Organic products “ตลาดเขียวจตุจักร” ศุกร์สุขภาพสร้างสมดุลเพื่อสุขภาวะ

Dream Team สสส.-กทม.-ธ.ออมสิน ผนึกพลัง Kick Off “ตลาดเขียวจตุจักร” ศุกร์สุขภาพสร้างสมดุลเพื่อสุขภาวะ ต่อยอดต้นแบบระบบนิเวศอาหารปลอดภัย เปิดทุกวันศุกร์ กระจายสินค้าเกษตรที่ได้มาตรฐานปราศจากสารเคมี Organic products เป็นการส่งเสริมอาชีพเกษตรกร มุ่งให้คนเมืองตื่นตัว-เลือกบริโภคอาหารดีต่อสุขภาพ ลดเสี่ยงป่วยกลุ่มโรค NCDs ต้นแบบตลาดเขียวถึง 88 แห่งใน 19 จังหวัด

“การคล้อยตามธรรมชาติและการเคารพธรรมชาติเป็นความจริงแท้แห่งสุขภาพ ดังนั้นถ้ามนุษย์ทำตามกฎของธรรมชาติแล้ว ทุกอย่างก็จะสมดุลและเป็นไปอย่างราบรื่น" (โมกิจิ โอกาดะ) ด้วยหลักโภชนาการ 6 ประการสร้างสมดุลเพื่อสุขภาวะ อาหารที่มีคุณค่าโภชนาการสูง ให้พลังงานเหมาะสมเป็นประโยชน์ ไม่เกิดโทษต่อร่างกาย ระหว่างพืชผัก:เนื้อ ธาตุเย็นและธาตุร้อน กินแบบพื้นบ้าน  ข้าว ธัญพืช ผักเป็นหลัก วัตถุดิบที่เป็นของสดใหม่ตามฤดูกาล ผลิตแบบเกษตรธรรมชาติ ปรุงรสอ่อนเพื่อคงรสชาติ รับประทานไม่อิ่มเกินไป งดการกินก่อนนอน 2 ชั่วโมง กินเพลิดเพลินเพื่อผ่อนคลาย มีสติ เมื่อรับประทานอาหารแล้ว ให้ออกกำลังกาย (ออกกำลังกายวันนี้ดีกว่ากายภาพยามป่วย) พักผ่อนให้เพียงพอ

 ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้ช่วยผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เปิดพื้นที่ ศุกร์สุขภาพ อาหารปลอดภัย ตลาดเขียวจตุจักร ณ โดมขาว หน้าธนาคารออมสิน สาขาจตุจักร (ตลาดนัดจตุจักรประตู 1) เมื่อวันศุกร์ที่ 13 ต.ค. 2566 มีร้านค้านำผักผลไม้ปลอดสารพิษมากกว่า 40 ร้านค้ามาจำหน่ายอาหารสดๆ ปลอดสารกันบูดถึงมือผู้บริโภค โดย สสส.ให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อนการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพอย่างสมดุล เนื่องจากสังคมและวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป โดยเฉพาะคนกรุงเทพฯ มีพฤติกรรมเร่งรีบ กินอาหารจานด่วน กินผักผลไม้ไม่เพียงพอ มีความเสี่ยงทำให้เกิดโรค NCDs ทั้งนี้ตลาดเขียวจตุจักรเปิดทุกวันศุกร์เวลา 11.00 น.-18.00 น.

ข้อมูลสถานการณ์การกินผักและผลไม้ของคนไทยปี 2565 พบภาคอีสานกินเพียงพอมากที่สุด 48.4%  รองลงมาภาคกลาง 40.1% แต่คนกรุงเทพฯ กลับกินเพียงพอน้อยที่สุดอยู่ที่ 18.6% สสส.เร่งสานพลัง สำนักงานตลาดกรุงเทพมหานคร กทม. ธนาคารออมสิน และภาคีเครือข่ายอาหารสุขภาวะ เปิดพื้นที่ศุกร์สุขภาพ อาหารปลอดภัย ตลาดเขียวจตุจักร จัดจำหน่ายสินค้าทางการเกษตรที่มีการรับรองมาตรฐานปราศจากสารเคมี มุ่งสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะ ให้คนเมืองเกิดการตื่นตัวและเลือกบริโภคอาหารที่ดีต่อสุขภาพ เป็นการเล่า story วิธีการปลูกเพื่อสุขภาพ สร้างแรงบันดาลใจในการปลูกผักบนพื้นที่บ้านของตัวเอง ชุมชนเป็นโมเดลทางเลือกเข้าถึงผักผลไม้ที่ปลอดภัยมากขึ้น เพื่อความสมดุลของร่างกายในอนาคตด้วย

