'คดีตากใบ' ไม่เป็นธรรม ไร้เงาผู้ต้องหา
'ทวี' ชี้ 'ตากใบ-ไฟใต้' ทุกภาคส่วนต้องร่วมหาทางออก ย้ำสังคมขาดความยุติธรรมมีความแตกแยก ผู้มีอำนาจอาจอยู่ไม่ได้ เร่งเยียวยาจิตใจคนชายแดนใต้
'ประเสริฐ' โลกสวย! 'พิเชษฐ์- ชลน่าน' ฟาดกันกลางสภาฯ แค่กระเซ้าเย้าแหย่
'ประเสริฐ' ชี้ 'พิเชษฐ์- ชลน่าน' ปะทะคารมกลางสภาฯ แค่กระเซ้าเย้าแหย่ ปัดตอบ สส. เพื่อไทย โหวตคว่ำข้อสังเกต กมธ.นิรโทษกรรม โยนถามวิปรัฐบาล
'ดร.ธรณ์' ชี้มหาพายุเฮอริเคน 'มินตัน' สภาพอากาศสุดขั้ว คนอเมริกานับล้านต้องอพยพหนี
ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นักวิชาการด้านทะเลและสิ่งแวดล้อม อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า
'โลกร้อน-โลกเดือด'! กระทบ 'พะยูน' เข้าใกล้จุดสูญพันธุ์
เป็นที่รับรู้กันมานานแล้วว่า พะยูนเป็นสัตว์ทะเลหายาก มีความเสี่ยงใกล้สูญพันธุ์ แต่สถานการณ์ปัจจุบันยิ่งทำให้พะยูน ก้าวข้าม