“ตลาดเขียวดำเนินการครอบคลุมตั้งแต่การผลิตไปสู่การกระจาย การแปรรูป การตลาด และผู้บริโภค ที่ผ่านมาเกิดต้นแบบตลาดเขียวถึง 88 แห่งใน 19 จังหวัด และตลาดเขียวยังกระจายตัวในรูปแบบอื่นๆ ที่ช่วยให้ผู้บริโภคเข้าถึงอาหารปลอดภัยได้ง่ายขึ้น ผ่านการขับเคลื่อนนโยบายโรงพยาบาลอาหารปลอดภัย ทำให้เกิดตลาดเขียวในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขอีกกว่า 338แห่ง รวมถึงตลาดเขียวในองค์กร หน่วยงานต่างๆ และตลาดเขียวออนไลน์ ซึ่งนอกจากจะช่วยพัฒนาเศรษฐกิจอาหาร ยังสร้างพลเมืองอาหารที่มีทักษะ จิตสำนึกในการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาวะ รวมพลังเป็นชุมชนอาหารที่เข้มแข็ง ทั้งนี้ สามารถติดตามรายละเอียดได้ทางเฟซบุ๊กแฟนเพจ Gindee Club” ดร.นพ.ไพโรจน์เปิดเผย

บรรยากาศการเปิดงานตลาดเขียวจตุจักรนัดปฐมฤกษ์ ท่ามกลางคีย์แมนสำคัญในวงการอาหารและสิ่งแวดล้อม ทพญ.จันทนา อึ้งชูศักดิ์ ประธานกรรมการกำกับทิศทางแผนอาหารเพื่อสุขภาวะ กรรมการบริหารแผนคณะที่ 3 สสส., ผศ.ดร.จิรพล สินธุนาวา นายกสมาคมพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อม, นพ.วิวัฒน์ โรจนพิทยากร ผอ.โครงการสุขภาพโลก มหาวิทยาลัยมหิดล, ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้ช่วยผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.), นางประภาศรี บุญวิเศษ กรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ในฐานะประธานกรรมการบริหารแผนคณะที่ 5 สสส., น.ส.นิรมล ราศรี รักษาการผู้อำนวยการสำนักสร้างวิถีชีวิตสุขภาวะ สสส.(สำนัก 5) สนับสนุนให้เกิดความปลอดภัยทางอาหาร เน้นอาหารปรุงสุกและมีสารอาหารครบถ้วนทางโภชนาการ โครงการกินผักผลไม้ดี 400 กรัม ภายในงานยังมีบูธธนาคารออมสิน TIP life ทิพยประกันชีวิต  ประกันชีวิตเพื่อสังคมคุ้มครอง 100 เท่าเพื่อสิทธิพิเศษ การจัดทำสมุดบัญชีรับ-จ่ายพอเพียง E-book คู่มือพัฒนาด้านการเงิน

นายศุภพิพัฒน์ บัลนาลังก์ ผู้อำนวยการสำนักงานตลาดกรุงเทพมหานคร กทม. เปิดเผยว่า สำนักงานตลาดกรุงเทพมหานครสนับสนุน “ตลาดเขียว” ของ สสส.และภาคีเครือข่าย โดยเปิดพื้นที่ต้นแบบที่ตลาดนัดจตุจักรเป็นตลาดแรก ขับเคลื่อนระบบอาหารปลอดภัย สุขภาพดี Organic products เป็นการส่งเสริมอาชีพเกษตรกร สร้างกำลังใจให้แก่ชาวเกษตรกร กลุ่มเส้นเลือดฝอย มุ่งพัฒนาเศรษฐกิจและสร้างการมีส่วนร่วมทางสังคม สอดรับนโยบาย 9 ด้าน 9 ดี ของ ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าฯ กทม. ที่ต้องการให้กรุงเทพฯ เป็นสังคมสร้างสรรค์ ตลาดสร้างสรรค์ เศรษฐกิจสร้างสรรค์

“จุดเริ่มต้น ทพ.ประโยชน์ เพ็ญสุต กรรมการบริหารสำนักงานตลาดกรุงเทพมหานคร และกรรมการกำกับทิศทางแผนอาหารสุขภาวะ อดีตทูตพาณิชย์สหรัฐฯ และเคยอยู่ประเทศแคนาดา มีแนวคิดอยากทำตลาดสุขภาพ ในขณะที่ผมเรียนจบคณะเกษตร เข้าใจสังคมทุกวันนี้อยากได้ตลาด organic ที่ดีเพื่อสุขภาพ ซึ่งทุกวันนี้ยังมีผลผลิตน้อยอยู่ ตลาดจตุจักรเป็นแหล่งพืชผลเกษตร เวลาเปลี่ยนทิศทางก็เปลี่ยนแปลงไปด้วย และยังเป็นที่รับรู้ของชาวต่างชาติ ในขณะที่ สสส.มีนโยบายเพื่อสังคม พ่อค้าเป็นเส้นเลือดฝอยรวมพลังสร้างอาหารเพื่อสุขภาพที่จับต้องได้ สำหรับคนที่มีรายได้น้อยหาซื้อได้ จึงเป็นความร่วมมือกัน สำนักงานตลาดและ สสส.มีแหล่งทุนจากธนาคารออมสินเข้ามาสนับสนุน ขณะนี้เรามี 11 ตลาดที่มีผักผลไม้ปลอดภัย ตลาดมีนบุรี ตลาดธนบุรีนำร่อง ตลาดอื่นๆ พร้อมสนับสนุน สสส.สร้างภาคีเครือข่ายให้ผู้บริโภคเข้าถึงผักผลไม้ที่ปลอดภัย”

นางสุจินตนา หงษ์ทอง ผู้ช่วยผู้อำนวยการธนาคารออมสิน สายงานลูกค้ารายย่อยและองค์กรชุมชน ชี้แจงว่า ธนาคารออมสินเป็นธนาคารเพื่อสังคม บูรณาการทุกภารกิจสู่สังคม ไม่ใช่เพียงงาน CSR เท่านั้น แต่เป็น CSV ทำงานร่วมกับ กทม.ยกระดับตลาดแบบองค์รวม ร่วมแก้ไขปัญหาหนี้สิน สนับสนุนลูกค้าส่งเสริมการออม การรับฝากเงินนอกสถานที่ การให้ความรู้ทางด้านการเงิน การใช้ digital สำหรับผู้ประกอบการ ยกระดับการสร้างอาชีพ ดูแลอาหารปลอดภัย ขายของคุณภาพด้วยการคำนึงถึงผู้บริโภค

มีนโยบายให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบอาชีพอิสระ ทั้งกลุ่มมอเตอร์ไซค์รับจ้าง กลุ่มแท็กซี่ โดยเฉพาะกลุ่มพ่อค้าแม่ค้า ที่มาจากกลุ่มเกษตรกรตัวจริงในชุมชน ภาคีเครือข่ายตลาดเขียวมุ่งแก้ปัญหาหนี้นอกระบบของประเทศ สนับสนุนการให้บริการและคำปรึกษาเพื่อเข้าถึงแหล่งเงินทุนอย่างง่าย รวมถึงสร้างวินัยการออมเงินทุกวัน ผู้ประกอบการรายย่อยสามารถพึ่งพาตัวเอง และทำให้ครอบครัวมีความสุขได้อย่างยั่งยืน ที่สำคัญคือมีความสุขที่ได้เปลี่ยนแปลงตัวเอง.

 

โค้ชนุ่น ดารัณ (สินิทธา) บุญยศักดิ์

ดาราสู่กูรูตัวแม่สายอาหารปลอดภัย

 ยึดถือหลักคุณต้องเป็นหมอคนแรกของตัวเองในการดูแลสุขภาพ เพื่อสร้างอิสรภาพทางการแพทย์ เราต้องเริ่มต้นดูแลตัวเองจากการรับประทานอาหาร สร้างกล้ามเนื้อ คนเราจะไม่มีวันแก่ ให้เริ่มสร้างตั้งแต่ตอนนี้ อายุ 90 ปีก็ยังเดินหลังตรงได้ ไม่ต้องพึ่งลูกหลาน จัดมื้ออภิรมย์แบบ share kitchen ควบคุมปริมาตรและปริมาณให้เหมาะสม อย่ารับประทานอาหารตามกระแส ในแนวคิด ผักอะไรก็อร่อย

เมนูสุขภาพ ผักพื้นบ้าน อาหารพื้นถิ่นนำมาปรุงอะไรก็อร่อย เริ่มต้นต้มซุปกระดูกไก่ไม่ใส่ผงชูรส ไม่เติมน้ำตาล เด็กไทยไม่รับประทานหวาน ใส่เกลือนิดหน่อย คนไทยมีปัญหาบริโภคเกลือสูง ใส่ต้นหอม ใบชะพลูมีธาตุอาหารสูง  มีแคลเซียม ชะอม ผักริมรั้วหน้าบ้านมีประโยชน์ ปลาตัวเล็ก อ่อมผักเสร็จเรียบร้อยแล้ว น้ำซุปจากกระดูกไก่เป็นสารอินทรีย์อย่างดี

“จากนี้ไปแจกผัก Gift Set เพื่อไปปรุงรับประทานที่บ้านเอง เรามีตลาดเขียวเป็นการเดินถูกทางแล้ว เราต้องเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการรับประทานอาหาร”.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

โชว์ต้นแบบรถยนต์ไฟฟ้าดัดแปลง ลดฝุ่นอากาศสะอาดทุกลมหายใจ

"อากาศบริสุทธิ์ใน กทม.เป็นจริงได้ ด้วยจุดเปลี่ยนร่วมมือร่วมใจ ให้เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ทุกคนต้องได้" ด้วยแนวคิดข้างต้น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

ทำความรู้จัก “เชื้อดื้อยา” จากผลงานประกวดภาพวาดการ์ตูนคอมมิค

การสื่อสารในประเด็น “เชื้อดื้อยา”เพื่อให้คนส่วนใหญ่ รับรู้ เข้าใจ ถึงผลกระทบ และร่วมกันป้องกัน เป็นเรื่องที่องค์กรที่ทำงานด้านนี้ได้พยายามทำมาอย่างต่อเนื่อง

โฟกัสเชียงใหม่ต้นแบบความสำเร็จ งดขายเหล้าเทศกาลพร้อมเป็นตาสับปะรด

เชียงใหม่ต้นแบบความสำเร็จ ทุกเทศกาลประกาศงดขายงดดื่มเหล้า ทราบล่วงหน้า 15 วัน ประชุมหน่วยงานเกี่ยวข้องเตรียมพร้อมรับมือ ภาคประชาสังคมพร้อมใจเป็นตาสับปะรดร้องเรียน

'สมศักดิ์' ดึง สสส. ช่วย 'นับคาร์บ' ชวนคนไทยลดโรค NCDs ต้นเหตุคร่าชีวิตคนไทยชั่วโมงละ 45 คน ผจก.สสส.เดินหน้าพัฒนาฐานข้อมูลเชื่อมท้องถิ่นลดเสี่ยง

นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ในฐานะรองประธานกรรมการกองทุน สสส. คนที่ 1 กล่าวในการเป็นประธานประชุมกรรมการกองทุนฯ ครั้งที่ 8/2567 ว่า จากข้อมูลพบว่ามีผู้เสียชีวิตจาก NCDs 400,000 คนต่อปี คิดเป็นชั่วโมงละ 45 คน

‘สมัชชาสุขภาพ ครั้งที่ 17’ ปิดฉากชื่นมื่น บรรลุ 2 นโยบายฯ สร้างเศรษฐกิจยุคใหม่

สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 17 ปิดฉากลงอย่างชื่นมื่น สมาชิกกว่า 3,000 ชีวิต ให้การรับรอง 2 ระเบียบวาระ “พลิกโฉมกำลังคนเพื่อสังคมสุขภาวะ - การท่องเที่ยวแนวใหม่ สู่สุขภาวะและเศรษฐกิจ

จับตาปลดล็อก..ควบคุมเหล้าเบียร์ กฎหมายใหม่เปิดช่องขายได้ทั่วถึง

รายงานองค์การอนามัยโลก (WHO) ปี 2567 ชี้ว่าแนวโน้มการบริโภคแอลกอฮอล์/หัวประชากร และผลกระทบต่อสุขภาพมีความซับซ้อนและแตกต่างกันตามภูมิภาคต่างๆ ที่น่ากังวลคือ ในภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้นมีแนวโน้มจะมีการดื่มที่สูงขึ้น